เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ออกแถลงการณ์ “แม่น้ำต้องไหลอิสระ”

เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ออกแถลงการณ์ “แม่น้ำต้องไหลอิสระ”

26 มกราคม 64 เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน จัดเวทีสาธารณะสถานการณ์โครงการพัฒนาเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงและลําน้ำสาขา ณ ศาลาประชาคมอําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยมีกลุ่มฮักแม่น้ำเลย กลุ่มประมงเชียงคาน กลุ่มประมงแก่งคุดคู้ กลุ่มประมงบ้านผาแบ่น กลุ่มผู้ประกอบการ ร้านค้า เชียงคาน และประชาชนที่สนใจทั่วไปร่วมแลกเปลี่ยนและติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง  

ซึ่งมีการบรรยายเรื่อง “การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและลําน้ำสาขาของแม่น้ำโขง และภัยคุกคามจากเขื่อนในแม่น้ำโขง” โดยอาจารย์สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และวงเสวนา “การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนกับการมีส่วนร่วมของประชาชน”

จากนั้นมีการแถลงการณ์เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง อีสาน ยืนยันที่จะปกป้องแม่น้ำโขง ด้วยการติดตาม ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และเสนอทางเลือกในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อฟื้นคืนชีวิตให้แม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาได้ไหลอย่างอิสระ

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขง อีสาน
“แม่น้ำต้องไหลอิสระ”

“แม่น้ำโขง” ในฐานะแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อชีวิตผู้คนและชุมชนลุ่มน้ำโขงคลอบคลุม 6 ประเทศ คือ จีน เมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม กำลังเผชิญกับการคุกคามผ่านการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำ โครงการสร้างเขื่อนกั้นประตูระบายน้ำบนลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง และธุรกิจเหมืองทรายริมฝั่งแม่น้ำโขง ตลอดจนการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ก่อให้เกิดการพังทลายของดินและความเสื่อมถอยของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ การลดหายของความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนที่มีสาเหตุมาจากนโยบายการพัฒนาประเทศในระบบทุนนิยมเสรีที่มีเป้าหมายคือเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นปัจจัยการผลิตท่านั้น

“แม่น้ำโขง” ไหลผ่านภาคภาคเหนือ จังหวัดเชียงรายและภาคอีสานเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว คลอบคลุม 7 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง ในสถานการณ์ที่แม่น้ำโขงต้องเผชิญกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการผันน้ำโขง เลย ชี มูล กับโครงการเขื่อนศรีสองรักษ์ ที่กั้นเขื่อนบริเวณปากแม่น้ำเลย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสานะคาม  ก่อสร้างเขื่อนกั้นบนแม่น้ำโขงในเขตประเทศลาว ที่ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเชียงคาน เพียงแค่ 1.4 กิโลเมตร ตลอดจนโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำปากชม อำเภอปากชม จังหวัดเลย ที่มุ่งผลิตไฟฟ้าและยกระดับน้ำโขงให้สูงขึ้นเพื่อสูบน้ำโขงเข้าอุโมงค์ผันน้ำเข้าโครงการ โขง เลย ชี มูล ส่งน้ำไปยังเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ในภาคอีสาน

นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดการน้ำขนาดใหญ่ตามลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อาทิ ลุ่มน้ำสงคราม เป็นต้น ที่กำลังถูกผลักดันในแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ เราเชื่อว่าโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางอาหารต่อชุมชนในลุ่มน้ำโขง อีสาน และลำน้ำสาขาอย่างรุนแรงในอนาคต แม้ว่าโครงการเหล่านี้จะถูกประชาชนในพื้นที่คัดค้านมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

ความล้มเหลวของการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมาของหน่วยงานรัฐที่อ้างวาทกรรมภัยแล้ง คำว่า “แล้งซ้ำซาก” จะยังใช้ได้และเป็นบทนำในการหากินสร้างฝันและจินตนาการให้กับนักการเมืองยกมือสนับสนุนผลักดันโครงการบริหารจัดการน้ำโดยไม่คิดจะทบทวนความล้มเหลวในอดีตในการบริหารจัดการน้ำก็ไม่สามารถที่หาผู้ที่รับผิดชอบได้  ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง รัฐมนตรี อธิบดีกรม กองต่างๆ แต่คนที่รับทุกข์คือประชาชน ที่ถูกกล่าวอ้างว่าจะได้ประโยชน์จากการพัฒนา

เราเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ยืนยันที่จะปกป้องแม่น้ำโขง ด้วยการติดตาม ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และเสนอทางเลือกในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อฟื้นคืนชีวิตให้แม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาได้ไหลอย่างอิสระ

      ด้วยจิตคารวะ
เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำโขงอีสาน
ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง อีสาน  อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

Statement of the Mekong River Basin People’s Network of the Northeast
“The River Must Flow Free”

“Mekong River” which is vital for livelihoods of the people and communities in six countries along its course including China, Myanmar, Laos, Thailand, Cambodia and Vietnam is facing threats from large-scale development projects. These threats are such as hydropower dams, dams and floodgates along the Mekong’s tributaries, sand mining as well as expansion of agro industry plantations in the Mekong basin causing riverbank erosion and deterioration of ecosystems and natural resources. Degradation of biodiversity and the environment is the transboundary impact causing by neoliberalism development policy that only focuses on exploiting natural resources for raw materials.

The “Mekong River” which flows through the North in Chiang Rai Province and the Northeast is a natural border between Thailand and Laos covering 7 provinces of the Northeast Thailand including Loie, Nong Khai, Bueng Kan, Nakhon Phanom, Mukdahan, Amnat Charoen and Ubon Ratchathani – where are habitation of communities. The Mekong is facing threats from  large-scale development projects such as Mekong-Loei-Chi-Mun Water Diversion Project and Sri Song Rak dam on the mouth of Loie River in Chiang Khan District, Loie Province, Sanakham Hydropower Project on the Mekong mainstream in Laos territory located just 1.4 kilometer away from Chiang Khan district in Loie province, as well as Pak Chom dam, Pak Chom district in Loie Province of which aims to produce electricity and raise the Mekong water into diversion tunnel of Mekong-Loei-Chi-Mun project to send the water to Ubolratana dam in Khon Kaen Province in the Northeast. Not only that, there are many other large-scale water management projects on the Mekong’s tributaries such as in Songkhram river basin of which has been pushing in the Thai government’s water management master plan. These projects will have adverse impacts on the environment and society as well as economy and food security of communities along the Mekong and its tributaries. We are deeply concerned that these projects as mentioned will have immense impacts on the environment, society, economy and food security in the Mekong River basin and its communities in the Northeast in the future. The local people have been opposing these projects continuously for many years.

The previous failure of the government’s water management which uses “drought-stricken” discourse has still been used and pushed by the imagination of politician who take advantage of the water management projects without thinking of reviewing the failure from the past. There has been no accountability for the past water management that involved politician, minister, director general, related departments and government agencies. In reality, the people are suffered from so-called development that claimed would bring them the benefit.       

We, the Mekong River Basin People’s Network of the Northeast persist that we will protect the Mekong by monitoring, investigating and criticizing while recommending alternative solutions for sustainable water management based on people participation in order to restore the life of the Mekong and its tributaries to flow free.

     With respect,
The Mekong River Basin People’s Network of the Northeast 
At the Mekong riverside, Chiang Khan District, Loie Province  
26th January 2021

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ