ก้าวต่อไปทีวีชุมชน

ก้าวต่อไปทีวีชุมชน

“ทีวีชุมชนเป็นของชุมชน เป็นของประชาชน เป็นสื่อที่เป็นกลาง สะท้อนปัญหาที่แท้จริงของชุมชน สะท้อนปัญหาเรื่องการพัฒนาท้องถิ่น” ภาพสะท้อนที่ทุกคนอยากเห็นหลังการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรคลื่นความถี่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์อะนาล็อคสู่โทรทัศน์ดิจิดอล เพื่อการแบ่งสรรคลื่นสู่การเปิดช่องรายการบริการชุมชน
20152410094857.jpg

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 กำหนดให้ คลื่นความถี่ (frequency) เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และจัดตั้ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อดูแล กับกับทิศทางการทำงาน จนเกิดแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 ที่กำหนดให้มีการเริ่มต้นการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลภายใน 4 ปี นับแต่วันที่แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ใช้บังคับเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 และตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ซึ่งมีกรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี 2555-2559 กำหนดช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ทั้งหมด 48 ช่อง โดยแบ่งเป็น ช่องรายการบริการชุมชน 12 ช่อง (39เขตบริการ) ช่องรายการบริการสาธารณะ 12 ช่อง (ระดับชาติ) และช่องรายการบริการทางธุรกิจ 24 ช่อง (ระดับชาติ)

 โทรทัศน์ชุมชนจะเริ่มออกใบอนุญาตเมื่อปิดโทรทัศน์อนาล็อคแล้ว และปิดสมบูรณ์ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ มาร่วมศึกษา การกำกับดูแล แนวทางการอุดหนุน การออกใบอนุญาต ทั้งนี้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS ) กองทัพบก (ททบ.5 ) กรมประชาสัมพันธ์ (ช่อง 11 NBT ) และ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) (ช่อง 9 MCOT ) จะเริ่มทยอยยุติการออกอากาศในระบบแอนะล็อกภายในปี 2561 ทั้งนี้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 และ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 นั้น มีสิทธิในการประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสัญญาต่างตอบแทนในปี 2563 และ ปี 2566 ตามลำดับ

จากการหารือแนวทางการพัฒนากิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภทบริการชุมชน ณ มหาวิทยาลัยพะเยาวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีเครือข่ายพะเยาทีวี เครือข่ายด้านสื่อภาคเหนือ สื่อมวลชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น กสทช. สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ( ITU)  UNESCO  ได้มีความคิดเห็นที่จะเดินหน้าทีวีชุมชน แต่จะต้องมีการกำหนดกรอบความชัดเจนของกฎเกณฑ์ในการใช้งาน มีเนื้อหาที่หลากหลาย และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

วิสิฐ อติพญากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมและไอซีที กล่าวถึงการทำกรณีศึกษา เพื่อจะได้กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การกำกับดูแล เพื่อให้สามารถใช้ได้กับบริบทชุมชนต่างและมีความเห็นด้วยกับการจัดตั้งทีวีชุมชน ซึ่งควรมีการกำหนดกรอบกติกาให้ชัดเจน และการสร้างมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดตั้งและพัฒนารูปแบบเนื้อหารายการ

“ในแง่ของปรัชญาทีวีชุมชนทุกฝ่ายเห็นด้วยอยู่แล้ว และอยากให้เกิด จะช้าเร็วก็เป็นอีกแบบหนึ่ง สิ่งที่ทาง กสทช.ทำอยู่คือพยายามเน้น เรื่องของการกำหนดกรอบกติกา ว่า เป็นทีวีชุมชนแล้วต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ซึ่งเราได้บทเรียนจากวิทยุชุมชนมา เราไม่อยากให้เป็นแบบนั้น แต่โดยธรรมชาติแล้วมันค่อนข้างแตกต่าง เราต้องมีความรอบคอบรัดกุมมากขึ้น ทำอย่างไรให้ทีวีชุมชนเป็นกิจการที่เกิดโดยครบถ้วน ประเด็นที่สอง คือ รูปแบบของการจัดรายการรูปแบบของการตั้งสถานี มีไม่กี่ที่ที่ได้มีการทดลองทำ เช่น ที่อุบล ที่พะเยา เราก็คงต้องดูบทเรียนจากสองที่นี้ และมาคิดว่าที่อื่นเขาจะทำอย่างไรได้บ้าง เรื่องรูปแบบการจัดตั้ง เรื่องรูปแบบเนื้อหารายการก็เป็นเรื่องสำคัญ เราต้องการความชัดเจนมากกว่านี้ ทำอย่างไรให้ความมีส่วนร่วมของภาคชุมชนมีมากที่สุด”

 

ชัยวัฒน์ จันธิมา ผู้ประสานงานสถาบันปวงผญาพยาว และผู้ร่วมก่อตั้งพะเยาทีวีชุมชน มีความเห็นว่าและจากการทำงานในการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของหลายภาคส่วนเพื่อดำเนินการออกอากาศทีวี ชุมชนพะเยามากว่า 2 ปี  เห็นว่า ทีวีชุมชนนั้นจะเป็นการใช้คลื่นความถี่ที่ตนเองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์และตอบสนองกับชุมชนนั้นๆ ทั้งนี้ทีวีชุมชนควรยึดหลักสำคัญ 3 ประการ คือ 1.การสร้างการเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงของชุมชน 2.การพัฒนารูปแบบ เนื้อหาที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และ 3.มาตรการส่งเสริม สนับสนุนทีวีชุมชนให้ยืนหยัดด้วยตนเองได้
 

จากการแลกเปลี่ยนยังมีข้อเสนอถึงรูปแบบการจัดตั้งทีวีชุมชนในเชิงกฎหมายว่า 1.การจัดตั้งได้โดยสมาคม มูลนิธิ กลุ่มบุคคลนั้นมีความเหมาะสมแล้ว ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของชุมชน บริบทของชุมชน และมีข้อเสนอให้กำหนดคุณสมบัติของคนที่มีสิทธิในการก่อตั้งให้ชัดเจน รัดกุม ในแง่ของใบอนุญาตควรมีสองประเภท คือ ใบอนุญาตชั่วคราวและ ใบอนุญาตถาวร รวมถึงมีกลไกการตรวจสอบจากส่วนกลางและชุมชน 2.การบริหารจัดการของเครือข่ายและกลุ่ม การบริหารจัดการควรมีการดูแลร่วมกัน ต้องมีความหลากหลายของเนื้อหารายการ ทั้งการศึกษา ชุมชน ข่าว ทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น  และ3.หากมีการดำเนินโครงการนำร่องควรคำนึงถึงความยั่งยืนของทีวีชุมชนในอนาคต20152410094954.jpgด้วย ทั้งในแง่สร้างการมีส่วนร่วม ที่มาของรายได้ กลไกในการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการดำเนินการ เพื่อให้ทีวีชุมชนเป็นสื่อกลางที่สามารถสะท้อนปัญหาของชุมชนได้อย่างแท้จริง 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ