โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องรัฐบาลไทยหยุดใช้ม.112

โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องรัฐบาลไทยหยุดใช้ม.112

(18 ธ.ค. 2563) น.ส. ราวินา ชัมดาซานิ โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แถลงแสดงความห่วงใยและความกังวลต่อการที่รัฐบาลไทยตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อนักกิจกรรมอย่างน้อย 35 คนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงเด็กนักเรียนอายุ 16 ปีด้วย

ความผิดตามบัญญัติ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 – 15 ปี และเป็นที่น่ากังวลใจยิ่งกว่า คือ การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวนักกิจกรรมวัย 16 ปี ส่งศาลเยาวชนและครอบครัว และขอให้ศาลมีคำสั่งควบคุมตัว แต่ศาลปฏิเสธคำร้องและอนุญาตให้ประกันตัวโดยมีเงื่อนไข

โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า หน่วยงานของสหประชาชาติหลายแห่ง รวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งติดตามการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights:ICCPR) ได้เรียกร้องหลายครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาให้ประเทศไทยปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อตกลงที่ให้สัตยาบันไว้กับนานาประเทศ แต่กลับเป็นที่น่าผิดหวังอย่างมากว่าหลังจาก 2 ปีที่ไม่การดำเนินคดี กลับปรากฏว่ามีการดำเนินคดีขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และที่น่าตกใจคือการดำเนินคดีต่อเด็กและเยาวชน

เรายังคงกังวลว่า “จะมีการตั้งข้อหาร้ายแรงอื่น ๆ เพิ่มต่อนักกิจกรรมที่เข้าร่วมการชุมนุมอย่างสันติในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รวมถึงข้อหายุยงปลุกปั่นภายใต้พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่อเด็กและเยาวชน”

“เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการตั้งข้อหาต่อการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและชุมนุมอย่างสันติด้วยข้อหาอาญาที่ร้ายแรงเช่นนั้น พลเมืองควรมีสิทธิในการแสดงออกโดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกตอบโต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเห็นว่าการควบคุมตัวบุคคลเพียงเพราะการใช้สิทธินั้น ๆ นำไปสู่การจับกุมหรือคุมขังตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่”

สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปรับแก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้เป็นไปตามมาตรา 19 ของ ICCPR ว่าด้วยสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี.

คำแถลงฉบับย่อภาคภาษาอังกฤษ

Press briefing notes on Thailand

Spokesperson for the UN High Commissioner for Human Rights:  Ravina Shamdasani 
Location: Geneva 
Date: 18 December 2020
                     
We are deeply troubled by the move by Thai authorities to charge at least 35 protesters in recent weeks, including a 16-year old student protester, under Article 112 – the lèse majesté provision of Thailand’s criminal code. The offence carries sentences of between three and 15 years’ imprisonment for defaming, insulting or threatening the country’s royal family. We are particularly alarmed that the 16-year-old protester was yesterday presented by police to the Juvenile Court with a request for a detention order. The Court denied the detention order and granted conditional bail. 

A number of UN human rights mechanisms, including the UN Human Rights Committee, which oversees implementation of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), have repeatedly called on Thailand to bring this law in line with the country’s international obligations. It is extremely disappointing that after a period of two years without any cases, we are suddenly witnessing a large number of cases, and – shockingly – now also against a minor.

We also remain concerned that other serious criminal charges are being filed against protesters engaged in peaceful protests in recent months, including charges of sedition and offences under the Computer Crime Act. Again, such charges have been filed against a minor, among others. 

We call on the Government of Thailand to stop the repeated use of such serious criminal charges against individuals for exercising their rights to freedom of expression and peaceful assembly. People should be able to exercise these rights without fear of reprisals. The UN Human Rights Committee has found that detention of individuals solely for exercising the right to freedom of expression or other human rights constitutes arbitrary arrest or detention.** 

We also urge the Government to amend the lèse majesté law and bring it into line with Article 19 of the ICCPR on the right to freedom of expression.*

ENDS

* Link to the International Covenant on Civil and Political Rights 

** Link to UN Human Rights Committee General Comment 35

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ