สภาประชาชนลุ่มน้ำโขง เวทีร้อยคนสามัญร่วมกำหนดการพัฒนาตลอดสายน้ำ

สภาประชาชนลุ่มน้ำโขง เวทีร้อยคนสามัญร่วมกำหนดการพัฒนาตลอดสายน้ำ

ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2563 ที่จะถึงนี้ เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ร่วมองค์กรภาคี จัดการประชุม “สถานการณ์แม่น้ำโขงสู่การจัดตั้งสภาประชาชนลุ่มน้ำโขงประเทศไทย” เพื่อเป็นพื้นที่และกลไกยกระดับการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำโขงของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม

นายนิวัติ ร้อยแก้ว ตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของแม่โขงมันรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แต่พื้นที่ของภาคประชาชนหรือผู้ทำงานเกี่ยวกับแม่น้ำโขงในการออกมาส่งเสียงเรียกร้องให้แก้ไขปัญหา ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนมันไม่มี ดังนั้น สภาประชาชนลุ่มน้ำโขงจึงเป็นแนวคิดที่จะรวบรวมเอาประชาชนในลุ่มน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ตลอดจนนักวิชาการที่ศึกษาแม่น้ำโขงในด้านต่าง ๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ได้มาขับเคลื่อนร่วมกันกับภาคประชาสังคมทีทำงานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะรวมตัวให้เป็นสภาประชาชนลุ่มน้ำโขงประเทศไทย เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการร่วมขับเคลื่อนเชิงนโยบายและการจัดการลุ่มน้ำโขง

“เราได้วางกำหนดการในการประชุมก่อตั้งในวันที่ 1-2 ธันวาคม 2563 ที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและได้เชิญนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนในลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดทางภาคอีสาน รวมทั้งหมดเป็น 8 จังหวัด พร้อมด้วยผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาลุ่มน้ำโขง อาทิ ประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น ตัวแทนภาครัฐ เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และผู้มีส่วนร่วมทางนโยบายต่าง ๆ”

นิวัติ ร้อยแก้ว

เวทีนี้จึงเป็นจุดสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และนำไปสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับโลกนี้

นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนพัฒนาชนบท (กป.อพช.อีสาน) กล่าวว่า พี่น้องทางอีสานและพี่น้องทางเชียงของก็คุยกันมาเกือบ 10 ปี แม่น้ำโขงกับประเด็นในพื้นที่อีสาน คือ เรื่องเดียวกัน ดังนั้นจึงยินดีและเห็นด้วยกับการก่อตั้งสภาประชาชนแม่น้ำโขง การพัฒนาโครงการใด ๆ ในลุ่มน้ำโขงนั้น ต้องตอบสนองกับปัญหาของประชาชน ไม่ใช่ปัญหาของนักการเมืองหรือนักสร้างเขื่อน

“สิ่งสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ประชาชนออกแบบเองว่าอยากเห็นน้ำโขงเป็นอย่างไร ไม่ใช่ให้นักการเมืองชี้และทุบโต๊ะว่าจะสร้างเขื่อนปากชม เขื่อนในโครงการโขงเลยชีมูล เขื่อนศรีสองรัก หรือเขื่อนสะนะคามแล้วก็จบ อย่าลืมว่าการต่อสู้ของพี่น้องอีสานกับโครงการโขงชีมูล มันชัดเจนว่านี่เป็นผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ที่ชาวบ้านในภาคอีสานเสียมากกว่าจะได้”

ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาของแม่น้ำโขง ไม่ถูกให้ความสำคัญในการศึกษาผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ รวมถึงแม่น้ำโขงยังเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ส่งผลกระทบต่อคนเป็นจำนวนมาก 

ภาพจากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา

เครือข่ายนักวิชาการจะมีความตื่นตัวคิดประเด็น หรือการสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการขับเคลื่อน ซึ่งคาดหวังว่าจะช่วยรัฐบาลไทยในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคให้กับสังคมไทย ทำให้สังคมไทยเติบโตไปพร้อมกับความรู้ แต่ ณ ขณะนี้แวดวงวิชาการลุ่มน้ำโขง ยังอยู่ในการศึกษาในแวดวงจำกัด และไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น

“วันนี้ นักวิชาการจากหลากหลายสาขาจะร่วมกันทำให้เสียงของคนแม่น้ำโขง คนที่ใช้ทรัพยากรลุ่มน้ำโขง และคนที่มีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงดังขึ้น เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปี เสียงของคนแม่น้ำโขงถูกกลบด้วยเสียงของทุนข้ามชาติ ด้วยข้อตกลงของรัฐที่ละเลยเสียงของคนเหล่านี้” ดร.มาลี กล่าวทิ้งท้าย

อนึ่ง แม่น้ำโขง แม่น้ำสายหลักของภูมิภาคที่มีความอุดสมบูรณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพและการประมงที่เป็นอันดับหนึ่งของโลก 30 ปีที่ผ่านมา แม่น้ำโขงได้ถูกใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานเพื่อตอบสนองการพัฒนาของประเทศในต้นน้ำและตอนล่าง นับตั้งแต่ปี 2535 การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนบน 11 แห่ง ในเขตประเทศจีน โดยได้กักน้ำประมาณ 47,000,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องและส่งผลให้เกิดการการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศและวิถีชีวิตของประชาชนตอนล่างอย่างหนัก ต่อมาเมื่อมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่าง 2 แห่ง คือ เขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนดอนสะโฮง เพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้กับประเทศไทยและกัมพูชา ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ผลกระทบอย่างรุนแรงทางสิ่งแวดล้อม ในปี 2562   รวมถึงประเด็นการเคลื่อนไหวของประเทศมหาอำนาจที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการแม่น้ำโขงในระยะที่ผ่านมา

จากสถานการณ์ดังกล่าว ภาคประชาชนที่ต่อสู้เรื่องน้ำโขงมายาวนาน ดังเช่นเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรชาวบ้าน นักพัฒนาองค์กรเอกชน นักวิชาการท้องถิ่น ที่ร่วมกันติดตามสถานการณ์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของแม่น้ำโขงมาตั้งแต่ปี 2554  เห็นว่า ประเด็นปัญหาในแม่น้ำโขงขณะนี้ที่อยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว การรับฟังเสียงประชาชนผู้ได้รับผลกระทบสะสมยังมิสามารถเกิดเปลี่ยนแปลงถึงระดับนโยบายการแก้ปัญหาและเท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน พวกเราจึงเล็งเห็น ต้องยกระดับบทบาทของการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำข้ามพรมแดนด้วยการจัดตั้ง“สภาประชาชนลุ่มน้ำโขง ประเทศไทย” ให้เป็นรูปธรรม ยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแม่น้ำโขงของทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อสร้างจุดยืน ส่งเสียงให้ชัดเจนในทางนโยบายและกฎหมายในการปกป้องรักษาแม่น้ำโขงร่วมกันกับภาคประชาชน

กำหนด เวที “การจัดตั้งสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง ประเทศไทย”

วันที่อังคาร ธันวาคม 2563 

18.00 น อาหารเย็น และเวทีฟังเสียงลูกหลานแม่น้ำโขง Mekong Talk (Dinner) 

โดยตัวแทนชาวบ้านลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด และรับฟังดนตรีจากนาคาสตูดิโอ  

วันที่ 2 ธันวาคม 2562 [เวทีสาธารณะ] 

8.30 น.  ลงทะเบียน

8.45 น   กล่าวต้อนรับโดย ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมาการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตสมาชิกวุฒสภา จังหวัดเชียงราย

9.00 น – 10.30 น. เวทีเสียงของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวช้อง นำเสนอปัญหาข้อห่วงใยต่อพัฒนา แม่น้ำโขงที่ ประชาชนต้องการเห็น และแนวคิดการจัดตั้งสภาประชาชน ผู้ร่วมเสวนา 

นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของ

นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน

ดร.ชยันต์ วรรธนภูติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิชาการจากเครือข่ายนักวิชาการเพื่อแม่น้ำโขง

รศ.ดร กนกวรรณ มโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  นักวิชาการจากเครือข่ายนักวิชาการเพื่อแม่น้ำโขง 

ดำเนินรายการโดย คุณอัจฉราวดี บัวคลี่ ผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง ไทยพีบีเอส

10.30น. -11.00 น พักเบรก

11.00 น. -12.30 น เวทีอภิปราย เวทีอภิปราย “บทบาทและข้อเสนอต่อการสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชนเพื่อการจัดการรักษาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน”  ในทัศนะของหน่วยงานภาครัฐ สถานทูต และหน่วยงานสหประชาชาติ  ผู้ร่วมเสวนา: 

คุณ ไมเคิล จี ฮีธ อัคราชทูตที่ปรึกษา สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย

คุณเดวิด บราวน์ เลขานุการเอก ฝ่ายการเมืองและเศรษฐกิจ สถานทูตออสเตรเลีย ประจำประเทศไทย    

คุณจารุวรรณ งามสิงห์ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP)

ตัวแทน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติฐานะเลขานุการสำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย  

ดำเนินรายการโดยคุณปิยภรณ์ วงศ์เรือง บรรณาธิการ Bangkok Tribune 

12.45 น -13.00 น กล่าวปิด โดย ศ.สุริชัย หวันแก้ว ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

13.00 น รับประทานอาหารเที่ยง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขงที่บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย คุณน้ำทิพย์ นิสิตสาขาพัฒนาชุมชน ม.มหาสารคาม ปักหมุดรายงานการลงพื้นที่เก็บข้อมูล เรียนรู้วิถีชุมชนริมฝั่งโขง และพูดคุยกับชาวประมงถึงผลกระทบและการปรับตัวของชาวบ้านริมฝั่งโขงหลังสถานการณ์น้ำโขงขึ้น – ลงผันผวนอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา ซึ่งในวันที่ 1-2 ธันวาคมนี้ จะมีเวที “การจัดตั้งสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง ประเทศไทย” ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีตัวแทนเครือข่ายชาวบ้านริมฝั่งโขง , นักวิชาการ , นักวิจัย และองค์กรต่าง ๆ ร่วมกันกำหนดเป้าหมายและรูปแบบของสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง รวมถึงกลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อติดตามและหาทางออกร่วมกัน

ร่วมรายงาน ติดตามสถานการณ์ในลุ่มน้ำโขงได้ทางแอปพลิเคชัน C-Site อัพเดพสถานการณ์ง่าย ๆ ด้วยมือคุณเองที่ https://www.csitereport.com/#!/mekongriver

ติดตามและร่วมรายงานสถานการณ์ในลุ่มน้ำโขงได้ทาง https://www.csitereport.com/#!/mekongriver

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ