ฟื้นฟูภูมิปัญญาทอผ้า พัฒนาอาชีพคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 หนึ่งเดียวในเชียงใหม่ที่ใช้ผ้าย้อมสีจากหิน

ฟื้นฟูภูมิปัญญาทอผ้า พัฒนาอาชีพคนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 หนึ่งเดียวในเชียงใหม่ที่ใช้ผ้าย้อมสีจากหิน

“สมัยก่อนคนที่นี้ทอผ้าเป็นทุกครัวเรือน เรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน เด็กๆ ก็จะมาช่วยแม่ทอผ้า หากว่าใครที่ทอผ้าไม่เป็นถือว่าเป็นคนที่ผิดปกติ  ตอนเช้าจะมีเสียงกีทอผ้ากระทบกันได้ยินทุกหลังคาเรือน กลายเป็นเสียงปลุกในตอนเช้าที่คุ้นเคย”

แม่หลวงทัญกานร์ ยานะโส เล่าให้ฟังถึงความสำคัญของการทอผ้าในอดีตของบ้านเชิงดอย ตำบลสบเตี้ยะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันหลงเหลือเพียงไม่กี่คนที่จะทอผ้า เพราะไปทำงานนอกชุมชนและเห็นว่าการซื้อมันสะดวกสบายกว่า  ภายหลังจากที่แม่หลวงเล่งเห็นสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมา ในปี 2550 รวบรวมคนที่ยังหลงเหลือที่พอจะทอผ้าเป็นจัดตั้งกลุ่มทอผ้าในชุมชน  ใช้ภูมิปัญญาย้อมผ้าด้วยหินโมคคัลลาน      

บ้านเชิงดอย มีภูมิปัญญาการทอผ้าจากเส้นใยธรรมชาติ ผลิตด้วยกรรมวิธีธรรมชาติ ยาวนานกว่า 50 ปี จนได้มีการพัฒนาต่อยอดโดยการนำหินสีจากดอยโมคคัลลานมาเป็นวัตถุดิบในการย้อมจนเป็นเอกลักษณ์ผ้าทอของหมู่บ้าน จากนั้นจึงได้ก่อตั้งโดยการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผ้าฝ้ายเชิงดอย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ สร้างงาน สร้างรายได้แก่สมาชิกกลุ่ม เพื่อส่งเสริม  อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น จนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าฝ้ายเชิงดอย ได้รับการยกย่องเป็นสินค้า  โอทอป 5 ดาวจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมทอง และรับรางวัลผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระดับดีเยี่ยม ประจำปี 2558 และระดับดีมาก ประจำปี 2562  จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างความภาคภูมิใจกับชุมชนเป็นอย่างยิ่ง

ภายหลังจากที่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ก็ทำให้คนในชุมชนที่เคยทอผ้าและมีรายได้หลักจากการทอผ้า ขาดรายได้ในการเลี้ยงครอครัว และไม่สามารถประกอบอาชีพอื่น ๆ แม้กระทั่งอาชีพเกษตรดั่งเดิม เพราะยังไม่ถึงฤดูกาล จึงได้มีการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กศส.) ในชื่อโครงการ “การพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะฝีมือการทอผ้าและเพิ่มโอกาสทางการตลาดของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด19″

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะฝีมือการทอผ้าของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มผ้าฝ้ายเชิงดอย เพิ่มศักยภาพการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผ้าฝ้ายเชิงดอย  ส่งเสริมการขยายช่องทางการตลาดและโอกาสทางการตลาดของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส โดยมีมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการสนับสนุนทางวิชาการ และกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมาย 

ประชุมสรุปบทเรียนการเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมาย

เป็นอีกความหวังที่ให้ชุมชนลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาปากท้อง ด้วยการใช้ภูมิปัญญาที่ชุมชนคุ้นเคย นอกจากนี้ยังเป็นการต่อลมหายใจให้กับการทอผ้าที่นับว่า คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญในการสืบทอดเนื่องจากปัจจัยหลายประการ การนำผ้าทอเชิงดอยมีเอกลักษณ์ฟื้นฟูอีกครั้ง เช่นเดียวกับการทำให้ชุมชนสามารถต่อสู้กับปัญหาโควิดอีกครั้ง 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ