บททวน “โครงการสร้างงาน อว.” ก่อนไปต่อ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย”

บททวน “โครงการสร้างงาน อว.” ก่อนไปต่อ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย”

ไม่แน่ใจใครยังรอ… แต่ อว.ยันเดินหน้าต่อ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เดือน พ.ย.นี้ จากเป้าหมายเดิมจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษา และประชาชน กว่า 2 แสนตำแหน่ง ครอบคลุม 7,900 ตำบลทั่วประเทศ เริ่ม 3,000 ตำบล ตั้งต้นก่อน

000

ในภาวะที่กลุ่มคนวัยแรงงานกำลังประสบปัญหาการจ้างงาน จากวิกฤติโควิด-19 ที่ซ้ำเติมให้ภาวะเศรษฐกิจขาลงฟื้นตัวได้ยากยิ่ง ทั้งยังมีความกังวลไปถึงตัวเลขบัณฑิตจบใหม่ในปี 2564 เกือบ 500,000 คน ซึ่งอาจกลายเป็นผู้ว่างงานถาวร เพราะตลาดแรงงานไม่พอรองรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่

โจทย์ใหญ่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. ในตอนนี้คือการลดจำนวนบัณฑิตจบใหม่ให้ตกงานน้อยที่สุด และนั่นคงต้องทบทวบจากการดำเนินงานที่ผ่านมาแล้ว

“โครงการ อว.สร้างงาน ระยะที่ 2” คือ หนึ่งในโครงการจ้างงาน ที่เพิ่งสิ้นสุดไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา โดยการดำเนินการของ อว. ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่ทั่วประเทศ มุ่งเป้าทั้งการสร้างงานและเสริมศักยภาพให้กับกำลังแรงงานสมัยใหม่ ที่ไม่ได้มีแต่เฉพาะคนรุ่นใหม่หรือบัณฑิตจบใหม่ ด้วยการเข้าไปทำงานในชุมชนร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยวิจัย และผู้ประกอบการ SMEs

โครงการนี้มีการจ้างงานผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ในระยะที่ 1 จ้างงานรวม 9,730 อัตรา ส่วนระยะที่ 2 รวม 32,718 อัตรา ด้วยงบกลางกว่า 883 ล้านบาท

000

C-site ทบทวนโครงการสร้างงานในวิกฤติโควิด-19

ภายใต้การทำงานของ อว. ซึ่งเป็นกระทรวงน้องใหม่ เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2562 ที่มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

ในโครงการสร้างงานระยะสั้น อว.ก็มีการเดินหน้าการคืนบัณฑิตสู่ชุมชน และการจ้างงานคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นรูปแบบการจ้างงานที่เกิดขึ้นท่ามกลางข้อจำกัดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ที่ต้องลดการเดินทางข้ามพื้นที่

สำรวจดู C-Site ในช่วงวิกฤติโควิด-19 พบว่ามีการปักหมุดความเคลื่อนไหวจากพื้นที่ชุมชนของโครงการจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ใน “โครงการอว.สร้างงาน” มาตั้งแต่ช่วงตั้งต้น

หมุด – มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีปฐมนิเทศโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

อย่างหมุดนี้ คุณจารุณี กฐินหอม ปักมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 ซึ่งมีการปฐมนิเทศโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จะเห็นว่ามีคนหลากหลายช่วงวัยเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งผู้ได้รับการจ้างงาน นอกจากจะมีงานทำแล้วยังจะได้รับการพัฒนาทักษะทางวิชาการในด้านต่างๆ แตกต่างกันไป เพื่อนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้

หมุด – บัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ผ่านเครื่องมือผ่านระบบ GIS สามมิติ

อีกหมุด คุณกัดดาฟี เล่าถึงการทำงานของบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด 5 คน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลผลกระทบของชาวบ้านพื้นที่ชายแดนใต้ ในประเด็นเศรษฐกิจ ภาพที่เห็นคือฟาร์มที่เป็นวิสาหกิจชุมชนในชุมชนกูบังปูตับ ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา พวกเขาใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลผ่านระบบ GIS สามมิติ เพื่อเป็นฐานข้อมูลของชุมชน ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ จะนำมาใช้วางแผนช่วยเหลือชุมชนต่อไปในอนาคต

หมุด – เก็บข้อมูลชุมชนตำบลลวงเหนือ

ส่วนหมุดนี้ เพิ่งปักมาเมื่อเดือนกันยายน โดยคุณดาริกา จึงเจริญ เล่าถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนตำบลลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในโครงการแม่โจ้จ้างงานสู้โควิด-19 ทำให้ได้ไปค้นหา และรู้จักพื้นที่ตำบลของตัวเองมากยิ่งขึ้น

000

ประมวลภาพสะท้อนจาก 3 ภูมิภาค

นอกจากการลดผลกระทบเรื่องรายได้จากการจ้างงานผู้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว ข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนและโครงการวิจัยต่างๆ คือผลผลิตสำคัญที่จะถูกนำไปต่อยอดได้ในอนาคต แต่ในส่วนการสร้างโอกาส การสร้างงาน สร้างรายได้หลังจากนี้ ดูเหมือนจะยังเป็นโจทย์ต่อเนื่องที่ทั้งคนทำงาน ชุมชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยร่วมกันเฝ้ารอคำตอบในการดำเนินการต่อจากทิศทางนโยบาย

บทเรียนคนรุ่นใหม่ จ.เชียงใหม่

ตลอดสามเดือนตามกรอบระยะเวลาการจ้างงาน กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้นำเอาทักษะที่มีอยู่นำมาช่วยวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลชุมชน อย่างเช่นที่ชุมชนเกษตรกรรมใน ต.สันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เพื่อที่จะนำข้อมูลส่งต่อให้กับหน่วยงานท้องถิ่น ออกแบบแก้โจทย์ให้กับเกษตรกรในอนาคต

บทเรียนคนรุ่นใหม่กับการจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 (1 ต.ค. 63)

ตลอดสามเดือนตามกรอบระยะเวลาการจ้างงาน กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วม “โครงการ อว.สร้างงานระยะที่ 2” ได้นำเอาทักษะที่มีอยู่นำมาช่วยวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลชุมชน ของ ต.สันป่าเปา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรม เพื่อที่จะนำข้อมูลส่งต่อให้กับหน่วยงานท้องถิ่น ออกแบบแก้โจทย์ให้กับเกษตรกรในอนาคต ไปติดตามจากได้รายงาน (1 ต.ค. 63)#CSite #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS.ติดตาม นักข่าวพลเมือง C-Site ทุกวัน จันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 13.30.00 – 14.00 น.📌 รับชมทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3📌 ชมสดออนไลน์ : www.thaipbs.or.th/Live📌 ชมย้อนหลัง : www.thaipbs.or.th/CSite

Posted by นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) on Wednesday, 30 September 2020

โครงการร่วมสร้างนักวิจัย ม.มหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ร่วมกับชุมชน โดยมีผู้เข้าร่วมรวมทั้งหมด 270 คน จาก จ.มหาสารคามและ จ.ร้อยเอ็ด มีกรอบการทำงาน 3 ส่วน คือ งานด้านข้อมูล งานด้านวิเคราะห์และทำแผน และงานด้านวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

นักวิจัยจากโครงการเยียวยาวิด-19 ม.มหาสารคาม (1 ต.ค. 63)

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกพื้นที่ดำเนินโครงการร่วมกับชุมชนค่ะ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการสร้างงานรวมทั้งหมด 270 คน จาก จ.มหาสารคามและ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งมีกรอบการทำงาน 3 ส่วน คือ งานด้านข้อมูล /งานด้านวิเคราะห์และทำแผน/ งานด้านวิชาการและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากการลดผลกระทบเรื่องรายได้ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว การส่งต่อข้อมูลจากงานวิจัย และการสร้างโอกาส การสร้างงาน สร้างรายได้ต่อจากนี้ ดูเหมือนจะเป็นโจทย์ต่อเนื่องที่หลายฝ่ายยังต้องขบคิดต่อ (1 ต.ค. 63)#CSite #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS.ติดตาม นักข่าวพลเมือง C-Site ทุกวัน จันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 13.30.00 – 14.00 น.📌 รับชมทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3📌 ชมสดออนไลน์ : www.thaipbs.or.th/Live📌 ชมย้อนหลัง : www.thaipbs.or.th/CSite

Posted by นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) on Wednesday, 30 September 2020

บัณฑิตอาสาฯ พัฒนาชุมชน จ.สงขลา

ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต การทำงานของบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด ที่ผ่านมาสามารถช่วยต่อยอดเศรษฐกิจในชุมชน โดยการนำไอเดียและการทำธุรกิจออนไลน์ไปหนุนเสริมเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เช่นที่บ้านแม่ทอมออก อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

บัณฑิตอาสาฯ พัฒนาชุมชนแม่ทอมออก จ.สงขลา (1 ต.ค. 63)

ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้ง 5 วิทยาเขต ที่มีผู้ร่วมโครงการฯ ทั้ง 2 ระยะ จำนวนรวม 800 คน กระจายการทำงานใน 160 กว่าตำบล ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ ภายใต้ 5 ประเด็นหลัก ๆ คือ ผู้สูงอายุ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เด็กและเยาวชน เศรษฐกิจชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชนการทำงานของบัณฑิตอาสาสู้ภัยโควิด ที่ผ่านมาสามารถช่วยต่อยอดเศรษฐกิจในชุมชน โดยการนำไอเดียและการทำธุรกิจออนไลน์ไปหนุนเสริมเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนแม่ทอมออก อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ติดตามจากรายงาน (1 ต.ค. 63)#CSite #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS.ติดตาม นักข่าวพลเมือง C-Site ทุกวัน จันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 13.30.00 – 14.00 น.📌 รับชมทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3📌 ชมสดออนไลน์ : www.thaipbs.or.th/Live📌 ชมย้อนหลัง : www.thaipbs.or.th/CSite

Posted by นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) on Thursday, 1 October 2020

000

ถามตอบเพื่อไปต่อ : การสร้างงาน สร้างคน และสร้างอนาคตของเศรษฐกิจชุมชน

“โครงการ อว.สร้างงาน” ทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ที่เพิ่งจบไป ถือเป็นโครงการระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์โควิด-19 แต่การแก้ปัญหาการจ้างงานคนรุ่นใหม่ในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และหากมองว่า Local Economy (เศรษฐกิจชุมชน) จะเป็นกุญแจที่จะทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ในอนาคต ก้าวต่อเพื่อการสร้างกำลังแรงงานรุ่นใหม่ที่เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นจะเป็นไปในรูปแบบไหน

นักข่าวพลเมือง C-Site ชวนพูดคุยกับ

1.ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมจิตสาธารณะและการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูและเยียวยาประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ตามโครงการ อว.สร้างงาน

2.รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ว่าด้วยการขยับขับเคลื่อนต่อในเชิงนโยบาย

วิดีโอคอล บัณฑิตคืนถิ่น: การสร้างงาน สร้างคน และสร้างอนาคตของเศรษฐกิจชุมชน (1 ต.ค. 63)

“โครงการ อว.สร้างงาน” ทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ที่เพิ่งจบไป จึงถือเป็นโครงการระยะสั้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์โควิด-19 แต่การแก้ปัญหาการจ้างงานคนรุ่นใหม่ในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และหากมองว่า Local Economy (เศรษฐกิจชุมชน) จะเป็นกุญแจที่จะทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ในอนาคต ก้าวต่อเพื่อการสร้างกำลังแรงงานรุ่นใหม่ที่เชื่อมโยงกับชุมชนท้องถิ่นจะเป็นไปในรูปแบบไหนC-Site ชวนพูดคุยกับ – ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมจิตสาธารณะและการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูและเยียวยาประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ตามโครงการ อว.สร้างงาน- รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กับการขยับขับเคลื่อนต่อในเชิงนโยบาย (1 ต.ค. 63)#CSite #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS.ติดตาม นักข่าวพลเมือง C-Site ทุกวัน จันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 13.30.00 – 14.00 น.📌 รับชมทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3📌 ชมสดออนไลน์ : www.thaipbs.or.th/Live📌 ชมย้อนหลัง : www.thaipbs.or.th/CSite

Posted by นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) on Thursday, 1 October 2020

Q: ชุมชนต้องการคนจริงไหม สามารถรองรับคนที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานได้จริงหรือเปล่า

ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ส่งคนลงไป 800 คน และรวมโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชอีก 200 คน เป็น 1,000 คน ซึ่งลงไปในพื้นที่ ทุกชุมชนสะท้อนโดยตรงว่า ชุมชนต้องการคนที่จะไปช่วยในการพัฒนาในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน นี่คือพื้นฐาน และที่สำคัญชุมชนต้องการคนที่ไปช่วยทำข้อมูล ช่วยรวบรวมข้อมูล ประเด็น แล้วนำเสนอความต้องการของชุมชนไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ และสู่มหาวิทยาลัย  

โครงการทั้ง 5 ประเด็นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำมีทั้งหมด 166 โครงการ จากทั้งหมด 148 พื้นที่ โครงการที่เกิดขึ้นเป็นความต้องการของชุมชนในมิติการพัฒนาทางด้านคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ชุมชนมองว่าต้องการการพัฒนาที่ต่อเนื่อง

Q: บทบาทของมหาวิทยาลัยหลังจากนี้คืออะไร

ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ : บทบาทของมหาวิทยาลัยฯ ที่สำคัญก็คือ ช่วงที่สนับสนุนโครงการจ้างงานเราใช้คำว่า “บัณฑิตอาสากู้ภัยโควิด” สรุปก็คือบัณฑิตคืนถิ่น เพราะช่วงที่เข้ามาร่วมโครงการฯ เป็นช่วงที่ไม่สามารถเดินทางข้ามจังหวัดได้ เพราะมีการระบาดของโควิด-19 อยู่ ช่วงนั้นเขาก็มีโอกาสทำงานชุมชนเพื่อพัชุมชน และเขาสามารถวางแผน อีกทั้งมหาวิทยาลัยเองเป็นมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขตกระจายอยู่ทั่วภาคใต้ทั้ง 5 วิทยาเขต ตั้งแต่ภูเก็ต ตรัง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี มาถึงหาดใหญ่

บทบาทที่สำคัญในช่วงดำเนินโครงการก็คือการอัพสกิลหรือพัฒนาทักษะ ที่สำคัญก็คือวิธีการจัดทำข้อมูล GIS วิธีการจัดการข้อมูลเรื่อง IT วิธีการสื่อสารข้อมูลชุมชน และที่สำคัญก็คือแนวทางการวางแผนร่วมกับชุมชน นี่เป็นการพัฒนาทักษะที่ดำเนินการร่วมด้วย

อีกส่วนหนึ่งที่ทางมหาวิทยาลัยได้รับการสะท้อนมา คือ “บัณฑิตอาสากู้ภัยโควิด” ต้องการที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะทำงานของของตัวเองและทำงานกับหน่วยงานของตัวเองในอนาคตต่อไป ซึ่งก็มีอยู่ 3-4 ประเด็นที่สำคัญ เรื่องแรกคือต้องการพัฒนาทักษะเรื่องของการพัฒนาผู้ประกอบการ เรื่องที่สองคือต้องการพัฒนาทักษะด้านภาษา ข้อต่อมาคือการพัฒนาทักษะเรื่องของการจัดการการบริหารข้อมูลการทำงานชุมชน

บทบาทของมหาลัยในช่วงที่เราสนับสนุนบัณฑิตที่เข้ามาร่วมโครงการฯ ก็ทำอย่างเต็มที่ในระยะเวลาที่จำกัด 3-4 เดือนเท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าได้ใน 2 ส่วน คือ 1.ระบบ IT ที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีทักษะ เอาไปใช้ได้แน่นอน เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่สามารถเอาทักษะตรงนี้ไปช่วยเหลือชุมชนได้ด้วย 2.คือทักษะการทำงานกับสังคม ซึ่งอันนี้เป็นบมบาทที่สำคัญที่เขาจะนำไปทำงานต่อได้ในส่วนต่าง ๆ และสื่อสารได้

นอกจากนั้นทางมหาวิทยาลัยฯ ก็จะมีการทำงานต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ได้เข้าไปร่วมทำงาน 160 กว่าโครงการ มหาวิทยาลัยฯ จะทำงานต่อเนื่องตามความต้องการของชุมชนที่นำเสนอ ทั้งการบริการวิชาการ การวิจัย และส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปต่อยอด ทั้งในส่วนของ อว.ที่จะมีโครงการต่อเนื่องด้วย คือ “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” นี่คือสิ่งที่มหาวิทยาลัยเตรียมตัวอยู่ และบัณฑิตอาสาหลายคนก็บอกว่าอยากจะทำงานต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัยต่อไป

Q: สำหรับ อว. “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เดินหน้าต่ออย่างไร

รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร : ที่ผ่านมาในช่วงโครงการฯ เฟส 1 และ เฟส 2 ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดี ซึ่งคำนี้หมายความว่าประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับพี่น้องประชาชน ได้เห็นว่าทางมหาวิทยาลัยและ อว.ที่ได้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ถือเป็นระบบที่ดีมาก และทำให้น้องๆ ได้มีประสบการณ์เรื่องการลงพื้นที่ และการเก็บข้อมูล นำไปสู่การทำงานเฟสที่ 3

เฟสที่ 1 และ 3 ที่มีเวลาทำงานเพียงเฟสละ 3-4 เดือนนั้นสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 ตอนนี้ทาง อว.ได้พยายามดำเนินการให้เกิดเฟสที่ 3 ขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว 1 มหาวิทยาลัยนั้นไม่ได้ดูแลแค่ตำบลเดียว ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็ดูแลในหลายพื้นที่ หลายๆ มหาวิทยาลัยก็ต้องดูแลกันไป แต่รอบนี้ที่จะมีการเสนอไปที่คณะรัฐมนตรีจะอยู่ที่ 3,000 ตำบล และใน 1 ตำบล จะมีอาสาสมัครลงไปทำงาน 20 คน

มีความตั้งใจว่าในอาสาสมัคร 20 คน จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1.บัณฑิตจบใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์ 2.นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่แต่อยากเข้ามาเรียนรู้ 25 เปอร์เซ็นต์ และ3.ประชาชน 25 เปอร์เซ็นต์ และโครงการนี้หากไม่มีอะไรขัดข้องน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือน พ.ย.นี้ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 12 เดือน ใช้งบประมาณเงินกู้ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ วงเงินไม่เกิน 400,000 ล้าน (พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน)

“เราตั้งใจไว้ว่าตรงนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เศรษฐกิจที่เรียกว่าเป็น local economy สามารถที่จะขับเคลื่อนได้ และทำให้ประโยชน์เกิดกับตัวนักศึกษาเอง ไม่ใช่แค่เรื่องการไม่ว่างงาน แต่หมายถึงการเข้าใจชุมชน การเข้าใจพื้นที่ และการเข้าใจการทำงานร่วมกัน ที่สำคัญคือจะทำให้งานพวกนี้เป็นกึ่งงานวิจัย เมื่อนำมาเป็นข้อมูลแล้วจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้ชุมชนค้นพบตัวเอง และสามารถพัฒนาในเรื่องของเศรษฐกิจไปได้อย่างยั่งยืน

Q: โจทย์ต่อไปเพื่อการจ้างงานบัณฑิต สิ่งที่รัฐต้องหนุนเสริมคืออะไร

ผศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ : ประเด็นที่สำคัญที่คิดว่าเป็นงานใหม่ของ อว. และเป็นงานใหม่ของมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน คือ เรื่องระบบการบริหารการจัดการ นี่เป็นประเด็นที่สำคัญเพราะว่าเรารับรองผู้เข้าร่วมโครงการเป็นพันคน และระบบการจัดการมีข้อจำกัดในเรื่องของขั้นตอน ระยะเวลาที่ดำเนินการ เราเข้าใจดีว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ค่าตอบแทนต้องตรงเดือน ฯลฯ นี่เป็นประเด็นสำคัญที่เราก็สื่อสารกันตลอดกับกระทรวง อว.ว่าเราจะจัดการในส่วนนี้ให้มันคล่องตัวได้อย่างไร

ทั้งนี้ ในเชิงนโยบาย ต้องเรียนท่านที่ปรึกษาฯ ว่า ถ้าปรับวิธีการให้คล่องตัว ลดขั้นตอน ทำให้สามารถหนุนเสริมอย่างเร่งด่วนได้ คิดว่าเป็นประเด็นที่สำคัญในเรื่องการบริหารการจัดการ ส่วนการสนับสนุนเชิงนโยบาย คิดว่า อว.มีอยู่อย่างเต็มที่อยู่แล้ว แต่การสนับสนุนนอกจากจะเป็นเงินกู้ฯ แล้ว ในส่วนงบกรมกลางของ อว.ก็น่าจะมีการพูดคุยร่วมกัน วางแผนร่วมกันว่า เราจะสนับสนุนเพื่อให้ระบบบริหารจัดการคล่องตัวในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบได้อย่างไร ทั้งงบประมาณและการจัดการในส่วนของ อว. ไม่เกี่ยวกับเงินกู้

อีกส่วนหนึ่งคือการจะทำอย่างไรที่จะให้หน่วยงานอื่น กระทรวงอื่น เข้ามาร่วมกับกระทรวง อว. และเข้ามาร่วมกับมหาวิทยาลัยได้ใกล้ชิดมากขึ้น และสามารถทำงานในเชิงบูรณาการมากขึ้นได้

Q: ทิศทางการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในอนาคต

รศ.ดร.จักษ์ พันธ์ชูเพชร : อว.เห็นความสำคัญในเรื่องนี้มาก ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เน้นในเรื่องการทำงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัย ร่วมกันกับหน่วยงานอื่น ๆ เพราฉะนั้นข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเป็นข้อมูลที่ดีที่เจะนำมาพัฒนาให้เกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เรามีงบในการเข้าไปบริหารจัดการ งบดำเนินการตรงนี้ของ อว.จะเข้าไปดูแลนอกจากงบเงินกู้แล้ว อยากให้ทุกคนมั่นใจและเดินไปด้วยกัน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ