ปาฐกถาเสมพริ้งพวงแก้ว ครั้งที่ 20
“Spiritual ecology นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ –- ทางออกจากวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้?”โดย Leslie E. Sponsel
วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 16.30 น. – 19.15 น.ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
16.30 – 17.00 น. ลงทะเบียนเพื่อร่วมรับฟังปาฐกถา
17.00 – 17.15 น. คุณสุรสีห์ โกศลนาวิน กล่าวเปิดงาน / ฉายวีดิทัศน์ รายงานผลการดำเนินงานเสมสิกขาลัย
17.15 – 17.30 น. อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวแนะนำปาฐก
17.30 – 18.45 น. ปาฐกถาหัวข้อ “Spiritual Ecology: นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ” โดย Leslie E. Sponsel
18.45 – 19.00 น. ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิด
19.00 – 19.15 น. กล่าวปิดงานโดย อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือ บริจาคตามกำลังทรัพย์เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดงาน
สำรองที่นั่งและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ เสมสิกขาลัย(รามคำแหง)
คุณสาวิตรี กำไรเงิน โทร. 02 – 314 7385 ถึง 6
e-mail: semsikkha_ram@yahoo.com http://www.semsikkha.org
นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ – ทางออกจากวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้?
พิธีฉลองวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1970 ได้แสดงถึงสถานะสำคัญครั้งใหม่ข้อมูลข่าวสาร ความตระหนักรู้ ความกังวล และปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยทั้งหมด วันคุ้มครองโลกกลายเป็นกิจกรรมประจำปี และได้เกิดพิธิฉลองมากขึ้นตามประเทศต่างๆเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ได้เกิดความก้าวหน้าที่สำคัญหลายประการในการจัดการต่อปัญหาและประเด็นต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีส่วนร่วมจากภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และยังรวมถึงหน่วยงานกระทรวงต่างๆของรัฐบาล กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิธีการเหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง และบรรลุผลสำเร็จที่สำคัญอย่างมากมาย วิถีทางโลกต่างๆข้างต้นก็แสดงให้เห็นว่ายังไม่เพียงพอ เนื่องจากว่า ปัญหาและวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมนั้นส่งผลต่อเนื่องจากระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับโลก และปัญหามากมายกลับยิ่งเลวร้ายมากกว่าดีขึ้น
ภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (หรือภาวะโลกร้อน) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อความมั่นคงแห่งขาติของทุกๆประเทศ และรวมทั้งของโลกเราทั้งหมด เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์สภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรงได้ทวีคูณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนทั้งในแง่ของความถี่และความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเป็นที่เห็นพ้องต้องในในวงการนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงนับพันคนผ่านงานวิจัยและการตรวจสอบว่า มนุษย์นั้นเป็นปัจจัยสาเหตุที่สำคัญ
ศาสนา และรวมถึงจิตวิญญาณโดยรวมแล้ว สามารถเป็นพลังที่มีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ในการกระตุ้นและชี้นำผู้คนและสังคม ตั้งแต่ คริสตทศวรรษที่ 1990 นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางศาสนาและจิตวิญญาณ กับนิเวศวิทยา ธรรมชาติ และแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยให้ความหวังอยู่บ้างว่า มีความเป็นไปได้ที่ สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอาจจะปรับปรุงและดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในท้ายที่สุด
ปาฐกถาครั้งนี้ จะอธิบายภาพรวมของความคิดและปฏิบัติการที่สำคัญบางประการ ที่เกี่ยวข้องกับ นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ ในบริบทของทั้งวงการวิชาการ และในสังคมวงกว้าง นอกจากนี้ การบรรยายครั้งนี้ยังจะมาพิจารณาถึงอุปสรรคสำคัญที่นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณกำลังเผชิญอยู่ ข้อมูลในการบรรยายครั้งนี้มีที่มาจากหลากหลายแหล่ง ซึ่งรวมถึง หนังสือเล่มล่าสุดของ องค์ปาฐก “นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ: การปฏิวัติโดยสงบ (Spiritual Ecology: A Quiet Revolution)” หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลจากเทศกาลหนังสือเพื่อสิ่งแวดล้อมประจำปีเมืองซานฟรานซิสโก ในสาขาวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา เว็บไซต์สำหรับหนังสือเล่มนี้ที่ http://spiritualecology.info.
ถึงแม้ว่า นิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณอาจจะล้มเหลวที่จะแก้ไข หรือไม่ได้เข้าไปมีส่วนสำคัญต่อการลดปัญหาและวิกฤตการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องด้วยเหตุผลนานัปการ ทว่าอีกหลายสิปปีข้างหน้า นิเวศวิทยาแห่งจิตวิญญาณจะเผยผลของมันออกมา เราจะพูดถึงการสงวนความคิดไว้สำหรับศักยภาพของนิเวศวิทยาแห่งจิตวิญญาณกันในการบรรยายครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ดีนั้น สิ่งหนึ่งที่เราควรเข้าใจอย่างชัดเจน คือ ประชากรมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองต่างๆ สามารถอยู่ได้อย่างรุ่งเรืองมีสุขภาวะนั้น เช่นเดียวกันกับที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีสุขภาวะด้วย ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับสรรพสิ่ง มนุษยชาตินั้นอยู่มาเพียงแค่ช่วงพริบตาเท่านั้นภายในช่วงเวลาอายุของโลกทั้งหมด หากว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์สูญสิ้นไป ในท้ายที่สุดแล้ว ธรรมชาติซึ่งฟื้นคืนสภาพเดิมได้อยู่แล้วก็จะฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวได้ด้วยเอง
ประวัติ ศาสตราจารย์ Leslie E. Sponsel
นักมานุษยวิทยานิเวศ จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาจิตวิญญาณ โดยมีหนังสือเล่มล่าสุดคือ Spiritual Ecology: A Quiet Revolution ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการของแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมของผู้นำศาสนา ผู้นำจิตวิญญาณ นักคิด นักปรัชญา และขบวนการสิ่งแวดล้อมต่างๆ พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าจะสามารถปรับใช้แนวคิดเหล่านี้ในการคลี่คลายปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นได้อย่างไร
นิเวศวิทยาจิตวิญญาณ (Spiritual Ecology) เน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ศาสนา และจิตวิญญาณ กับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล กลุ่ม องค์กร ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับโลก นอกจากนี้ นิเวศวิทยาจิตวิญญาณเป็นคำที่ใช้เป็นร่มสำหรับแนวทางการศึกษาที่เฉพาะลงมา เช่น Ecomysticism, Ecotheology และ Religious Environmentalism ทั้งนี้ นิเวศวิทยาจิตวิญญาณเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงและมีความผันผวนยิ่งขึ้น โดยนิเวศวิทยาจิตวิญญาณชี้ให้เห็นว่าความเชื่อและศาสนาต่างๆ ในโลกมีหลักการพื้นฐานร่วมกันที่สามารถนำมาปรับใช้เป็นทางออกให้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร หลักการที่ว่านี้คือการให้ความสำคัญกับธรรมชาติในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การมองธรรมชาติอย่างสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ รวมทั้งความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ที่มา: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
The 20th SEM PRINGPUANG-KAEW Annual Public Lecture
Spiritual ecology : Is it a possible solution to the environmental crisis?
Thursday 10th July 2014, 4.30pm – 7.15pm
at Ruen Roychanum, Sathirakoses-Nagapradipa Foundation
666 Between Soi Charoen Nakorn 20-22, Charoen Nakorn Road,
Banglumpulang, Klong San, Bangkok, Thailand
Spiritual ecology: Is it a possible solution to the environmental crisis?
The first celebration of Earth Day in the U.S.A. on April 22, 1970, marked a whole new level of information, awareness, concern, and action regarding environmental problems and issues. It has become an annual event, and it is increasingly celebrated in many other countries as well. Since 1970, there have been many significant advances in dealing with environmental problems and issues involving science and technology as well as government ministries, laws, and regulations, and so on. Nevertheless, these secular approaches, although they are absolutely essential and have achieved much of great importance, have proven inadequate because environmental problems and crises continue from the local to the global levels, and many are getting worse rather than better.
Global climate change is the greatest threat of all for national security and that of the entire world. In recent years extreme weather events have increased markedly in frequency and intensity, and the overwhelming consensus of thousands of scientific authorities through numerous investigations is that humans are an important causal factor.
Religion, and more generally, spirituality, can be extremely powerful forces in motivating and guiding individuals and societies. Since the 1990s, spiritual ecology has been growing exponentially to pursue religions and spirituality in relation to ecology, environment, and environmentalism, giving some hope that possibly eventually the situation may improve significantly.
This talk provides an overview of some of the more important ideas and actions involved in spiritual ecology in the contexts of academia and more generally of society. Also, it will consider obstacles facing spiritual ecology. The talk draws on many sources, including the speaker’s latest book, Spiritual Ecology: A Quiet Revolution. This book was the winner in the category of Science at the annual Green Book Festival in San Francisco on May 17, 2014. A website complements the book: http://spiritualecology.info.
Spiritual ecology, however, for many reasons may fail to resolve or even contribute significantly to reduce environmental problems and crises, only decades into the future will reveal its impact. Reservations about its potential will also be discussed. However, one thing should be clear: human populations, societies, economies, and polities can only be as healthy as their environment. Nature is indispensable and ultimate. Humanity is only a wink in geological time. If the human species becomes extinct, then eventually nature which is resilient will restore itself.
Biographical Sketch
Leslie E. Sponsel earned the BA in Geology from Indiana University (1965), and the MA (1973) and PhD (1981) in Biological and Cultural Anthropology from Cornell University. Over the last four decades he has taught at seven universities in four countries, two as a Fulbright Fellow. (One of his Fulbright appointments was in the Biology Section at Prince of Songkhla University in Pattani). In 1981, he joined the Anthropology faculty at the University of Hawai’i to develop and direct the Ecological Anthropology Program. His courses include Ecological Anthropology, Environmental Anthropology, Anthropology of Religion, Spiritual Ecology, Sacred Places, Anthropology of Buddhism, Ethics in Anthropology, and Anthropology of War and Peace. Although retired since August 2010, he teaches one or two courses annually and otherwise devotes the rest of his time to research and publications.
From 1974 to 1981, Sponsel conducted several trips to the Venezuelan Amazon to research human ecology with the Yanomami and other indigenous societies. Almost yearly since 1986, Sponsel has made research trips to Thailand to study various aspects of Buddhist ecology and environmentalism together with his wife, Dr. Poranee Natadecha-Sponsel, retired from Chaminade University of Honolulu. In recent years their work in northern Thailand has focused on exploring sacred caves.
Sponsel’s research, publications, and teaching have focused on the interface of ecology, religion, and peace. Among his extensive publications are more than four dozen journal articles, four dozen book chapters, 42 entries in 14 different scientific encyclopedias, and two edited and two co-edited books. He is concentrating on publishing other books though integrating his previous articles and chapters on several different subjects as well as on developing the Research Institute for Spiritual Ecology (RISE) and its website: http://spiritualecology.info.
Sponsel’s latest book, Spiritual Ecology: A Quiet Revolution, was the winner in the Science category at the annual Green Book Festival in San Francisco, May 17, 2014.
Also see his faculty homepage:
http://www.socialsciences.hawaii.edu/profile/index.cfm?email=sponsel@hawaii.edu.
Admission is free and open to the public
For more information, please contact SEMSIKKHA
e-mail: semsikkha_ram@yahoo.com facebook: sem semsikkha
http://www.semsikkha.org