เราเกี่ยวอะไรกับป่าโตนสะตอ ? : นักวิจัยมีคำตอบ

เราเกี่ยวอะไรกับป่าโตนสะตอ ? : นักวิจัยมีคำตอบ

“เราควรที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากกว่าที่จะทำลาย เราอยู่ในยุคที่ไม่สามารถทำลายธรรมชาติไปได้มากกว่านี้แล้ว” คำพูดของดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี และศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ.ภาคใต้ ม.สงขลานครินทร์  ผู้เคยไปสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพ บริเวณน้ำตกโตนสะตอ ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.พัทลุง จำนวน 2 ครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2561  พบสัตว์ป่าหลากหลายชนิดทั้งมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์และสัตว์ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม  รวมถึงอยู่ในบัญชีหมายเลขสองของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)

ขอบคุณภาพ: อพิเชษฐ์ สุขเเก้ว

ดร. พิพัฒน์ เล่าให้ทีม ทีม The Citizen plus ฟังว่า การไปสำรวจครั้งนั้น นำโดยนักวิจัยพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา 50 พรรษา สยามบรมราชกุมารี, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ และสถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทยร่วมกับชาวบ้านเหมืองตะกั่ว  ตั้งแต่บริเวณจุดสกัด ซึ่งเป็นพื้นที่นันทนาการ พื้นที่ตรงนั้นเป็นรอยต่อระหว่างสวนของชาวบ้าน ต่อเนื่องไปบริเวณน้ำตกโตน เป็นการสำรวจเบื้องต้น ในระยะที่ไม่ยาวมากโดยเน้นการสำรวจสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น

ขอบคุณภาพ: อพิเชษฐ์ สุขเเก้ว

พื้นที่ตรงนั้นเป็นแนวรอยต่อ ระหว่างสวน ผลไม้สวนยางพารา ต่อเนื่องไปจนถึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาบรรทัด สภาพป่า เป็นป่าสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ขึ้นแบบหน้าแน่น และมีต้นไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ซึ่งการสำรวจสัตว์ เราพบว่ามีความหลากหลายของสัตว์เยอะมาก มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องของสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังไปด้วยกัน  ผลสำรวจพบว่าสัตว์มีกระดูกสันหลัง 42 ชนิดและสัตว์ที่ไม่มีกระดูก 85ชนิด

ค้างคาวปีกจุด ขอบคุณภาพ: ดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย
ขอบคุณภาพ: ดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย

เราพบร่องรอยของสัตว์หายาก  เช่น หมีหมา จัดว่าเป็นสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้ สูญพันธุ์ นอกจากนั้นยังเจอสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังมีสถานภาพเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม เช่นค้างคาวยอดกล้วยปีกบาง ,นกปรอทหงอนตาขาว, นกมรดกคางแดงและกบทูต ส่วนสัตว์ที่ไม่มีกระดูสันหลัง เราพบส่วนใหญ่เป็นแมลงกลุ่มผีเสื้อเยอะมาก อย่างน้อยมีแมลงคุ้มครอง 2 ชนิด ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียวและผีเสื้อถุงทองธรรมดา

ค้างคาวยอดกล้วยปีกบาง : ขอบคุณภาพ ดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย
นกมรดกคางแดง : ขอบคุณภาพ ดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย
ขอบคุณภาพ: ดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย

สิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างไร?

สัตว์ป่าเหล่านี้เป็นผู้ ที่รักษาความสมดุลของระบบนิเวศให้กับเรา ถ้าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้หายไป ระบบนิเวศมีโอกาสที่จะล่มได้ เท่ากับว่าสิ่งที่เราได้มาฟรีจากป่าจะหายไปด้วย เช่น เราได้น้ำสะอาด อากาศดี ความชุ่มชื่น สิ่งเหล่านี้ คนได้ประโยชน์ ทั้งประเทศทั้งโลก หากเราเปลี่ยนพื้นที่ตรงนั้นเป็นอ่างเก็บน้ำ คนที่ได้ประโยชน์อาจจะเป็นคนบางกลุ่มที่อยู่ใกล้พื้นที่ แต่หากเรายังรักษาป่าไว้ได้คนที่ได้ประโยชน์ คือทุกคน สิ่งนี้เราไม่เคยตีมูลค่าเป็นเงินออกมาสักเท่าไหร่ แต่เป็นสิ่งที่ทำให้ ชีวิตคนเราอยู่ดีกินดี มีความมั่นคงทางด้านอาหาร

ราสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ตรงนั้นอย่างไร?

เราเจอสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างค้างคาวมีทั้งค้างคาวกินผลไม้ ค้างคาวกินแมลง เป็นตัวช่วย กระจายเมล็ดพันธุ์ไม้ ช่วยผสมเกษรดอกไม้ ไม่ใช่แค่ในป่า แต่มันมาผสมเกษรในสวนของชาวบ้าน, ช่วยควบคุมประชากรแมลงในธรรมชาติ ,ช่วยกำกัดยุงให้เรา หรือในน้ำก็มีปลา ซึ่งปลาบางชนิดไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำนิ่งๆได้ เช่นปลาผีเสื้อติดหิน  ต้องมีน้ำที่สะอาดไหลแรง ถ้าเราเปลี่ยนลำคลองที่น้ำไหลแรง ตรงนั้นเป็นอ่างเก็บน้ำบ้านของมันก็จะหายไป สัตว์ป่าบางชนิดไม่สามารถเคลื่อนย้ายหาบ้านไหมได้ สิ่งมีชีวิตบางกลุ่มจะอยู่เฉพาะบ้านของมัน หากเราไปทำลายบ้านของมัน ระบบนิเวศก็เสียสมดุลไป  เราควรที่จะสำนึกว่าเราควรอยู่ร่วมกับพวกเขา มากกว่าที่จะทำลาย เราอยู่ในยุคที่ไม่สามารถทำลายธรรมชาติไปมากกว่านี้ได้แล้ว

ขอบคุณภาพ: ดร. พิพัฒน์ สร้อยสุข นักวิจัย

เราควรที่จะมีกระบวนการฟังความให้รอบด้าน ว่ามันจะได้ประโยชน์อะไร แต่มันจะเสียอะไร ต้องลองฟังว่าคนอยากได้เพราะอะไร ฟังคนไม่อยากได้เพราะอะไร และฟังข้อมูลจากนักวิชาการ แล้วลองช่างน้ำหนักว่า ผลดี ผลเสีย จะเป็นอย่างไร โดยฐานะนักวิชาการ บอกได้เลยว่าไม่คุ้ม

‘ การอนุรักษ์’ ขัดขวางการพัฒนาไหม ?

ต้องย้อนกลับไปถามว่า เราอยู่ในยุคไหนแล้ว ที่บอกว่าการพัฒนาคือการสร้าง เราน่าจะหลงยุค จริงแล้วปัจจุบันถ้าเรานึกถึงการพัฒนา คือการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นมิตร อยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างสมดุล ไม่เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศให้ มันเสียสมดุล  บทเรียนเรามีมากมายที่เราไปขยายเมือง ขยายพื้นที่ชุมชนมากเกินไปแล้วไปคุดคาม ระบบนิเวศทางธรรมชาติ แล้วสิ่งที่ได้ตอบแทนคืออะไร ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนกับชุมชน พึ่งระลึกอยู่เสมอการพัฒนาจริงๆคือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ อย่างเป็นมิตรจะยั่งยืนมากกว่า  

ดร. พิพัฒน์ พูดทิ้งท้ายให้ชวนคิดว่า  ถ้าเราย้อนกลับไปเราจะพบว่า การขอที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำเกิดขึ้นเมื่อประมาณ15ปีที่แล้ว ซึ่งอาจจะเข้ากับบริบทตอนนั้นก็ได้ แต่ยุคปัจจุบันบริบทตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้วความต้องการใช้น้ำเปลี่ยนไป เราควรที่จะทบทวนใหม่ ว่าอ่างเก็บน้ำตรงนั้นยังเหมาะสมอยู่หรือไม่ หรือว่าควรที่จะใช้วิธีอื่นในการผันน้ำ ให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ โดยที่ธรรมชาติยังคงอยู่ เช่นฝายที่มีอยู่เดิมพื้นที่นั้นยังมีอยู่ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดว่าฝายตรงนั้นจะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้อย่างไรและปะปาภูเขาที่มีจะส่งน้ำอย่างไรให้คนที่อยู่ท้ายน้ำสามารถใช้ประโยชน์ได้

ที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าอ่างเก็บน้ำที่อยู่รอบๆพื้นที่บริเวณนั้นในพื้นที่ป่าบอน ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้ง น้ำท่วมได้เลย เราควรกลับมาทบทวนเรื่องนี้และหาวิธีที่ดีที่สุดในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ 

“นักวิจัย” สำรวจน้ำตกโตนสะตอ (31 ส.ค. 63)

“เราควรที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติมากกว่าที่จะทำลาย เราอยู่ในยุคที่ไม่สามารถทำลายธรรมชาติไปได้มากกว่านี้แล้ว” เป็นหนึ่งในคำพูดของอาจารย์ พิพัฒน์ สร้อยสุข เคยลงไปสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพ บริเวณน้ำตกโตนสะตอ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง จำนวน 2 ครั้ง พบสัตว์ป่าหลากหลายชนิดทั้งสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ งานวิจัยจากการสำรวจครั้งนี้ เป็นร่องรอยที่ยืนยันว่าป่าต้นน้ำรอบโตนสะตอสมบูรณ์และเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์จำนวนมาก และมีความเฉพาะของระบบนิเวศ ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (31 ส.ค.63) #CSite #นักข่าวพลเมือง #ThaiPBS

Posted by นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) on Monday, 31 August 2020
ชมคลิปเพิ่มเติม “นักวิจัย” สำรวจน้ำตกโตนสะตอ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ