ครูขาดแคลนส่วนหนึ่งของคุณภาพ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ครูขาดแคลนส่วนหนึ่งของคุณภาพ และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้เรามองเห็นโจทย์ของการศึกษาไทยได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงด้านบทบาทการสอนของคุณครูในยุคโควิด19 และจำนวนครู การออกแบบกระบวนการการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีศักยภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างจะสำคัญ และเห็นชัดในช่วงโควิด-19 ซึ่งมีหลายกลุ่มพยายามหาโมเดลทางเลือกใหม่ๆ จึงพูดคุยกับ รองศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ หัวหน้าศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา ว่าด้วยการตั้งหลักมองบทบาทของครูผู้สอนแห่งอนาคตรวมถึงโจทย์เชิงโครงสร้าง หลังคลายล็อคโควิดจะเป็นแบบไหน ?

ประเด็นเรื่องของปัญหาครูขาดแคลน สะท้อนในเชิงคุณภาพอยู่แล้วด้านหนึ่ง หมายถึงว่า การเรียนการสอนของเด็กไม่มีผู้ดูแล และนอกจากนั้นคำว่าครูไม่พอมีอยู่ 2 ความหมาย ในความหมายหนึ่งคือจำนวนที่ไม่ได้สัดส่วนกับเด็ก หรือสองเด็กมีครูไม่ครบชั้นเรียน สามต่อมาที่มีผลต่อการเมื่อครูไม่ครบชั้นเด็ก ตัวคุณครูเองต้องแบ่งเวลาไปสอนเช่น ชั่วโมงนี้ไปสอนเด็ก ป.1 อีกครึ่งชั่วโมงไปสอนเด็กป.3 แล้วถ้าเราออกแบบให้เด็กเรียนวันละ 6 ชั่วโมง เด็กเหล่านี้อาจจะได้เรียนเพียงแค่ 3 ชั่วโมง สิ่งนี้ที่พูดมาหมายถึงการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรามองเห็นอยู่ในปัจจุบัน

ประเด็นต่อมาคือ นอกจากว่าจำนวนเด็กนักเรียนไม่ครบชั่วโมงแล้ว ซึ่งนำไปสู่คำถามว่า ในเชิงคุณภาพของคุณครูที่เราบรรจุเข้ามานั้น มีวิชาเอกหรือมีศักยภาพตรงตามที่สอนหรือ ไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พูดถึงเรื่องคุณภาพ และถึงแม้ว่าคุณครูเหล่านี้จะจบวิชาเอกไม่ตรง สมมุติว่าจบเอกภาษาไทยแต่ไปสอนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่อาจจะประถมศึกษาหรือ หลังประถมศึกษาในความจำเป็น หรือว่าเป็นครูประถมศึกษาแต่ไปสอนระดับอนุบาลซึ่งทักษะคนละประเด็นกัน

ในกรณีอย่างนี้คำว่าครูไม่ครบนั้น มันก็สะท้อนถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับเด็กทั้งในเชิงคุณภาพของการศึกษา ทั้งในเชิงที่ไม่ได้รับการดูแลที่ทั่วถึงและ พัฒนาการของเด็กที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ของครูก็ย่อมที่จะคู่ไปด้วย

ในประเด็นแรกนี้อยากจะพูดถึงว่า การพูดถึงการศึกษาและไปพูดถึงตัวครูมันเชื่อมกันอยู่ 2 – 3 ประเด็นพอหรือไม่ ครบชั้นหรือไม่ตรงวิชาเอกหรือไม่ มีทักษะสอนในสมัยใหม่หรือไม่ จึงคิดว่ามันก็ครอบคลุมในประเด็นเหล่านี้อยู่

อีกปัจจัยที่สำคัญคือ สถิติการเกษียณอายุราชการของครู ที่มีจำนวนแต่ละปีกว่า 2 หมื่นคน ขณะที่ครูบรรจุใหม่ในแต่ละปีนั้นมีไม่ถึง 2 หมื่นคน รวมทั้งสิ้น 130,867 คน ในระยะเวลา 10 ปีตั้ง แต่ 2559 -2570 เฉลี่ยอยู่ที่ 16,358 คนต่อปี สถิติ ในช่วง 3 ปีมีอัตราครูเกษียณจำนวน 2 หมื่นกว่าคน แต่ครูบรรจุใหม่มีไม่ถึง 2 หมื่นคน

รวมทั้งสิ้น 130,867 คน เฉลี่ยอยู่ที่ 16,358 คนต่อปี

Q : นอกเหนือจากปริมาณที่บรรจุไม่พอดีกับจำนวนเด็กนักเรียนแล้ว อีกปัญหาที่หลายๆ คนพูดกันว่าครูมีภาระหน้าที่เยอะ บางครั้งครูอาจไปทำงานที่ไม่ตรงกับจ็อบงาน วันนี้ยังมีปัญหานี้อยู่หรือไม่ เราจะแก้อย่างไร ?

#ครูเหนื่อยเพิ่มขึ้น โอกาสในการเติบโตมีน้อย คือไม่สามารถที่จะไปเรียนเพิ่มความรู้ได้ หรือไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ สวัสดิการก็น้อยบ้านพักครูก็ไม่ดีเดินทางกลับมาบ้านก็ลำบาก

ต้องย้อนกลับไปถามที่กระทรวงในฐานะนักวิชาการ เป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้วว่าครูที่พูดถึงตำแหน่งข้าราชการครู หรือผู้ปฏิบัติงานสอนในตำแหน่งนี้ เราคิดว่ามีผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 6 – 8 แสนคน ถ้ามี 8 แสน ถ้ามีจำนวนถึง 2 แสน ที่ไม่ได้อยู่ทำหน้าที่ในการสอน ครูเหล่านี้ไปทำหน้าที่สนับสนุนการสอนหรือ ไม่เกี่ยวกับการสอนเลย อาทิเช่น ภรรยาของนายอำเภออาจจะต้องมาทำหน้าที่เป็นนายยกกาชาติประจำอำเภอซึ่งอยู่ในกระทรวงมหาดไทยแต่มาประจำโรงเรียนประจำอำเภอของแต่ละจังหวัด ยกตัวอย่างเช่น ไม่ใช่ทำมาเฉพาะเป็นเอกสารแต่ทำหน้าที่อื่นๆ ไม่เกี่ยวกับการสอน

เพราะฉะนั้นถามว่าจำนวนเท่าไหร่ขณะนี้คิดว่าจาก 8 แสนน่าจะหายไป 6 แสนคน โดยเฉพาะคนที่อยู่ที่กระทรวงหรือผู้บริหารเป็นตัวเลขคร่าว ๆ ตอนนี้ถามว่าจะเอาครูเหล่านี้คืนมาได้อย่างไร หรือไม่ต้องคืนให้ตำแหน่งอื่นเขาไปเลยและเอาตำแหน่งครูคือผู้ที่สอนมาสอนจริงๆ

ครูไม่พอ เป็นปัญหาหรือไม่…. ครูไม่พอ หรือครูมีจำนวนน้อยโอกาสที่ครูจะพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้เด็กก็ไม่มีเพราะสอนเด็กแบบคละชั้นคละหลายวิชา ครูต้องใช้พลังมาก ไม่นับรวมที่จะต้องดูแลเด็กด้วย และความไม่ต่อเนื่องของครูทำให้ครูไม่เข้าใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำมาบูรณาการในการสอนให้เด็กได้ เช่นกรณีเวียงแหงส่วนใหญ่เป็นครูบรรจุใหม่ทั้งนั้นพอได้เวลาก็ย้ายเปลี่ยนที่เข้าใกล้เมือง ในตอนนี้มีความพยายามแก้โจทย์เรื่องนี้เช่นเขต 6 เชียงใหม่ ที่พยายามแก้ปัญหาเรื่องที่พักครู หรือทำความเข้าใจกับครูจนมีครูบางคนอยู่ประจำโรงเรียนถึง 10 ปี

Q : ถ้าจะแก้เรื่องปัญหาครูขาดแคลน อาจารย์มองว่าเป็นหัวข้อไหนบ้างที่เราต้องทำกันในวันนี้ ?

ถ้าต้องการจะแก้ไขจะเรื่องครูขาดแคลนคิดว่า เรื่องครูขาดแคลนที่เราพูดถึงกันอยู่ คือ หนึ่งเป็นครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดเล็กส่วนใหญ่จะอยู่ข้างในเมืองและในพื้นที่เขตชายแดน พื้นที่รอบนอก คำถามว่าจะแก้อย่างไร ให้นักเรียนเหล่านี้มีครูครบชั้น ยังไม่พูดถึงเรื่องคุณภาพ หรือครบวิชาเอก ต้องไปแก้ที่กระทรวงเรื่องของอัตรากำลังในการรับครูในขณะนี้ ที่คิดว่าครูนั้นเมื่อก่อนเราบอกว่ารับครูในอัตรากำลังต้องคำนวณจากชั้นเรียน มี 10 ชั้นต้องรับคุณครู 10 คน ตอนนี้เราบอกว่าเราจะรับครูในตามสัดส่วนของนักเรียนถ้ามีนักเรียน 25 คน ยกตัวอย่างเราจะมีนักเรียน 25 คนเราจะได้ครู 1 คน เราต้องคำนวณในระบบของไทยว่ามีเด็กนักเรียนเท่าไหร่ และเราไปหารโดยเอา 25 หารเราจะได้จำนวนครูขึ้นมา

การขาดแคลนครูในเรียนนั้นมีปัจจัย หากดูข้อมูลภาพร่วมทั้งประเทศ ของจำนวนครู ข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ (กสศ.) ที่ได้จัดทำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  พบว่าปี 2559 นั้นข้อมูลครูทั้งหมดมีอยู่ 353,611 คนไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษา หากเทียบจำนวนครูต่อนักเรียน จะอยู่ที่ ครู 1 คนต่อนักเรียน 19 คน

ถ้าคำนวณแบบนี้โรงเรียนขนาดเล็กจะไม่ได้ครูครบชั้นเลย เราเปิดโรงเรียนขนาดเล็กมีทั้งหมด 9 ชั้น ตั้งแต่อนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ครูที่เป็นผอ.หรือครูใหญ่อีกคนต้องมีประมาณสัก 9 คน แต่จริงๆ แล้วมีเด็กอยู่ประมาณ 20 คนคำนวณแล้วได้ครูเพียงแค่ 6 คนอย่างน้อยก็ขาดไป 3 คนที่จะมาช่วยในชั้นเรียน

ทางออกคืออะไร…

โดยสรุป แล้วเราต้องคิดและคำนวณสูตรอัตราส่วนนักเรียนกับครูใหม่ ต้องมีวิธีคิดและจัดสรรงบประมาณใหม่กำลังครูไม่ไปอยู่ที่สัดส่วนระหว่างเด็กกับครู แต่ต้องไปอยู่ที่จำนวนชั้นเมื่อโรงเรียนมีกี่ชั้นต้องมีครูครบชั้น มีกี่วิชาเอกต้องจัดสรรต้องเปลี่ยนวิธีคิดทั้งระบบในประเทศไทย

บทเรียนจากโรงเรียนในสามจังหวัดใช้แดนภาคใต้ ที่มีสวัสดิการให้ครู ทั้งเรื่องเงินเดือนการเพิ่มขั้นเพราะฉะนั้นจะใช้หลักการเดียวกันทั้งประเทศครูในเมืองครูชนบทไม่ได้ ต้องมีแรงจูงใจเช่นอยู่ครองห้าปีเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไหร่มีเงินพิเศษเท่าไหร่ หรือแค่ถามบ้านพักครูให้ดีก็พอแล้ว

ท้องถิ่นสามารถที่จะเข้ามาจัดการได้ไหม

จริงๆ แล้วท้องถิ่นสามารถสนับสนุนโรงเรียนได้เนื่องจากมีกฎหมายต้องรับและประกาศใช้ในปี 2549 สามารถอุดหนุนงบให้โรงเรียนได้แต่ อบต. เทศบาล เล็กๆ งบก็น้อยอยู่แล้วไม่สามารถที่จะจัดการได้ หรือไม่สามารถที่จะรับโรงเรียนมาอยู่ในสังกัดได้ แต่การแบ่งสัดส่วนภาษี หากมีการกระจายอาร์ซีให้ท้องถิ่นในสัดส่วนที่เยอะเขาก็สามารถที่จะจัดการได้ในอนาคต เช่น กรณีโรงเรียนหลักปันสันทราย เทศบาลสนับสนุนทั้งค่าอาหารกลางวันค่ารถรับส่ง หรือจ้างครูส่วนที่โรงเรียนขาด เพราะเทศบาลไม่สามารถรับโรงเรียน ไม่ดูในสังกัดได้เนื่องจากปีนึงได้รับงบในการพัฒนาท้องถิ่นประมาณ 10 ล้าน จำนวนครูในโรงเรียนมี 22 คน เทศบาลรับภาระไม่ไหว

[Live] 13.30 น. #นักข่าวพลเมือง #CSite : มุมมองครูหลังคลายล็อก บทบาทการสอนแห่งอนาคต (3 ส.ค. 63)

[Live] 13.30 น. #นักข่าวพลเมือง #CSite : มุมมองครูหลังคลายล็อก บทบาทการสอนแห่งอนาคต (3 ส.ค. 63)…การเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับมาตรการป้องกัน #โควิด19 ทำให้นักเรียนและคุณครูต้องปรับตัว เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป📌 รับชมได้ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 หรือรับชมทางออนไลน์• Website : www.thaipbs.or.th/live • ชมอีกครั้งทาง : www.thaipbs.or.th/CSite #COVID19

โพสต์โดย นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ