เครือข่ายภาคประชาชนร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี

เครือข่ายภาคประชาชนร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี

ให้ยกเลิกมติ ครม.และหยุดใช้อำนาจพิเศษของ ศอ.บต. ขับเคลื่อนโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ที่กำลังทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

เครือข่ายภาคประชาชนร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ณ บ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา

จดหมายเปิดผนึก

ถึงนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เรื่อง ให้ยกเลิกมติ ครม.และหยุดใช้อำนาจพิเศษของ ศอ.บต.

ขับเคลื่อนโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ที่กำลังทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการ “จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ครั้งแรก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 อันถือเป็นการอนุมัติหลักการในการดำเนินโครงการ และอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการนี้ 18,000 กว่าล้านบาท บนพื้นที่ทั้งหมด 16,700 ไร่ ในพื้นที่ 3 ตำบล อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมอบหมายให้ ศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ ซึ่งจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาพบข้อสังเกตุที่มีความผิดปกติหลายประการ ได้แก่

1. โดยโครงการนี้ได้ใช้อำนาจของรัฐบาล และ ศอ.บต. ดำเนินการอย่างรวบรัดขั้นตอน โดยการอนุมัติโครงการพร้อมอนุมัติงบประมาณเบื้องต้น 18,000 กว่าล้านบาท ทั้งๆที่ยังไม่มีการจัดการศึกษาโครงการ ดำเนินการศึกษาผลกระทบ และจัดรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อนการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งถือว่า ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน อีกทั้ง ยังสร้างความสับสนให้กับประชาชนในพื้นที่ว่า โครงการนี้ถูกอนุมัติไปแล้วไม่สามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างได้

2. ภายหลังที่ได้มีการอนุมัติโครงการโดยครม.แล้ว ได้มีความพยายามจัดให้มีเวทีชี้แจงโครงการและรับฟังความคิดเห็น โดยมีการอ้างว่า ศอ.บต. และหน่วยงานได้มีความพยายามจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ แต่กลับเป็นเพียงการจัดเวทีเพื่อเป็นการชี้แจงโครงการถึงผลดีของโครงการ มิได้มีการพูดถึงผลกระทบของโครงการแต่อย่างใด และยังมีการอ้างว่า โครงการนี้เป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสร้างความเจริญให้กับพื้นที่ โดยในแต่ละเวทีผู้ที่สามารถเข้าร่วมเวทีได้นั้นเป็นเพียงผู้นำท้องถิ่นหรือประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกให้มาเข้าประชุมเท่านั้น แต่กลับปิดกั้นกลุ่มคนที่เห็นต่างในการแสดงความคิดเห็นหรือในการเข้าร่วม

ทั้งนี้ รวมถึงการจัดเวทีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่โรงเรียนจะนะวิทยา ที่ผ่านมา ที่มีการใช้กองกำลังตำรวจและฝ่ายความมั่นคงอื่นๆ กว่าหนึ่งพันนาย ปิดล้อมบริเวณเวทีดังกล่าว จนทำให้ประชาชนในอำเภอจะนะที่ต้องการเข้าร่วมเวทีไม่สามารถเข้าถึงได้หรือเข้าถึงไม่ได้โดยง่าย ทั้งๆที่โครงการจะนะเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ระดับประเทศ อันจะส่งผลกระทบกับประชาชนในวงกว้างทั้งจังหวัด แต่กลับไม่ได้เปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นให้ประชาชนชาวจังหวัดสงขลาทั้งหมดได้เข้ามีส่วนร่วม โดยจำกัดไว้เฉพาะพื้นที่ 3 ตำบลเท่านั้น และคนใน 3 ตำบลนี้ก็ยังกีดกันผู้ที่เห็นต่างไม่ให้เข้าร่วมเวทีอีกด้วย

3. เป็นที่เห็นได้ชัดว่า ผู้จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ คือ กลุ่มทุนเพียง 2 บริษัท แต่กลับมีการกำหนดให้ ศอ.บต. ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐ ที่อาศัยอำนาจการบริหารราชการและความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในมือ เป็นกลไกขับเคลื่อนด้วยวิธีการพิเศษที่ไม่สนใจขั้นตอนตามกฎหมายปกติ เพื่อจะให้โครงการนี้เกิดขึ้นให้ได้ แม้ ศอ.บต. จะอ้างว่าดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 แต่กฎหมายดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนต่อการใช้อำนาจในเรื่องนี้ ซึ่งมองได้ว่า ศอ.บต. อาจจะกำลังดำเนินโครงการนี้เกินอำนาจหน้าที่ของตนเองเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มจนเกินงาม โดยการเอาความเจริญด้านเศรษฐกิจของคนจะนะและของประเทศมาเป็นข้ออ้าง ทั้งๆที่ยังไม่ได้มีการศึกษาข้อเท็จจริงต่อเรื่องนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจแต่อย่างใดทั้งสิ้น และเป็นการส่งเสริมกลุ่มทุนเป็นการเฉพาะที่ไม่น่าจะถูกต้อง

4. การดำเนินโครงการนี้ของรัฐบาลภายใต้การดำเนินงานของ ศอ.บต. มีการกำหนดรายละเอียดโครงการและพื้นที่ตั้งของโครงการมาแล้ว โดยกำหนดให้เป็นกิจกรรมและโครงการขนาดใหญ่ ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ซึ่งเข้าข่ายเป็นโครงการรัฐที่จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 หมวดหน้าที่ของรัฐ มาตรา 58 ที่กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน หรือการจัดทำรายงาน EIA หรือ EHIA และต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาต อีกทั้ง โครงการนี้จะมีผลกระทบอย่างยิ่งทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในวงกว้าง ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดทำการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบและประโยชน์ที่จะได้รับในวงกว้าง ก่อนที่จะมาจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง แต่ไม่ปรากฏว่า ได้มีการดำเนินการใดๆในการศึกษาผลกระทบไม่ว่าจะเป็นการทำ EIA หรือ EHIA หรือ SEA และไม่ได้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมายนี้ ก่อนที่จะอนุมัติโครงการ แต่อย่างใด

5. การดำเนินโครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อสิทธิในการกำหนดทิศทางการพัฒนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนกับรัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบของกฎหมายผังเมือง ซึ่งประชาชนชาวจังหวัดสงขลาได้ร่วมกันจัดทำผังเมืองรวมสงขลาไว้ก่อนแล้ว โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี อันเป็นการใช้สิทธิที่ประชาชนได้เข้าไปร่วมกับรัฐในการกำหนดการพัฒนาเชิงพื้นที่ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่โครงการนี้โดย ศอ.บต.กลับจะมาละเมิดกฎหมายผังเมือง ด้วยการดำเนินการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดผังเมืองเพื่อให้เกิดโครงการนี้ได้

เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และภาคีองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน 214 องค์กร ดังมีรายชื่อข้างท้าย เห็นว่า โครงการนี้จะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในอนาคต และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของชายหาดในพื้นที่อำเภอจะนะ และอำเภอใกล้เคียงอย่างหนัก อันรวมถึงผลกระทบของสภาพอากาศจากมลพิษโรงงานจำนวนมาก และน้ำเสียที่จะปล่อยลงสู่ทะเล ที่จะทำลายระบบนิเวศโดยรวมของทะเลจังหวัดสงขลา อันเป็นแหล่งสัตว์น้ำทะเลที่สำคัญของประเทศ และจะนำมาซึ่งความยากลำบากในการดำรงชีวิตปกติของประชาชนในชุมชนทั้ง 3 ตำบลที่ถูกกำหนเป็นพื้นที่โครงการ รวมตลอดทั้งตำบลใกล้เคียง ของอำเภอจะนะอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้ ศอ.บต. จะพยายามอ้างว่า เขตอุตสาหกรรมแห่งนี้จะมีความก้าวหน้ากว่าทุกแห่ง แต่กากขยะพิษ อากาศพิษ และน้ำเสียเหล่านั้น โครงการจะบริหารจัดการแบบก้าวหน้าแห่งอนาคตได้อย่างไร และจะเคลื่อนย้ายสิ่งเหล่านี้ไปทิ้งไว้ที่ไหน เพราะที่สุดแล้ว รัฐบาล หรือ ศอ.บต. ก็จะไม่ใช่ผู้ประกอบการหลักในเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้ ซึ่งแม้จะมีการกำหนดเงื่อนไข ข้อตกลง หรือสนธิสัญญาใดๆก็ตามแต่ ก็ไม่ได้มีหลักประกันใดๆว่าสิ่งเหล่านั้นจะถูกยอมรับและปฏิบัติตามในอนาคตโดยกลุ่มทุนดังกล่าว เพราะทั้งรัฐบาล และ ศอ.บต. ก็อาจจะถูกยุบเลิกหายไป แต่ประชาชนในพื้นที่จะต้องอยู่กับเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้ไปชั่วลูกชั่วหลาน

การดำเนินงานในโครงการนี้ของ ศอ.บต. ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลของอนุมัติโครงการ ได้สร้างความขัดแย้งและแตกแยกของคนในพื้นที่ 3 ตำบลอย่างหนัก และกำลังลุกลามไปทั้งอำเภอจะนะ ซึ่งขณะนี้ไม่ได้มีเพียงคนที่เห็นด้วยกับคนที่คัดค้านโครงการนี้เท่านั้น แต่กำลังมีคนอีกกลุ่มที่ใหญ่กว่าซึ่งรวมตัวกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์จากการเกิดขึ้นของเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้ ซึ่งปรากฏการณ์ของความอลหม่านในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ที่ ศอ.บต.อ้างว่า เป็นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน 3 ตำบล นั้น บ้างก็เข้าใจว่าเป็นเวทีประชาพิจารณ์เพื่อขอมติเห็นชอบจากประชาชน บ้างก็เข้าใจว่าเป็นเวทีที่จัดขึ้นเพื่อต้องการรายชื่อประชาชนไปแนบในการขอเปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวให้เป็นสีม่วงอันเป็นขั้นตอนที่ต้องทำให้สำเร็จของ ศอ.บต. จึงทำให้วันดังกล่าวมีเวทีเกิดขึ้นถึง 3 เวที คือ เวทีของ ศอ.บต. ที่จัดขึ้นเองที่โรงเรียนจะนะวิทยา เวทีของกลุ่มประชาชนซึ่งจัดขึ้นที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน และเวทีของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นที่จัดขึ้นในตลาดอำเภอจะนะ ซึ่งมีการอ้างว่า เวทีที่ อบต.ตลิ่งชันมีการรับรองพร้อมจัดสรรงบสนับสนุนโดย ศอ.บต.ด้วย จึงยังความสับสนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก รวมถึงสื่อมวลชนและสาธารณะชนที่ติดตามเรื่องราวในวันดังกล่าว จนกลายเป็นคำถามว่า สาระสำคัญที่แท้จริงของการจัดเวทีเหล่านั้น ศอ.บต. ต้องการอะไร และอยู่ในขั้นตอนใดของโครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต

การดำเนินงานในโครงการดังกล่าวของศูนย์อำนาจการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ครั้งนี้ กำลังสร้างความสับสนให้กับสังคม และยังนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างประชาชนในอำเภอจะนะเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

ดังนั้น เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และเครือข่ายภาคีภาคประชาชนดังมีรายชื่อข้างท้าย จึงเห็นว่า การดำเนินโครงการ “จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” น่าจะเป็นการดำเนินการที่ผิดขั้นตอนและกระบวนการภายในและกฎหมาย ดังนี้

  1. การดำเนินโครงการไม่ได้ดำเนินการภายใต้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 58 เนื่องจากได้มีการอนุมัติโครงการไปก่อนที่จะมีการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่มีการจัดทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนก่อนตามที่กฎหมายกำหนดไว้
  2. กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ ศอ.บต.อ้างถึง ว่าได้ดำเนินการมาแล้วหลายสิบเวที ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงเวทีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 และไม่มีความชัดเจนว่าศอ.บต.ได้ดำเนินกระบวนการเหล่านั้นให้อยู่ในส่วนไหนของขั้นตอนการดำเนินโครงการ
  3. แม้ ศอ.บต. จะอ้างพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ตามมาตรา 9 และ 10 ถึงอำนาจหน้าที่ในการดำเนินโครงการนี้ หากแต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้ ศอ.บต. จัดทำระเบียบเพื่อการปฏิบัติในโครงการนั้นด้วย ซึ่งไม่เห็นว่า การดำเนินงานในช่วงเวลาที่ผ่านมาหลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเห็นชอบหลักการโครงการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 ศอ.บต.ได้ยึดระเบียบปฏิบัติใดในการดำเนินการเหล่านั้น และได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการนั้นๆ ด้วยหรือไม่  โดยเฉพาะข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดทั้งการแก้ไขผังเมือง
  4. โครงการนี้เกิดขึ้นบนฐานคิดที่ต้องการสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อทำให้เศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ด้วยหวังว่าการมีรายได้มากขึ้นจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ จึงเป็นตรรกะเหตุผลที่ต้องตรวจสอบ และจะต้องมีการศึกษาหาข้อมูลรองรับว่าโครงการนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่แค่ไหนอย่างไร ในขณะเดียวกันจะมีผลกระทบในมิติต่างๆแค่ไหน อย่างไร รวมถึงการศึกษาศักยภาพโดยรวมของอำเภอจะนะว่าควรจะต้องพัฒนาไปในทิศทางไหน ที่มากกว่าการยัดเยียดนิคมอุตสาหกรรมให้กับประชาชนในพื้นที่เท่านั้น

เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นและเครือข่ายภาคีภาคประชาชนดังมีรายชื่อข้างท้าย จึงขอเสนอให้ท่านและรัฐบาลดำเนินการ ดังนี้

  1. ขอให้รัฐบาลทบทวนโครงการนี้ โดยต้องยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีทั้งสองครั้ง คือ มติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 ทั้งนี้ ปัจจุบันจังหวัดสงขลามีนิคมอุตสาหกรรมอยู่แล้วถึง 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง) และเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา ซึ่งรัฐบาลควรจะต้องสร้างมาตรการส่งเสริมสนับสนุนและเชิญชวนให้ภาคเอกชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้งสองแห่งให้เต็มพื้นที่เสียก่อน อันเป็นไปตามความต้องการของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  2. หากรัฐบาลจะเดินหน้าเพื่อพัฒนาอำเภอจะนะต่อไป ต้องมีการศึกษาการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) และการศึกษา EHIA ตามมาตรา 58 เพื่อเป็นข้อมูลนำมากำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่อาจจะเกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงด้านเดียว และขอให้มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น โดยการสร้างกลไกอันเป็นที่ยอมรับ มีความหลากหลายของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างสำคัญ เพื่อทำการขับเคลื่อนแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง และสร้างมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับคนในพื้นที่อย่างเท่าเทียมกัน โดยต้องศึกษาศักยภาพของพื้นที่ในทุกมิติเสียก่อน แล้วจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงก่อนที่จะกำหนดให้โครงการใดๆขึ้นในพื้นที่

โอกาสนี้  พวกเราขอประกาศว่า โครงการ “จะนะเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” คือ โครงการที่รัฐและธุรกิจกำลังละเมิดแผนสิทธิมนุษยชนและแผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลกำหนดขึ้นเอง ละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชน กระทำผิดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และระเบียบขั้นตอนการดำเนินโครงการในกฎหมายอื่นๆอีกหลายฉบับ หากรัฐบาลไม่ทำการทบทวนโดยการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีทั้งสองครั้ง และยังปล่อยให้ ศอ.บต.ดำเนินโครงการนี้อย่างผิดระบบผิดระเบียบอีกต่อไป พวกเราจะดำเนินการในทางกฎหมายตามสิทธิหน้าที่อันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

พร้อมกันนี้ เราขอเรียกร้องให้พี่น้องประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆทั่วประเทศ ได้โปรดออกมาเรียกร้องในทุกรูปแบบ เพื่อให้รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นและภาคีเครือข่ายภาคประชาชนดังกล่าวต่อไป

ด้วยความนับถือ

เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และเครือข่ายภาคประชาชน 94 องค์กร

วันที่ 17 กรกฎาคม 2563

เครือข่ายภาคประชาชน

รายนามองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนร่วมลงชื่อแนบท้ายจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี

  1. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ จ.สงขลา
  2. กลุ่มอาหารปันรัก
  3. มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ อ.จะนะ จ.สงขลา
  4. เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสองฝั่งทะเล
  5. เครือข่ายชุมชนรักษ์อ่าวปากบารา จ.สตูล
  6. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
  7. กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง จ.สตูล
  8. กลุ่มอนุรักษ์เขาลูกเล็กลูกใหญ่ จ.สตูล
  9. สมาคมพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา จ.สงขลา
  10. ชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูล
  11. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสตูล
  12. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
  13. สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล
  14. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้
  15. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้
  16. สมาคมสมาพันธ์สตรีประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
  17. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)  สาขาหาดใหญ่
  18. เครือข่ายศิลปินเพื่อสิ่งแวดล้อมจังหวัดสตูล
  19. เครือข่ายเยาวชนคนรักษ์ท่าแพ จ.สตุล
  20. กลุ่มรักษ์บ้านพรุ จ.สตูล
  21. กลุ่มสองล้อรักบ้านเกิด จ.สตูล
  22. สมาคมประมงพื้นบ้านปากน้ำแหลมสิงห์ จ. จันทบุรี
  23. สมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกระได จ.ประจวบคีรีขันธ์
  24. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสัตว์น้ำชายฝั่งบ้านคันธุลี จ.สุราษฎร์ธานี
  25. เครือข่ายสิทธิพลเมืองพัฒนาคุณภาพชีวิต จังหวัดสตูล
  26. เครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง จ.พัทลุง
  27. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
  28. เครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย
  29. เครือข่ายชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดภูเก็ต
  30. สมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
  31. สมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
  32. สมาคมคนรักเลกระบี่ จ.กระบี่
  33. สมาคมประมงพื้นบ้านในถุ้ง จ.นครศรีธรรมราช
  34. กลุ่มประมงพื้นบ้านหินขาว จ.ระยอง
  35. กลุ่มประมงพื้นบ้านเขาปิหลายร่วมใจ จ.พังงา
  36. สมาคมประมงพื้นบ้านรักทะเลตราด จ.ตราด
  37. เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน
  38. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้
  39. สภาชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้
  40. กลุ่มดินสอสี
  41. กลุ่มดีอีหลี​ อีสานบ้านเฮา
  42. กลุ่มบ้านไร่อุทัยยิ้ม
  43. กลุ่มสุไหงปาดีดีจัง
  44. กลุ่มดีจังสุรินทร์​เหลา
  45. กลุ่มสมรมคอมปานี
  46. กลุ่มพงลีแป
  47. กลุ่มรักยิ้ม
  48. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
  49. สำนักกิจกรรมกิ่งก้านใบ
  50. กลุ่มพัทลุงยิ้ม
  51. กลุ่มไม้ขีดไฟ
  52. กลุ่มใบไม้
  53. กลุ่มลูกมะปราง​
  54. กลุ่มยังยิ้ม
  55. กลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านหินช้าง จ.ระนอง
  56. เครือข่ายชาติพันธุ์ชาวเลชนเผ่ามอแกน-มอแกลน
  57. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดพังงา
  58. เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิอันดามัน
  59. เครือข่ายสิทธิชุมชนพัฒนาภูเก็ต
  60. เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น จังหวัดระนอง ประจวบคีรีขันธ์
  61. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
  62. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง จ.อุบลราชธานี
  63. เครือข่ายภัยพิบัติชุมชน
  64. เครือข่ายนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนภาคใต้
  65. เครือข่ายภัยพิบัติตำบลท่าหิน จ.สงขลา
  66. เครือข่ายภัยพิบัติโดยชุมชน จ.นครศรีธรรมราช
  67. เครือข่ายภัยพิบัติชุมชน จ.พังงา
  68. เครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี
  69. สมาคมประชาสังคมพังงาแห่งความสุข
  70. เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดพังงา
  71. กลุ่มลูกขุนน้ำ
  72. กลุ่มคลองเตยดีจัง
  73. เครือข่ายปกป้องดิน น้ำ ป่า นครศรีธรรมราช-พัทลุง
  74. เครือข่ายปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารภาคใต้
  75. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพประชาชนภาคใต้
  76. เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้
  77. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมภาคใต้
  78. เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพ (คปส.)
  79. สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี PerMAS
  80. เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ (PERMATAMAS)
  81. กลุ่มด้วยใจ
  82. วิษณุ เหล่าธนถาวร ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลแม่นางขาว
  83. เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำคลองภูมี
  84. กลุ่มประมงพื้นบ้านบ้านน้ำราบ จ.ตรัง
  85. กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านห้วยน้ำขาว จ.กระบี่
  86. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
  87. สมาคมรักษ์ทะเลไทย
  88. มูลนิธิอันดามัน
  89. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
  90. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
  91. เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสงขลา – สตูล
  92. มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
  93. ศูนย์​สร้างจิตสํานึก​นิเวศวิทยา​
  94. มูลนิธิชุมชนไท
  95. เครือข่ายทรัพยากรชายแดนใต้
  96. เครือข่ายเกษตร
  97. เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม
  98. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมภาคใต้
  99. สมัชชาประชาชนภาคใต้
  100. ภาคีนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  101. แนวร่วมนวชีวิน
  102. กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย
  103. กลุ่มในนามของนักศึกษา
  104. กลุ่มลูกพ่อขุนฯไม่รับใช้เผด็จการ
  105. มูลนิธิเข้าถึงเอดส์
  106. สมาคมรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง
  107. กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
  108. ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา
  109. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
  110. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
  111. กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน
  112. สถาบันอ้อผญา
  113. ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชน
  114. สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  115. กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่
  116. กลุ่มรักษ์เชียงของ
  117. สมาคมพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน
  118. กลุ่มคนต้นน้ำ อ.วังชิ้น จ.แพร่
  119. มูลนิธิคนเพรียงไพร
  120. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้
  121. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง
  122. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
  123. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
  124. ดร.โอฬาร อ่องฬะ นักวิชาการอิสระ
  125. เครือข่ายฮักน้ำของ
  126. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
  127. สมัชชาประชาชนสุโขทัย
  128. สมัชชาประชาชนฅนเหนือตอนล่าง
  129. สถาบันสร้างเสริมการจัดการทรัพยากรชุมชน
  130. มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์
  131. เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิชุมชนและการอนุรักษ์
  132. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
  133. คณะกรรมการประสานงานองคก์ารพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)
  134. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
  135. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
  136. ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)
  137. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักพัฒนาจำกัด (NGO CU)
  138. ไคลเมตวอทซ์ ไทยแลนด์
  139. มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก
  140. ศูนย์ประสานงานเพื่อการพัฒนาสตรีและเด็กเยาวชนลำพูน
  141. ชมรมอาสาสมัครกฎหมายเพื่อผู้หญิง
  142. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
  143. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  144. คณะกรรมการประสานงานองคก์รพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)
  145. เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน
  146. มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย
  147. ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน
  148. ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อ
  149. ชมรมพิทักธรรมชาติ(คนกับป่า) จังหวัดพิษณุโล
  150. คณะกรรมการประสานงานองคก์รพัฒนาเอกชนภาคเหนือล่าง (กป.อพช.นล)
  151. สภาพลเมืองสุรินทร์
  152. โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่
  153. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
  154. เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่
  155. กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ (คัดค้านเหมืองโปแตชและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ชัยภูมิ)
  156. กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน (คัดค้านเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย)
  157. กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาส (คัดค้านการขุดเจาะสำรวจแร่โปแตช อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร)
  158. กลุ่มรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย (คัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองหินทราย ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ. มุกดาหาร)
  159. กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได (คัดค้านการทำเหมืองหิน ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ. หนองบัวลำภู)
  160. กลุ่มรักษ์บ้านแหง (คัดค้ารการขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง)
  161. สถาบันชุมชนอีสาน
  162. เครือข่ายรักแม่พระธรณี
  163. เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี
  164. เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดชลบุรี
  165. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
  166. ดร. สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ภาคตะวันออก
  167. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้าและสันติภาพ
  168. มูลนิธิผู้หญิง
  169. สมาคมส่งเสริมภาคประชาสังคม
  170. สมาคมเครือข่ายพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
  171. มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว
  172. มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน
  173. มูลนิธิคนตัวดี
  174. มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)
  175. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
  176. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
  177. สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์(สอพ.)
  178. สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ(สปส.)
  179. เครือข่ายองค์กรชุมชนต้นน้ำป่าสัก
  180. เครือข่ายชาติพันธุ์เทือกเขาเพชรบูรณ์
  181. เครือข่ายองค์กรชุมชนต้นน้ำพอง
  182. เครือข่ายอนุรักษ์ป่าหัวไร่ปลายนาจังหวัดหนองบัวลำภู
  183. กลุ่มเขลางค์เพื่อการพัฒนา
  184. ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา
  185. องค์กรชาวบ้านบัวใหญ่-บัวลาย
  186. กลุ่มอนุรักษ์แก่งละว้า
  187. เครือข่ายชาวบ้านผู้ไร้สิทธิ์
  188. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลำน้ำพอง
  189. นางจันทนา เอกอื้อมณี
  190. คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.)
  191. มูลนิธิเพื่อนหญิง
  192. นางสมจิต ฟุ้งทศธรรม กลุ่มไทรงาม 131/1ถ.ไทรงาม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา
  193. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
  194. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
  195. สถาบันสังคมประชาธิปไตย
  196. กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย
  197. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
  198. กลุ่มพะยูนศรีตรัง
  199. กลุ่มสตรีศรีวัง
  200. กลุ่มปลาดาว
  201. จารุณี ศิริพันธ์
  202. กลุ่มปลาดาว
  203. มูลนิธิพัฒนาอีสาน
  204. สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค
  205. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
  206. กลุ่มการเมืองหลงับา้น
  207. กลุ่มทา ทาง
  208. สภาองคก์ารลูกจา้งแรงงานยานยนตแ์ห่งประเทศไทย
  209. สมาพนัธ์แรงงานอีซูซุประเทศไทย
  210. สหภาพแรงงานยานยนตแ์ละอไหล่อีซูซุ
ชายหาดบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ