ชวนอ่าน : ทำไมเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นจึงมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชาติพันธุ์

ชวนอ่าน : ทำไมเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นจึงมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชาติพันธุ์

ในรายการ C-Site นักข่าวพลเมือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 มีบทสนทนาในรายการระหว่าง บุญมี ชาลีเครือ กลุ่มอีสานวายฟาร์ม และสุพจน์ หลี่จา สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ ต่อประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงในชีวิต จะเป็นจริงได้อย่างไร?

[Live] 13.30 น. #นักข่าวพลเมือง #CSite : ความมั่นคงทางอาหารและชีวิต (16 ก.ค. 63)

[Live] 13.30 น. #นักข่าวพลเมือง #CSite : ความมั่นคงทางอาหารและชีวิต (16 ก.ค. 63)…การสร้างความมั่นคงทางอาหารจากแต่ละพื้นที่ของภาคพลเมืองในสถานการณ์ #โควิด19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน📌 รับชมได้ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 หรือรับชมทางออนไลน์• Website : www.thaipbs.or.th/live • ชมอีกครั้งทาง : www.thaipbs.or.th/CSite #COVID19

โพสต์โดย นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) เมื่อ วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2020

ความมั่นคงทางอาหาร เสรีภาพทางเมล็ดพันธุ์ต้องมาก่อน

บุญมี ชาลีเครือ เกษตรกรกลุ่มอีสานวายฟาร์ม กล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ คือ ต้นกำเนิดของการผลิตอาหาร เพราะในวิถีเกษตรของมนุษย์เริ่มต้นจากการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ใช้ประโยชน์จากผืนป่า ในส่วนของเมล็ดพันธุ์จะส่งต่อโดยการปลูก การกิน คัดสรร และแบ่งปันกับเพื่อน มันเป็นวงจรที่มีความต่อเนื่อง ยั่งยืนอย่างเป็นธรรมชาติ

สุพจน์ หลี่จา สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ กล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหารมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายส่วน จะทำอย่างไรให้คนบริโภคได้อย่างพอเพียง มีความหลากหลาย และมีความปลอดภัยด้วย แต่ปัจจัยสำคัญที่สำคัญ ซึ่งทำให้คนชุมชนมีความสามารถจะสร้างความมั่นคงขึ้นมาได้ ก็คือสิทธิการเข้าถึงที่ดิน

กรณีของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์มีปัญหาการเข้าถึงที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการอยู่อาศัยและการเพาะปลูกทำกิน นอกจากที่ดิน คือ สิทธิในการเข้าถึงและครอบครองเมล็ดพันธุ์ หรือการมี การเก็บ การขยายเมล็ดพันธุ์เป็นของตัวเองด้วย

พี่น้องชาติพันธุ์ ถือว่าเมล็ดพันธุ์ เป็นวิถีชีวิตที่เป็นบ่อเกิดความเชื่อ ความศรัทธา วิถีการปฏิบัติต่าง ๆ ผ่านเกษตรกรรม ตราบใดที่เขาไม่มีที่ดินและไม่มีเมล็ดพันธุ์ นั่นหมายความว่าเขาย่อมไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ”

“ทำอย่างไร หน่วยงานภาครัฐได้เข้าใจและให้ชุมชนชาติพันธุ์ดำรงชีวิตได้ท่ามกลางวิถีวัฒนธรรมที่สมบูรณ์ รัฐต้องจัดการให้สิทธิที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้ชัดเจน จากนั้นคือการสร้างเครือข่ายในการแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ เช่น การทำผ้าป่าพันธุ์พืชที่แจกจ่ายให้กับพี่น้องเครือข่ายต่าง ๆ ที่แจกเมล็ดพันธุ์ให้แก่พี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากโควิดทั้งที่เป็นชาติพันธุ์และคนเมืองมากกว่า 2,000 ชุด” นายสุพจน์ กล่าวย้ำ

อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ยังมีประเด็นท้าทายจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้พืชพันธุ์ท้องถิ่นลดลง และการใช้ภูมิปัญญาของชาติพันธุ์ในการฟื้นฟูวิถีชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน กองบรรณาธิการหยิบหนังสือ 2 เล่มมาแบ่งปัน ชวนผู้อ่านทุกท่านค้นหาศักยภาพและความหมาย เสริมเนื้อหาการพูดคุยในรายการ C-Site นักข่าวพลเมือง

อ่าน 10 ปัจจัยทำให้ความหลากหลายของพืชพันธุ์ลดลง

การศึกษาคุณค่าทางเศรษฐกิจของพันธุ์พืชท้องถิ่นเป็นการศึกษาคุณค่าความหลากหลายของพันธุ์พืชท้องถิ่น ในการใช้ประโยชน์ในมิติด้านเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มแนวทางในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่สอดคล้องกับสังคม และวัฒนธรรมในชุมชนชาติพันธุ์ จำนวน 5 ชาติพันธุ์ คือ ลีซู อาซา มัง ปกาเกอญอและขมุ เป็นการศึกษาถึงคุณค่าและความสำคัญของพันธุ์พืชต่างๆที่ชุมชนได้ประโยชน์ ให้ความเข้าใจต่อผลของความสัมพันกัน สร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมการอยู่พอดี กินพอดี บนพื้นที่สูงเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืนต่อไป
  1. ลักษณะแปลงเกษตรของชุมชนชาติพันธุ์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน มีการชะล้างพังทลายสูง การปลูกพืชซ้ำที่เดิมทำให้ไม่ได้ผลผลิต ดินเสื่อมสภาพ
  2. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ ทำให้ชุมชนใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น แม้สารเคมีจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลาแต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พันธุ์พืชท้องถิ่นสูญหาย ถูกจำกัดไปพร้อมกับวัชพืชในแปลงเกษตร
  3. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เกิดโรคระบาดในพื้นที่การเกษตร เช่น เดิมถ้าฝนตกแมลงจะหายไป แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงแดดออก แมลงจะมาทำลายพืชผลที่ปลูกไปแล้วได้รับความเสียหาย
  4. การพึ่งพาตลาดภายนอกมากขึ้น แบบแผนและวิถีชีวิตที่เร่งรีบขึ้นชุมชนนิยมซื้ออาหารจากภายนอกมาบริโภค บางชุมชนมีพ่อค้าแม่ค้านำพืชผักและอาหารต่าง ๆ มาส่งที่ร้านขายของในหมู่บ้าน ความนิยมการปลูกพืชผักบริโภคเองในชุมชนจึงลดลง
  5. การกำหนดแนวเขตที่ดินของหมู่บ้านดั้งเดิม นโยบายภาครัฐในการกำหนดแนวเขตที่กินทำกินพร้อมกับการส่งเสริมระบบเกษตรที่ให้ผลผลิตที่ดีกว่าการไร่แบบดั้งเดิม เช่น การส่งเสริมขุดนาขั้นบันได การนำพันธุ์ข้าวมาส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกเพื่อเพื่อผลผลิต แต่ระบบเกษตรแบบทำนาส่งผลให้ไม่สามารถปลูกผักร่วมกับไร่ข้าวแบบดั้งเดิมได้ พันธุ์พืชที่เก็บรักษาไว้เมื่อไม่ได้นำมาปลูกก็สูญหายและลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ 
  6. การคุกคามของพืชเศรษฐกิจ พืชเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทสำคัญกับระบบการผลิตของชุมชน ทำให้ชุมชนต้องผลิตภายใต้กลไกการส่งเสริมของกลุ่มทุนและนโยบายภาครัฐ การปลูกพืชเศรษฐกิจต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก และต้องผลิตให้ทันกับความต้องการของตลาด การปลูกพืชอาหารในชุมชนจึงลดลง
  7. การเข้าถึงทรัพยากรที่เป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารของชุมชน โดยเฉพาะสิทธิในที่ดินทำกินที่ยังไม่มีความมั่นคง เพราะยังไม่มีการพิสูจน์สิทธิและการจัดการที่ชัดเจนในเรื่องแนวเขตที่ดินทำกิน
  8. การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการรักษาทรัพยากร ประชากรในวัยแรงงานของชุมชนชาติพันธุ์ในหลายพื้นที่ออกไปเรียนและทำงานในเมืองใหญ่มากขึ้น ทำให้ไม่ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่องการรักษาทรัพยากรและพืชอาหารในชุมชน อีกทั้งยังไม่มีการรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ ส่งเสริมอย่างเป็นระบบ ทำให้การสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นลดน้อยลง
  9. ระบบการผลิตอาหารที่ไม่ยั่งยืน การรุกคืบของเมล็ดพันธุ์ต่างถิ่นที่ถูกนำมาจำหน่ายและส่งเสริมให้ปลูกในชุมชน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ไม่สามารถขยายพันธุ์หรือเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ทำให้ชุมชนต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่พันธุ์พืชพื้นบ้านจะสูญหายไป
  10. การขาดนโยบายเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร นโยบายระดับประเทศและท้องถิ่นไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาพันธุกรรมพื้นบ้าน และรักษาพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนอย่างยั่งยืน

อ่านภูมิปัญญาในการรักษาพันธุ์พืชอาหารของชนชาติพันธุ์

องค์ความรู้ด้านการรักษาพันธุ์พืชอาหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ของพี่น้องชาติพันธุ์ 9 ชนเผ่า ได้แก่ อาข่า, ลีซู, ปกาเกอะญอ, ม้ง, เมี่ยน, ดาราอาง, ลัวะ, ลาหู่, ไทลื้อ ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีวิถีชีวิต องค์ความรู้ และวัฒนธรรมที่งดงามในการรักษาพันธุ์พืชอาหาร เพื่อรักษาฐานความมั่นคงทางอาหารของชุมชนไว้  โดยข้อมูลนี้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุมชนที่ได้ศึกษาในโครงการศึกษาและพัฒนาความมั่นคงทางอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์

การเก็บรักษาพันธุ์พืชของชนชาติพันธุ์จะถูกรักษาในรูปของการปลูก/ผลิตซ้ำ ปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับฤดูกาลในการทำการเกษตรและระดับความชื้นในปีนั้น การคัดสรรพันธุ์พืช จึงเป็นการคัดกรองแม่พันธุ์ที่แข็งแรงไปด้วยพร้อม ๆ กัน ดังนั้นการปลูกในหลายฤดูกาลทำให้ต้นพันธุ์ทนทานต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ

ทั้งนี้ ภูมิปัญญาในการรักษาพันธุ์พืชพื้นบ้านของชนชาติพันธุ์มีองค์ประกอบ 3 ด้านใหญ่ ๆ กล่าวคือ 

  1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ โดยคัดเลือดเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุด มีคุณลักษณะที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์ เมล็กอวบอ้วนและไม่ลีบ ประสบการณ์และความเชื่อของแต่ละชนชาติพันธุ์มีความแตกต่างกันไป เช่น บางกลุ่มชนชาติพันธุ์เชื่อว่าต้องให้ผู้หญิงที่มีบุตรแล้วเท่านั้นที่เป็นผู้เก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นพันธุ์เพื่อทำเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไป บางชนชาติพันธุ์เชื่อว่าต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เนื่องจากเป็นเวลาที่วิญญาณกำลังหลับใหล เป็นต้น ส่วนการเก็บเมล็ดพันธุ์ตามระบบดั้งเดิมมักจะเก็บไว้ในลูกน้ำเต้าและวางไว้บนขางที่ห้อยไว้เหนือเตาไฟ เพื่อรักษาให้ห่างจากความชื้น และกันแมลงชนิดต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนมาเก็บในถุงพลาสติกในเวลาต่อมาการนำมาปลูกซ้ำทุกปี เมื่อถึงฤดูการผลิต คือ ในช่วงฤดูฝนของทุกปี เกษตรกรจะนำเมล็ดพันธุ์มาปลูกการประกอบพิธีกรรมบูชาเทวดาที่ดูแลรักษาพันธุ์พืชอาหารตามความเชื่อของชนชาติพันธุ์ ตามฤดูกาลการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ โดยคัดเลือดเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สุด มีคุณลักษณะที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์ เมล็กอวบอ้วนและไม่ลีบ ประสบการณ์และความเชื่อของแต่ละชนชาติพันธุ์มีความแตกต่างกันไป เช่น บางกลุ่มชนชาติพันธุ์เชื่อว่าต้องให้ผู้หญิงที่มีบุตรแล้วเท่านั้นที่เป็นผู้เก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นพันธุ์เพื่อทำเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไป บางชนชาติพันธุ์เชื่อว่าต้องเก็บเมล็ดพันธุ์ก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เนื่องจากเป็นเวลาที่วิญญาณกำลังหลับใหล เป็นต้น ส่วนการเก็บเมล็ดพันธุ์ตามระบบดั้งเดิมมักจะเก็บไว้ในลูกน้ำเต้าและวางไว้บนขางที่ห้อยไว้เหนือเตาไฟ เพื่อรักษาให้ห่างจากความชื้น และกันแมลงชนิดต่าง ๆ หรือการเปลี่ยนมาเก็บในถุงพลาสติกในเวลาต่อมา
  2. การนำมาปลูกซ้ำทุกปี เมื่อถึงฤดูการผลิต คือ ในช่วงฤดูฝนของทุกปี เกษตรกรจะนำเมล็ดพันธุ์มาปลูก
  3. การประกอบพิธีกรรมบูชาเทวดาที่ดูแลรักษาพันธุ์พืชอาหารตามความเชื่อของชนชาติพันธุ์ ตามฤดูกาล

นอกจากนั้นยังการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ยังถูกสะท้อนผ่านอาหารตามวิถีวัฒนธรรมที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามชนชาติพันธุ์

อ่านภูมิปัญญาในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น และสถานการณ์ความมั่นคงอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ที่คลิกภาพปกหนังสือหรือไปที่ http://resource.thaihealth.or.th

[Live] 13.30 น. #นักข่าวพลเมือง #CSite : ความมั่นคงทางอาหารและชีวิต (16 ก.ค. 63)

[Live] 13.30 น. #นักข่าวพลเมือง #CSite : ความมั่นคงทางอาหารและชีวิต (16 ก.ค. 63)…การสร้างความมั่นคงทางอาหารจากแต่ละพื้นที่ของภาคพลเมืองในสถานการณ์ #โควิด19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน📌 รับชมได้ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 หรือรับชมทางออนไลน์• Website : www.thaipbs.or.th/live • ชมอีกครั้งทาง : www.thaipbs.or.th/CSite #COVID19

โพสต์โดย นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) เมื่อ วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ