“วังปลาชุมชน” ทางรอดเกื้อหนุนปากท้องยุคโควิค-19

“วังปลาชุมชน” ทางรอดเกื้อหนุนปากท้องยุคโควิค-19

สมาชิกวังปลาชุมชนบ้านบุ่งหวาย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร กว่า 50 คน ได้ร่วมกันลงเอาปลาในบริเวณ “อ่างโคกป่าจิก” ที่ชาวบ้านบุ่งหวายได้ทำวังปลาไว้ ถือว่าเป็นการสร้างอาหารให้กับชุมชน  

นิมิต หาระพันธ์ อายุ 61 ปี ประธานวังปลาชุมชนบ้านบุ่งหวาย กล่าวว่า สมาชิกวังปลาชุมชนได้ร่วมกันมาเอาปลาที่เราได้กำหนดเขตจัดทำวังปลา เมื่อตนเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากเราต้องการให้ชาวบ้านได้มีอาหารกินในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งปลาที่ได้ในวันนี้รวมแล้วก็ประมาณกว่า 100 กิโลกรัม ถือว่าได้ปลาไม่เยอะ จากเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แต่ก็พอได้แบ่งปันกันกิน เราจะยังคงจัดทำวังปลาชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชาวบ้านต่อไป เพราะมองว่าความมั่นคงทางอาหารจริง ๆ คือทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน

นิมิต หาระพันธ์ กล่าวว่า คำว่า วังปลา เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ บริเวณวังจะมีน้ำลึกปลาหลายขนาดเข้าไปอาศัยอยู่ถือว่าเป็นที่ปลอดภัย แต่วังปลาโดยทั่วไปที่หลายกลุ่มสร้างขึ้นบางพื้นที่ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ เขตอภัยทาน ห้ามจับห้ามหากิน ซึ่งแล้วแต่พื้นที่จะออกแบบว่าจะให้เป็นอย่างไรบ้าง

แต่ “วังปลาชุมชน” ที่สร้างขึ้นนี้จะตอบโจทย์ต่อชุมชนได้อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเราสร้างจากต้นทุนที่ชุมชนมีอยู่แล้วเพื่อให้เป็นอาหารของชาวบ้านและเพื่อแบ่งปันให้กับผู้ที่ไม่สามารถหาปลาได้ เป็นการสร้างฐานทรัพยากรให้กับชุมชนได้เข้าใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืนผ่านกฏระเบียบ เช่น ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกันของคนในชุมชน บริเวณที่ทำวังปลาอยู่บริเวณอ่างโคกป่าจิก บ้านบุ่งหวาย เนื้อที่ 15 ไร่ โดยมีชาวบ้านในชุมชนเป็นสมาชิกกว่า 90 รายและประมงจังหวัดยโสธรให้ความร่วมมือ

ฉะนั้นแล้ว “วังปลาชุมชน” จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อชุมชน ทั้ง ในการอนุรักษ์ การฟื้นฟูปลา และสุดท้ายคือการกระจายความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน โดยหลังจากจับปลาในวัง คือดังนี้ 1.แบ่งปันปลาให้กับสมาชิกทุกคน 2.แบ่งปันปลาเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น อาหารกลางวันโรงเรียน ครอบครัวผู้สูงอายุ เป็นต้น 3.แปรรูปปลา เช่น ปลาส้ม ปลาร้า ปลาแห้ง เป็นต้น 4.ขายปลาสดเพื่อจัดสรรรายได้ให้กับสมาชิกในทุกปี

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ