โควิดทำทุกข์-ถ้วน-ทั่ว งานวิจัยเสนออุดรอยรั่วด้วยสวัสดิการถ้วนหน้า

โควิดทำทุกข์-ถ้วน-ทั่ว งานวิจัยเสนออุดรอยรั่วด้วยสวัสดิการถ้วนหน้า

เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (WWN) แถลงข่าว “ทุกข์ถ้วนทั่ว ต้องอุดรอยรั่ว ด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า” เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 พร้อมด้วยการแถลงผลสำรวจของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการซึ่งสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “แนวทางการจัดระบบสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19” 

นายนิมิต เทียนอุดม เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เสนอว่า การเยียวยาทั้งระยะสั้น ระยะยาวรัฐต้องช่วยเหลือประชาชนในหลักคิดของสวัสดิการถ้วนหน้า เราเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีช่วยรับรองร่างพ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ซึ่งส่งถึงมือตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 แล้ว เพื่อทำให้เกิดการอุดรอยรั่วของสถานการณ์ โควิดทำให้ฝีหนองของความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่นานแล้วมันแตก

อ.ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ระบบสวัสดิการถ้วนหน้าจะทำให้ราชการทำงานน้อยลงมาก เพราะมันจะลงไปตรงที่บัญชีพี่น้องประชาชน ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่เดิมราชการต้องเป็นคนทำงาน หรืองบประมาณต้องผ่านการตั้งโครงการก่อน จึงทำให้เกิดความซับซ้อน หรือเป็นการทำงานในภาษาเศรษฐศาสตร์เรียกว่า supple side ควรต้องเปลี่ยนเป็น demand side หรือเปลี่ยนให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้เงินอย่างไร

“หน้าที่ของรัฐบาล คือ การเสนอทางเลือกให้ประชาชนพิจารณาว่าจะใช้อย่างไร แต่ปัจจุบันเป็นอีกแบบ เช่น เงินกู้ 4 แสนล้านบาทก็ให้ราชการตั้งงบแล้วไปหาประชาชนมา” อ.ดร.เดชรัตน์ กล่าวย้ำ

สำหรับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “แนวทางการจัดระบบสวัสดิการสังคมเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด – 19” ระหว่างวันที่ 14 – 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 14 – 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด 1,998 คน กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้

ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อรายได้ของครัวเรือน 

จากการศึกษาทั้งหมดพบว่า ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ครัวเรือนส่วนใหญ่มีงานทำเป็นประจำและมีงานทำเป็นส่วนใหญ่ และมีรายได้ใกล้เคียงกับรายจ่ายหรือมากกว่า แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ครัวเรือนไทยมีกันชนทางเงินจำกัดมาก เพียงประมาณ 1-3 เดือนเท่านั้น ความเปราะบางดังกล่าวกลายเป็นความเสี่ยงในยามที่เจอสถานการณ์วิกฤต อย่างเช่นที่เจอในสถานการณ์โควิด-19

หลังจากประสบกับสถานการณ์โควิด-19 การสำรวจครั้งนี้ พบว่า ครัวเรือนจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของครัวเรือนมีรายได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยร้อยละ 27 ของครัวเรือนมีรายได้ลดลงตั้งแต่ 75% ขึ้นไป และอีกร้อยละ 27 มีรายได้ลดลงระหว่าง 50-74% ครัวเรือนในกลุ่มนี้ถือได้ว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

ต่อมาในกลุ่มครัวเรื่องที่ได้รับผลกระทบในลำดับรองลงมา คือ กลุ่มที่มีมากที่สุดในกลุ่มนี้มีรายได้ลดลงถึง 25-49% ร้อยละ 18 และครัวเรือนร้อยละ 11 ที่มีรายได้ลดลง 10-24% และอีกร้อยละ 6 ที่มีรายได้ลดลงน้อยกว่า 10% ตามลำดับ ทั้งนี้ มีเพียงแค่ร้อยละ 11 ของครัวเรือนตัวอย่างทั้งหมดที่มีรายได้เท่าเดิม และที่น่าสนใจก็ คือ กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเลยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มีน้อยกว่าร้อยละ 1 เท่านั้น

ครัวเรือนทุกกลุ่มระดับของรายได้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และมีความรุนแรงของผลกระทบใกล้เคียงกัน และทุกกลุ่มครัวเรือนพยายามรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยตนเองอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากครัวเรือนมีระดับรายได้และกันชนทางการเงินที่แตกต่างกัน ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบดังกล่าวจึงแตกต่างกันตามไปด้วย โดยกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้จำกัดและ/หรือกันชนทางการเงินจำกัด มีความจำเป็นต้องขายทรัพย์สินและกู้เงินจากแหล่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

แนวทางการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 จาแนกตามระดับผลกระทบต่อรายได้ของครัวเรือน 

ดังนั้น ความจำเป็นที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีระบบสวัสดิการที่จะเข้ามาชดเชย/เยียวยาผลกระทบดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างมากและควรจะต้องเป็นระบบที่สามารถเข้าถึงครัวเรือนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง

สำหรับความคิดเห็นต่อระบบสวัสดิการของรัฐในการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด19 พบว่า เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้พบว่า ทั้งหมดล้วนน้อยว่า 2.5 จาก 5 คะแนน แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบบสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้ในช่วงโควิดอย่างมาก

ระดับคะแนนความคิดเห็นที่มีต่อสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้
การเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ที่รัฐบาลจัดให้ของครัวเรือน จำแนกตามระดับของผลกระทบต่อรายได้ของครัวเรือน 

อุปสรรคที่พบมากที่สุดในการขอรับสวัสดิการของรัฐ คือ ความยุ่งยากในการลงทะเบียนและขั้นตอนขอรับความช่วยเหลือ (ร้อยละ 74 ของครัวเรือนทั้งหมด) ตามมาด้วยความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบ (ร้อยละ 60 และการใช้อินเตอร์เน็ตในการลงทะเบียน (ร้อยละ 47) 

เมื่อสอบถามว่า สิ่งใดที่เป็นปัญหามากกว่ากันระหว่าง (ก) เงินช่วยเหลือที่ไม่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบทุกคน (ซึ่งมีแนวโน้มจะสนับสนุนระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า) และ (ข) การที่ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบบางคนกลับได้รับความช่วยเหลือ (ซึ่งมีแนวโน้มจะสนับสนุนระบบสวัสดิการแบบเฉพาะกลุ่ม)

ผลการสำรวจพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73 เห็นว่า การที่เงินช่วยเหลือที่ไม่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบทุกคนนั้นเป็นสิ่งที่มีปัญหามากกว่า มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นเชื่อว่าการที่ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบแต่กลับได้รับเงินช่วยเหลือจะเป็นปัญหามากกว่า

เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ พบว่า ผู้คนในทุกช่วงอายุมองว่าการที่รัฐไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างครอบคลุมนั้นมีปัญหามากกว่าเป็นจำนวนมากกว่า แต่จำนวนของผู้ที่มองว่าการที่ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบกลับได้รับความช่วยเหลือจะเริ่มมีสัดส่วนมากขึ้น ตามช่วงอายุที่มากขึ้น คำตอบข้อนี้บ่งชี้ว่า ความรุนแรงของผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และการตกหล่นในระบบสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้ มีผลให้ครัวเรือนไทยมีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยกับระบบสวัสดิการถ้วนหน้า ที่ไม่ทำให้เกิดการตกหล่นของผู้ได้รับผลกระทบ

ดังนั้น เมื่อถามต่อไปว่า เงินช่วยเหลือเยียวยาควรครอบคลุมใครบ้าง? คำตอบที่ได้จึงโน้มเอียงไปในทางระบบสวัสดิการถ้วนหน้าอย่างชัดเจน โดยผลการสำรวจ พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 34 มองว่าเงินช่วยเหลือเยียวยาควรครอบคลุมคนไทยทุกคน ครัวเรือร้อยละ 47 ตอบว่า ควรครอบคลุมคนไทยทุกคนยกเว้นผู้ที่มีรายได้ประจาเท่าเดิม (เช่น ข้าราชการ) มีเพียงร้อยละ 14 ที่เห็นว่า รัฐควรเยียวยาเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบทางลบเท่านั้น และอีกร้อยละ 6 มองว่าผู้ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาควรเป็นผู้ที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ (ก) ข้อใดเป็นปัญหามากกว่ากันระหว่างการช่วยเหลือที่ไม่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบทุกคน กับการที่ผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบกลับได้รับความช่วยเหลือ และ (ข) เงินช่วยเหลือเยียวยาควรครอบคลุมใครบ้าง 

ข้อเสนอแนะ

การสำรวจครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ครัวเรือนไทยจำนวนมาก มีความเปราะบางทางการเงินอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาท/เดือน ลงมา จะมีกันชนทางการเงิน หรือมีสินทรัพย์ทางการเงินที่สามารถรองรับกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเพียงไม่เกิน 3 เดือนเท่านั้น ความเปราะบางดังกล่าวบ่งบอกว่า ครัวเรือนไทยไม่มีความพร้อมที่จะรับมือกับวิกฤตขนานใหญ่ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง

ดังนั้น เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เกิดขึ้น และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อครัวเรือน ในทุกระดับของรายได้ โดยมีขนาดของผลกระทบแทบไม่ต่างจากกันมากนัก ครัวเรือนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของครัวเรือนทั้งหมดมีรายได้ลดลงตั้งแต่หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้เดิม นับเป็นผลกระทบที่มีความรุนแรงมาก และน่าจะรุนแรงและกว้างขวางมากกว่าหลายๆ ครั้งที่ครัวเรือนไทยเคยประสบมา

เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้น ครัวเรือนไทยไม่ได้งอมืองอเท้า ครัวเรือนไทยพยายามรับมือกับวิกฤตดังกล่าวอย่างเต็มที่ ทั้งการลดค่าใช้จ่าย การหารายได้เสริม และการขอความช่วยเหลือจากรัฐหรือญาติพี่น้อง โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก แต่ความสามารถในการรับมือดังกล่าวจะแตกต่างกันไปอย่างชัดเจน ตามระดับรายได้ (ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19) และกันชนทางการเงิน ส่งผลให้ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมาก และครัวเรือนที่มีกันชนทางการเงินจากัด ต้องจำยอมขาย/จำนำทรัพย์สิน หรือกู้ยืมเงินจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงแหล่เงินกู้นอกระบบ สูงกว่าครัวเรือนที่มีกันชนทางการเงิน และมีระดับรายได้มากกว่าอย่างชัดเจน

แม้ว่า รัฐบาลพยายามจะจัดสรรวงเงินหลายแสนล้านบาทเพื่อชดเชยเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่แนวความคิดในการจัดสวัสดิการแบบเฉพาะกลุ่ม (สำหรับผู้ที่รัฐบาลเชื่อว่าได้รับผลกระทบทางลบจริง ๆ) รวมกระบวนการในการคัดกรองผู้ที่ควรได้รับความช่วยเหลือกลับสร้างอุปสรรค หรือความยุ่งยากลำบากในการเข้าถึงสวัสดิการดังกล่าว ส่งผลให้คะแนนความพึงพอใจที่ผู้ตอบแบบสอบถามมีต่อสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น ระบบสวัสดิการที่รัฐบาลจัดให้ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบมากได้ไม่ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบ

ดังนั้น เมื่อถามถึงระบบสวัสดิการที่เหมาะสมกับการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ครัวเรือนผู้ตอบแบบจานวนมากจึงเห็นด้วยกับการให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือที่ครอบคลุมผู้ได้รับผลกระทบทุกคน มากกว่าการที่จะไปคัดเฉพาะผู้ (รัฐบาลเชื่อว่า) ที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ ทัศนคติหรือความคิดเห็นดังกล่าวยังส่งผลต่อความคิดที่ว่า ระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า หรือการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาสำหรับคนไทยทุกคน มากกว่าระบบสวัสดิการเฉพาะกลุ่มอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ดี ข้อเสนอที่เรียกว่า “ระบบคัดออก” หรือการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้กับคนไทยทุกคน ยกเว้นผู้ที่ (รัฐบาลพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า) ยังมีรายได้ประจำเท่าเดิม ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ตอบแบบสอบถามจานวนไม่น้อยเช่นกัน แต่หากมีการดาเนินการตามระบบคัดออกดังกล่าว โดยไม่มีฐานข้อมูลที่ดีพอ และ/หรือ มีขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลายาวนาน ก็จะส่งผลให้เกิดความล่าช้าและความตกหล่นตามมาได้เช่นเดียวกับระบบสวัสดิการเฉพาะกลุ่ม (หรือระบบคัดเข้า) ที่รัฐบาลใช้อยู่เช่นกัน

สุดท้าย การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนจากผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เกือบร้อยละ 90 และเป็นการสนับสนุนในทุกกลุ่มช่วงวัย และในทุกกลุ่มระดับรายได้ แต่อัตราของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ควรจะเป็นควรเป็นเท่าไรนั้น ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ในระหว่าง 1,000-3,000 บาท/เดือน โดยเฉพาะความเห็นที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มช่วงวัย แต่ประสบการณ์ในการเพิ่มการครอบคลุมและอัตราเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ผ่านมา (ปี 2552-2554) สามารถลดความยากจนในกลุ่มผู้สูงอายุลงได้มาก และหากจะดำเนินการอีกครั้งก็จะช่วยลดผลกระทบและป้องกันภาวะความยากจนในหมู่ผู้สูงอายุจากสถานการณ์โควิด-19 ไปได้อย่างมาก

ดังนั้น การสำรวจครั้งนี้ได้ช่วยชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 นี้ แนวคิดระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้าได้รับเสียงสนับสนุนจากครัวเรือนไทยจานวนมาก แต่ก็ยังมีรายละเอียดของหลักการและการดำเนินการที่สำคัญบางประการเช่น (ก) ระบบสวัสดิการที่ครอบคลุมคนไทยทุกคนจริง ๆ VS ระบบสวัสดิการแบบคัดผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบออก หรือ (ข) อัตราเบี้ยยังชีพ (หรืออัตราบำนาญแห่งชาติ) ที่เหมาะสมควรเป็นเช่นไร จะต้องไปหารือและขบคิดในรายละเอียด และการหารือและขบคิดดังกล่าวต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมแบบตัดขวางสำหรับครัวเรือนที่มีระดับรายได้ต่างกัน มีช่วงวัยต่างกัน และมีกันชนทางการเงินที่ต่างกันด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากความรุนแรงและความเร่งด่วนของปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลไม่ควรใช้ความแตกต่างทางความคิดในสองประเด็นข้างต้น มาทำให้เกิดความล่าช้าในการขับเคลื่อนระบบสวัสดิการถ้วนหน้าในสังคมไทย ก่อนที่กันชนทางการเงินของครัวเรือนไทยส่วนใหญ่จะหมดลง และลุกลามกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงิน ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ ในวงกว้างในสังคมไทย

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเอกสารผลการวิเคราะห์แบบสำรวจอย่างละเอียดได้ตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2Y29rmO

แถลงข่าวทุกข์ถ้วนทั่วต้องอุดรอยรั่วด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า

โพสต์โดย บำนาญแห่งชาติ เมื่อ วันพุธที่ 3 มิถุนายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ