“ครูหลังม้า” เปิดห้องเรียนเคลื่อนที่ ดูแลเด็กนักเรียนชาติพันธุ์ 3 จังหวัด

“ครูหลังม้า” เปิดห้องเรียนเคลื่อนที่ ดูแลเด็กนักเรียนชาติพันธุ์ 3 จังหวัด

พูดคุยกับ : สยาม เรืองสุกใส ผู้อำนวยการโรงเรียนล่องแพวิทยา ตำบลสบโขง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การเรียนและการสอนออนไลน์ที่เริ่มทดลองในวันที่ 18 พ.ค การเรียนผ่านระบบ DLTV โดยระดับปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายผ่านช่อง DLTV และระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ ปัญหาโดยส่วนใหญ่ คือ ความไม่พร้อมของทั้งผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน และยังเป็นเหมือนการตอกย้ำถึงความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในประเทศไทย โดยได้รับเสียงตอบรับจากพ่อแม่ผู้ผู้ปกครองที่ดูแลลูกหลานอยู่บ้านขณะที่เรียนออนไลน์ผ่านทางทีวี โดยมีคำถามมากมายที่ถามว่า

แต่การเรียนออนไลน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งดีอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงนักเรียนในทุกบริบทจริงหรือไม่ ?

ทางโรงเรียนล่องแพวิทยา ตำบลสบโขง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน บอกว่าการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุคสถานการณ์โควิด19 ทางโรงเรียนล่องแพวิทยา ซึ่งเป็นการจัดการเรียนบนพื้นที่สูง สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แก่เด็กชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีอินเตอร์เน็ต ทางประชาชนผู้ปกครองของเด็กนักเรียนมีฐานะยากจนอยู่ในพื้นที่สูงถิ่นทุรกันดาร ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือในการใช้เรียนทางระบบออนไลน์ไม่สามารถดำเนินได้ ทางโรงเรียนแก้ปัญหาโดยใช้ห้องเรียนเคลื่อนที่ โดยใช้ “ครูหลังม้า” หรือ ส่งครูออกไปสอนเด็กนักเรียนโดยใช้มอเตอร์ไซค์ขี่ออกไปสอนเด็กนักเรียนตามหย่อมบ้านต่างๆ ในลักษณะคละชั้น โดยมีวิธีการจัดการในรูปแบบที่เข้ากับบริบทในพื้นที่เพื่อให้นักเรียนของเขาได้เข้าถึงการศึกษาทุกคน

องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ไปร่วมพูดคุยกับ : นายสยาม เรืองสุกใส ผู้อำนวยการโรงเรียนล่องแพวิทยาครูทองเหรียญ

สถานการณ์ปัจจุปันในพื้นที่ ตอนนี้ทางโรงเรียนยังอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ตามคำสั่งของทางกระทรวงศึกษาธิการ ปิดตั้งแต่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะเปิดในวันที่ 1 กรกฎาคม ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงและ สำหรับประชาชนในพื้นที่ยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อแต่ส่วนมากผลกระทบที่ได้รับ จะเป็นการที่ถูกเลิกจ้างงาน กลุ่มผู้ปกครองที่เป็นราษฎรในพื้นที่บางส่วน ซึ่งเป็นพี่น้องชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่มีปัญหาความยากจนอยู่แล้ว

สำหรับการเรียนออนไลน์ เมื่อวันที่ 18 พ.ค การเรียนผ่านระบบ DLTV ที่ผ่านมาต้องบอกว่าในพื้นที่ทางนี้มีลักษณะโรงเรียนที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน บางพื้นที่เป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตชุมชนเมือง ซึ่งสามารถเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ DLTV ได้ แต่โรงเรียนอีกลักษณะหนึ่งเป็นโรงเรียนบนพื้นที่สูงเป็นโรงเรียนของพี่น้องชาติพันธุ์ ไม่มีไฟฟ้าไม่มีอุปกรณ์ใช้ในการเรียนรู้ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์และยากจนส่วนตัวของพ่อแม่ผู้ปกครองเองส่วนมากได้รับลกระทบจากโควิด-19 โดยขาดรายได้และรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ เพราะส่วนมากทำอาชีพรับจ้าง

โครงการนี้เป็นลักษณะโครงการพิเศษ ที่ทำตามสถานการณ์ ได้นำแนวคิด โครงการครูหลังม้า ในสมมัยก่อนคือครูขี่ม้าเข้าไปสอนเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกล แต่เนื่องด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันเราใช้มอเตอร์ไซด์ เป็นหลักเราใช้สิ่งนี้ในการเข้าถึงพื้นที่และร่วมมือกับ สวท.และต้นสังกัดเขตพื้นที่ได้ร่วมด้วยช่วยกัน ในส่วนของทางโรงเรียนนี้เป็นเขตรอยต่อของ 3 จังหวัดภาคเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กชาติพันธุ์ การเรียนลักษณะออนไลน์และ ออนแอร์จึงไม่สามารถใช้กับบริบทพื้นที่นี้ได้แต่ถึงอย่างไรถึงแม้ว่าจะไม่เรียนตามปกติก็ตามแต่เด็กจะหยุดชะงักการเรียนรู้ไม่ได้ จึงได้แก้ปัญหาโดยจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเคลื่อนที่ใช้ “ครูหลังม้า” ซึ่งก็คือการส่งครูออกไปสอนเด็กนักเรียนตามหย่อมบ้านต่างๆ โดยใช้มอเตอร์ไซค์ จัดการเรียนในลักษณะคละชั้นเรียนโดยส่งครูเข้าไปแต่ละหมู่บ้านก็จะมีครูเข้าไปประจำในแต่ละหย่อม เน้นการสอนกลุ่มสาระหลัก 4 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ โดยจัดทำสื่อให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของผู้เรียนซึ่งเป็น เด็กชาติพันธุ์

ครูทั้งโรงเรียนที่มีอยู่ประมาณ 50 คน ได้กระจายออกสอนนักเรียน ร่วมกับ รุ่นพี่ในลักษณะพี่สอนน้องโดยนำรุ่นพี่ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาแต่ละหย่อมบ้าน เป็นครูพี่เลี้ยงสอนร่วมกับครูที่ออกไปสอน ในแต่ละหย่อมบ้านจะมีนักเรียนประมาณ 10 -15 คน ทั้งนี้ โครงการ “ครูหลังม้า” จะหมุนเวียนไปตามหย่อมบ้านต่างๆให้ได้เรียนครบทุกวิชา อาทิตย์ละ 1 ครั้ง หมุนเวียนไปตามวงรอบในแต่ละวิชา จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่การเรียนการสอนแบบปกติ

โดยสื่อที่ใช้จัดการสอนนั้นมีการแบ่งประเภทเนื่องจากเด็กของเราเป็นเด็กชาติพันธุ์ทักษะ ใช้ทักษะเป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 จะมีความไม่แข็งแรงด้านภาษา เราจึงต้องใช้สื่อในการสอนที่เราจัดทำขึ้นมาเองให้เข้ากับสภาพตัวของผู้เรียนด้วยตามระดับชั้น และเราจะใช้สื่อลักษณะ DLTV ในการดาวน์โหลดมาใช้ในรูปแบบลักษณะออฟไลน์ ใส่ไปในแฟลชไดร์ฟของครู หรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของครู แล้วนำไปใช้เป็นสื่อเสริมเช่นสื่อวิชาวิทยาศาสตร์ต้องมีการทดลองเราจะนำมาเปิดประกอบและ อธิบายควบคู่กันไป และสื่อสุดท้ายคือสื่อที่เป็นตัวรุ่นพี่ที่อยู่ในชุมชนที่จะมาเป็นผู้ช่วยครูเช่นพี่อยู่ ม.3 มาช่วยครูสอนน้อง ป.6

และทางโรงเรียนล่องแพวิทยา คณะครูก็ได้จัดโครงการ “LONGPAE School Grab Food ” เป็นผลจากเด็กขาดช่วงของภาวะโภชนาการ ในช่วงปิดเทอมที่ยาวนานขึ้นในระยะนี้อยู่ในช่วงปิดเทอม เด็กจะกลับไปอาศัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งผู้ปกครองไม่มีรายได้ อีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จึงต้องมีการขยายเวลาการเปิดภาคเรียนออกไป ซึ่งอาจส่งผลให้นักเรียนที่มีฐานะยากจนขาดแคลนอาหาร และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งเด็กนักเรียนเอง ยังอยู่ในวัยเจริญเติบโต ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ โภชนาการอาหารจึงถือเป็นสิ่งจำเป็น จึงจำเป็นที่จะต้องนำสิ่งของอุปโภคบริโภคนำไปให้กับเด็ก

ทางโรงเรียนมีเด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 400 คน ที่มีฐานะยากจน ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน เขตรอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก ซึ่งก่อนหน้านี้ เด็กส่วนใหญ่จะพักนอนที่โรงเรียนเนื่องจากเดินทางค่อนข้างลำบาก ซึ่งยังมีเด็กนักเรียนที่มีบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียน ไกลสุดเป็นระยะทาง 20 กม. ใช้เวลาเดินทาง 5-6 ชั่วโมง ต้องเดินเท้า รถไม่สามารถสัญจรได้ จึงจัดมอบข้าวสาร อาหารแห้ง นมผงสำหรับเด็ก และของใช้จำเป็นให้นักเรียนด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจนบนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ช่วยเหลือเป็นเบื้องต้นให้นักเรียนยากจนขาดแคลนอาหารและเครื่องใช้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต โดยเป็นการรับบริจาคจาก ซึ่งถ้าเป็นปกติที่โรงเรียนเปิดเทอมได้ เด็กๆส่วนมากก็จะมาทานอาหารที่โรงเรียน ช่วงนี้ต้องใช้โครงการ LONGPAE School Grab Food ไปจนกว่า รร.จะสามารถเปิดเทอมได้

เนื่องจากโรงเรียนเป็นโรงเรียนสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระองค์ท่านได้พระราชทานถุงยังชีพเพื่อมาช่วยนักเรียนยากจนจำนวน 400 คน และขยายผลเรื่องความมั่นคงทางอาหารของทางผู้ปกครอง ทั้ง 15 ครัวเรือนซึ่งขณะนี้เราก็กำลังดำเนินการเพื่อให้เขามีความมั่นคงทางอาหารมากขึ้นไม่ต้องรอเพียงของที่จะมาแจกเพียงอย่างเดียว

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ เรื่องของการจัดรูปแบบการเรียนการสอนคงต้องเอาหน้างานหรือ บริบทของโรงเรียนตัวเองดูตามความเหมาะสมตามสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและพื้นที่ ถ้าโรงเรียนไหนอยู่ในพื้นที่ที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต และผู้ปกครองมีความพร้อมก็อาจจะใช้เครื่องมือการเรียนการสอนในแบบออนไลน์หรือออนแอร์ทางด้านทีวี ส่วนโรงเรียนไหนที่ไม่พร้อมเรียนทางด้านออนไลน์ อาจต้องออกแบบนวัตกรรมซึ่งให้ครูได้ออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุดสำหรับตัวผู้เรียนเองและของโรงเรียนนั้น ๆ 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความมุ่งมั่นในการที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าสถานการณ์ยังคงไม่เข้ารูปเข้ารอยเป็นกำลังใจให้ทุกโรงเรียน ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้  เพราะเชื่อว่าครูทำหน้าที่ตอนนี้หนักหนา เป็นกำลังใจให้ครับ ​​ผอ.สยาม กล่าวทิ้งท้าย

Live องศาเหนือ Special 190520

วันนี้ชวนคนผู้ชม พูดคุยในเรื่องที่โรงเรียนล่องแพวิทยาเขาส่ง “ครูหลังม้า” เปิดห้องเรียนเคลื่อนที่ สอนตามหย่อมบ้าน 4 วิชาหลัก ดูแลเด็กนักเรียนชาวไทยภูเขา 3 จังหวัด.คุยกับ : สยาม เรืองสุกใส ผู้อำนวยการโรงเรียนล่องแพวิทยา จะมาเล่าที่มาที่ไปให้เราฟัง***

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ