“ห้องเรียนชุมชน” เมื่อเยาวชนปิดเทอมยาว

“ห้องเรียนชุมชน” เมื่อเยาวชนปิดเทอมยาว

ร่วมพูดคุยกับ : สุรสิทธิ์ ดลใจไพรวัลย์ หรือ จอแอะพอ ชาวบ้านผาหมอนผู้คิดค้นกิจกรรม

การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่สิ้นสุด การเรียนในห้องเรียนซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความคิดความเข้าใจของตัวเองเพื่อเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ต่อไปในอนาคต แต่การใช้ชีวิตที่เชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งเป็นทั้งต้นทุน และเป็นสิ่งที่หล่อหลอมในการเติบโตก็ถือเป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งการร่วมมือกันของคนในชุมชนให้ชุมชนกลายเป็นห้องเรียนการเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมนั้นจึงเป็นการเรียนรู้หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน การนำใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากการถ่ายทอดของผู้รู้ภายในชุมชน และการจัดกระบวนการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ร่วมจากกิจกรรมในพื้นที่เพื่ออนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้เด็กและเยาวชนสามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งตัวบุคคล และชุมชนนั้นถูกขับเคลื่อนผ่านแหล่งเรียนรู้ จะทำให้เยาวชนเหล่านั้นเรียนรู้ทั้งสองมิติไปพร้อม ๆ กัน และตอนนี้ที่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เด็ก ๆ ชุมชนบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ วิกฤติ COVID-19 เยาวชนบ้านผาหมอนต้องปิดเทอมยาว จึงเกิดไอเดียให้เยาวชนเรียนรู้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น และได้ออกแบบกิจกรรมเล็ก ๆ ให้กับเด็กๆในชุมชน ได้มาเรียนรู้วิถี ภูมิปัญญา เมล็ดพันธุ์ และกระบวนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เสริมให้เยาวชนรักษาความมั่นคงทางอาหาร และวิถีชีวิตที่แท้จริงของตนเองที่ชุมชนของตนเอง พยายามใช้เวลาช่วงนี้ให้เด็กๆในชุมชนได้กลับมาเรียนรู้วิถี รากเหง้า ให้ร่วมสมัย ผ่านกิจกรรมชุมชนนี้

องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ไปดูแนวคิดกิจกรรม K’nyaw HPo Smart Farm Kid’s พูดคุยกับ จอแอะพอ หรือ สุรสิทธิ์ ดลใจไพรวัลย์ ชาวบ้านผาหมอนผู้คิดค้นกิจกรรม และเป็นผู้นำเที่ยวในชุมชน ต้องตกงาน ไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ จึงใช้เวลาว่างออกแบบกิจกรรมชื่อ K’nyaw HPo Smart Farm Kid’s เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ วิถีภูมิปัญญา ทั้งเมล็ดพันธุ์พืช การดูแลทรัพยากรธรรมชาติของชมุชน

สุรสิทธิ์ ดลใจไพรวัลย์ หรือ จอแอะพอ ชาวบ้านผาหมอนผู้คิดค้นกิจกรรม เล่าว่า วิกฤตโรคระบาด โควิด 19 ส่งผลกระทบไปทุกที่ และเรื่องอาหารเป็นสิ่งจำเป็น ชุมชนไหนมีความมั่นคงทางอาหารจะอยู่รอดได้ การเรียนรู้นี้ผมออกแบบง่าย ๆ กิจกรรมที่มีชื่อว่า K’nyaw HPo Smart Farm Kid’s โดยให้เด็ก ๆ ในชุมชนเข้ามาเรียนรู้ มีการไปดูพื้นที่เพาะปลูกจริง แนวคิดว่ามาจากจะทำอย่างไรให้เยาวชนสนใจในเรื่องใกล้ตัว จึงนำการปลูกพืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ให้เด็ก ๆ มาทำร่วมกันเป็น ทั้งการเริ่มตั้งแต่การปลูกเอง เรียนเรื่องเมล็ดพันธุ์พืช ในการลงมือปฏิบัติเยาวชนได้รู้จักความเหน็ดเหนื่อย สะท้องให้เห็นถึงความลำบากของพ่อแม่

ในการที่เรามาทำสิ่งนี้ถ้าชุมชนอื่น ๆ ทำแบบเดียวกันคิดว่ามันเป็นโอกาสในการจะได้ให้ลูกหลานมีการเรียนรู้ในตัวเองเข้าใจตัวเองและชุมชน คนรอบข้างมากขึ้น ถามว่าจะเป็นตัวอย่างได้หรือไม่ถ้าทุกคนใส่ใจเรื่องเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านและให้ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เราจะมีการรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านมากขึ้นเด็ก ๆจะได้ทั้งความรู้และเรียนรู้ด้วยตัวเองในเรื่องของความมั่นคงทางอาหารไปในตัว ถ้าชุมชนอื่น ๆ ชอบก็สามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการทำในชุมชนอื่น ๆ ได้ และคิดว่ายังมีคนอื่น ๆ ที่ทำเช่นเดียวกันอาจจะมีทั้งองค์กรที่เปิดให้เด็ก ๆ เยาวชนเข้าไปเรียนรู้

ในส่วนของชุมชนเรากระเหรี่ยงบ้านผาหมอน ที่เรามีกิจกรรมเหล่านี้ซึ่งมันเป็นสิ่งจำเป็น จำเป็นที่เราจะต้องนำความรู้สิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดและอนุรักษ์เอาไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ สำคัญที่ว่าเด็ก ๆ ได้เรียนรู้ที่ว่าความยากลำบากมันเป็นอย่างไร ทุกอย่างจะสะท้อนออกมาจากสิ่งเหล่านี้ว่า ผู้ที่ลำบากกว่าเราก็มีมากมาย และพ่อแม่ที่ทำงานหนักไปทำสวนทำนา ว่ายากลำบากมากแค่ไหนมีความเข้าใจพื้นที่ธรรมชาติของบ้านตัวเอง

เด็กที่มีพลังงานอยู่แล้วและพวกเขาได้ใช้พลังได้ถูกวิธี  

ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้เยาวชนบ้านผาหมอนต้องปิดเทอมยาว โดยในส่วนกลางเองถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น เรียนแบบ Home School โดยระบบออนไลน์ เพราะว่าสิ่งนี้ก็เป็นปัญหาบานดอยบนป่าเขาบางพื้นที่ไม่มีสัญญาณ และผู้ปกครองเองไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ เพราะฉะนั้นเราควรปรับหลักสูตรให้เข้ากับพื้นที่ 1 ถ้าเราไม่สามารถเข้าไปอยู่ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนกลางได้หลีกสูตรท้องถิ่นจึงมีความจำเป็น แต่ในส่วนกลางก็มีความจำเป็นในเรื่องของเด็กอ่านออกเขียนได้ เพราะฉะนั้นในเรื่องของทักษะชีวิต เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะเสริมให้กับเด็ก ๆ เป็นคนเรียนรู้ ปฏิบัติ  ไม่ใช่แค่เฉพาะในเมือง หรือบนดอย แต่ทักษะชีวิตก็เป็นเรื่องที่สำคัญ องค์ความรู้ที่อยู่ใกล้ตัวเด็กควรจะมีโอกาสได้เรียนรู้ ถ้าเรามองแต่ว่าเด็กต้องอยู่ในทักษะการเรียนรู้แค่ในระบบเด็ก ๆ ก็อาจจะมีการดำรงชีวิตที่หลง ๆ ลืม ๆ ไป เช่นการหุงข้าว การทำงานบ้าน การเพาะปลูก และอื่น ๆ ในเรื่องของวิถีชีวิตจากต้นกำเนิด

แต่ในขณะเดียวกันเราในกิจกรรมเราก็ติดต่อกับเพื่อน ๆ ที่มีความรู้อื่น ๆ รอบด้าน บางคนเป็น ศิลปิน ช่างภาพ นักเขียน เราใช้การวีดีโอคอลเพื่อถ่ายทอดผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารให้เยาวชน กระตือรือร้นมีการเรียนรู้อีกมิติและอีกเรื่องราวหนึ่ง

บ้านผาหมอนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในการเรียนรู้วิถีชีวิตอยู่แล้ว มีหลายครั้งที่เด็กในเมืองเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือทำ แต่ในขณะเดียวกันเรามองกลับกันว่าวิถีชีวิตที่นี้เราลืมสอนลูกหลานกัน อย่างครั้งนี้มีโอกาสจึงทำ ถ้าชุมชนไหนเห็นถึงความสำคัญของการเป็นชุมชน ไม่ว่าด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภาคการเกษตร เราควรที่จะต้องคุยกันนอกจากการใช้ชีวิตกิจกรรมในเรื่องของครอบครัวแล้ว เราต้องหากิจกรรมร่วมกัน เยาวนในหมู่บ้านก็จะเกิดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเรื่องการเป็นเพื่อน ได้เรียนรู้ เล่นกัน ทะเลาะกัน เป็นเรื่อธรรมชาติของเด็ก เราจะใช้ธรรมชาติของเด็กเป็นตัวตั้ง ถ้าคนไหนไม่อยากทำอีกคนก็จะเป็นคนกระตุ้นเพื่อน ๆ เอง แต่ถ้าทุกคนยอมแห้ก็จะมีพี่สิทธิ์เป็นคนกระตุ้นอีกที เพราะฉะนั้นมองว่าถ้าโครงการนี้เดินต่อไปได้และชุมชนอื่นนำไปทำมันจะดีมากให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตเรื่องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งในทุก ๆ ชุมชนมีอยู่แล้วแม้แต่ในเมือง หรือบนดอย

Live องศาเหนือ Special : 130520

วันนี้ชวนคนผู้ชม ไปดู "ห้องเรียนชุมชน" ที่ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านผาหมอน ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ให้เยาวชนเรียนรู้เมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น พร้อมรักษาความมั่นคงทางอาหาร.คุยกับ : คุณ สุรสิทธิ์ ดลใจไพรวัลย์ ที่เป็นผู้นำเที่ยวในชุมชน ต้องตกงาน ไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ จึงใช้เวลาว่างออกแบบกิจกรรมชื่อ K'nyaw HPo Smart Farm Kid’s เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ วิถีภูมิปัญญา ทั้งเมล็ดพันธุ์พืช การดูแลทรัพยากรธรรมชาติของชมุชน

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ