ข้อเสนอปลดล็อก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อการศึกษา

ข้อเสนอปลดล็อก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อการศึกษา

ร่วมพูดคุยกับ :  รองศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ หัวหน้าศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เหตุการณ์โควิดในประเทศไทย ณ ตอนนี้เป็นอีกวันที่ตัวเลขผู้ป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือผู้ป่วยหลาย ๆ คนเริ่มทยอยกลับบ้านไปกันครบหมดแล้วและ ทางภาคเหนือไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ถึงอย่างไรก็ตามสถานการณ์ดูเหมือนค่อนข้างที่จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ เรื่องของการศึกษาต่อจากนี้ มีการคุยกันเพิ่มมากขึ้นและมีข้อถกเถียงเราจะทำอย่างไรมาตราการณ์ทางด้านการศึกษา หลาย ๆ พื้นที่ทั่วทุกภาคมหาวิทยาลัยมีมาตรการในการเรียนการสอนออนไลน์มีนโยบายในการเยียวยาให้กับนักศึกษา ทั้งการลดค่าเทอมช่วยเหลือด้านอื่น ๆ หลาย ๆ ด้านแตกต่างกันออกไป แต่วันนี้ที่เราจะลืมไม่ได้คือการศึกษาระดับขั้นต้นนักเรียนที่อยู่ในระดับประถมต้นประถมปลายหรือรวมถึงนักศึกษาบางส่วน เราจึงต้องคุยเรื่องผลจากโควิดส่งผลอะไรบ้างใครที่จำเป็นต้องปรับตัวอย่างไร คุยประเด็น 3 เนื้อหาใหญ่  ๆ เรื่องการศึกษาของเด็กหลาย ๆ โรงเรียนเร่งรัดและปิดเทอมเร็วกว่าปกติและเปิดอีกทีตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือ กระทรวงอุดมศึกษาก็ประกาศเช่นเดียวกันว่าจะเปิดในเดือนกรกฎาคมและในช่วง 2-3 เดือนระหว่างนี้ทั้งตัวผู้ปกครอง นักเรียน ครูบุคลากรทางการศึกษาควรที่จะเตรียมตัวอย่างไร

องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้คุยเรื่องการศึกษา ซึ่งถ้าประเทศไทยมีการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อการเรียนการสอน จะเป็นอย่างไร

– นักเรียนจะเข้าถึงไหม

– จะต้องมองเรื่องไหนบ้างเพื่อเตรียมตัว

– มีเด็กกลุ่มไหนที่ต้องจับตาเป็นพิเศษหรือไม่

ชวนวิเคราะห์สถานการณ์การศึกษากับ : รองศาสตราจารย์ ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ หัวหน้าศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต้นทุนทางเทคโนโลยีมีการวิเคราะห์กันอยู่ค่อนข้างชัดเจนว่า กลุ่มไหนบ้างที่อาจจะเข้าไม่ถึงเลย โดยเฉพาะกลุ่มที่เข้าถึงกองทุนเพื่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ได้มีการทำสำรวจมีข้อมูลหลายตัวที่น่าสนใจและการวิเคราะห์ของกลุ่มอื่น ๆ และข้อมูลเดิมค่อนข้างชัดเจนว่าเด็กที่มีครอบครัวที่อยู่ในฐานล่างสุดของโครงสร้างทางสังคม ของส่วนแบ่งรายได้ในประเทศไทย ซึ่ง 20 % คนเหล่านี้ถือว่าเป็นทั้งคนด้อยโอกาสกลุ่มเก่า และกลุ่มถัดมาที่อาจจะได้รับผลกระทบกระเทือนไปด้วย อย่างน้อยเด็กใน 40 % ที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเหล่านี้ มีประมาณอีก 7 ล้านครอบครัวคนเหล่านี้ส่วนหนึ่งเข้าไม่ถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต เป็นเรื่องของทรัพยากรทางสังคมคลื่นความถี่ ที่ไม่ทั่วถึงในประเทศไทยซึ่งเป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วในปัจจุบัน สองคือเด็กกลุ่มนี้แม้ว่าบางพื้นที่คลื่นความถี่อาจจะเข้าถึงบ้างแม้ว่าจะไม่เสถียรก็ตาม แต่พบว่าเครื่องมือที่คนกลุ่มนี้มีเพื่อรับสัญญาณ

ถ้ามีการสอนออนไลน์เกิดขึ้นในความหมายเป็นรูปว่าจะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ไม่ใช่เพียงแต่จะโยนวัสดุของการเรียนการสอนเข้าไปและให้เด็กมาเข้าดู แต่ถ้าในเรื่องของ Interactive classroom การตอบโต้ในห้องเรียน Interactive Learning and Interactive Teaching คิดว่าความไม่เสถียรของสัญญาณอันประการแรกซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคม ซึ่งประเทศเราไม่มีกระจายอย่างเพียงพอ ต่อมาคือตัว device หรือกลไกที่เด็กมีขณะนี้การสำรวจของหลาย ๆ สถาบันก็ชัดเจนว่าอย่างมากเด็กประถมมัธยมที่จะเข้าถึงได้เกือบ 100 % ก็คือ สมาทโฟน เด็กไม่มีแท็บเล็ตและเด็กไม่มีคอมพิวเตอร์ แลบางครอบครัวก็มีเพียงแค่สมาทโฟนเพียงเครื่องเดียว นี่คือสิ่งที่เป็นคำถามว่าทรัพยากรมีเท่านี้จะแชร์กันใช้อย่างไร เพราะเราคิดว่าตรงนี้มาถึงทางข้อสรุปได้แล้วว่าจริง ๆ แล้วโครงสร้างของสัญญาณคลื่นความถี่ ครอบครัวเด็กข้างล่าวงอย่างน้อยมี 40 % มีความไม่พร้อมหรือถึงพร้อมที่จะเรียนออนไลน์ก็ไม่เสถียร สรุปได้ในเชิงโครงสร้างครอบครัวและเชิงโครงสร้างที่มากระจายสัญญาณความถี่และการกระจายรายได้

ตัวเลขของกองทุนความเหลื่อมล้ำที่เป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางที่สุด เช่นเด็กพิการเด็กที่มาจากครอบครัวแบ่งกลาง ซึ่งอยู่ในสภาพที่ห่างไกลมากขึ้น ประมาณ 2 แสนคนและมีการสำรวจจาก More move เด็กในกลุ่มเปราะบางในช่วงโควิดขยับจาก 2 แสนอาจจะเป็น 7 แสนคนแต่เราไม่มีโอกาสได้ไปสำรวจอย่างชัดเจนว่าเด็กในครอบครัว 2 กลุ่มนี้ฐานล่างสุดกับรองลงมามีเด็กอยู่ในสมาชิกการศึกษาเท่าไหร่แต่ประมาณการณ์ได้ว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 1 ใน 3 ของเด็กในประเทศไทยที่ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคนที่อยู่ในระดับการศึกษา สิ่งนี้คือในการจะรับวัสดุในการสอนเพราะขนาดนี้ถามว่า วัสดุในการสอนออนไลน์ในความหมายเบื้องต้นคุณครูสามารถทำได้ อาจจะรวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย และเราสำรวจสิ่งที่เพื่อน ๆ และคุณครูทำก่อนในตอนปิดเทอม คุณครูทำอย่างไร คุณครูบอกว่าถ่ายเอกสารตำราเรียนเพราะตำราเรียนที่ผ่านมาไม่อยู่ในรูปของออนไลน์ เพราะเป็นแบบ Copy ถ่ายเอกสารตัวหนังสือ ตัวคู่มือครูก็ไปถ่ายเอกสารและอัพโหลดเข้าไปเป็นไฟล์ PDF. และอัพโหลดเข้าไปใน Google Hangout , Google Classroom, Group Facebook โรงเรียนที่ภาคอีกสานเขาบอกว่าผู้ปกครองใช้ไลน์เยอะเลยใช้ไลน์เป็นสื่อกลางอัพโหลดเอกสารเข้าไปในนั้น เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าถึงได้ เพื่อผู้ปกครองถ่ายทอดไปถึงตัวเด็กอีกเพื่อช่วยกันระหว่างครูกับผู้ปกครอง

ผู้ปกครองถ้าพูดถึงการเข้าถึงก็จะมีไลน์ ที่คุ้นเคยมากที่สุดและสมาทโฟนของผู้ปกครองก็พอจะมีความเสถียรพอสมควร แต่แต่พอมาพูดถึง Facebook ปรากฏว่าเด็กพอใช้ได้ แต่ผู้ปกครองฐานล่างยังไม่คุ้นเคยกับ Facebook และ Google Hangout ยังห่างไกลกับประสบการณ์กับตัวผู้ปกครองหลาย ๆ คนค่อยข้างเยอะ ซึ่งขณะนี้อาจารย์จะสอนผ่าน Zoom เมื่อวาน 2 วันที่ผ่านมามีการสัมภาษณ์นักศึกษา ระดับปริญญาโท ปริญญาเอกและมีการประชุมออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่ได้รับประสบการณ์ร่วมกันเลยระหว่างตัวอาจารย์และตัวผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อ เพราะฉะนั้นจึงคิดว่าเด็กจะสามารถอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรที่เป็นเวลา 5-7 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้เป็นคำถามที่ว่าสิ่งแรกคือเครื่องมือในการเข้าถึง สองคือ เครื่องมือคือตัวผู้เรียนเอง พวกเขาจะตั้งรับกับสถานการณ์เหล่านี้อย่างไร สิ่งนี้คือต้นทุนทางจิตวิทยา ตัวเราเองไม่อยากไปโทษว่าเด็กไม่มีระเบียบวินัย ตัวเองคิดว่าระเบียบวินัยตรงนี้มันเกินความสามารถที่เด็กจะสามารถทนทานกับมันได้ เพราะว่าเด็กแต่ละช่วงอายุมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ถึงจะเป็นเด็กที่ช่วงอายุอยู่กับสมาทโฟนมาก ๆ และมานั่งดูการเรียนรู้จากสมาทโฟนหรือเรียนอยู่ประมาณ 5 ชั่วโมง เป็นแค่เราเองเรายังทนไม่ไหว เพราะว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เสียสมาธิ

สิ่งที่อาจารย์เจอแล้วเป็นเรื่องที่ตกใจมากคือ เราให้เด็กทำรายงานในช่วงที่มีปัญหาโควิดเด็กหลาย ๆ บอกว่าต้องพิมพ์รายงานจาสมาทโฟนซึ่งมันช้า เพราะไม่มีคอมพิวเตอร์ในการช่วย และเด็กเหล่านี้ต้องเข้ามาในเมือง เพื่อที่จะมาใช้บริการร้านอินเตอร์เน็ตซึ่งหลาย ๆ ร้านปิดซึ่งชั่วโมงละ 10 บาทเป็นอย่างน้อย ซึ่งนี่คือราคาต่อคนถ้าทำหลาย ๆ ชั่วโมงเข้าครอบครัวก็ต้องเข้ามาช่วยซัพพอร์ต สิ่งนี้ก็เชื่อมโยงมายังต้นทุนทางการเงินที่จะต้องนำไปซื้อเครื่องมือใหม่

เพราะฉะนั้นถ้าเราวิเคราะห์ต้นทุนของโครงสร้าง  การกระจายอำนาจคลื่นความถี่ เราวิเคราะห์ถึงเครื่องมือที่ครอบครัวมีอยู่ วิเคราะห์ถึงบรรยากาศการสอน การเรียนรู้ เราพูดได้เลยว่าการสอนออนไลน์ มันยังไม่พร้อมสำหรับเด็กจะพูดว่าทุกกลุ่มเลยก็ได้ แม้แต่กลุ่มที่มีโอกาสเด็กเองก็จะไม่ไหวในการที่จะต้องเรียนแบบนี้ ในระยะเวลาที่นาน

และเมื่อพูดถึงโรงเรียนชายขอบที่อยู่ตามชายแดน ในสถานการณ์ปัจจุบันตอนนี้จากงานวิจัยของอาจารย์ที่เราลงไป ชายขอบในเขตแดนของประเทศไทยเช่น อำเภอแม่สอด จังหวัดเชียงราย ในเขตเมืองเทศบาลเราพบว่าสัญญาณของโรงเรียน ไม่ได้เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอน ครูเองจะต้องใช้สมาทโฟนของตัวเอง ในการที่จะ เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ สิ่งนี้เราเห็นเลยว่าสัญญาณที่จะเสถียรมันค่อนข้างจะมีค่าใช้จ่ายสูง ถือว่าเป็นการสื่อสารปกติ เพราะการที่จะสำรวจว่านักเรียนมีสัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือไม่มันต้องสำรวจอาจจะมีในเรื่องการสื่อสารปกติ แต่ในเรื่องของการเรียนการสอนมันจะต้องมีความถี่อีกระดับหนึ่งซึ่งเราอาจจะต้องพูดอีกครั้งหนึ่งว่าโรงเรียนไหนจริง ๆ ที่มีคลื่นความถี่ขนาดที่จะใช้จัดการเรียนการสอนได้อย่างปกติ ถ้าเขาทำงานจริงจังเขาก็จะให้คำตอบกับเราได้ จากแระสบการณ์การวิจัยของเราพูดได้เลยว่าโรงเรียนในเมืองเชียงใหม่ โรงเรียนเทศบาลทั้งหมด โรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมดสัญญาณเข้าถึงจริง ๆ แต่ไม่ได้มีความเสถียรพอที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน สิ่งนี้คิดว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจน และจากการใช้งบประมาณตรงนี้ในการช่วยเหลือสถานศึกษาส่วนใหญ่ก็รอเขต เขตก็รอกระทรวง มันเป็นสายป่านการรอซะส่วนใหญ่ ตรงนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง

การดึงเอาคลื่นความถี่ที่มีอยู่เอามาใช้ในการเรียนชิ่งทีวีปกติ คงจะเป็นไปได้ในระดับหนึ่งอาจดีกว่าสมาทโฟน แต่ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นในรายละเอียดว่า จะไม่มีการรีรันย้อนดู หรือการบันทึก เพราะกลายเป็นว่ากลัวแต่เพียงว่าเด็กจะไม่มาเรียนต้องคิดว่าเด็กจะไม่พร้อมในช่วงเวลาที่ครูกำลังสอน หรือเรากำลังโยนวัสดุ อุปกรณ์ลงไปในตอนที่เรียน และเราบอกว่าเราจะไม่มีการรีรัน ย้อนกลับสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรากลัวมากว่าเราอยากให้มีการรีรันเหมือนโปรแกรมอื่น ๆ หรือเด็กๆ ไม่สามารถเรียนในช่วงนั้น ๆ ได้ ก็สามารถเข้ามาสู่บทเรียนได้ และในบางครอบครัวที่มีทีวีเครื่องเดียวและมีลูกมากกว่า 1 คนเขาจะแบ่งปันทรัพยากรอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่เรามีการเทป การบันทึกไว้เพื่อจะให้ผู้เรียนและครอบครัวด้วยพ่อแม่อาจจะไปทำงานหรือไปไหนก็แล้วแต่ที่ไม่สามารถจะอยู่พร้อมลูกได้ ก็อาจจะกลับมาช่วยกันได้หลังจากนั้น สิ่งนี้ก็เป็นการคุยว่า ทำไมถึงมีนโยบายว่าสอนเสร็จก็เสร็จไปเพื่อให้เด็กไม่ขาดเรียน ซึ่งวิธีคิดของกระทรวงแบบนี้เป็นวิธีคิดที่ไม่ยืดหยุ่น ในภาวะวิกฤตตรงนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นความคิดที่ดีแต่เมื่อเข้าถึงขั้นปฏิบัติแล้วการใช้วัฒนธรรมแบบนี้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ติด้อยลงไปมากทีเดียว

มีการพูดคุยกันเรื่องของพ่อแม่ถ้าเข้ามาช่วยในการเป็นครูไปด้วยจะเป็นครูหลักหรือครูผู้ช่วยก็แล้วแต่ ความเป็นไปได้จะมากน้อยแค่ไหน เพราะในขณะนี้ทีเราดูจากการสื่อสารในสังคม หรือในเวทีเสาวนาออนไลน์ต่าง ๆ เราจะสังเกตได้ว่า ครอบครัวชนชั้นกลางถ้ามีความพร้อมส่วนหนึ่งไม่พ่อ หรือแม่ต้องเสียสละที่จะต้องเข้าช่วยลูกในส่วนนี้ แต่ถ้าพ่อแม่ยังคงทำงานจากบ้านอยู่แทบจะเป็นไปได้ยากซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิดว่าถ้าพ่อแม่ทำงานอยู่บ้านแล้วจะมีความสามารถสอนและดูแลลูกได้แจจะต้องปล่อยและให้ลูกเรียนไปเองคนเดียว เขาไม่สามารถเอาเวลาทำงานมาเป็นครูผู้ช่วยให้กับลูกได้ ยกเว้นถ้ามีโปรแกรมรีรันย้อนกลับให้ผู้ปกครองสามารถกลับมาสอนลูกได้ในเวลาเลิกงาน วงเสวนาหนึ่ง คุณแม่บางคนบอกว่าเขาต้องปล่อยให้ลูกเล่นแทบจะไม่มีเวลาที่จะมาดูแลลูกได้ เราต้องมีจินตนาการใหม่ไม่มาทำงานไม่ได้หมายความว่าไม่ทำงาน ประเด็นต่อมาในสังคมชนชั้นสูงศักยภาพในความหมายว่า อาจจะมีคุณแม่ที่ไม่ได้ทำงาน Full time หรือมีหน้าที่ดูแลลูกตลอดเวลา ความกังวลใจของพ่อแม่คือคุณภาพการศึกษาของลูกของเขาเขาจะทำได้หรือไม่ เพราะ การสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์แบบใหม่ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่ทุกคนจะเข้าใจ และการเรียนวิชาเหล่านี้ของพ่อแม่เมื่อ 10 -20 ปีที่แล้วมันไม่ได้เหมือนเดิม การศึกษาที่เปลี่ยนไปเยอะไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะมีความพร้อมเหล่านี้

สิ่งเหล่านี้ถ้าจะทำให้ทุกคนมีความพร้อม กระทรวงศึกษาต้องดึงผู้ปกครองที่พร้อมจะเป็นผู้ดูแลลูกในเวลาเรียน เข้ามาอบรมเพื่อให้พ่อแม่มีการเตรียมความพร้อมให้เขาพร้อมที่จะช่วยลูก จุดสำคัญอีกหนึ่งจุดคือ

ผู้ปกครอง ผู้เรียนและครูกังวลที่สุด ในสถานการณ์ที่มีความไม่พร้อม ทุก ๆ ครอบครัวและทุก  ๆ ดับ กระทรวงศึกษากลับไม่พูดเลยในเรื่องของนโยบายและการประเมินผล

นั่นหมายความว่ายังคงวัดและประเมินผลการศึกษาในแบบเดิม เราต้องมานั่งพูดและช่วยกันคิดก่อนว่าจะวัดและประเมินผลแบบไหน ให้ครอบครัวเป็นผู้วัดหรือให้ครูและผู้ปกครองร่วมมือกัน ให้เด็กครอบครัว ครูร่วมมือกัน เพื่อจะวัดประเมินผลการศึกษาของเขาในแต่ละชั้นเรียน

ต้องปลดล็อกตรงนี้เพราะเป็นสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ที่กระทรวงศึกษาวาง เพราะครอบครัวหวังและเด็ก ๆ หวังโดยเฉพาะเป็นเด็กที่กำลังเข้ามหาลัยสิ่งเหล่านี้ผูกพันกันหมด เพราะฉะนั้นต้องปลดล็อกปลายทางก่อน ปลายทางนี้กระทรวงศึกษาจะกระจายอำนาจไปสู่คน 3 กลุ่ม สู่ผู้เรียน ครู ผู้ปกครองให้มาออกแบบร่วมกันร่วมกับแต่ละสถานศึกษา

ถ้าปลดล็อกตรงนี้จะทำให้คนทั้ง 3 กลุ่มนี้เข้ามาร่วมมือออกแบบว่า เด็กของเขาจะได้มีพัฒนาการแบบนี้ และส่วนหนึ่งที่ต้องเอามาคิดคือเรื่องบทเรียนแบบ Home School เอามาคิดว่าชุมชนและ Home School เค้ามีบทเรียนและแนวคิดที่จะทำอย่างไรเพื่อนำมาแชร์กัน แต่รัฐบาลกระทรวงศึกษาที่เกี่ยวข้องต้องพูดคุยกันถึงเรื่องนี้เพื่อปลดล็อกในการจะวัดและประเมินผลอย่างไรถ้าวัด และประเมินผลแบบเดิมจะต้องมีวิธีการจัดการอย่างไร

ตอนนี้ทางอาจารย์ก็ได้คุยกันว่าแต่ละคณะที่จะนำเด็กเข้ามาจะนำเด็กเข้ามาศึกษาต่อด้วยวิธีแบบไหน จะมีการผ่อนปรนกับเด็กอย่างไร หรือจะเข้าไปช่วยเหลือเด็กอย่างไร เพื่อให้เด็กมีต้นทุนทางวิชาการที่ตนเองคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำคัญที่จะเข้าเรียนในเรื่องของการศึกษา ตรงนี้แต่ละขณะยังไม่ได้เข้าไปดูเรื่องนี้อย่างจริงจัง สิ่งเหล่านี้ที่ปลดล็อกตรงนี้การไปช่วยเหลือซัพพอร์ตของอุดมศึกษาหรือคณะต่าง ๆ คิดว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญที่จะให้โอกาสทางการศึกษาของเด็กไม่ถดถอย

ปรากฏการณ์เหล่านี้จะย้อนกลับไปในสิ่งที่คุยกันตอนต้นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ระบบการวัดผลการศึกษาการเรียนออนไลน์อาจทำให้เด็กหลาย ๆคนหลุดไปในเรื่องของโอกาสด้านการศึกษา เมื่อดูจากสถิติเด็กของเราประมาณร้อยละ 90 เด็กในวัยเรียนร้อยละ 99 ทางด้านการศึกษา เข้ามาสู่ระบบการศึกษาในระดับ ป.1 นั่นหมายถึง 99 % ประมาณ 1 ล้านคนที่ยังไม่ได้เข้าระบบการศึกษาที่จะเข้ามาสู่การศึกษา พอเราพูดถึงระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายเด็กจำนวนครึ่งหนึ่งแล้วหลุดอยู่แล้วในด้านการศึกษาโดยขบวนการคัดกรองทางการศึกษาที่เรามีอยู่และ ต้นทุนทางเศรษฐกิจขิงเด็กอยู่แล้วจากมัธยมต้นสู่มัธยมปลาย และจากมัธยมปลายสู่อุดมศึกษาไม่ถึง 30 % ขนาดในต่างประเทศเด็กที่จบในมัธยมต้น 100 ต้องเข้าสู่มัธยมปลาย แต่ในประเทศเรามันร่วงลงเรื่อย ๆ อยู่แล้ว นี่เป็นความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ก่อนแล้ว

และในช่วงนี้สถานการณ์โควิด-19 เข้าสู่สถานการณ์การตัดห่วงโซ่ของการสูญเสียตำแหน่งงาน และรายได้ในช่วงนี้ อาจจะหลังจากนี้ด้วยเพราะระบบเศรษฐกิจไม่อาจจะพื้นตัวได้ในทันที ที่เราบอกว่าผู้ติดเชื้อเป็น 0 เชื่อว่าอย่างน้อยเป็นปีที่ระบบเศรษฐกิจจะพื้นตัวในบางเซ็กเตอร์เท่านั้น และแน่นอนที่สุดคือจากที่เคยหลุดโอกาสทางด้านศึกษาอยู่แล้ว มันจะต้องหลุดร่วงมากขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นและได้พูดคุยกับครูคาดการณ์ บอกว่าเมื่อก่อนเด็กมัธยมต้นในโรงเรียนด้อยโอกาส ถ้าในมัธยมต้น 20 คนหรือ 25 คน เรียนไปเรียนมาจะเหลือ 8-12 คน ที่จะขยับไปสู้มัธยมปลาย หลุดโอกาสทางการศึกษาไปถึง 50-60 % และจากงานวิจัยของอาจารย์เองจากที่สำรวจเด็กกลุ่มยากจนยังไม่พูดถึงการเข้าสู่มหาวิทยาลัยจากมัธยมต้นไปสู่มัธยมปลายซึ่งเคยได้ไม่เกินน้อยกว่า 50 %

 ได้คุยกับผู้ปกครองบางส่วนถ้าสถานศึกษาหรือรัฐบาลมีนโยบายเช่น ปกติแม้จะเรียนฟรีซึ่งฟรีไม่จริง ขนาดระดับมัธยมปลายอย่างน้องพ่อแม่ต้องหามาเพิ่ม 5,000 บาท ถ้ารัฐบาลมีนโยบายชัดเจนอย่างน้อยให้ยกเลิกตรงนี้ทั้งหมดหรือชะลออไปหนึ่งปีหรือรัฐจะเข้ามาหนุนเสริมงบประมาณส่วนนี้เด็กก็จะมีโอกาสหลุดทางด้านการศึกษาน้อยลง ในเรื่องตรงนี้รัฐบาลยังไม่มีสัญญาณอะไรทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลมีความคิดว่าเรียนฟรีแต่ในความจริงคือมันไม่ได้ฟรี ซึ่งต้นทุกตรงนี้ถ้าสถานศึกษาหรือเขตพื้นที่การศึกษาตรงนี้ ทุกระดับมาคุยกันว่าเราจะให้เด็กเข้ามาเรียนฟรีได้จริง ๆ และถ้าเรามีต้นทุนในตรงนี้เข้ามารองรับเป็นโปรแกรมเข้ามารองรับโอกาสจะหลุดทางการศึกษาจะน้อยลง ตรงนี้อยู่ที่รัฐบาลจะนำนโยบายใดที่ละเอียดกว่านี้เข้ามาเพิ่มเติมทางด้านการการศึกษาในช่วงนี้

การกระจายอำนาจในขณะนี้ ถ้าตามกฎหมายคิดว่าสิ่งนี้อาจารย์คิดว่าโรงเรียนน่าจะตัดสินใจเองได้ เขตก็น่าจะตัดสินใจเองได้ถ้าใช้อำนาจที่มีอยู่ เอานำมาใช้เพื่อเด็กอย่างขณะนี้เราเจอว่าพอสั่งหยุดในทันที ค่านม อาหารกลางวันปรากฏว่าส่งคืนคลังทั้งหมด โรงเรียนในสังกัดองค์กรส่วนท้องถิ่นก็คืนคลังไปทั้งหมด ของรัฐก็ชะลอค่าใช้จ่ายไม่มีเด็ก คุยกับทางเทศบาลที่เชียงใหม่เขาบอกว่าจริง ๆ แล้วมันเอากลับมาได้แต่แค่ประชุมกันประชุมกันเสร็จก็ตัดสินใจใหม่ นำเงินกลับมาได้ครูยังไม่สามารถเอาเด็กไปได้ก็ให้ผู้ปกครองเด็กมารับไปให้ อสม.เข้ามาดูแล ในเรื่องนี้จริง ๆ ทำได้แต่เพียงต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการมีการฉุกคิดและมีต้นแบบในการนำร่องเป็นสิ่งที่น่าจะทำได้ จริงๆแล้วทุกคนในตอนนี้มีศักยภาพที่สามารถได้วัดสถานที่ทางศาสนาสามารถได้ลุกขึ้นมาเป็นแหล่งครัวของหมู่บ้าน และของชุมชน และคิดว่าสิ่งนี้เป็นต้นทุนที่สำคัญที่เป็นเขื่อนที่จะทำให้เด็กอยู่ระบบไม่ไหลออกไปนออกระบบซึ่งท้ามีการเริ่มต้นคุยกันจริงจัง

หลังจากโควิดนี้ หลังจากนี้การเข้าห้องเรียนเมื่อมองไปข้างหน้าจะปรับเปลี่ยนมองได้อยู่ 2-3 มุมคือเทคโนโลยีมันทำให้เรามีทางเลือกมาขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ได้มาเป็นเครื่องมือทางการศึกษามากขึ้นคิดว่ามันต้องเปลี่ยนไปมากขึ้นที่จะสามารถข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ แต่โดยส่วนตัวเองไม่ได้คิดว่ามันจะเข้ามาเยอะและแทนที่โดยทันที แต่จะเป็นช่วงที่ทำให้หลายองค์กรฉุกคิดว่าเราจะมีการลงทุนในเรื่องนี้มากขึ้นไหม เพราะว่าไม่ใช่ว่ามีเทคโนโลยีและจะเข้ามาแทนที่ได้ทันทีและสนุกกับผู้สอนได้ทันที มันคงเป็นจุดเริ่มต้นให้คิดอาจจะนำไปสู่ทางเลือกในภาวะวิกฤตต่อไป เราอาจจะเจอวิกฤตอีกเยอะอย่างเชียงใหม่ก่อนจะถึงโควิดเราก็เจอวิกฤตทั้งฝุ่นควัน ซึ่งเด็กแทบจะป่วยและไม่ควรออกนอกบ้านเลยเพราะฉะนั้นในช่วงบางช่วงเทคโนโลยีคือการเรียนแบบออนไลน์มันอาจเข้ามาเราจะคิดถึงว่าการศึกษาคือการลงทุนเรื่องตรงนี้มากขึ้นและเตรียมครูให้มีศักยภาพในการใช้สิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น เพราะต้องคิดว่านักศึกษาไม่ได้มีเครื่องมือทางเทคโนโลยีทุกคน ตรงนี้คิดว่าถ้ารัฐบาล คิดจะเริ่มตรงนี้จะต้องมีนโยบายให้เด็กมีเครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างไรในราคาถูก หรือมีให้ยืมทางการศึกษาคิดว่าน่าสนใจ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ