สถานการณ์ของผู้ประกอบการท้องถิ่นในยุคโควิด-19

สถานการณ์ของผู้ประกอบการท้องถิ่นในยุคโควิด-19

คุยกับ : สุรุจิพัฒน์ สุวรรณสัย ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก เกสต์เฮาส์

อย่างที่เราทราบกันดีว่าสถานประกอบการท้องถิ่นของไทย ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างหนัก จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป การลดลงของกิจกรรมภายนอกบ้านจากความวิตกกังวลของผู้บริโภค ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการท้องถิ่น หายไป จนบางรายถึงขั้นต้องปิดการดำเนินกิจการชั่วคราว เพราะไม่แน่ใจสถานการณ์โควิด-19 จะใช้เวลายืดเยื้อออกไปเท่าไหร่ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่งเจอกับวิกฤตเป็นครั้งแรก ในกรณีของผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย พวกเขาเผชิญหน้ามาแล้วทั้งการถูก disrupt จากระบบการจองห้องพักที่คนเปลี่ยนไปจองผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ดังนั้น แม้โควิด-19 จะเป็นวิกฤตที่รุนแรง ภาคธุรกิจก็จำเป็นต้องผลักดันใช้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสให้ได้ และสถานการณ์ของผู้ประกอบการท้องถิ่นเป็นอย่างไร มีการปรับตัว หรือแนวทางอย่างไรต่อไป

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! ในสถานการณ์ที่โควิดแบบนี้ เราจะชวนไปฟังเสียงผู้ประกอบการท้องถิ่น อย่างธุรกิจการท่องเที่ยว สถานการณ์ของผู้ประกอบการท้องถิ่นเป็นอย่างไร มีการปรับตัว หรือแนวทางอย่างไรต่อไป พูดคุยกับ : รุจิพัฒน์ สุวรรณสัย ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก เกสต์เฮาส์

เราทุกคนเห็นภาพชัดอยู่แล้วว่าผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 กระทบกับทั้งด้านชีวิตประจำวัน ด้านการทำงาน แต่ในด้านธุรกิจท่องเที่ยว Sensitive เมื่อมันมีไม่มีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาธุรกิจจริง ๆ แล้วไม่ได้โดนคำสั่งปิดแต่ว่าต้องปิดตัวเองตามสภาพการณ์ ถึงตอนนี้ไม่ได้มีคำสั่งปิดแต่เปิดไปก็ไม่ได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ในซอนกิจการที่ตั้งอยู่ทั้งซอยไม่มีที่ไหนเปิดเลย รวมถึงกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเช่น ร้านซักรีด ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้าต่าง ๆ บริษัทขายทัวร์ทุกอย่างปิดหมดในตอนนี้

พอทุกอย่างปิดแบบนี้ทางออกของผู้ประกอบการณ์ พอไม่มีรายรับก็ต้องเจรจากับลูกจ้าง เป็นสองทางคือเจรจากับลูกจ้างและเจรจากับเจ้าหนี้ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร เพราะในบางกิจการเป็นสัญญาเช่าก็ต้องเจรจากับเจ้าของ ขอเรื่องในการเจรจาเพื่อลดค่าเช่าลง กลุ่มผู้ประกอบการณ์เกสต์เฮาส์ในเชียงใหม่ต้องบอกว่ามีเป็นจำนวนมาก มีเกิน 2,000 แห่งด้วยซ้ำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ แล้วในภาคเหนือเรียกว่าเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตขึ้นมาตั้งแต่ปลายปีและต้นปีแล้ว จริง ๆ แล้ว high season ที่ผ่านมาเป็น high season ที่นักท่องเที่ยวมาน้องกว่าปกติ สัญญาณการท่องเที่ยวชะลอตัวตั้งแต่เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว พอคนเริ่มไม่มีเงินในกระเป๋าความคิดที่จะออกมาท่องเที่ยวก็น้อยลง เริ่มรู้สึกว่าประหยัดได้ก็ประหยัด ไม่จำเป็นต้องออกเดินทางซึ่งเป็นสถานการณ์ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วเริ่มจะเข้า high season ทุกที่ก็จะพบว่ารายได้ของตัวเองลดลง การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวก็ลดลงอยู่แล้ว แล้วเมื่อเข้าฤดูหมอกควันซึ่งเป็นฤดูที่รุนแรงระหว่างปีที่ผ่านมาซึ่งพบว่าตัวเลขการท่องเที่ยวนั้นคนหายไปจำนวนมาก เมื่อมาซ้อนกับโควิด-19 ก็กลายเป็น 0 ทันที

ถ้าไม่มีเรื่องโควิด-19 เข้ามาจริง ๆ แล้วในแวดวงธุรกิจการท่องเที่ยวก็เป็นปีที่ลำบากอยู่แล้ว เพราะว่าถ้าหมอกควันหนักขนาดนี้ในบทเรียนของปีที่แล้วเราก็เห็นอยู่แล้วว่าชะลอตัว โดยเฉพาะในเดือนที่มีข่าวข่าวเรื่องมลพิษทางอากาศอย่างชัดเจน พอเกิดโควิด-19 เข้ามาเรื่องเหล่านั้นกลายเป็น Factor ที่ไม่ต้องชั่งน้ำหนักเลยเพราะเป็นเรื่องของความกลัวของคนที่จะเดินทางทำให้ตัวเลขของการท่องเที่ยวกลายเป็น 0 ไปเลย ซึ่งโยงกับเรื่องการตกงาน ทั้งกลุ่มแม่บ้านกลุ่มที่เป็นผู้บริการ ทำความสะอาด กลุ่มพนักงานทำอาหารในโรงแรมหรือกลุ่มที่เป็นเกี่ยวเนื่องด้านอื่น ๆ มีตกงานกันเยอะมาก สิ่งนี้พูดถึงเฉพาะโรงแรม ยังไม่รวมเรื่องของภาพการขนส่ง การท่องเที่ยว ทัวร์ เมื่อไม่มีลูกค้ามาพักก็ไม่มีนักท่องเที่ยวไปทัวร์ ดังนั้นก็เป็นห่วงโซ่ที่พากันตกงานไปทั้งหมด แม้กระทั้งร้านซักรีดที่เราเห็นว่าบางทีก็มีคนท้องถิ่นจำเป็นต้องใช้อยู่บ้างหลาย ๆ ที่ก็ปิดตัวลง

บางที่ก็มีทั้งมาตรการที่ต้องปรับตัวทั้งลูกจ้างทั้งนายจ้าง มีทั้งการทำสัญญาใจกันให้พักงานไปก่อนในช่วงที่ไม่มีแขกพอสถานการณ์ปกติค่อยกลับมาทำงานดังเดิม จริง ๆ แนวทางแบบนี้การทำสัญญาใจต่อกันก็เป็นแนวทางที่ดี ที่สังคมเราจะขับเคลื่อนไปด้วยการมีน้ำใจต่อกัน แต่ว่าสิ่งที่ยากลำบากที่ต้องทำความเข้าใจคือหลังจากวิกฤตโควิดภาคการท่องเที่ยวอาจจะไม่ได้กลับมาดีดังเช่นเดิมในทันทีเพราะโควิด-19ทำลายภาคดเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวอย่างมหาศาลนับไม่ได้ ยิ่งนานจะยิ่งเสียหายมากขึ้นหลังจากโควิด-19หมดลงแล้วคนจะหางานทำยากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะในประเทศเราต่างประเทศก็เช่นกันก็จะเกิดภาวะว่างงานหรือเกิดคนที่มีงานจะเริ่มใช้ชีวิตแบบประหยัด คิดถึงการออกมเงิน เพราะเริ่มตระหนักถ้าเกิดวิกฤตขึ้นมาในอนาคตอีกเงินออมเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นภาคการท่องเที่ยวก็จะไม่กลับมาเหมือนเดิมในระยะเวลาอันสั้นเพราะฉะนั้นคนที่จะถูกเรียกกลับมาทำงานอาจจะเป็นไม่ใช่ทั้งหมด ต้นทุนที่ทางกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ต้องแบกรับและธุรกิจบางที่ที่โชคดีและมีเงินทุนสำรองในธุรกิจหลาย ๆ ด้านอาจจะกลับฟื้นฟูขึ้นมาได้แต่โดยส่วนใหญ่ในธุรกิจรายย่อย เงินออมทางธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้มีเยอะถึงมีสำรองก็ไม่กี่เดือน เพราะฉะนั้นถ้ามีแต่รายจ่ายโดยไม่มีรายรับเลยไม่กี่เดือนก็หมดจากนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องตัดสินใจ ว่าจะไปทางไหนจะเลิกกิจการหรือยังอยู่ต่อไป ถ้าไปต่อเงินทุนในการที่จะนำมาฟื้นฟูเพื่อดำเนินธุรกิจมาจากไหน ช่วงนี้มีเงินกู้จากรัฐบาลซึ่งพบว่าก็ไม่ได้กู้มาง่าย ๆ หลายที่ก็ไม่ได้เข้ากฎเกณฑ์ ถึงเข้ากฎเกณฑ์ก็แล้วแต่ก็ไม่ได้ว่าจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่จะได้รับการช่วยเหลือทุกราย เพราะฉะนั้นหลังวิกฤตโควิดผู้ประกอบการรายย่อยจะหายไปเป็นจำนวนมาก บางรายที่พึ่งลงทุนโปรเจคใหญ่ ๆ ไปลงทุนไปด้วยเงินที่เก็บมาทั้งหมดแล้วปรากฏว่ามาเจอกับภาวะในตอนนี้ที่ไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่ายเป็นภาพที่มองไม่ออกเลยว่าจะผ่าวิกฤตแบบนี้ไปได้อย่างไร

ตอนนี้ในสิ่งที่เราสามารถทำได้อย่างแรก คือ ด้วยภาครัฐก็รับภาระหนัก และเป็นวิกฤตใหม่ที่ไม่เคยถูกวิเคราะห์มาก่อนว่าควรจะมีการจัดการเช่นไร สิ่งที่เราทำได้อย่างแรกคือการช่วยตัวเอง ในการลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปจำนองหนี้กับเต็นท์ไปเจรจากับ Online agency ต่าง ๆ ขอปรับลดเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นลง สิ่งที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ก็ตัดออกทั้งหมดนี่คือสิ่งที่ผู้ประกอบการกำลังช่วยตัวเองอยู่ในขณะนี้ บางอย่างถ้ามันจำเป็นจริง ๆ แต่ไม่มีรายรับเลยนั้นก็ต้องตัดออกไปเพื่อการอยู่รอด

ในเชียงใหม่เองผู้ประกอบการหลายจ้าวพยายามดิ้นรนต่อสู้กันมากมาย แม้กระทั้งธุรกิจอาหารที่กระทบในส่วนของการมานั่งกินที่ร้านไม่ได้ผู้คนไม่ออกบ้าน เพราะฉะนั้นทุกที่ต้องปรับตัวมาเป็นอาหารเดลิเวอรี่ทั้งหมด แต่ก็ไม่ใช่ทุกที่ที่จะสามารถปรับตัวทำได้  

          ความช่วยเหลือจากภาครัฐนโยบายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก เรื่องของการพักชำระหนี้ไม่ได้สามารถทำกันได้ทุกคนซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าบังคบใช้ตามสัญญาผู้ประกอยการณ์ส่วนมากจะอยู่ไม่ได้และจะล้มหายตายจากไป หนี้เสีย แต่ว่าถ้าให้โอกาสในการที่ให้พักชำระหนี้ก่อนแล้วหลังจากฟื้นตัวกลับมาได้ เข้าจะเริ่มมีกำลังในการผ่อนชำระมีความจำเป็นเพราะฉะนั้นในภาคการเงินธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ  มีความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือลูกค้าซึ่งทำกำไรให้คุณมาตลอดโดยการที่ภายในปีสองปีนี้ คุณจะไม่ได้กำไรจากเราเลยเพื่อที่จะประครองประเทศให้ไปได้ และในการจะกลับมาเหมือนเดิมคงจะไม่มีใครกลับมาชำระหนี้ตาเงื่อนไขเดิมแต่ในขณะที่ไม่มีความสามารถในการผ่อนชำระเราจะทำอย่างไร 1 คือคนที่มีภาระหนี้ต้องได้รับการพักชำระหนี้โดยกฎหมาย ไม่ใช่โดยการต่อรอง เพราะการต่อรองระหว่างลูกหนี้กับธนาคารไม่เคยได้ ในทุกวันนี้แบงก์ก็ยังต้องประเมินความเสี่ยงแต่ถ้าออกมาโดยมีแนวคิดที่ว่าทั้งประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันในทุกภาคส่วนของภาคธุรกิจ เพราะฉะนั้นถ้ามันมีความจำเป็น เราควรจะงดการทำกำไรของภาคธุรกรรมการเงินเอาไว้ก่อน แล้วหลังจากนั้นค่อยกลับมาเหมือนสภาพเม และอีกส่วนที่หลังจากวิกฤติผ่านไปแล้วหลายกิจการรายย่อยทั่วไปจะไม่มีเงินหรือมีธุรกิจเลยซึ่งจะทำให้ธุรกิจเขาแทบจะทำไม่ได้แล้วในตอนนั้นเงินทุนที่จะไปกูยืมมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาหลักประกันอะไรในการกู้ตรงนี้ภาครัฐต้องกลับมาทบทวนที่จะกระจายโอกาสที่ธุรกิจเหล่านี้จะฟื้นตัวใหม่ได้

ในตอนนี้ถึงจะไม่ใช่ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นธุรกิจทั่ว ๆ ไปหลังจากที่เราแบกภาระหนี้ไปอีกไม่รู้กี่เดือนจนถึงการที่เราต้องกลับมาทำธุรกิจใหม่ถึงตอนนั้นเราไม่มีเงินทุนหลงเหลืออยู่เราจะดำเนินธุรกิจได้อย่างไร แล้วภาครัฐจะสนับสนุนได้อย่างไร ในเชิงนโยบายในเชิงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ การประเมินหรือว่าถ้าใครเคยทำกิจการอยู่แล้วควรให้เขาได้รับการอนุมัติสินเชื้อโดยอัตโนมัติหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นสิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นภาระของสังคมทางด้าน GDP รวม คนที่เคยทำกิจการมาได้แต่ว่าสุดท้ายกิจการมันไปไม่ได้นอกจากจะไม่มีพลังขับเคลื่อนแล้วสิ่งเหล่านี้ยังเป็นภาระอีกด้วย และในตอนนี้สิ่งที่ผู้ประกอบการรายย่อยกลัวมากที่สุดคือจะอยู่รอดจนถึงวันที่กลับมาดำเนินธุรกิจได้หรือไม่ ไม่รู้ว่าวิกฤตนี้จะยาวนานไปอีกแค่ไหน มองในแง่ดีก็อาจจะอีก 3 เอนแต่มองในด้านความเป็นจริงก็คงจะเป็นปีซึ่งถ้าเป็นที่ไม่มีที่ไหนอยู่รอได้ถึงตอนนั้นเพราะฉะนั้นมันก็จะเป็นการกลับมาดำเนินกิจการหลังวิกฤต โดยภาวะที่ค่อยข้างจะอ่อนแรงมาก เราอาจจะต้องหากลุ่มตลาดใหม่ ภาคการท่องเที่ยวจะต้องเตรียมปรับตัวตามสถานการณ์ปรับแผนในเชิงนโยบายในสถานการณ์ที่ต้องติดตามไปเรื่อย ๆ เพื่อที่จะปรับตัวให้ได้

ในการถ้าถึงเวลาที่กลับมาฟื้นฟูได้ก็ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจกันไปก่อนสักระยะ แล้วถึงเวลาที่แข็งแรงมากพอที่จะออกเดินต่อออกวิ่งไปได้ ในการแข่งขันธุรกิจ เพียงแต่ในตอนนี้ลมหายใจที่จะหมดแล้วคงต้องช่วยกันต่อลมหายใจไปก่อน ในวิกฤตแบบนี้กลุ่มที่จะรอดคือกลุ่มเกษตรกรที่สามารถพึ่งพาตนเองได้เกษตรกรที่อยู่ในวิถีชีวิตพอเพียง วิกฤตนี้ทำบาดแผลให้กับทุกภาคส่วนที่เป็นห่วงโว่ที่เกี่ยวข้องกันแสดงให้เห็นถึงจุดไหนที่อ่อนแอ จุดไหนที่ต้องแก้ไขที่เรามีอยู่แล้วแต่เรากลับมองข้ามมันไปซึ่งสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ต้องมาปรับเปลี่ยนวิธีการคิดวิธีการออกแบบใหม่ในภาคของการท่องเที่ยวและตัวผู้ประกอบการเอง ต้องมานั่งทบทวนถึงเป้าหมายใหม่ถึงเรื่องของการดำรงธุรกิจให้อยู่รอดและยั่งยืน

Live องศาเหนือ Special 230420

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ !ในสถานการณ์ที่โควิดแบบนี้ เราจะชวนไปฟังเสียงผู้ประกอบการท้องถิ่น อย่างธุรกิจการท่องเที่ยว- สถานการณ์ของผู้ประกอบการเป็นอย่างไร – มีการปรับตัว หรือแนวทางอย่างไรต่อไป .ร่วมหาคำตอบกับ : รุจิพัฒน์ สุวรรณสัย ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก เก็ตเฮาส์

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ