คุยกับ : สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ เครือข่ายเเรงงานภาคเหนือ
ปัญหาหนึ่งในสถานการณ์โควิด-19 หนีไม่พ้นเรื่องแรงงาน ที่ส่วนใหญ่มาทำงานเพื่อเก็บเงินและส่งเงินกลับบ้านให้ครอบครัว การเกิดโรคระบาดของโรคโควิด-19 ขึ้นมาผู้คนส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ในภาวะที่โรคระบาดโควิด-19 กระจายไปทั่วโลก แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญกับปัญหาอันเนื่องมาจากเกือบทุกประเทศมีมาตรการปิดประเทศ ปิดชายแดน ปิดการบินระหว่างประเทศ งดกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างกับคนอื่นหรือสมาชิกในครอบครัว แต่ถึงอย่างไรจะมีการช่วยเหลือกลุ่มแรงงานเหล่านี้คือการยืดอายุการต่อเอกสาร ในจังหวัดชายแดนต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่โควิดแบบนี้ “แรงงานเพื่อนบ้านในไทย” ปรับตัวและอยู่อย่างไร
Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ไปคุยกันเรื่อง ในสถานการณ์ที่โควิดแบบนี้ แรงงานเพื่อนบ้านของเรา เขาเป็นอย่างไรกันบ้าง ทำอะไรอยู่ ร่วมหาคำตอบกับ : สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ เครือข่ายเเรงงานภาคเหนือ
ก่อนจะพูดถึงผลกระทบนั้น ย้อนกลับก่อนว่าแรงงานข้ามชาติกับสังคมไทยเป็นสิ่งที่ผูกพันธ์กันมานาน สิ่งที่เราเห็นคือ การเข้ามาเป็นแรงงานที่ทดแทนคนไทยเองในหลาย ๆ กิจการซึ่งในช่วง 10 ปีหลังเราจะเห็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในทุกภาคส่วนของระบบอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านการก่อสร้าง ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม โรงงานต่าง ๆ แม่บ้าน เราจะเห็นพี่น้องแรงงานข้ามชาติ ในการเกษตร แม้กระทั้งงานรับจ้างทั่วไปดังนั้นเราไม่สามารถปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงงานเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อภาคการธุรกิจต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ผ่านมาตัวแรงงานข้ามชาติเองเราอาจมองเห็นว่าเขามีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันเขามักจะมองเป็นแบบคนไร้ตัวตนในกรณีที่เขาเหล่านี้ควรได้รับสิทธิในการเข้าถึงการรักษา หรือในการที่พวกเขาถูกละเมิดสิทธิ์พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้ถูกให้สิทธิทางกฎหมายมากเท่าไหร่นัก และยิ่งในภาวะปัจจุบันที่เห็นชัดกรณีการละเมิดเรื่องไวรัสโควิด-19 ณ ปัจจุบันนี้สิ่งที่เราเห็นมันตอกย้ำสถานการณ์เดิม ๆ คือตัวแรงงานเองไม่ได้ถูกให้ความสำคัญหรือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการช่วยเหลือ
เราดูง่าย ๆ จากตัวมาตรการของรัฐที่ออกมาที่เราเห็นนั้นมีการถกเถียงกันเยอะมากพอสมควร คือเรื่องของการเยียวยา 5,000 บาท ในความเป็นจริงในขณะที่มีมาตรการในการเยี่ยวยาคนไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว แต่ในส่วนหนึ่งรัฐไทยควรต้องคำนึงถึงด้วยคือพี่น้องแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมากมายมหาศาลที่ทำงานอยู่ประเทศไทย ซึ่งประสบกับปัญหาความยากลำบากไม่ต่างจากแรงงานไทยเช่นกันแต่มีความซับซ้อนในการเข้าถึงสิทธิ หรือได้รับการดูแลมากกว่าแต่ หรือนโยบายที่กำลังถกเถียงกันมากขึ้นคือเรื่องการใช้สิทธิประกันว่างงานของกองทุนประกันสังคม แรงงานข้ามชาติควรจะการเข้าถึงสิทธินี้ด้วยในว่างงาน เพราะแรงงานข้ามชาติก็เข้าสู่ระบบประกันสังคมเช่นกัน
ปัจจุบันแรงงานข้ามชาติจากสถิติยอดที่มาทำงานแบบถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ในเกณฑ์ประมาณ 3 ล้านกว่าคน แต่ตัวเลขเมื่อเข้าสู่ประกันสังคมเมื่อปี 62 มีตัวเลขอยู่ประมาณล้านกว่า ๆ ที่เข้าสู่ประกันสังคม ทีนี้ถามว่าแรงงานข้ามชาติที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากจากกองทุนในภาวะที่เขาเหล่านั้นว่างงานไม่ได้ทำงานเขาจะไปใช้ได้ไหม สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตได้ที่เป็นอุปสรรค คือ ปัจจุบันนี้คนงานไม่ได้เข้าไปทำการร้องเพื่อที่จะเข้าถึงกองทุนประกันว่างงานและใช้การกรองคำร้องทางออนไลน์ เพราะว่าเป็นลักษณะในปัจจุบันคือการไม่เผชิญหน้า บทบาทสำคัญแรงงานประกันสังคมเขาไม่ได้ให้บิการแบบเผชิญหน้าก็ต้องไปยื่นคำร้องซึ่งจะเอาเอกสารไปใส่ไว้ในตะกร้าถ้าไปที่สำนักงานแล้วเจ้าห้าที่จะเอาไป ส่วนเน้นเรื่องการกรอกคำร้องผ่านทางออนไลน์ ซึ่งพอผ่านออนไลน์ภาษาที่เราเห็นคือคนงานไม่สามารถกรอกภาษาไทยได้
ฉะนั้นการเข้าไปกรอกคำร้องที่เป็นอุปสรรค์คือสิ่งเหล่านี้ทำให้แรงงานสามารถที่จะเข้าถึงสิทธิได้ ประเด็นเรื่องการเข้าถึงประเด็นสังคมการว่างงาน กรณีว่างงานเราอาจจะมองว่าแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงได้ แต่ในระหว่างนี้จากข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมจากแรงงานคนงานบางส่วนที่อยู่ในช่วงที่จะครบระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตที่ทำงานกับประเทศไทยที่มีการฟรีวีซ่าเป็นช่วง 2 ปี บางส่วนจะครบ 4 ปีบางส่วนครบ 2 ปีซึ่งพอครบกำหนด 2 ปีคือต้องหางานใหม่ ถ้าเกิดนายจ้างเดิมไม่รับเขาเข้าทำงานที่นี้พอหางานใหม่ก็ต้องมีระยะเวลา
คำถามที่สำคัญคือว่าแล้วเขาเหล่านี้จะไปใช้สิทธิประกันว่างงานจนครบตาที่เขาหางานใหม่ได้หรือไม่ เพราะว่าในสถานการณ์แบบนี้การหางานเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้นเพราะนายจ้างไม่รับคนงานเนื่องจากในภาวะวิกฤตแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมโรงงาน ภาคบริการด้วยเช่นกัน ซึ่งการที่จะเข้าใช้สิทธิ์มีคำถามว่า ความชัดเจนในการใช้สิทธิประกันว่างงานได้ถึงเมื่อไหร่ ในขณะที่มันมีเรื่องข้อจำกัดในการอยู่อาศัยประเทศไทยและปัจจุบันแรงงานเหล่านี้กลับบ้านไม่ได้ ก็ใช้ประกันว่างงานจนแน่นอนว่าเขาเหล่านี้ได้งานใหม่ เช่นกว่าเขาจะได้งานใหม่ 2 เดือนให้เขาได้ประกันว่างงานครบทั้ง 2 เดือนหรือไม่ สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามสำคัญที่ยังไม่ถูกชี้แจงว่าแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ เขาสามารถที่จะเข้าถึงสิทธิ์เหล่านี้ได้หรือไม่ ขนาดไหนอย่างไร
เรื่องผลกระทบจากโควิด-19 จากการที่ได้ไปติดตามพูดคุยกับพี่น้องแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่มาสอด ในพื้นที่เชียงใหม่ และพื้นที่อื่น ๆ ด้วยผลกระทบที่เราเห็นชัดที่สุดคือเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ ของคนงานคนงานมีรายได้ที่ลดลง หรือแทบไม่มีเลยโดยเฉาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในภาคบริการ อยู่ตามร้านอาหารที่เป็นร้านอาหารประเภทกินดื่มที่สั่งปิดคนเหล่านี้เมื่อตกงานก็ไม่สามารถไปไหนได้ รายได้ไม่มีเนื่องจากไม่ได้ทำงาน นายจ้างก็ไม่จ่ายค่าจ้างให้ค่าใช่จ่ายของคนเหล่านี้ เป็นกลุ่มแรกที่เราได้เห็น กลุ่มในภาคเกษตรเราอาจจะเห็นเป็น 2 กลุ่มคือรับจ้างรายวันด้านการเกษตรปริมาณงานน้อยลงในจ้างมักจะไม่ได้จ้างให้ทำงานเป็นลูกจ้างรายวันแต่ถ้าอยู่ประจำในแปลงเกษตรสวนเกษตรยังพอมีงานอยู่ กลุ่มงานแม่บ้านที่ทำงานอยู่ตามบริษัทที่รับทำงานด้านความสาทั้งห้างร้าน โรงงาน ร้านอาหาร โรงแรม กลุ่มคนเหล่านี้งานลดลงโดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านที่อยู่ในกิจการทีเป็นโรงแรม อพาร์ทเม้นท์ ที่ให้บริการห้องเช่ารายวันไม่มีลูกค้ามาพักแม่บ้านตรงนี้ไม่ได้ทำงานก็ไม่มีรายได้ บางที่เงินเดือนยังไม่ออกเลยค่าจ้างค้างจ่ายมานานก่อนหน้านี้อีก ภาคเศรษฐกิจของแรงงานรายได้คนงานลดลง ในแม่สอดเองมีโรงงานที่คนงานมีรายได้ลดลงเนื่องมาจาก บริษัทงดโอที เป็นผลพวงมาจากการเคอร์ฟิว พอประกาศเคอร์ฟิวเขาต้องรีบกลับไปที่พักก็ไม่สามารถทำงานได้เขาก็ทำงานได้ในช่วงเวลาปกติเท่านั้นทำให้รายได้ของพวกเขาลดลง
บางโรงงานบอกว่าออเดอร์น้อยลงเนื่องจากวัตถุดิบส่วนมานำเข้าจากต่างประเทศ พอมันเกิดภาวะวิกฤตแบบนี้ หรือส่งสินค้าออกไม่ได้มันก็ทำให้กลายเป็นออเดอร์น้อยลง ผลิตแล้วส่งออกไม่ได้และเก็บไว้ในสต็อกทีนี้มันก็ไม่สามารถให้คนงานมาทำงานได้ เราต้องลดเวลาทำงานของคนงาน บางคนมาทำงานอาทิตย์ละ 1-2 วันตรงงานส่วนใหญ่ก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างเมื่อไม่มาทำงาน งดเว้นบางโรงงานที่ใช้วิธีการถ้าใจดีหน่อยก็ใช้มาตรา 75 แต่มีน้อยมาก คือกาหยุดงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้าง 75 % แต่ในแม่สอดที่เราเจอน้อยมากที่จะใช้มาตรา 75 แต่ส่วนใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่แม่สอดก็ยังมี งานให้คนงานทำเพียงแต่รายได้ก็จะลดลง สิ่งนี้คือเป็นผลกระทบแรกที่เห็น ผลกระทบด้านอื่นที่เราเห็น ในพื้นที่บางพื้นที่ในประเทศไทยมีรูปแบบการจ้างงานที่แตกต่างและหลากหลาย เช่นที่แม่สอดทำงานระยะสั้นซึ่งมันถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 64 ซึ่งตัวการจ้างงานตามมาตรา 64 มันถูกตีความว่าเป็นการจ้างงานชั่วคราวเพียงแต่เป็นการทำงานทั้งปีแต่แต่ซอยสั้นเป็น 3 เดือนต่อสัญญาหนึ่งที พอถูกว่าเป็นการตีความระยะสั้น เป็นการจ้างงานชั่วคราวพวกเขาเหล่านี้ก็ข้าไม่ถึงสิทธิประกันสังคม
กรณีที่เราพูดถึงประกันสังคมเบื้องต้นนั้นในพื้นที่ที่เป็นการจ้างงานแบบมาตรา 64 ซึ่งแบบนั้นเป็นการจ้างงานที่ส่งผลกระทบต่อวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิดในครั้งนี้ กับอีกส่วนที่เราเห็นคือการผลักภาระหรือการโยนภาระในการป้องกันหรือการดูแลตัวเองของคนงานมาที่คนงานข้ามชาติเอง ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงคนงานข้ามชาติเพียงอย่างเดียว คนงานไทยด้วย ก็เจอภาวะแบบนี้คือนายจ้างมักจะไม่ค่อยดูแลหรือไม่สนใจหรือกาอุปกรณ์ในการป้องกันให้ เป็นเรื่องที่แรงงานข้ามชาติต้องป้องกันและระวังตนเองหน้ากากอนามัยต้องหาเอง ถ้าเป็นคนที่กลัวมากหน่อยก็ต้องหาเจลเองสิ่งนี้คือการป้องกันตัวเองซึ่งคนงานต้องรับผิดชอบต่อตัวเองทั้งหมด อาจมีบางโรงงานบางพื้นที่แจกให้กับคนงานอาจเป็นหน้ากากผ้า แต่จะเป็นส่วนน้อยมาก และในกลุ่มของโรงงานก่อสร้างเองมีปรากฏการณ์หนึ่งที่ยังกังวลคือ เรื่องของการป้องกันเพราะแรงงานก่อนสร้างปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ยังพอมีงานทำอยู่ แต่อย่างที่บอกตอนแรกว่าเค้าต้องดูแลตัวเองถูกโยนเป็นหน้าที่ของคนงานที่จะต้องดูแลตัวเอง แต่ในขณะเดียวกันมีการดำรงชีวิตในบางเรื่องซึ่งเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงมากเช่นการเดินทางไปทำงานไปกลับ และนโยบายเรื่องของการเว้นระยะห่างระหว่างคนมันเกิดขึ้นไม่ได้เพราะเวลาเขาไปเอารถปิกอัพกันไปเต็มท้ายคัน ซึ่งมันไม่รู้ว่าจะมีวิธีไหนในการเว้นระยะห่างสิ่งนั้นเลยเป็นพื้นที่เสี่ยงแล้วทั้งการไปและการกลับ
ส่วนที่ 2 คือตามแค้มป์ต่าง ๆ ที่อยู่อาศัยของคนงานแค้มป์จำนวนมากที่เราเข้าไปสังเกตการณ์ เป็นลักษณะของการใช้ของบางอย่างร่วมกันในบางพื้นที่เช่น ที่อาบน้ำรวมกัน แบบนี้มีโอกาสเสี่ยงสูงมากและไมได้มีมาตรการป้องกันอะไรสิ่งนี้เรื่องที่เกี่ยวข้องคือคนงานเหล่านี้อาจขาดข้อมูล หรือเจ้าของแค้มป์งานต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด
ทางมูลนิธิของเราการเข้าไปให้ความรู้แรงงานเราค่อนข้างกังวลเรื่องการลงพื้นที่การเข้าไปให้ข้อมูลเพราะเราก็กลัวเรื่องการแพร่ระบาดเช่นกัน เราจะใช้เครื่องมือที่เรามีอยู่คือใช้สถานีวิทยุชุมชน ที่เชียงใหม่และแม่สอด เป็นการให้ข้อมูลแนะนำคนงานเรื่องของการเว้นระยะห่างเพื่อเป็นการป้องกันหรือการดูแลตัวเอง การเข้าความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด-19 หรืออธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ในทางเว็บไซด์ที่เรามีและมีการสื่อสารบนเฟซบุ๊กไลฟ์ คนงานสามารถเข้าถึงข้อมูลบนนั้นได้ สำหรับสถานีวิทยุมีแอพพลิเคชั่น ซึ่งบางพื้นที่อาจจะไม่ได้มีวิทยุแต่สามารถฟังเข้าผ่านออนไลน์ได้ ซึ่งการส่งผ่าข้อมูลเหล่านี้เราจะเน้นการให้ข้อมูลที่อ่านง่ายและเป็นข้อมูลที่เข้าถึงคนงานได้ เป็นภาษาของคนงาน โดยใช้ข้อมูลที่มีการสื่อสารเป็นภาษาที่คนงานสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ นอกจากนี้ก็มีระบบ Call Center คนงานสามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้ ใช้วิธีการแบบนี้เป็นส่วนใหญ่ ตอนหลังมาก็มีจำนวนน้อยมากถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เราก็งดกิจกรรมในการลงพื้นที่เพื่อเข้าไปพูดคุย เราไม่อยากเข้าไปเพื่อรวมกลุ่มกัน ให้ข้อมูลผ่ายสื่อเหล่านี้มีเอกสารที่แจกจ่ายออกไปแทน
ข้อเสนอและทางออกของการเยียวยา อาจจะไม่แน่ใจว่าเราจะบอกว่าเป็นทางออกได้ไหม แต่ที่เราพยายามทำในส่วนเท่าที่เราจะทำได้ สิ่งแรกคือมาตรการเยียวยาที่เราทำก่อนในส่วนที่เราทำหาสิ่งต่าง ๆ ที่จะไปสนับสนุนให้คนงานสามารถผ่านพ้นวิกฤตเหล่านี้ไปได้ เป็นพวกเรื่องข้อมูลข่าวสาร ข้าวสารอาหารแห้งที่จะทำให้เขาดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ขัดสนมากมายหนักซึ่งมีการพยายามที่จะระดมทุนในส่วนของมูลนิธิเองและภาคีเครือข่ายที่ร่วมสมทบ เข้าไปสนับสนุน
สิ่งนี้ส่วนตัวคิดว่าหน่วยงานรัฐควรที่จะต้องทำด้วยคือเรื่องของมาตรการในการเยียวยาเพราะตอนนี้สิ่งที่เราเห็นเยอะมากคือผู้คนออกมาแจกอาหาร การแจกสิ่งต่าง ๆ เพราะเชียงใหม่เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีแรงงานข้ามชาติเยอะ เข้าไปขอรับการแจกอาหารแจกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้เขามีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต หรือดีขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะเป็นภาคเอกชนที่ออกมาทำสิ่งเหล่านี้ คนที่มีโอกาสและอยากจะช่วยเหลือคนอื่น ทีนี้ทางมาตรการรัฐที่เป็นการเยียวยาเฉพาะหน้าควรเป็นแผนที่ชัดเจนมีขั้นตอนโดยอาจทำร่วมกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคมไม่ใช่ใช้วิธีการบังคับใช้ พ.ร.ก. มาตรการฉุกเฉินซึ่งคนแจกกลายเป็นคนที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำความผิด ซึ่งจริง ๆ แล้วรัฐต้องคิดเป็นระบบที่ชัดเจนในการเยียวยาเฉพาะหน้าให้ได้ก่อนเป็นขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
ปัจจุบันอาจต้องคิดถึงวิธีการในการเยียวยาระยะยาวออกไปจากภายในเดือนสองเดือนข้างหน้านี้ เป็นเรื่องของการกินอยู่ปากท้อง คือต้องนึกถึงว่าถ้าเกิดมันเปิดล็อกดาวน์แล้วเป็นไปได้ไหมที่แรงงานจะเข้าถึงงานของเขาได้จริง ๆ บางกิจการอาจจะยังเปิดไม่ได้หรือเปิดได้อาจจะต้องลดขนาดลง นั่นหมายถึงคนงานตกงานแน่นอนคนงานไม่มีรายได้ และถามว่าคนงานจะกลับเข้าประเทศตัวเองได้ไหม ก็ยังไม่สามารถกลับได้ นั่นหมายถึงสิ่งที่อาจจะต้องคำนึงต่อคือมาตรการระยะยาวที่มารองรับแรงงานที่อาจจะต้องตกงานหลังจากการที่การแพร่ระบาดดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการแพร่ระบาดมันหยุดยั้งสถานการณ์ดีขึ้นแล้วคนงานจะกลับเข้ามาทำงานได้เลย ซึ่งสิ่งนี้ไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมไหนหรือภาคธุรกิจไหนที่จะกลับมาฟื้นตัวได้เร็วได้ทันทีที่คนงานจะสามารถเข้าถึงงานได้ บางกิจการอาจจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้นี่ไม่ใช่แค่แรงงานข้ามชาติแต่หมายถึงแรงงานไทยด้วย ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ตรงนี้มันอาจจะต้องมีมาตรการในการรองรับที่ชัดเจน อาจจะย้อนมองกลับไปเรื่องของประกันสังคมที่อาจจะมองเป็นมาตรการระยะกลางหน่อย แต่ประเด็นที่สำคัญคือประกันสังคมมีกองทุนที่อยู่ในประกันว่างงานเยอะใช้กองทุนประกันว่างงานเชื่อว่าไม่นาน ก็หมด ถ้าเกิดว่ามีการว่างงานสูงขึ้น และมันมีแนวโน้มที่การว่างงานจะเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้นการที่ตรงนี้คิดในเรื่องประกันสังคมอย่างเดียวเราคิดว่ามันอาจจะไม่พอแล้วรัฐอาจจะต้องย้อนกลับมามองว่ามันมีมาตรการอะไร ที่จะต้องรองรับทั้งแรงงานไทยและแรงงานพี่น้องข้ามชาติในการที่จะเยียวยาหลังจากนี้ ส่วนที่ 3 อาจจะต้องพูดในเรื่องของการฟื้นฟูซึ่งการฟื้นฟูอาจจะเป็นลักษณะของการฟื้นฟูในภาคธุรกิจมันจะส่งผลต่อแรงงานตรงที่การได้กลับไปทำงานและการจ้างงานในรูปแบบใหม่ด้วย ซึ่งสิ่งนี้จะมีมาตรการที่ออกมาชัดเจนได้อย่างไรบ้าง ถ้าย้อนกลับมาในมาตรการระยะสั้นซึ่งผมว่าบางเรื่องอาจจะไม่ได้พูดถึงการที่จะหาเงินมาเยียวยาอย่างเดียวซึ่งบางมาตรการรัฐอาจมีนโยบายที่สามารถทำได้ สนับสนุนให้แรงงานสามารถค่าใช้จ่ายลง เช่นเรื่องการทำบัตร ลดลงได้ไหม เรื่องของค่าธรรมเนียมในการขอวีซ่า
สิ่งนี้จะเป็นมาตรการของการที่จะทำให้แรงงานสามารถที่จะยืดระยะในการที่เขาจะสามารถรอที่จะหางานใหม่ได้หรือรอการฟื้นฟูที่จะมีโอกาสในงานใหม่เข้ามาได้ ในขณะเดียวกันอาจมีมาตรการในการฟื้นฟูที่จะ นายจ้างด้วยก็ได้เช่นต้องพูดถึงเรื่องของการลงภาษีสำหรับนายจ้างที่มีการดูแลคนงานเอง ซึ่งคิดว่ามาตรการแบบนี้อาจเป็นลองคิดและทำควบคู่ไปเพื่อที่จะสร้างบรรยากาศในการเยียวยาระยะยาวขึ้นและฟื้นฟูการจ้างงานในการเข้าสู่ภาวการณ์จ้างงานที่เป็นปกติโดยเร็วที่สุด และแรงงานได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายในอนาคตว่าจะมีการออกมาตรการอะไรออกมาโดยเร็วที่สุดเราก็จะไม่ค่อยเห็นว่ารัฐไม่ค่อยออกมาพูดถึงว่ามีมาตรการอะไรมากนักยังงง ๆ อยู่มาตรการที่ออกมาพอลงไปในรายละเอียดก็ยังไม่เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนในทางปฏิบัติหรือคิดเผื่อเพื่อป้องกัน ซึ่งเป็นคำถามที่ท้าทายเช่นกันไปยังรัฐในขณะเดียวกันผมก็คิดว่าภาคส่วนต่าง ๆ อย่างพวกเราเองก็ยังจำเป็นที่จะต้องมานั่งคิดว่ามันควรที่จะทำอะไรและทำข้อเสนอที่ชัดเจนเสนอไปรวมทั้งเรื่องไหนที่เราพอจะเข้าไปมีส่วนร่วม ในการช่วยกันในการที่จะแก้ไขปัญหาเยี่ยวยาหรือฟื้นฟูได้ก็น่าจะต้องเข้ามาร่วมกัน
วันที่ 1 พฤษภาคมในวันแรงงานทางมูลนิธิเครือข่ายแรงงานได้มีการคุยกันอยู่ว่าปัจจุบันเราเห็นสถานการณ์แล้วแต่ส่วนหนึ่งที่เรายังรู้สึกว่าบางเรื่องมันยังไม่ถูกสื่อสารออกไปต่อสาธารณะ ก็มีความพยายามที่จะรวบรวมข้อมูลให้มันมีความชัดเจนมากขึ้นและสื่อสารออกไปว่าสถานการณ์ที่แรงงานข้ามชาติมีความเดือดร้อนมันเดือดร้อนกันอย่างไรแน่ และเรามีข้อเสนออะไรบ้างที่ข้อเสนอของเราจะดูตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว ช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูทั้งระยะสั้นระยะกลางที่เราพอที่จะมองเห็น เราพยายามประชุมกับเครือข่ายและทำให้ชัดและทำข้อเสนอให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นต่อไป