119 องค์กรร่วมดันสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า แก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19

119 องค์กรร่วมดันสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า แก้ปัญหาวิกฤติโควิด-19

21 เม.ย. 2563 – คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า รวมรายชื่อ 119 องค์กรทั่วประเทศ ทำจดหมายเปิดผนึกข้อเสนอถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องการปกป้องเด็กเล็กในสถานการณ์ โควิด-19 ด้วยนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า โดยมีนัดหมายแถลงข่าวในวันพรุ่งนี้ (22 เม.ย. 2563) เวลา 13.30 น. ที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ คลองเตย กรุงเทพฯ

สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 นอกจากก่อนให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ในขณะนี้มาตรการควบคุมโรคได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสังคมตามมาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม ทั้งแรงงานนอกระบบ ผู้สูงวัย ไปจนถึงเด็กเล็ก

ขณะนี้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนต่างปิดให้บริการ เด็ก ๆ ต้องกลับไปอยู่ที่บ้านดังนั้นจะไม่ได้รับนมโรงเรียน หรืออาหารกลางวันฟรี กลายเป็นภาระที่ครอบครัวต้องดูแล ขณะที่พ่อแม่บางคนต้องตกงาน ไม่มีปัญญาซื้อนมให้ลูกกิน

ข้อเสนอในสถานการณ์ปัจจุบันคือ 1.การมีสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า ที่จะมาช่วยเหลือทันทีสำหรับคนมีลูกอายุ 0 – 6 ปี 2.เพิ่มวงเงินให้ในสถานการณ์พิเศษนี้ที่คนต้องการเงิน เพื่อมาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในแต่ละเดือน

อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมกล่าวด้วยว่า ทุกวันนี้ทั้งเครือข่ายแรงงานและคนทำงานด้านเด็ก พยายามรณรงค์และระดมเงินเพื่อนำมาให้เด็ก ๆ และครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือ จากเด็กไทยกว่า 4 ล้านคน เรามีเด็กยากจนจำนวนมาก ทั้งภาคเอกชนและชาวบ้านต่างก็พยายามช่วยกัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอและช่วยได้ก็เพียงบางส่วน ดังนั้น เพื่อเยียวยาสถานการณ์อย่างเสมอหน้าและรวดเร็ว รัฐต้องเข้ามาร่วมช่วยเหลือ รวมทั้งดูแลในระยะยาวด้วย

เราเรียกร้องให้จัดสวัสดิการถ้วนหน้า ไม่ใช่สงเคราะห์ เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็กทุกคน

สุนี กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาการจัดสวัสดิการเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าถูกขับเคลื่อนจากขบวนการแรงงานมาโดยตลอด ตั้งแต่ ในปี 2558 ครม.ให้เงินอุดหนุน 400 บาท/เดือน นำร่อง 0-1 ปี ต่อมา ปี 2559 ให้เงินอุดหนุน 600 บาท/เดือน ขยายช่วงอายุ 0-3 ปี โดยที่รัฐอุดหนุนเฉพาะเด็กยากจน ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเส้นความยากจนคือ 3,000 บาท/เดือน

ปี 2560 ขยายให้ครอบครัวที่อยู่ในระบบประกันสังคมรับเงินอุดหนุนควบคู่กับเงินสงเคราะห์บุตรได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท/เดือนเช่นเดิม แม้ต่อมาในสมัยรัฐบาลประชารัฐ (ปี 2561) ได้มีการขยับฐานรายได้เฉลี่ยเป็น 100,000 บาท/ปี แต่ก็พบว่ายังมีเด็ก ๆ ตกหล่นจากระบบคัดกรองของหน่วยงานรัฐอยู่ดี

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ