แปลงผักกับการเรียนรู้เพื่อเด็กชายขอบที่ศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้ม

แปลงผักกับการเรียนรู้เพื่อเด็กชายขอบที่ศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้ม

คุยกับ : พี่โอ๊ต-วีระ อยู่รัมย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้ม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

“สิ่งที่ครูต้องเร่งมือ เพราะถ้าบางช่วงของชีวิตนักเรียนหล่นหายไประยะเวลานาน พัฒนาการต่าง ๆ ของนักเรียนจะหล่นหายไปด้วย”

สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตเรายังไม่สามารถคาดเดาว่าสถานการณ์ไวรัส COVID-19 จะเป็นเช่นไร จะกลับมาเปิดเทอมได้อีกครั้งเมื่อไหร่ แต่คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาของทางศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้มยังคงเร่งมือในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนและชุมชนในอนาคตอันใกล้ ฝาง เป็นอีกหนึ่งแหล่งปลูกส้มแห่งสำคัญของไทยอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ก่อสร้างและดำเนินการด้วยเงินจากการระดมทุนข้าวของต่างๆ ในโรงเรียนล้วนมาจากการบริจาค ตั้งแต่ชิ้นเล็ก ๆ สำหรับเด็กนักเรียน ไปจนถึงชิ้นใหญ่ ๆ โรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ของคนหลายเชื้อชาติ เนื่องจากพื้นที่ตรงนั้นเป็นไร้ส้มและแปลงเกษตรมากมาย อีกทั้งมีนักเรียนหลากเชื้อชาติจากหลายภูมิลำเนา ทั้งชาวไทย ชาวไทใหญ่ซึ่งถือชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ และน้องๆ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งมาทำงานในไร่ส้มที่ประเทศไทย ในสถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบันทางโรงเรียนไร่ส้มได้มีกลุ่มนักพัฒนาเข้ามาออกแบบกันว่าจะทำอย่างไรให้กับลูกหลานแรงงานของเขาได้อยู่อย่างปลอดภัยเมื่อพ่อแม่เข้าสวนไปทำงาน จึงจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้ม ในสถานการณ์ตอนนี้เป็นช่วงที่ปิดเทอมการช่วยเหลือของทางศูนย์ยังมีการระดมความคิดกันอย่างต่อเนื่อง จึงอยากทราบว่าในพื้นที่มีการออกแบบความช่วยเหลือกันอย่างไรบ้างในพื้นที่ที่ห่างไกล อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ชายขอบ

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! คุยกันเรื่อง สถานการณ์ที่โควิด Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ไปคุยกันที่ ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในช่วงโควิด ที่นั่นเขามีการจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติ สร้างพื้นที่ทางอาหาร อย่างกิจกรรมทำแปลงผัก สอนให้เด็ก ๆ ชายขอบ หรือ เด็ก ๆ ที่ติดตามพ่อแม่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ให้รู้จักการปลูกผักกินเอง

ในตอนนี้มูลนิธิกระจกเงา ได้ทำแปลงผักเพื่อดูแลเด็ก ๆ ชายขอบในพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้ไร่ส้ม เริ่มต้นจากการที่ช่วงห่างไกลเด็ก ๆ ในสภาวะวิกฤติโรคระบาด คณะครู และบุคคลากรทางการศึกษา ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ลงสำรวจความเป็นอยู่ของนักเรียนและครอบครัว หลายครัวเรือนได้รับผลกระทบจากการปิดสวน จากการชลอการจ้างงาน งานที่เคยรับจ้างมีน้อยลง ผลกระทบเหล่านี้มาถึงครอบครัวนักเรียนโดยตรง การหุงหาอาหารเพื่อให้ท้องได้อิ่ม ให้ลูกได้กินครบมื้อเริ่มได้รับผลกระทบ จากสภาพเศรษฐกิจครัวเรือนในปัจจุบัน และการใช้ชีวิตในวงจำกัดในทุกด้านในช่วงวิกฤตินี้ การเพาะเมล็ดพันธุ์พืชผัก เพื่อส่งต่อความยั่งยืนทางอาหารกลางวันสู่ครอบครัวนักเรียน เพราะทางศูนย์เชื่อว่าสอนให้ปลูกเป็นดีกว่ายื่นให้กิน มันจะต่อยอดเส้นทางอาหารในครัวเรือนได้อีกหลายรุ่น

ในเรื่องของเป้าหมาย คือ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ความยั่งยืนของกลุ่มคนเหล่านี้ พูดถึงเรื่องอาหารในกลุ่มคนแรงงานแล้ว การเข้าถึงค่อยข้างยากพอสมควร ถ้าเรานำสิ่งเหล่านี้ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และนำทางไปสู่ความยั่งยืนนั้นเรื่องอาหารของครอบครัวเด็กสิ่งนี้ คือ แผนของเราเบื้องต้นสิ่งที่เราทำคือเราต้องเริ่มต้นในการทดลอง เริ่มจากครูที่โรงเรียน เริ่มทำแปลงผักให้เห็นว่า เราใช้การทำแบบหว่านเมล็ดเยอะ ๆ  มันศูนย์เสียในการใช้เมล็ดพันธุ์ เราใช้เพาะเป็นถาดและ ลงแปลง และในช่วงปิดภาคเรียนแบบนี้ เราจะเอาให้คนละถาดไปปลูกที่บ้าน ดังนั้นเราจะสังเกตว่าจากการที่ปลูกได้ เขาจะเริ่มปลูก จากการให้เมล็ดไปและการที่จะทำให้เขาปลูกเราประเมินกันว่าเป็นเรื่องที่ยากมากในการที่จะปลูก ผนวกกับช่วงนี้เป็นช่วงโควิด-19 ที่มีการปิดเทอมที่ยาวนานขึ้น รัฐบาลเลื่อนเปิดเทอมไปถึง 1 กรกฎาคม ที่นี้ศูนย์การเรียนรู้ไรส้ม มันจะสอนออนไลน์เป็นไปได้ยากเพราะบริบทของเด็กกลุ่มนี้ทำไม่ได้อย่างแน่นอนในการเรียนออนไลน์ เพราะปัจจัยในการสอนออนไลน์กลุ่มคนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึง และอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเด็กไม่มี ดังนั้นสิ่งที่เราพอจะช่วยทำได้ในช่วงที่ปิดเทอมยาว ๆ เราคิดว่าเราจะทำเป็น Project based learning นำผักตรงนี้ให้เขาไปดูแล ไปปลูกเรียนรู้รักษาในทุกวันว่าผักโตขึ้นไหม ใส่ปุ๋ยอย่างไรเป็นเรื่องการเรียนรู้ของเด็ก ครูก็มีหน้าที่ในการเดินไปเยี่ยมเด็ก ๆ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง 2 ครั้ง ตามส่วนตามบ้านสิ่งนี้คือแผนในเรื่องการเรียนการสอนในอนาคต

การปลูกผัก ได้เรื่องของทั้งวิทยาศาสตร์พูดถึงเรื่องปุ๋ย เรื่องอินทรีย์ ธรรมชาติ คณิตศาสตร์ คำนวณใบดอก จริง ๆ ผนวกเป็นเรื่องของหลายวิชาที่เป็นเรื่องเดียว ที่นี้เรานำมาทำแผนการสอนให้เด็กนำมาทำเป็นบันทึก เรื่องของการเจริญเติมโตของพืช ทางเรามองว่ามันมีหลายสถานการณ์ที่สามารถรวมอยู่เรื่องเดียว แต่สิ่งที่คือเขาเรียนแล้วในอนาคตเค้าสามารถกินได้ นี่เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จในเรื่องของการเรียน แต่ถึงถ้าเรียนไปปลูกแต่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่สุดท้ายมันก็จะตาย แต่ถ้าเราปลูกเยอะ ๆ ขยายผลเพื่อที่จะกินได้ทั้งครอบครัว เกิดการแบ่งปัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถที่เรียนรู้ได้ทั้งครอบครัว พ่อแม่ช่วยดูแลต้นไม้ลูกบันทึก เราก็เป็นส่วนในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ในบ้านที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

บริบทในพื้นที่ตรงนั้นทางด้านความมั่นคงทางอาหารแล้ว สิ่งที่ทางกลุ่มต้องร่วมกันออกแบบ โจทย์ตรงที่นั้นคงจะเป็นโจทย์หลาย ๆ อย่างโจทย์ของเด็กชายขอบที่อยู่ตรงนั้น มีเยอะมากกลุ่มเหล่านี้มีปัญหาซับซ้อนพอสมควร มีตั้งแต่เรื่องสถานะของเด็กเองสถานการณ์เข้าเมืองหรือการอยู่อาศัย ซึ่งถ้ามองใน พรบ.คนเข้าเมืองถือว่าเป็นการหลบหนีเข้าเมืองถ้าเป็นเด็กที่ลักลอบเข้ามา แต่ถ้าเป็นเด็กที่เกิดในประเทศไทยฐานะตรงนี้เป็นอย่างไร สิ่งนี้ก็ยังเป็นปัญหาที่ทับซ้อนกันอยู่พอสมควร แต่ในความโชคร้ายยังมีโชคดีที่ พรบ.การเรียนรู้การศึกษาเปิดกว้างให้กับคนทุกคน ทุกคนต้องได้รับการศึกษา ดังนั้นเราจะไม่มองเรื่องการเข้าเมืองของเด็กเราจะไม่มองแล้วเรามองเรื่องการศึกษา ดังนั้นเรื่องสิ่งที่เราทำในทาง พรบ.การศึกษามันจะไม่ผิดกฎหมาย เราจึงค่อย ๆ พัฒนาถามว่าคนเหล่านี้เค้าจะอยู่ในประเทศไทยได้ถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร สิ่งนี้เป็นงานในอนาคตที่จะต้องทำพ่วงกับเรื่องการศึกษาในชีวิตของพวกเขาด้วย พอโตไปเข้าสู่กระบวนการแรงงาน สิ่งนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เด็กแบบนี้อนาคตที่เขาจะเรียนไปไกลสิ่งนี้ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม ยังประเมินอยู่ว่าเด็กกลุ่มนี้เมื่อจบ ม.3 ก็เข้าสู่กระบวนการแรงงานกันแล้ว

ด้วยมูลนิธิกระจกเงา ตระหนักว่า “เด็กทุกคนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติ ชาติพันธุ์ใด ควรได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฎิบัติ” ดังเจตนารมณ์ของสากล และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก “เด็กทุกคน ควรจะต้องได้รับการคุ้มครองและการพัฒนา”

เรื่องโจทย์ในอนาคตของการเป็นแรงงานในตอนโตขึ้นของเด็ก ก็ต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะอยู่ในระดับหนึ่ง ถ้าคนเหล่านี้เลือกได้ก็คงมีหลากหลายอาชีพที่คนเหล่านี้อยากจะทำ ไม่จำเป็นต้องเป็นแรงงานภาคเกษตรเพียงอย่างเดียว ถ้าเขามีทักษะอื่น ๆ ดังนั้นอาชีพในอนาคตมันมีหลากหลายทางมากเพียงแต่ในตอนนี้เขายังไม่รู้ว่าเขาต้องทำอะไร อย่างเด็กคนหนึ่งในศูนย์เป็นคนชอบถ่ายรูปมากเราก็เข้าไปส่งเสริมเขาในด้านนั้นการถ่ายภาพการตัดคลิปวีดีโอของเขา และตอนนี้เขาเริ่มทำช่องยูทูปของเขาเองแล้ว อนาคตเราเริ่มเห็นแล้วว่านี่เป็นอาชีพหนึ่งได้ เพียงแต่เด็กเหล่านี้มองเห็นโอกาสได้น้องมากเท่านั้นเอง งั้นสิ่งที่ศูนย์ทำคือเราสร้างโอกาสทางอาชีพให้กับเขา ให้มีความหลากหลายในการเลือก

นอกจากด้านวิกฤติของไวรัสโควิด-19 ที่ต้องปรับตัวแล้วยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องปรับตัวเพราะโจทย์ที่ต้องเผชิญกันในช่วงนี้คือสถานการณ์โรคระบาด สิ่งนี้มีการปรับเปลี่ยนวิถีกันอย่างไร เพราะตอนนี้รัฐพูดถึงการปิดพื้นที่ออกมาตรการระยะห่างทางสังคม ในช่วงนี้การเติมทักษะความรูให้กับเด็กเหล่านี้ เบื้องต้นเป็นน้อง ๆ ที่อยู่ในช่วงปิดเทอมน้องจะกักตัวไปอยู่กับพ่อ ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของสวนเขาก็มีความกลัวในเรื่องของผลกระทบ ถ้าลูกแรงงานในสวนติดเชื้อแปลว่าธุรกิจสวนส้มของเขาจะไม่มีคนทำงาน ดังนั้นทางเจ้าของสวนก็มีการระวังตัวอยู่พอสมควร เช่น ปิดสวนห้ามเข้าออก ห้ามให้ญาติมาเยี่ยม ในส่วนที่เราตามไปดูเด็กในสวน ครอบครัวและผู้ปกครองที่อยู่การรับรู้เรื่องโควิ-19 น้อยมากสำหรับเขา เขารู้เพียงว่าเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ต้องใส่หน้ากากอนามัย และถามไปว่าหน้ากากอยามัยเขามีไหม และเราจึงถามว่าเวลาคุณทำงานในสวนคนงานใสหน้ากากอนามัยไหม สวนมากคือใช้ผ้าในการป้องกัน ก็งานแล้วเพราะเข้าไม่ถึงหน้ากากอนามัย แต่มองไปว่าคนเหล่านี้เขาอยู่แต่สวนแล้วคนเหล่านี้ไม่ออกมาโอกาสในการติดเชื้อจะน้อยมาก แต่โอกาสที่เขาจะออกมามันก็มี ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือ ตอนนี้เราต้องเริ่มทำถุงยังชีพให้แต่ละครอบครัว สิ่งที่เราจะทำก็ต้องมีองค์ความรู้เรื่องโควิด-19 มีหน้ากากอนามัยที่เราจะระดมและส่งให้ มีสบู่เจลล้างมือ อาหารแห้ง ที่เราพอจะทำได้ในตอนนี้กำลังร่วมกันระดมอยู่ แต่สิ่งที่อยากเน้นคือองค์ความรูเพราะภาษาพี่น้องชาติพันธุ์นั้นมีหลากหลาย เราจึงผลึกกำลังกันเอาคนที่แปลได้ในภาษาที่แตกต่างกัน ป้อนเข้าไปในพื้นที่ในส่วนของสื่อต่าง ๆ ที่เราทำงานอยู่ด้วย ฉะนั้นสื่อตรงนี้ มันมีหลายที่ที่เขาทำอยู่แล้วทางด้านเครือข่ายแรงงานข้ามชาติก็ทำอยู่ ก็พยายามที่จะเอาสื่อตรงนี้กระจายเข้าไปตามสวน เพราะว่าผู้ปกครองบางคนก็อ่านภาษาไทยใหญ่ได้ อ่านภาษาไทยและ ภาษาพม่าได้ มันจะเป็นส่วนหนึ่งให้เขารับรู้ว่าตรงนี้คืออะไรเพราะการเข้าถึงของคนเหล่านี้น้อยมากพอสมควร และได้องค์ความรู้เพราะเสี่ยงที่ผู้ที่ไม่ได้การรับรู้จะไม่รู้เท่าทัน เพราะเด็กนั้นสำคัญมาก ในตอนนี้ก็ยังต้องเฝ้าระวังกันอยู่ โดยในทีมและชุมชนก็ร่วมกันออกแบบ ในส่วนของชุมชนก็ทำตามนโยบายของรัฐการตั้งด่าน ตรวจพื้นที่แต่สิ่งหนึ่งที่เราเจอคือนโยบายลงมาแต่อุปกรณ์ไม่มี เราสนับสนุนชุมชนโดยการซื้อเจล เครื่องยิงวัดไข้ และสนับสนุนตรงนี้กับชุมชนอยู่ ทั้งเอาหน้ากากอนามัยไปแจกให้ทีมงานตั้งด่าน บางพื้นที่ก็ปิดหมู่บ้านห้ามเข้า บางชุมชนปิดเลยผู้นำชุมชนปิด ในจุดของศูนย์ทางนี้ก็มีแค่บางจุดที่ปิดทางเข้าออกแต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด เพราะพื้นที่ฝางเองยังไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังเป็นช่วงที่เฝ้าระวังไว้อยู่

เราใส่ของเหล่านี้ลงใน #ถุงเติมชีวิต เพื่อส่งถึงมือนักเรียนทุกครอบครัว ทุกคนยังมีชีวิต และยังต้องหายใจ การเติมเต็มชีวิตในช่วงที่เขาเริ่มขาดแคลน นั้นคือ สิ่งที่ครูต้องเร่งมือ เพราะถ้าบางช่วงของชีวิตนักเรียนหล่นหายไประยะเวลานาน พัฒนาการต่างๆ ของนักเรียนจะหล่นหายไปด้วย

“ไวรัสก็กลัว PM2.5ก็ระแวง ไฟป่าก็ทวีความรุนแรง”

แต่ปากท้องก็สำคัญไม่แพ้กันในห่วงของการเจอปัญหาที่ถาถมเข้ามาหากเราจะตั้งรับอย่างเดียวอนาคตที่ยังไม่แน่นอนอาจจะมืดมนไปเลย ฉะนั้นสิ่งใกล้ตัวที่จะพอทำได้ ในที่ตั้งขณะกักตัวอยู่ในพื้นที่คือการเชื่อมใช้ทรัพยากรและพัฒนาให้ปากท้องอยู่รอดกับสถานการณ์ปัจจุบัน แล้วเราจะผ่านมันไปด้วยกัน #ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา #มูลนิธิกระจกเงา

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ