102 รายชื่อ ออกแถลงการณ์ “ยกเลิกกฎอัยการศึก” ไม่ยอมรับการแย่งชิงอำนาจจากประชาชน

102 รายชื่อ ออกแถลงการณ์ “ยกเลิกกฎอัยการศึก” ไม่ยอมรับการแย่งชิงอำนาจจากประชาชน

อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักเขียน และนักกิจกรรม 102 คน ออกแถลงการณ์ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เนื่องมาจากการยึดอำนาจของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจับกุมคุมขังผู้แสดงออกทางการเมืองที่ไม่ยอมรับต่อการรัฐประหาร   

ในช่วงต่อมา มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกไปดำเนินการจับกุมชาวบ้านผู้ยากจนให้ออกจากพื้นที่ทำกิน จับกุมกรณีเดินเรียกร้องเพื่อปฏิรูปพลังงาน ควบคุมตัวผู้ร่วมลงชื่อร่วมกับ 12 องค์กรภาคอีสานที่ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูป จับกุมชาวบ้านและนักวิชาการที่เดินรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้หยุดแผนแม่บทฯป่าไม้ แทรกแซงคุกคามและปิดกั้นสื่อมวลชนไม่ให้นำเสนอข่าวด้านลบของรัฐบาล ตลอดจนปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กระทั่งล่าสุดได้มีการจับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 5 คน ภายหลังจากการแสดงออก ‘ไม่เอารัฐประหาร’ ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา  ทั้งนี้มีการเปิดแคมเปญลงชื่อใน  Change.org  เพื่อยกเลิกกฎอัยการศึก ไม่ยอมรับอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน ให้กำลังใจนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของ คสช. โดยเปิดให้ประชาชนร่วมลงชื่อได้ที่ >> http://goo.gl/EKdHCZ

แ ถ ล ง ก า ร ณ์
ยกเลิกกฎอัยการศึก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน

การยึดอำนาจของคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)นั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจับกุมคุมขังผู้แสดงออกทางการเมืองที่ไม่ยอมรับต่อการรัฐประหาร การลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่ง คสช. เชื่อว่าเป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม จนมีบุคคลถูกประกาศเรียกเข้ารายงานตัวกว่า 600 ราย และมีการจับกุมอีกกว่า 200 คน อันประกอบด้วย นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกิจกรรมทางสังคม และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมหรือเสวนาทางวิชาการที่ถูกแทรกแซงไม่ให้จัดหรือควบคุมเนื้อหาอีกจำนวน 33 กิจกรรม ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องตกอยู่ภายใต้บรรยากาศหวาดผวาและอำนาจอันไม่เป็นธรรมตลอดครึ่งปีที่ผ่านมา โดยไม่อาจแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ได้

ยังไม่พูดถึงว่าในช่วงต่อมาได้มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกไปดำเนินการจับกุมรังแกชาวบ้านผู้ยากจนให้ออกจากพื้นที่ทำกิน (แต่กลับไม่ดำเนินการอันใดต่อนายทุนที่เข้าไปบุกรุกจับจองพื้นที่ป่า) อาทิ ไล่รื้อบ้านเรือนชาวบ้านโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ชาวบ้านคอนสาร จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานีและอีกหลาย ๆ ชุมชนแทบทุกภาคของประเทศ รวมทั้งจับกุมกลุ่ม ‘ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน’ในกรณีเดินเรียกร้องเพื่อปฏิรูปพลังงาน ควบคุมตัวผู้ร่วมลงชื่อร่วมกับ 12 องค์กรภาคอีสานที่ออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูป จับกุมชาวบ้านและนักวิชาการที่เดินรณรงค์เพื่อเรียกร้องให้หยุดแผนแม่บทฯป่าไม้ แทรกแซงคุกคามและปิดกั้นสื่อมวลชนไม่ให้นำเสนอข่าวด้านลบของรัฐบาล คสช. ไม่อนุมัติการจัดงานทอล์คโชว์เรื่อง ‘ที่ดิน’ ตลอดจนปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกเพื่อคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประเด็นปัญหาของประชาชนมาเนิ่นนานเป็นปัญหาปากท้องที่มิอาจปล่อยให้มีการปฏิรูปโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

กระทั่งล่าสุดได้มีการจับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 5 คน ภายหลังจากการแสดงออก ‘ไม่เอารัฐประหาร’ ที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ต่อหน้าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรีที่มาจากผลพวงของการรัฐประหาร ทั้งที่กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ลงพื้นที่เรียนรู้ปัญหากับชาวบ้านภาคอีสาน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา 

ทั้งหมดนี้ เราในนามของบุคคล นักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรมทางสังคม และตัวแทนองค์กรทางสังคมต่าง ๆ ที่ปรากฏนามข้างล่าง ขอประกาศแสดงจุดยืนและข้อเรียกร้องดังนี้

  1. ยกเลิกกฎอัยการศึกโดยเร็วที่สุด เพื่อปลดปล่อยสิทธิและเสรีภาพในการเคลื่อนไหวประเด็นปัญหาของประชาชน
     
  2. เราชื่อมั่นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน อำนาจอื่นใดที่เข้ามาแย่งชิงอำนาจของประชาชนเราไม่ขอยอมรับอำนาจนั้น
     
  3. ขอให้กำลังใจต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่าง ๆ ของ คสช. การดำเนินคดีต่อนักศึกษาและประชาชนด้วยกฎอัยการศึก เป็นเรื่องที่เราไม่อาจยอมรับได้
     

ป ร ะ ช า ช น คื อ เ จ้ า ข อ ง อํ า น า จ อ ธิ ป ไ ต ย

 

รายชื่อคณะบุคคล 102 คน แนบท้ายแถลงการณ์

  1. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล รัฐศาสตร์ จุฬา
  2. กฤช เหลือลมัย กวี
  3. กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
  4. เกษม สุวรรณะ ชมรมคนงานสูงวัย
  5. ขวัญชัย กุลสันติธำรงค์
  6. ขวัญระวี วังอุดม 
  7. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
  8. คมสันติ์ จันทร์อ่อน
  9. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
  10. จักรชัย โฉมทองดี
  11. จักรพงษ์ บุริพา
  12. จิรธร สกุลวัฒนะ นักศึกษาระดับปริญญาเอก SOAS University of London
  13. จุติอร รัตนอมรเวช
  14. เฉลิมศักดิ์ กิติตระกูล
  15. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมาุนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
  16. ชวศรี โรจนวิภาต
  17. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศ
  18. ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
  19. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ
  20. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  21. ตะวัน พงศ์แพทย์
  22. ตะวัน วรรณรัตน์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
  23. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง 
  24. ทองธัช เทพารักษ์ การ์ตูนนิสต์
  25. เทวฤทธิ์ มณีฉาย
  26. ธนศักดิ์ สายจำปา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  27. ธนาพล ลิ่มอภิชาติ
  28. ธนาวิ โชติประดิษฐ นักศึกษาระดับปริญญาเอก Birkbeck College, University of London
  29. ธัช ธาดา กวี
  30. ธิวัชร์ ดำแก้ว
  31. ธีรวรรณ บุญญวรรณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  32. นพพรรณ พรหมศรี
  33. นพพล ผลอำนวย
  34. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  35. นันทชาติ หนูศรีแก้ว
  36. นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
  37. นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
  38. นิวัต พุทธประสาท นักเขียน
  39. นิอับดุลฆอร์ฟาร โตะมิง
  40. บารมี ชัยรัตน์
  41. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา ม.ศิลปากร
  42. บุณฑริก วงศ์โชติรัตน์
  43. ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มธ.
  44. ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
  45. ประทีป มีคติธรรม ประชาชน
  46. ประภาส ปิ่นตบแต่ง รัฐศาสตร์ จุฬาฯ 
  47. ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
  48. ปรีดา ข้าวบ่อ นักเขียน
  49. ปาริชาติ วงศ์เสนา
  50. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  51. ปิยนุช ยอแสงรัตน์ เกตุจรูญ
  52. พนิดา อนันตนาคม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
  53. พรพนา ก๊วยเจริญ
  54. พรพรรณ ภู่ขำ
  55. พฤหัส พหลกุลบุตร
  56. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
  57. พัชราภา ตันตราจิน นักศึกษาปริญญาเอก มธ.
  58. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
  59. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  60. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
  61. ไพบูลย์ แก้วเพทาย ผู้นำแรงงานอาวุโส
  62. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน
  63. ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น
  64. ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
  65. ยงค์ ยโสธร นักเขียน
  66. ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
  67. เยาวภา ดอนเส กลุ่มคนงานสตรีสู่เสรีภาพ (กสภ.)
  68. วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักเชียน นักทำสารคดี
  69. วันรัก สุวรรณวัฒนา. นักศึกษาปริญญาเอก Oxford university
  70. วิจักขณ์ พานิช
  71. วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
  72. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  73. วีระพงษ์ ประภา นักพัฒนาสังคม
  74. เวียงรัฐ เนติโพธิ์
  75. เวียง-วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน
  76. ศรีไพร นนทรี
  77. ศักดิ์ ไชยดวงสิงห์ (แสงดาว ศรัทธามั่น) นักเขียน
  78. ศิริพร ฉายเพ็ชร (มอส)
  79. ศิริวัฒน์ คันธารส
  80. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
  81. สนั่น ชูสกุล นักกิจกรรมทางสังคม
  82. สนานจิตต์ บางสพาน (นักเขียน)
  83. สมบูรณ์ คำแหง องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
  84. สฤณี อาชวานันทกุล – นักเขียน นักวิชาการอิสระ
  85. สาคร สงมา องค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือล่าง
  86. สุขุมพจน์ คำสุขุม นักเขียน
  87. สุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการช่อการะเกด
  88. สุธิดา วิมุตติโกศล 
  89. สุธิลา ลืนคำ
  90. สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง องค์กรพัฒนาเอกชน
  91. อธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร WAY
  92. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  93. อรรถพล อนันตวรสกุล ครุศาสตร์ จุฬาฯ
  94. อรัญญา ศิริผล คณะสังคม วิทยา มช.
  95. อากร ภูวสุนทร ชมรมคนงานสูงวัย
  96. อานนท์ นำภา
  97. อุเชนทร์ เชียงเสน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  98. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
  99. เอกรินทร์ ต่วนศิริ
  100. โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา
  101. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์
  102. ปกรณ์ อารีกุล

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ