วัยรุ่นยุคโควิดกับแอคชั่นที่มาเหนือ

วัยรุ่นยุคโควิดกับแอคชั่นที่มาเหนือ

: คุยกับตัวแทนคนรุ่นใหม่ #ภาคเหนือ

เป็นวัยรุ่นยุคโควิด-19 มันเครียด!!! สถานการณ์ตอนนี้ที่ไวรัสโควิด-19 ออกอาละวาดแพร่ระบาดเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ยิ่งทำให้ชีวิตของพวกเขายุ่งยากยิ่งขึ้น การปิดมหาวิทยาลัยชั่วคราวหรือการยกเลิกกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนทำให้เยาวชนจำนวนมากพลาดช่วงเวลาอันสำคัญยิ่งในชีวิต รวมทั้งเวลาแห่งความสุขสนุกสนานในแต่ละวัน เช่น การคุยกับเพื่อน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การออกไปทำกิจกรรมยามว่างข้างนอกกับเพื่อน ๆ เยาวชนที่กำลังประสบกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิต เพราะการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างพึ่งท้อเพราะการอยู่บ้านเราก็สามารถแลกเปลี่ยนกิจกรรมกันบนโลกออนไลน์ได้ หรือหากิจกรรมอื่นเสริมที่สร้างสรรค์ ช่วยให้คลายความเหงาและความเครียดได้

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ ! วันนี้ เวลา 17.00 น. เปิดพื้นที่พูดคุยกับตัวแทนคนรุ่นใหม่ #ภาคเหนือ “ในช่วงสถานการณ์แบบนี้ คนรุ่นใหม่เขาทำอะไรกับบ้าง มีหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ” ร่วมพูดคุยกับพวกเขา

– โฟร์ค ณัฐพนธ์ ปานอุดมลักษณ์ : มาเล่นดนตรี พร้อมคุยกิจกรรมเพื่อเยียวยาตัวเอง

– ปุยฝ้าย มะลิวัลย์ : ช่างซอรุ่นใหม่ ที่หลงไหลในเสียงซอและรักวัฒธรรมซอ

– กอล์ฟ พชร คำชำนาญ : อาสาช่วยดับไฟป่า เอ็นจีโอรุ่นใหม่มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

– เอ็ม ยี่ดวง ศรีคำ : ทำช่องยูทูป สอนภาษาออนไลน์ให้เยาวชน

โฟร์ค ณัฐพนธ์ ปานอุดมลักษณ์

โฟร์ค ณัฐพนธ์ ปานอุดมลักษณ์  – เราเป็นเด็กนครสวรรค์ แต่มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานฟรีเเลนซ์และเรียนไปด้วย ตอนนี้พึ่งกลับมาจากต่างประเทศ เป็นอีกหนึ่งคนที่กักตัว 14 วัน โดยการอยู่บ้านหลังแยกจากพ่อแม่แยกกับยาย แม่กำหนดขอบเขตให้เราอยู่ได้แค่นี้ในช่วงเวลาที่กักตัวให้อยู่ในห้องนี้ ทุกเช้าเย็นจะมีอาหารมาส่งเป็นอะไรที่แปลกใหม่และต้องปรับตัวพอสมควร เพราะตอนนี้ก็ยังไม่ได้ออกไปจากบริเวนการกักตัว วันนี้เป็นวันที่ 12 แล้ว ช่วงนี้เล่นดนตรีมีทำเพลงกับเพื่อนผ่านทางออนไลน์ พยายามจะทำเพลงแต่งเพลงใหม่ ๆ กับเพื่อน ๆ และช่วงนี้เป็นช่วงของการเรียนในเทอมสุดท้าย

ต้องยอมรับว่าหลายอย่างต้องปรับตัวอยู่แล้ว ปกติเราไปนู้นไปนี่ตลอดเวลา เราเคยเปิดหมวก เล่นในร้าน เรามีกิจกรรมตลอดพอมาอยู่ในห้องเราต้องปรับตัว และเรารู้สึกเหงาแต่เราต้องเปลี่ยนรูปแบบมัน เราต้องปรับตัวมาเล่นบนออนไลน์ การอยู่ในห้องก็ต้องปรับตัวกิจกรรมที่เราทำมาตลอดต้องปรับเปลี่ยนช่วงนี้ เช่น วิชาที่เรียนก็สอบออนไลน์กัน อาจารย์ก็ชี้แจงเรื่องการสอบในโปรแกรมซูม แจกข้อสอบในเมลพร้อมกัน และให้ส่งข้อสอบพร้อมกัน วิชาบางวิชาก้ให้เราพรีเซ็นบนออนไลน์ ซึ่งมันเป็นการปรับตัวที่กะทันหันเหมือนกัน ซึ่งมันก็น่าสนใจ มันทำให้ตัวเองค้นพบด้วยหลาย ๆ อย่าง เมื่อก่อนเราต้องเจอหน้ากันเราต้องทำอะไรร่วมกัน มันก็มี Innovation ต่าง ๆ ใหม่ ๆ ทำให้เราต้องเปลี่ยนไปทำอะไรร่วมกันบนโลกออนไลน์ซึ่งทำให้รู้ว่าไม่ได้ห่างไกลและความเหงาก็จะหายไปเอง สิ่งนี้ทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้เหมือนกัน

สุดท้ายอยากจะอวยพรทุกคน ในวันปีใหม่เมือง : หมั่นคอยดูแลรักษาดวงใจ ช่วงนี้อาจเป็นช่วงที่หลาย ๆ คนอาจจะอึดอัดเราก็เป็นหนึ่งคนในนั้น มีอะไรที่อยากทำมากมาย แต่มันก็อาจเป็นโอกาสที่ดีในการทบทวนและได้เรียบเรียงว่าเราอยากทำอะไร เราควรทำอะไร และเราทำอะไรได้ ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆทบทวน ช่วงนี้ก็อยู่บ้านใช้เวลาให้เป็นประโยชน์พยายามเก็บสกิลไว้ใช้ในและเรียนรู้ไว้ใช้ในอนาคต เพราะคิดว่าหลังจากโควิด-19 จบโลกมันก็จะเปลี่ยนไปอีกมุมหนึ่งเลยก็เป็นได้

ปุยฝ้าย มะลิวัลย์

ปุยฝ้าย มะลิวัลย์ – ช่วงนี้ทำเรื่องซออยู่ พูดถึงซอยังไงก็ต้องเป็นงานรื่นเริงจะมีผู้คนมารวมตัวกัน ในฐานะคนรุ่นใหม่ตอนนี้เราต้องปรับตัว โดยการต้องทำตามนโยบายของรัฐป้องกันการแพร่ระบาดอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ เราทำอาชีพนักแสดงก็ถูกยกเลิกทั้งหมดไปก่อนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เราจึงปรับตัวมาเล่นซอให้ฟังบนโลกออนไลน์ ซึ่งช่วงโควิดนี้ก้มีบทเพลงที่แต่งขึ้นมาในสถานการณ์นี้ ได้จัดทำนี้บทเพลงนี้ขึ้น ร่วมกับศูนย์การเรียนรู้ซอพื้นเมือง รวบรวมน้อง ๆ ที่รู้จักกันทำเพลงนี้ขึ้นมาเป็นซอโควิด-19 มองว่าโลกโซเซียลเป็นมันสามารถกระบอกเสียงให้กับเราได้ ปี่ซอถือว่าเป็นกระบอกเสียงของหลาย ๆ อย่างเช่นกันเมื่อนำมาใช้รวมกันในแง่มุมของเราถือว่าเป็นการสื่อสารที่ดีมากเลย ติดตามช่องของปุยฝ้ายได้ทาง ปุยฝ้าย มะลิวัลย์ 081-4687987

สุดท้ายอยากจะอวยพรทุกคน ในวันปีใหม่เมือง : ฝากทุกคนดูแลสุขภาพ เป็นกำลังให้ทุกคนหากว่าเหงา ๆ ปิดเฟสบุ๊คและช่องยูทูปของปุยฝ้ายได้ ปุยฝ้าย มะลิวัลย์ มีน้ำเสียงตลกขบขัน และเสียซอที่เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมบ้านเรา อย่างน้อยจะช่วยให้ความบันเทิงช่วยให้สุขภาพจิตใจของทุกคนในสถานการณ์วิกฤตนี้ดีขึ้น อย่าพึ่งท้อถอยทุกอย่างในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ

กอล์ฟ พชร คำชำนาญ

กอล์ฟ พชร คำชำนาญ เป็นคนหนึ่งที่กำระดมคนรุ่นใหม่ และทำงานกับกลุ่มคนชาติพันธุ์ น้องเล่าว่า ตอนนี้สถานการณ์ทั้งโควิด-19 เราจะเห็นแค่การทำงานของเจ้าที่รัฐผ่านการสื่อสาร โดยเฉพาะในช่วงไฟป่าดอยสุเทพดอยปุยไหม้อยู่ และไหม้ในรอบหลาย 10 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่หนักที่สุด รัฐหรือเอกชนไม่ได้ช่วยเหลือ และรับรู้ข่าวสาร เราจึงทำข้อมูลขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชุมชนชาติพันธุ์ ชุมชนภาคเหนือตอนบนที่อยู่ในเขตป่า 32 ชุมชนนี้ ดูแลปกป้องผืนป่า 394,475-2-28 ไร่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใหญ่มาก วันนี้พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ ไฟป่าที่รุนแรงมากขึ้นกว่าทุกปี ยังต่อสู้กับไฟป่าอย่างโดดเดี่ยว รวมทั้งยังต้องต่อสู้กับการระบาดของ COVID-19 เราจึงทำแคมเปญขึ้นมาคือ 1 ไร่ 1 บาท เปิดมาตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน -16 เมษายน เปิดไป 10 วัน เพื่อรอให้ฝนตก การระดมทุนคือส่วนแรก เป็นการช่วยชุมชนภาคเหนือตอนบนดูแลป่า 3.9 แสนไร่กันครับพี่น้อง ยังคงมีความพยายามของภาคประชาชนในการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือชุมชนต่าง ๆ ในการดับไฟป่า มีการร่วมกันระดมทุนเพื่อช่วยเหลือชุมชนชาติพันธุ์ 32 ชุมชนในภาคเหนือตอนบน ที่ช่วยกันดูแลป่ากว่า 390,000 ไร่ ผ่านแคมเปญ 1 ไร่ 1 บาท เพื่อร่วมกันปกป้องผืนป่า

และในส่วนที่มีสถานการณ์โควิดตอนนี้ ยังไงเราจำเป็นต้องอยู่ที่สำนักงานทุกวัน เพราะต้องอัพเดทสถานการณทุกวันโควิดคนในชุมชนเป็นกังวลอย่างมาก เราต้องคอยลงไปอัพเดตเสมอว่าชุมชนมีการจัดการอะไรบ้าง ทางชุมชนได้มีการปิดชุมชนเป็นพิธีกรรมดั้งเดิมของชุมชนเลยถ้าเป็นชุมชนเมืองจะตั้งป้ายปิดถนนไว้เลย ถ้าเป็นกระเหรี่ยงจะปิดเพื่อทำพิธีกรรม ปิดครั้งหนึ่งคือปิด 3-5 วันตามพิธีกรรมดั้งเดิม แต่ถ้าเป็นบางชุมชนปิดไปตามสถานการณ์ ปิดจนกว่าสถานการณ์จะสงบ คนในห้ามออกคนนอกห้ามเข้าลูกหลานที่ทำงานในเมืองห้ามเข้า

ที่น่าใจคือคนเหล่านี้ที่ดูแลป่า 394,475-2-28 ไร่ ปรากฏว่าเค้าปิดพื้นที่ชุมชนเค้าก็อยู่ได้สบายเพราะพวกเขามีพื้นที่ป่าเป็นพนักผิงของชีวิตเขาสามารถปิดได้เพราะเค้ามีพื้นที่ในการปรับตัวอยู่กับธรรมชาติเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เรื่องการบริจาคเงินกองทุน ตอนนี้เราอยากได้เงินจำนวน 390,000 เพราะเป็นตัวเลขพื้นที่ป่าที่ชุมชนดูแลให้เรา พวกเราที่เป็นคนเมืองเราพูดกันตรง ๆ ว่าทั้งชีวิตเราไม่เคยปลูกต้นไม่สักต้น แต่ในความรู้สึกเหล่านั้นทำให้เราอยากจะช่วยพวกเขาดูแลผืนป่า เมื่อเราได้มาสัมผัสและทำงานกับพวกเขาเข้าปีที่ 3 เราได้มีโอภาสเข้าไปดับไฟในป่าพร้อมกับชาวบ้าน ซึ่งทำให้เห็นเลยว่ามันยากมา ๆ สำหรับคนในเมืองอย่างพวกเราเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง ทีนี้สิ่งที่พวกเราจะช่วยกันได้คือการช่วยเหลือกันเท่าที่ช่วยได้ แค่บริจาคไร่ละ 1 บาท และช่วยเรื่องอุปกรณ์ซึ่งของเขาขาดมาก เครื่องกันฝุ่น เครื่องเป่าลม หน้ากากผ้า เจลล้างมือเวชพันธุ์อาหารแห้ง สามารถบริจาคทั้งสิ่งของหรือเป็นเงินได้ ถึงไฟป่าจะซาลงชุมชนเค้าก็ยังไม่ได้นิ่งนอนใจเค้ายังต้องคอยเฝ้าดุอยู่ เพราะเค้าคิดว่ายังไงก็ยังจะต้องมีไฟป่าเกิดขึ้นอีก เราก็สามารถช่วยกันเท่าที่ช่วยกันได้ เราไม่ได้มีแค่องค์กรเราก็มี เราตั้งเป็นศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า ซึ่งช่วงแรกที่ก่อนตั้งขึ้นเพราะการรวมตัวของพวกเราทั้ง 3 องค์กรมี มูลนิธิภาคเหนือ ศูนย์มานุษยวิทยาศิรินทร์และองค์การมหาชน และทางโพควาโปรดักชั่นเป็นองค์กรสื่อซึ่งจริง ๆ แล้วทำงานให้ the north ด้วยเรารวมตัวกันเป็นศูนย์เฉพาะกิจชื่อศูนย์สนันสนุนชุมชนสู้ไฟป่า จริง ๆ มีอีกหลายแห่งที่ระดมกันอยู่เช่นสภาลมหายใจเชียงใหม่ หรือทางคุณวรรณสิงห์ หรือมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งพวกเราก็มีการพูดคุยกันตลอดเวลา ขอขอบคุณผู้บริจาคเงินทุนสนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่าและอุปกรณ์ดับไฟป่าทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง โดยศูนย์จะนำไปชุมชนดูแลไฟป่าใน 32 ชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จำนวน 394,475 ไร่ๆ ละ 1 บาท รวมประมาณ 394,475 บาท เป็นระยะเวลา 10 วัน (ระหว่างวันที่ 6-16 เมษายน 2563)

อยากจะฝากไว้ว่า เรามักจะคิดว่าคนบนพื้นที่สูงเป็นคนเผาป่า เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่า ทุกครั้งเลยมันง่ายมากที่เราจะชี้นิ้วไปบนดอยแล้วบอกว่าคนพวกนั้นแหละที่เป็นคนเผาป่า โดยที่เราได้รับข้อมูลมาด้านเดียวและคนพวกนั้นไม่ได้มีกระบอกเสียงที่ใหญ่แบบคนในเมือง ในขณะที่เราอยู่ในเมืองเราไม่เคยได้สัมผัสสิ่งนั้นเลย ฉะนั้นหน้าที่ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่หน้าที่เรา และใครที่อยู่ในป่าก็กลับไปเป็นคนทำลายป่าทั้งที่รอบบ้านที่เขาอาศัยอยู่เป็นป่า และเราไม่จะเป็นต้องรับผิดชอบ ตัวเรามีต้นแบบคือ ดิปุนุ แห่งดอยป่าแปได้ขับร้องเพลงเอาไว้ เพราะฉะนั้นขอพื้นที่ตรงนี้ในการลบล้างมายาคติเรื่องไร่เลื่อนลอยและชาวเขาทำลายป่า ในบทเพลงที่น้องได้ขับร้อง

สุดท้ายอยากจะอวยพรทุกคน ในวันปีใหม่เมือง : เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้กลับบ้าน จึงใช้เวลาตรงนี้ในพื้นที่ที่เราอยู่ อวยพรทุกคนที่อยู่ตรงนี้ ขอให้ทุกคนดูแลตัวเองให้ดีโดยเฉพาะคนที่บ้านมผู้สูงอายุในบ้านและเด็ก ๆ ให้ดูแลกันให้ดีในช่วงเวลาที่ยังวิกฤตนี้ ฝากถึงคนรุ่นใหม่ในรุ่นเดียวกัน สำหรับเราเป็นคนหนึ่งที่กล้าลุกขึ้นมาที่จะทำอะไรสักอย่างที่จะช่วย เหลือและเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น สำหรับตัวเราอยากเป็นกำลังให้ทุกคนทุกเพศทุกวัย กลุ่มที่เราอยากให้กำลังใจมากที่สุดคือเพื่อนในรุ่นเดียวกันที่เป็นคนรุ่นใหม่อยากให้ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างในสถานการณ์วิกฤตหลาย ๆ ด้านแบบนี้ สู้และขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนในทุก ๆ เรื่องครับ

เอ็ม ยี่ดวง ศรีคำ

น้องเอ็ม :  ช่วงนี้กักตัวอยู่ห้องไม่ได้เข้าไปทำงาน ปกติทำงานมูลนิธิมหาจุฬาที่วัดสวนดอกเป็นพนักงานธุรการ ช่วงโควิดต้องปรับตัว และสอนออนไลน์ เพราะอยู่แต่ในห้องและไม่ออกไปไหน ที่เริ่มสอนทางออนไลน์เพราะอยากจะแบ่งปันความรู้โดยการไลฟ์สดเพราะช่วงนี้น้อง ๆ อยู่บ้านเราจึงปรับสอนในช่วงเย็นให้น้อง ๆ ได้มาใช้เวลาในการพัฒนาตนเอง มีทั้งสอนและให้กำลังใจ เป็นการแบ่งปันสิ่งเล็ก ๆ มีทั้งเณรและเด็กทั่ว ๆ ไป เข้ามาเรียนในช่องยูทูปของเรา เราอาศัยสื่อออนไลน์ในการสอนเพราะในช่วงเวลาแบบนี้เราใกล้กันไม่ได้ และเวลาที่เราอยู่บ้านยาวนานเราจึงต้องทำสิ่งเหล่านี้เวลาที่ผ่านไปให้มีประโยชน์ แรงบัลดาลใจในการสอนออนไลน์ นิสัยเดิมเป็นคนชอบสอนอยู่แล้ว เมื่อเกิดสถานการณ์นี้ขึ้นจึงใช้สื่อออนไลน์เป็นหลักเพราะโลกปัจจุบันมีผู้ใช้สื่อออนไลน์อยู่แล้ว และเราอยากใช้สิ่งที่เราถนัดสอนแบ่งปันความรู้กับน้อง ๆ ได้เป็นการสอนเบื้องต้นพื้นฐาน เพราะความที่ตอนนี้กลับบ้านไม่ได้ จึงใช้สื่อออนไลน์เป็นหลักเอามาปรับใช้และคิดว่าตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์ เข้าไปติดตามช่องยูทูป The difference

สุดท้ายอยากจะอวยพรทุกคน ในวันปีใหม่เมือง : ปกติช่วงนี้เป็นช่วงปีใหม่เราไม่ได้ไปบ้าน บางคนก็ไม่ได้กลับบ้านผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไมได้กลับบ้านเพื่อความปลอดภัยไม่นำเชื้อกลับไปบ้านให้พ่อแม่และผู้คนในบ้าน ก็ให้ทุกคนฝากความคิดถึงกัน ฝากความห่วงใย ให้ทุกคนเข้มแข็งอย่าท้อเพราะทุกวิกฤติมีโอกาสให้เราสู้และดิ้นรนเสมอ วิกฤตย่อมผ่านไปสู้ ๆ ไปด้วยกันอวยพรปีใหม่เมืองด้วยครับ

คุยกับคนรุ่นใหม่

Live องศาเหนือ Special : โควิด-19 ก้าวผ่านหื้อได้ !เย็นนี้คุยกับคนรุ่นใหม่ #ภาคเหนือ"ในช่วงสถานการณ์แบบนี้ คนรุ่นใหม่เขาทำอะไรกับบ้าง มีหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ"ร่วมพูดคุยกับพวกเขา- ปุยฝ้าย มะลิวัลย์ สนธิ : ช่างซอรุ่นใหม่- เอ็ม ยี่ดวง ศรีคำ : ทำช่องยูทูป สอนภาษาออนไลน์- กอล์ฟ พชร คำชำนาญ : ช่วยดับไฟป่า- โฟร์ค ณัฐพนธ์ ปานอุดมลักษณ์ : มาเล่นดนตรี พร้อมคุยกิจกรรมเพื่อเยียวยาตัวเอง- เอิง ศุภกานต์ วรินทร์ปราโมทย์ : ทำเรื่องปันกิน / นักดนตรี นักร้อง

โพสต์โดย The North องศาเหนือ เมื่อ วันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2020

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ