: คุยกับ อาจารย์ พญ. จิตรลดา อุทัยพิบูลย์ รองคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ติดชายแดน ในช่วงโรคโควิด-19 ระบาดในเริ่มแรก ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีมาตรการจัดการในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์แม่ฟ้าหลวง ได้มีการเฝ้าระวังและคัดกรอง ซึ่งมาตรการ คัดกรองเข้มข้นแบบนี้ก็เพื่อ ป้องกันการแพร่เชื้อจากบุคคลสู่บุคคล หรือหากเกิดขึ้นแล้วอาจจะทำให้สถานการณ์นั้นควบคุมยาก เพราะฉะนั้นกระบวนการคัดกรองและเฝ้าระวังจึงเป็นเรื่องสำคัญ และยังต้องทำต่อเนื่องไปจนกว่ากรมอนามัยโลกจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงการเฝ้าระวังของไวรัส แต่แนวทางการระบาดวิทยา ในการป้องกันตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจและสำคัญที่สุด แต่ในการป้องกันตนเองนั้นมีวิธีไหนที่เราสามารถป้องกันตัวเองให้ตนเองปลอดภัย และครอบครัวคนรอบข้างของเราปลอดภัย ได้อย่างถูกต้องบ้าง ?
Q : สถานการณ์ในภาคเหนือตอนนี้ กำลังเผชิญอยู่กับโรคระบาดโควิด-19 ไม่แพ้ภาคอื่นเลย และหลายพื้นที่มีจำนวนผู้ที่เข้าค่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องหาความรู้ในการกักตัวเองในที่นี้ หมายถึงอย่างไร ?
A : การกักตัวนั้นเราต้องแยกก่อนว่า กักตัวคนที่มีความเสี่ยงสูง หรือกักตัวผู้ที่กำลังติดเชื้ออยู่ การที่เราไปสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น แฟนเราติดไวรัสโควิด-19 มาจากสถานที่แออัด สถานบันเทิง แฟนเราอยู่โรงพยาบาลเราอยู่ใกล้ชิดแฟน และเราอยู่ร่วมกับญาติพี่น้องก็ถือว่ามีความเสี่ยงเพราะอยู่บ้านเดียว ต้องกักตัวเองด้วยเช่นกัน กักตัวเองในที่นี้หมายถึง home quarantine เราต้องใช่มาตรการที่ทุกคนใช้เหมือน ๆ กันคือ การ Social distancing การเว้นระยะห่างทางสังคม เพราะใน 14 วันหากไม่เป็นอะไรก็หมายถึงหมดเวลาของการกระจายตัวและ การฟักตัวของเชื้อโรค และในการกักตัว 14 วันนั้นควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างเมื่ออยู่บ้าน การแยกตัวเป็นเรื่องสำคัญไม่ใกล้ชิดผู้ที่อยู่ในบ้าน เช่น พูดกันในระยะที่ใกล้ชิด ทำตัวตามปกติไม่เว้นระยะห่าง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเป้นอย่างมาก และข้อที่ควรปฏิบัติมากที่สุดคือการกินอาหารร่วมกัน ถึงจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่มีความเสี่ยงใดๆ เลยก็ตามในช่วงนี้ควรจะกินแยกกันไปเลยจะดีกว่า การจัดการตัวเองการซักผ้าห้องน้ำควรจะใช้แยกกันไปเลยจะดีที่สุด เพราะถ้าบางทีเราเผลออาจนำมาซึ่งการติดเชื้อไม่รู้ตัว ดังนั้นการอยู่ห่างกันเกิน 1 เมตรครึ่ง ได้เป็นเรื่องที่ดีที่สุดถ้าเราเองไม่รู้ว่าตัวเองเป็นหรือไม่เป็นแต่มีความเสี่ยงสูงก็ควรที่จะป้องกันตนเอง จึงต้องออกแบบในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นผู้ที่ป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ผลเป็นบวกทางภาคเหนือของเราตอนนี้ยังให้อยู่โรงพยาบาลอยู่เพราะในเวลานี้ยังมีพื้นที่รองรับสำหรับผู้ป่วยได้พอสมควรอยู่ แต่เมื่อใดที่สถานการณ์เปลี่ยนไป เตียงไม่พอพื้นที่รองรับไม่พอและบุคลากรไม่พอ ก็จะย้ายไปที่อยู่รวมกันหรือต้องกลับไปรักษาตัวเองที่บ้าน
Social distancing ในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับไปแล้วว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ ในแง่ของ General Population ประชาชนทั่วไปตอนนี้เราต้องเว้นระยะห่างทางสังคมถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกรุงเทพ หรือทางภาคใต้ สถานการณ์แบบนี้ต้องใช้มาตราการณ์ที่เด็ดขาดไปเลย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง
Q : พื้นที่การให้ความรู้นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ การให้ความรู้เป็นอย่างไรบ้างในขณะนี้ ?
A : ความสำคัญคือ ประชาชนต้องรู้จริง รูปแบบในการที่เป็นความรู้ที่แท้จริง ถ้าไม่เป็นจริงจะทำให้เกิดความตื่นตระหนกตกใจกลัว การตื่นกลัวจะทำให้เกิดการตีตราและแบ่งแยก เพราะถ้าสิ่งนี้มันย้อนกลับ เรื่องความกลัวของคนแล้วถ้าจะต้องมีการ home quarantine จริง ๆ แล้วเกิดความหวาดกลัว คนเหล่านี้จะไม่มีที่อยู่ ในชุมชนเลย เพราะชาวบ้านกลัวไม่ยอมให้เข้ามาในชุมชน เราจำเป็นจึงต้องสื่อสารให้เข้าใจว่าโรคนี้มันไม่ได้ติดต่อกันง่าย ๆ โรคติดจากการที่สัมผัสใกล้ชิดและ การรักษาความสะอาด และการใส่หน้ากากอนามัยควรจะใส่เมื่อไหร่บ้าง จึงต้องไปสอนและความรู้คนในชุมชนเข้าใจว่าโรคนี้ไม่ได้อยู่บ้านเฉย ๆ แล้วจะมาติดเรา
การใส่หน้ากากอนามัย องค์การอนามัยโลกหรือหลักฐานทางงานวิจัยบอกไว้ว่าคนทั่ว ๆ ไปไม่จำเป็นต้องใส่ตลอดเวลา แต่ในตอนนี้การรณรงค์ป้องกันตัวเองเยอะมากจนผู้คนต้องเปลี่ยนพฤติกรรม แต่เราใส่มากเกินจนความพอดีก็อาจะทำให้สิ้นเปลืองและหมดได้ จริง ๆ ตามหลักการแล้วเราไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา การใส่หน้ากากอนามัยก็ต่อเมื่อเราอยู่พื้นที่เสี่ยงและใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือการเดินทาง ขึ้นรถสาธารณะ ทำงานในพื้นที่แออัดก็ควรใส่ไว้เพื่อป้องกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วคือการล้างมือสำคัญกว่าการใส่หน้ากากอนามัยเสียอีก หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ทำจนให้เป็นนิสัยจะช่วยได้มากในเรื่องของการป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงติดเชื้อ “ ในช่วงนี้เราต้องมานั่งคุยเรื่องนี้กันอีกครั้ง จุดที่สำคัญต้องล้างมือบ่อย ๆ ”
Q : พูดถึงการระบาดในช่วงแรกเข้ามาเริ่มมีการพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ทางมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและ โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวงก็เป็นที่แรก ๆ ที่เริ่มมีมาตรการในการป้องกันและการจัดการของผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง เป็นที่แรก ๆ เป็นอย่างไร ?
A : ในช่วงนั้นเราได้เล็งเห็นแล้ว เราเริ่มมีมาตรการในโรงพยาบาลตั้งแต่ตอนนั้น ว่าตรงไหนจะจุดไหนบ้างต้องจัดการอย่างไร ส่วนไหนควนใส่หน้ากากอนามัยทุก ๆ คนจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เราออกมาตรการพร้อมกับที่เราไปตรวจนักศึกษา ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เข้าหน้าที่มีความตื่นกลัว พอสักพักในช่วงที่มีการระบาดหนักขึ้น ทางโรงพยาบาลมีมาตรการปิดประตูทางเข้าโรงพยาบาล ให้เข้าเฉพาะ 2 ประตู และมีการตรวจคัดกรองคนเข้ามาตลอดเวลาในการเปิดทำการ และในขณะนี้มีมาตรการที่เร่งด่วนกว่านั้นคือ ให้พยาบาลมอนิเตอร์ ดูตัวเองเช็คตัวเองในทุกวัน ไปไหนมาบ้างนอกเหนือจากการมาทำงาน เพราะเราไม่อยากจะให้เกิดความผิดพลาด เราไม่รู้ว่าพยาบาลอาจนำเชื้อโรคจากชุมชนหรือที่ใดมาติดคนไข้ ก็อาจเป็นได้ หรืออาจเป็นพาหะนำเชื้อจากโรงพยาบาลกลับไปติดคนที่บ้านได้ และในขณะนี้เรามีมาตราการณ์ในอนาคต คือ การเตรียม cohort ward – หอผู้ป่วยแยกโรค จังหวัดเชียงราย คือ ถ้าเชียงรายเกิดการแพร่ระบาดเยอะมากขึ้น โรงพยาบาลเชียงรายรับไม่ไหวจะเอามาเป็น cohort ward เราจึงต้องทำการเตรียมความพร้อมซ้อมรับ Healthcare Personal การใส่ชุด การอบรมอย่างเข้มข้น เพราะชุดในการรักษาผู้ป่วยเปรียบเหมือนเกราะป้องกันตัวเอง ในการที่จะไม่เป็นผู้ติดเชื้อ เพราะบุคลากรทางการแพทย์คือสิ่งสำคัญ จัดทำสื่อสำหรับสื่อสารในโรงพยาบาล และอบรมกันหลาย ๆ รอบ และให้วีดีโอบุคลากรไปฝึกด้วยตนเองด้วยเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ยังเดาไม่ได้ว่าจะไปในทิศทางใด
Q : ในเชิงการระบาดวิทยา ในตอนนี้ที่การกระจายตัวของเชื้อไปทั่วหลายจังหวัดในประเทศไทยแล้ว ถ้าในตอนนี้รัฐ และท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นออกมาตรการมา คือ ห้ามเคลื่อนย้าย ห้ามเดินทางออกนอกพื้นที่ แบบนี้ในเชิงระบาดวิทยาจะช่วยได้มากน้อยเพียงใด ?
A : ถ้าเรา Social distancing ได้ 80 % ในเชิงทางวิชาการจะลดกลายเป็น Personal คือป่วยเป็นรายบุคคลเหมือนเป็นโรคหวัดตามฤดูกาล แต่ถ้าเรา Social distancing แค่ 5 % ในเชิงของการระบาดยังไงตัวเลขก็พุ่งขึ้นสูงแน่นอนอยู่แล้ว แสดงว่ามาตรการนี้เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ยังไม่ได้ผลถ้าคนก็ยังคงเดินทางไปมาและใช้ชีวิตตามปกติ ถึงการ Lock Down ไม่ใช่มาตราการณ์เดียวที่ดีที่สุด ดีที่สุดคือประชาชนเองรู้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้ เช่น ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เชียงรายติดเชื้อมาจากสามี และติดกันเองในครอบครัวซึ่งคนที่อยู่ในครอบครัวกันเองไม่ป้องกันตนเองตั้งแต่แรก ซึ่งแปลว่าการรู้ไม่เท่าทันของประชาชนต่อการป้องกันโรคยังน้อยไปมาก ต้องเปลี่ยนนิสัย และความเคยชินของคนใกล้ตัวและตัวเองไปพร้อม ๆ กัน
Q : บทเรียนจากโรคระบาดในยุคก่อน เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนก สามารถมาปรับใช้กับเหตุการณ์นี้ได้หรือไม่ ?
A : ในแง่ของประสบการณ์ การปรับใช้เอาจริง ๆ แล้วนำบทเรียนตรงนั้นมาปรับใช้ไม่ได้ทั้งหมด จากการระบาดในเมืองจนถึงระบาดของพื้นที่สิ่งนี้อาจเรียนรู้จากซาร์สได้ แต่ปัจจุบันการระบาดมากกว่าเมื่อก่อน 10 เท่า มีทั้งความเสี่ยงทางบก ทางรถ ทางเรือ ทางการบิน เพราะการเดินทางเยอะจึงเกิดการระบาดขึ้นมาเยอะ ในสมัยที่ออกไปสอบสวนโรคซาร์สปี 2003 ทั้งอำเภอมาไม่ถึง 5 คนแต่ในสมัยนี้คนเดินทางกันทุกวัน คนเข้าออกมาโรงพยาบาลแทบทุกวัน เพราะฉะนั้นถอดบทเรียนจากซาร์สในเชิงโครงสร้าง แต่ว่าสถานการณ์โควิด -19 มันเปลี่ยน เครือข่ายและทุกคนต้องหูไวตาไว อสม.ในบางพื้นที่มีการจัดการที่ดีมากเพราะเค้าก็ผ่านโรคระบาดมาเยอะพอสมควร และอัตราความเสี่ยงการตายด้วยโรคระบาดโควิด -19 เป็นผู้สูงอายุ จึงต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งสิ่งนี้ยังไม่มีใครอธิบายได้ดี ทำไมไวรัสตัวนี้ถึงไวต่อผู้สูงอายุ และคนมีโรคประจำตัว ถ้าติดเชื้อจะทำให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นเป็นเพราะร่างกายที่ไม่ดีภูมิต้านทางจึงไม่สามารถต้านทานไวรัสตัวนี้ได้ แต่สุดท้ายแล้วกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุต้องดูแลตัวเองไม่ควรออกจากบ้านระวังตัวให้มากที่สุด และที่สำคัญคือลูกหลานต้องทำความเข้าใจว่าในช่วงสถานการณ์แบบนี้ความห่างไกลเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วในตอนนี้
“ เราจะต้องมี 2 คาถา ในสถานการณ์แบบนี้คือ คาถาที่ 1 ล้างมือ 20 วินาที ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม คาถาที่ 2 ดีที่สุดในตอนนี้คืออยู่บ้าน อยู่กับที่ ไม่ไปที่แออัด ใส่หน้ากากอนามัย ท่องไว้ทุกวันไม่มีติดแน่นอน และให้คิดไว้เสมอว่าโรคนี้ไม่ได้ติดกันง่ายขนาดนั้น
ถ้าเราทำตามคาถาที่ท่องไว้ ติดโควิดก็ไม่ได้เท่ากับตาย ”