ชูศาสตร์รุกขกรรม ลงนามความร่วมมือ เยียวยาถนนสายยางนา เชียงใหม่ – ลำพูน

ชูศาสตร์รุกขกรรม ลงนามความร่วมมือ เยียวยาถนนสายยางนา เชียงใหม่ – ลำพูน

ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการร่วมกันฟื้นฟูเยียวยาถนนสายยางนา เชียงใหม่ –ลำพูนสายเก่า หลังจากที่เมื่อวานนี้(14 พ.ย.62) ได้มีการลงนามร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และชุมชนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันจัดการยางนา ถนนเชียงใหม่ลำพูน ซึ่งเป็นในส่วนข้อข้อเสนอเชิงนโยบาย และการจัดการงบประมาณ ที่จะนำไปสู่การมีรุกขกรหรือหมอต้นไม้ ที่มีความรู้ด้านรุกขกรรมมาดูแลต้นยางนาทั้ง 949 ต้น ตลอดระยะทาง 14 กิโลเมตร บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข106 ทั้งในการฟื้นฟูระบบรากของยางนา การตัดแต่งกิ่ง อย่างเหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานรุกขกรของประเทศและเป็นแบบอย่างให้พื้นที่อื่นๆในประเทศไทยนำไปใช้ในการดูแลต้นไม้ใหญ่ได้

การลงนามร่วมกันในครั้งนี้ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดประกอบด้วย จัหงวัดเชียงใหม่  อบจ.เชียงใหม่ กรมป่าไม้  ม.เชียงใหม่ ม.แม่โจ้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง สมาคมยางนาขี้เหล็กสยาม เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลหนองหอย เทศบาลตำบลหนองผึ้ง เทศบาลตำบลยางเนิ้ง เทศบาลตำบลสารภี ถือเป็นความก้าวหน้าในการร่วมกันดูแลต้นยางนา และต้นไม้ใหญ่ในเมือง

.

นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง อบจ.เชียงใหม่: กล่าวว่า เราต้องร่วมกันดูแลรักษาต้นยางนา ซึ่งโดยปกติแล้วต้นยางนาจะอยู่ได้ 400-500 ปี ซึ่งขณะนี้ยางนาของเรามีอายุประมาณ 130 ปี ซึ่งเราจะฟื้นฟูทั้งระบบราก กิ่งก้าน ลำต้น เพื่อให้ต้นยางนาบนถนนเส้นนี้มีความสมบูรณ์แข็งแรง เป็นสมบัติของชาติ และของโลกต่อไป

การลงนามร่วมกันในครั้งนี้จะทำให้ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนสามารถนำงบประมาณมาลง ภาคเอกชนก็จะมีการระดมทุน ภาครัฐ อบจ.เชียงใหม่เอกก็เป็นแม่งานหลักที่จะเอางบประมาณมาร่วมในการตัดแต่งกิ่ง ฟื้นฟูราก โดยใช้หลักรุกขกรรม และใช้รุกขกรในการตัดแต่งกิ่ง ให้ถูกต้องตมหลักวิชาการ ร่วมกับสภายางนา-ขี้เหล็ก เขียวสวยหอม ต้นไม้ในเมือง และภาคส่วนอื่นๆ

นายสมชาติ วัฒนากล้า ผู้อำนวยการสำนักการช่าง อบจ.เชียงใหม่

 

อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย นายกสมาคมยางนาขี้เหล็กสยาม: กล่าวว่า หลังจากนี้การทำงานจะมีความชัดเจนขึ้น ซึ่งเมือวันที่ 27 ก.ย.62 ได้มีการก่อตั้งสมาคมยางนาขี้เหล็กสยาม โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ หนึ่งการช่วยเหลือสมาชิกหรือคนที่จะเข้ามาร่วมดูแลต้นยางนา สองการช่วยกันฟื้นฟูเยียวยายางนาให้มีสุขภาพดี สามการดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ และเอกชนซึ่งพร้อมจะมาช่วยเหลือกัน

ตอนนี้มีการก่อตั้งกองทุนยางนาขึ้นมา จะช่วยทำให้การทำงานของอาสาสมัครภายในพื้นที่ ซึ่งตอนนี้มีอสย. หรืออาสาสมัครพิทักษ์ยางนาอยู่ 300 กว่าคน เป็นกำลังหลักในการทำงาน กระบวนการทำงานจะต้องมีการอบรมเพิ่มเติมความรู้ สร้างกิจกรรมที่มีความต่อเนื่อง และส่งทอดความรู้สู่รุ่นลูกหลาน หรือคนนอกพื้นที่ที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลยางนาอันเป็นมรดกร่วมกันของคนทั้งประเทศ โดยมีสภายางนาเป็นตัวกลางประสานการทำงาน เพราะต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง จะมีการประชาสัมพันธ์ให้คนนอกจังหวัดเชียงใหม่ ช่วยมาเที่ยว มาสัมผัสบรรยากาศ มาดูแล และเป็นโอกาสให้เศรษฐกิจบนถนนสายยางนา เพื่อให้คนที่อยู่รอบพื้นที่ได้รับประโยชน์ด้วย เพราะการอนุรักษ์ไม่ใช้เพียงแค่เก็บต้นไม้ไว้อย่างเดียว เราจะได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว หรือการพาคนต่างถิ่นมาดูวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ด้วย

อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย นายกสมาคมยางนาขี้เหล็กสยาม

นางสาวช่อผกา วิริยานนท์ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง: กล่าวว่าเครือข่ายต้นไม้ในเมืองเป็นการรวมตัวกันของคนที่รักต้นไม้มีประมาณ 70-80 องค์กร ซึ่งสมาคมยางนาขี้เหล็กสยามก็เป็นเครือข่ายต้นไม้ในเมือง ซึ่งการรวมตัวกันของเครือข่ายก็เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนโยบาย เพราะทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ลงไปทำงานหมดแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้โจทย์ด้านการบริหาร ทีมเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกรุงเทพจึงมาผนึกกำลังกับทีมเชียงใหม่ ใช้เวลา 5 เดือน เกิดเป็นความร่วมมือกันเชิงนโยบายระหว่าง ภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนวิธีการทำงาน การจัดซื้อจัดจ้าง เปลี่ยนงบประมาณให้เป็นสากลมากขึ้น และเปลี่ยน TOR ซึ่งการมาทำงานร่วมกันแบบนี้หากประสบความสำเร็จก็จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ในพื้นที่อื่นๆอีกด้วย

สำหรับประชาชนทั่วไปก็สามารถมาเป็นส่วนช่วยในการดูแลต้นยางนาได้ โดยช่วยกันสื่อสาร บอกต่อให้เข้าใจว่าการดูแลต้นไม้ในเมืองต้องทำอย่างถูกต้องตามหลักรุกขกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหากมีปัญหาในการจัดการก็จะต้องมาคุยกันเพื่อหาทางออกร่วมกันของทุกฝ่าย และที่สำคัญการที่รักษาต้นไม้ในเมืองไว้ให้เป็นประโยชน์กันทุกคนก็ต้องใช้ทุนในการดูแล

นางสาวช่อผกา วิริยานนท์ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง

หลังจากการลงนามความร่วมมือกันแล้ว แนวทางปฏิบัติต่อไปคือการฟื้นฟูระบบราก และตัดแต่งกิ่ง ซึ่งมีงบประมาณจากรัฐบางส่วน แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะจากการสำรวจยางนา 949 ต้น พบว่า มีที่ป่วยอยู่ในขั้นวิกฤต 357 ต้น กำลังป่วย 433 ต้น และที่มีสุขภาพดี 159 ต้น จึงต้องอาศัยทุนในการดูแลฟื้นฟูต้นยางนา ภาคส่วนต่างๆ จึงจะร่วมกันจัดกิจกรรม Run For Yangna 2020 ในวันที่ 26 ม.ค. 2563 ค่ะ  เพื่อนำรายได้ไปใช้ในการดูแลต้นยางนา และคนที่สัญจรไปมาในพื้นที่ หากท่านไหนสนใจก็สามารถสมัครไปร่วมวิ่งได้นะคะ นอกจากจากสุขภาพจะแข็งแรงแล้ว ยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลยางนาอายุกว่าร้อยปีด้ว

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ