“ถ้ามองในแง่ศิลปะ ก็ดูสวยนะ แต่ถ้ามองจริง ๆ แล้วเราสัมผัสกับมันทุกปี ๆ ผมว่ามันเจ็บปวด”
รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นควันในเชียงใหม่ ที่มีมานานกว่า 20 ปี และมีแนวโน้มความเข้มข้นของฝุ่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ย้อนกลับไปปี 2544 – 2557 (2001-2014) หรือตลอด 14 ปี ในภาพนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเสียชีวิตของประชากรไทย (ไม่รวมอุบัติเหตุ) โดยภาคเหนือตายอันดับ 1 ของประเทศ
สีแดง หมายถึง พื้นที่ที่มีปริมาณการตายสูง
เมื่อลงลึกเข้าไปสู่สาเหตุการตาย พบว่า ภาคเหนือมีสาเหตุการตายหลักอยู่ 2 โรค นั่นคือ มะเร็งปอด และถุงลมโป่งพอง
สีแดง หมายถึง พื้นที่ที่มีปริมาณการตายสูง
ถ้าสงสัยว่า ที่ภาคเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูง เพราะมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพอง เพราะคนเหนือ สูบบุหรี่ หรือ ขี้โยเยอะ ลองมาดูภาพนี้ครับ
พื้นที่สีแดงเข้ม หมายถึง พื้นที่ที่บริโภคยาสูบเยอะ นั่นแสดงว่า ภาคใต้บริโภคยาสูบเยอะที่สุด แต่ตายน้อยที่สุด (เมื่อย้อนกลับไปดูอัตราการเสียชีวิตของประชากรไทย) แล้วอะไรที่ทำให้ประชากรภาคเหนือตอนบน ตายมากที่สุดในประเทศไทย
เมื่อย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นปี ยังคงจำภาพดอยสุเทพที่หายได้ สำหรับเชียงใหม่ เราจะใช้ดอยสุเทพเป็นตัวบอกว่าช่วงนี้อากาศเป็นอย่างไร ในช่วงฝุ่นควัน เราจะไม่สามารถมองเห็นดอยสุเทพได้ ในขณะเดียวกันเราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ ทั้งสองเหตุการณ์มีผลมาจากปริมาณความหนาแน่นของฝุ่นควันที่ปกคลุมอยู่ โดยฝุ่นเหล่านี้เกิดจากจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจราจรในเมือง อุตสาหกรรม แต่ว่าทางภาคเหนือตอนบน มีลักษณะจำเพาะ ไม่เหมือนกับทางกรุงเทพ เราจะมีการเผาทั้งภาคเกษตร และป่า ในวันนี้พวกมันย้อนกลับมาทำลายมนุษย์
ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตอนนี้ในระดับโลกมลพิษทางอากาศ เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ หรือฆาตกรระดับโลก ฆ่าประชากรโลกปีละประมาณ 7 ล้านคน โดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย ถือว่าเป็นภัยคุกคามที่สูงกว่าโรคร้ายแรงอื่น ๆ ทั้งหมด นี่เป็นภาวะเร่งด่วนที่ชาวโลกทุกคน จะต้องรับผิดชอบการลดมลภาวะอากาศ
การปล่อยให้มนุษย์สูดมลพิษอากาศ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ย้อนกลับมาในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2552 มีจำนวนผู้เสียชีวิตรายปีจากฝุ่นเกือบ 4 หมื่นราย
หากลดปริมาณฝุ่นมรณะรายปีลงได้ 20% ผู้คนจะเสียชีวิตลดลง 22% นี่เป็นอะไรที่คุ้มค่ามากต่อการลดจำนวนผู้เสียชีวิต แต่ในขณะนี้ เราก็ยังไม่เห็นรัฐบาล ฝ่ายปกครองหรือหน่วยงานไหน เอาตัวเลขนี้มาพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหา ในขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรายปีลดลงเรื่อย ๆ แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากฝุ่นยังมีจำนวนมาก แต่ยังไม่มีมาตรการจากทางภาครัฐออกมาเป็นรูปธรรม หรือทำให้ตัวเลขนี้ลดลง ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการชั่วคราว ปีแล้วปีเล่า
(การศึกษาระยะสั้นช่วงเดือนมีนาคม 2559 – 2561 หรือ 3 ปี)
ชาวเชียงใหม่ 1.75 ล้านคน เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 30 คน (ข้อมูลจากการลงทะเบียนการตายของจังหวัดเชียงใหม่) เส้นสีน้ำเงินและสีแดง แสดงค่าฝุ่น PM10 และ PM2.5 ตามลำดับ จะสังเกตว่าช่วงค่าฝุ่นที่มีความเข้มข้นสูง จะอยู่ช่วง เดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน
เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ ร่วมกับอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ได้ผลสรุปว่า ทุก ๆ 10 มคก./ลบ.ม ของฝุ่นที่เพิ่มขึ้น จะมีจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 ภายใน 1 สัปดาห์ หมายความว่า อาจจะไม่ได้เสียชีวิตภายในวันนั้น แต่ภายใน 1 สัปดาห์
ปี 2017-2019 สถิติความเข้มข้นของฝุ่นควัน และจำนวนวันที่มีฝุ่นควันเพิ่มขึ้น ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของจำนวนวันฝุ่นควันอาจจะดูเพิ่มขึ้นไม่เยอะ แต่ถ้ามองไปที่จำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิต เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เมื่อนำปี2019 กลับไปเทียบกับปี 2017 นั่นเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 เท่า เนื่องจากความเข้มข้นของฝุ่นสูงขึ้น และที่สำคัญคือความเข้มขึ้นพุ่งสูงสุด จาก 97.5 เป็น 243.4
อันนี้เราวัดจากศาลากลาง ถ้าเราไปวัดที่เวียงแหง เราไปวัดที่เชียงดาว เราไปวัดที่สเมิง มันไม่ใช่ 2 ร้อยกว่า มัน 4-5 ร้อย แต่เพราะว่าสถานีวัดเรามีแค่นี้ ดังนั้นค่าที่เราวัดได้สูงสุดตอนนี้ เป็นค่าประมาณการขั้นต่ำจริง ๆ ควรจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงมากกว่านี้ ถ้าเรามีสถานีตรวจวัดในทุกพื้นที่ ทุกชุมชน
เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นฝุ่น และระยะเวลาที่มีฝุ่นควัน นั่นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น จากโรคที่เกิดจากฝุ่นกับการเพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 มคก./ลบ.ม
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคถุงลมโป่งพอง เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 7.2-8.9%
- โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 8.6%
- โรคติดเชื้อในกระแสเลือดโลหิตเป็นพิษ เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 5.7-6.1%
ชาวโลกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นมรณะเพิ่มขึ้น 10 มคก./ลบ.ม ช่วงอายุขัยจะสั้นลง 0.98 ปี (วิจัยของจีน)
มาดูทางด้านของเครื่องฟอกอากาศ ด้านล่างขวามือเป็นใยในเครื่องฟอกอากาศ ที่เห็นเป็นตุ่ม ๆ นั่นคือ pm2.5 คือฝุ่นมรณะที่มันถูกกรอง ลักษณะของมันจะเหนียว จะหนืด นั่นทำให้มีแรงเกาะอย่างดี เมื่อเราหายใจเข้าไป จมูกจะไม่สามารถกรองได้
มาดูโพรงจมูกของมนุษย์ ภาพซ้ายมือบนคือจมูกของคนปกติ ไม่บวม แน่น ๆ ผนังซีด ๆ ส่วนจมูกของชาวเชียงใหม่ในช่วงหมอกควัน มีอาการบวม ขยายของโพรงจมูก จะเห็นมีฝุ่นมาเกาะ หลายคนที่พยายามเอาน้ำเกลือล้าง นั่นไม่ช่วยอะไร เพราะไม่สามารถล้างออกได้ บางคนเป็นเลือดกำเดาออกมา บางคนหายใจไม่สะดวก บางคนมีหนอง สำหรับคนที่ยังไม่ป่วย เรากำลังสะสมแต้มอยู่หรือเปล่า
จมูกเราจะสามารถกรองได้สูงสุด 30 ไมคอน
ต่ำกว่า 10 ไมคอน จะลงเข้าไปในปอด
ต่ำกว่า 2.5 ไมคอน มันจะซึมเข้าไปในระบบเส้นเลือดฝอย เข้าสู่หัวใจ กระจายไปสู่อวัยวะต่าง ๆ
การหายใจฝุ่นควันเข้าไปแบบนี้ นั่นทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ทางทางเดินหายใจ ทำให้เกิดทั้งกล้ามเนื้อหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันพุ่ง ปอดอักเสบ หอบหืดกำเริบ หรืออัมภาต มันทำให้เกิดดั้งนั้น เราจะเห็นว่าโรคเหล่านี้พบมากขึ้นเรื่อย ๆ และมันคือ
“ฆาตกรเงียบ”
เสวนาเรื่อง “ปัญหาหมอกควัน” มหกรรมสุขภาพ 60 ปี
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
MED CMU 60th Anniversary Expo 2019