ชวนคนทำสื่อรุ่นใหม่ มาร่วมอบรมและสร้างสรรค์งาน
หัวข้อ “โอบกอดความต่าง”
กับ โครงการ Young Content Creator
ยอมรับความหลากหลาย ท้าทายแนวคิดสุดโต่ง
โดย ไทยพีบีเอส และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP
“โอบกอดความต่าง” ชื่อหัวข้อท้าทายไอเดียคนรุ่นใหม่ที่จะตีโจทย์เพื่อค้นหาเรื่องราวรอบตัวมาเป็นเคสเพื่อผลิตสื่อเท่ๆ ร่วมกับเรา
“ความต่าง” มีปัญหาอะไร ทำไมต้องโอบกอด ?
ที่จริงความแตกต่าง หลากหลายเป็นเรื่องงดงามในสังคม ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ความไม่เข้าใจหรือไม่ได้มองเห็นความต่างเป็นความงามนี่แหละนำมาซึ่งแนวคิดที่สุดโต่งและแปรความต่างเป็นความเป็นอื่นไปเสีย แล้วเราเห็นความต่างอะไรบ้างในสังคมเรา
1.คิดเห็นทางการเมืองต่างกัน
2.วัยแตกต่างกัน
3.วิถี อัตลักษณ์ชาติพันธ์ วัฒนธรรม ศาสนาต่างกัน
4.การเข้าถึงโอกาสแตกต่างกัน จนเกิดความเหลื่อมล้ำ
หลายครั้งที่การไม่ยอมรับความหลากหลาย หรือไม่เข้าใจเหตุผลของความต่าง ทำให้เกิดความขัดแย้ง ไปจนถึงการถกเถียง การตีตราที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
แต่เราเชื่อว่า พลังความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่สามารถสร้างความเข้าใจร่วม “โอบกอดความต่าง” ด้วยไอเดียสร้างสรรค์ผลิตสื่อที่น่าดึงดูด และเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ด้วยกัน สิ่งนี้น่าเป็นหนึ่งในสันติวิธีสร้างสรรค์ที่จะร่วมสร้างความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างหลากหลายในสังคมเรา
เราจะทำอะไร ?
ไทยพีบีเอส ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) ดำเนินโครงการ Young Content Creator กิจกรรมรวมกลุ่มคนทำสื่อรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมไอเดียสร้างสรรค์สื่อเพื่อสร้างความเข้าใจ ยอมรับความหลากหลาย
โครงการ Young Content Creator จะเป็นการสร้างพื้นที่ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้สาเหตุและแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อเข้าใจความแตกต่างหลากหลายในสังคม มีโอกาสแสดงฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ ในการผลิตสื่อในหัวข้อ “โอบกอดความต่าง” ผ่านการสื่อสารสาธารณะอย่างประสิทธิภาพ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายนักสื่อสารรุ่นใหม่ ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และมีแนวคิดรับผิดชอบสังคมผ่านการสื่อสารสาธารณะ
ทำสื่อแบบไหน หัวข้ออะไร ?
การจะร่วมกิจกรรมผลิตสื่อในหัวข้อ “โอบกอดความต่าง” ” ผู้ร่วมโครงการจะต้องค้นหาข้อมูล เคสหรือเรื่องราวจริงในพื้นที่ ที่สะท้อนถึงความเข้าใจและการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
รูปแบบนำเสนอ ด้วยหลักคิด One content Multiplatform เพื่อให้เนื้อหามีการสื่อสารในวงกว้าง แต่ละทีมสามารถออกแบบให้เนื้อหานำเสนอได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Text แบนเนอร์ infographic หรือคลิปวีดิโอ แต่อย่างน้อย ผลงานสื่อที่ต้องผลิตคือ คลิปวีดิโอ ความยาวไม่เกิน 3-5 นาที จะนำเสนอด้วยเทคนิคใดก็ได้ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย ยกเว้นหนังสั้น
กลุ่มเป้าหมาย – เยาวชน อายุ 15- 30 ปี
ช่องทางเผยแพร่หลัก – สื่อสังคมออนไลน์
การสนับสนุน – ผู้ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการสนับสนุนค่าเดินทาง มาร่วมกิจกรรม ที่พัก อาหาร และค่าสนับสนุนการผลิตงานทีมละ 5,000 บาท
ใครร่วมกิจกรรมได้บ้าง ?
1.เปิดรับสมัครเยาวชนที่ 18 – 30 ปี จำนวน 15 ทีม มาเดี่ยวหรือทีมก็ได้ทีมละไม่เกิน 2 คน
2.มีทักษะพื้นฐานการผลิตคลิปวีดิโอ เตรียมอุปกรณ์สำหรับผลิตผลงานมาด้วยตนเอง เช่น สมาร์ทโฟน กล้อง, คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค, เครื่องอัดเสียง, เครื่องตัดต่อ ฯลฯ
- มีประเด็นและข้อมูลที่อยากผลิตสื่อหัวข้อ “โอบกอดความต่าง” และต้องการพัฒนาไอเดียการเล่าเรื่อง โดยส่งใบสมัคร พร้อมแนบ ข้อมูลและรายละเอียดในประเด็นที่ต้องการผลิต
- สามารถร่วมกิจกรรม และลงพื้นที่เพื่อผลิตงานตามระยะเวลาที่โครงการกำหนดได้
อย่างไร/ที่ไหน ?
1.ร่วมกิจกรรมฝึกอบรม ที่กรุงเทพมหานคร ระยะเวลา 3 วัน 2 เปิดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความเห็นต่อสถานการณ์ของสังคมที่อาจนำที่เป็นเงื่อนไขให้เกิดแนวคิดรุนแรงสุดโต่ง พบกับผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าของประเด็นเพื่อเข้าใจความแตกต่างหลากหลาย ได้การฝึกทักษะพัฒนาประเด็นเพื่อการผลิตสื่อแนวใหม่ เข้าใช่แพลทฟอร์มสื่อยุคใหม่ เพื่อให้สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ลงพื้นที่เพื่อผลิตงานสื่อตามประเด็นที่ทีมเสนอ
3.ร่วมกิจกรรมถอดประสบการณ์ และชมผลงานที่ได้รับการคัดเลือกพร้อมถกประเด็น ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ที่กรุงเทพมหานคร
เมื่อไหร่ ?
วันที่ | กิจกรรม |
2-25 ก.ย.62 | ประกาศเชิญชวนผู้สนใจส่งใบสมัครพร้อมประเด็นที่ต้องการผลิตสื่อหัวข้อ “โอบกอดความต่าง” |
30 ก.ย.62 | ประกาศผลทีมที่ผ่านการคัดเลือกได้ร่วมกิจกรรม |
18-20 ต.ค.62 | ร่วมกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาประเด็นการผลิตสื่อ ที่ กรุงเทพฯ (มีการฝึกปฏิบัติ นำอุปกรณ์มาด้วย – สถานที่จะแจ้งอีกครั้ง ) |
3 พ.ย.62 | ผู้ร่วมโครงการส่งผลงาน final |
8-9 พ.ย. 62 | ผู้ร่วมโครงการ ร่วมถอดบทเรียน รับชมผลงาน และพูดคุยในประเด็น “โอบกอดความต่าง” ที่กรุงเทพฯ |
กรอกใบสมัตร พร้อมรายละเอียดประเด็นที่สนใจผลิต ได้ตามลิงค์
http://shorturl.at/qyNUZ
ส่งใบสมัครหรือขอรายละเอียดเพิ่มเติม
อีเมล์ citizenprogram@gmail.com เพจ นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS) ภายใน 25 กันยายน นี้เท่านั้น
จัดโดย
ไทยพีบีเอส ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)