เลือกตั้ง 62 : สังคมเชียงใหม่กับว่าที่ ส.ส.

เลือกตั้ง 62 : สังคมเชียงใหม่กับว่าที่ ส.ส.

สนามการเมืองเรื่องของเลือกตั้ง  ควรจะเป็นอีกจังหวะสำคัญสำหรับจังหวัดต่างๆ จะมีเกิดเวทีแลกเปลี่ยนพูดคุยพบผู้ที่อาสาเข้าสู่กลไกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อรับฟังวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและสถานการณ์ที่ประชาชนให้ความสำคัญนอกเหนือจากเวทีปราศรับหาเสียงของแต่ละพรรคที่นักการเมืองพูดเพียงฝ่ายเดียว

เวทีลักษณะนี้อาจมีไม่มาก แต่อย่างน้อย เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็เกิดขึ้นที่เชียงใหม่ โดยภาคประชาสังคมที่รวมกลุ่มกัน ทั้งสภาเมืองสีเขียว เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ เครือข่ายชุมชนรักษ์เมืองเชียงใหม่ สมัชชาพลเมืองเชียงใหม่ กปอพช. และคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัด “เวทีรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาสังคมและตัวแทนภาคการเมืองเพื่อขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”  เป้าหมายไม่ใช่จัดให้นักการเมืองมาหาเสียง แต่คือพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองพูดคุยของคนอาสาเป็นผู้แทนกับความต้องการของคนเชียงใหม่อย่างแท้จริง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับฟังได้ถามพรรคการเมืองถึงประเด็นที่ตนสนใจด้วย เช่น ประเด็นชุมชนเมือง คนไร้บ้าน นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรม หรือประเด็นร้อนแรงอย่างกรณี ป่าแหว่งเชียงใหม่ หรือหมอกควันไฟป่า

5 หัวข้อหลักที่คนเชียงใหม่อยากรู้ความคิดของตัวแทนพรรคการเมืองคือเรื่อง สุขภาพและสวัสดิการ  การศึกษาและวัฒนธรรม   การจัดการตนเองและการกระจายอำนาจ   ป่า พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะ และ ระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองที่ตอบรับมา คือคุณศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ พรรคอนาคตใหม่  คุณศราวุฒิ เรือนคง พรรคสามัญชน  คุณสุรศักดิ์ แซ่โคว้ พรรครวมพลังประชาชาติไทย  คุณพรชัย จิตรนวเสถียร พรรคประชาธิปัตย์  คุณมหวรรณ กะวัง พรรคเสรีรวมไทย ดร.จอห์นนพดล วศินสุนทร พรรคพลังท้องถิ่นไทย  คุณวิริยะ ช่วยบำรุง พรรคชาติไทยพัฒนา

     

หัวข้อที่ได้รับความสนใจที่สุด ดูจะเป็น 3 หัวข้อหลักคือ        

ประเด็นทรัพยากร (ในนี้หมายความถึงเรื่อง ประเด็นที่ดิน การจัดการป่า ป่าแหว่ง หมอกควัน ภาคการเกษตร รวมถึงปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง-คลองแม่ข่า ด้วย) ซึ่งทุกพรรคล้วนเห็นด้วยกับการต้องมีมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันอย่างจริงจังและต้องรื้อบ้านพักข้าราชการตุลาการ (กรณีป่าแหว่ง) และคืนป่าให้คนเชียงใหม่ แต่ในเชิงรายละเอียดการปฏิบัติอาจมีแนวทางแตกต่างกันไป

บางพรรคก็ยังได้แลกเปลี่ยนประเด็นบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ประชาชนควรต้องรับรู้ว่าพวกเขามีหน้าที่บทบาทอย่างไร มีอำนาจแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขเป็นรูปธรรมขึ้น เช่น บทบาทหน้าที่ และอำนาจการจัดการที่ดิน ของกรมธนารักษ์ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชนได้อีกมากหากว่าหน่วยงานที่ทำงานแก้ไขเรื่องที่อยู่อาศัยให้ประชาชนมีข้อมูลที่ดินในจังหวัดเชียงใหม่ของกรมธนารักษ์

บางพรรค  (อนาคตใหม่) ได้เสนอแนวทางต้องมีการปฏิรูปที่ดินและจัดการโครงสร้างการถือครองที่ดินของเอกชน ขณะเดียวกันได้อธิบายถึงการเชื่อมโยงปัญหาของไฟป่าหมอกควัน ปัญหาการจราจร (ขนส่งสาธารณะ) ซึ่งจะแก้ไขได้ดีที่สุดต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อบรรจุหัวข้อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และให้ท้องถิ่นสามารถจัดการปัญหาเฉพาะในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะที่บางพรรค (ประชาธิปัตย์) ก็ได้นำเสนอ โฉนดสีฟ้า (คล้ายโฉนดชุมชน) โดยเชื่อว่าจะประกันความมั่นใจในเรื่องที่อยู่ที่ทำกินของชาวบ้านได้

ประเด็นขนส่งสาธารณะ นับเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ของเมืองเชียงใหม่และเรื้อรังมาตลอด ซึ่งทุกพรรคต่างเห็นว่าควรต้องแก้ไขปรับปรุง แต่แนวทางแก้ไขของแต่ละพรรคก็ยังแตกต่างและข้อมูลตื้นลึกหนาบางต่างกันไป แต่บางคำถามของผู้เข้าร่วมรับฟังก็น่าสนใจทีเดียว เช่นว่า รถบรรทุกสินค้า (สิบล้อ) ที่ขับเข้ามาส่งของเชียงใหม่ ให้มีจุดหยุดส่งของที่แยกดอนจั่นดีไหม ไม่ต้องเข้าเมืองเชียงใหม่ เหมือนที่กรุงเทพมีตลาดสี่มุมเมือง

ซึ่งผู้เข้าร่วมท่านนี้ยังได้กล่าวอีกว่า
“เรื่องขนส่งสาธารณะทุกพรรคคิดอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้สิ่งที่ทุกคนพูดเป็นรูปธรรม สามารถทำได้จริง”

ประเด็นการกระจายอำนาจ เป็นประเด็นที่ทุกพรรคเห็นพ้องต้องกันเช่นกันว่า ต้องมีการกระจายอำนาจ แต่บางพรรคอาจมองในบทบาทที่ทำได้ภายใต้กลไกที่มีอยู่อย่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่บางพรรคคาดหวังว่าต้องมีการผลักดันกฎหมายให้มีการเลือกตั้งผู้ว่า หรือผลักดัน พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร (พรรคสามัญชน) เพราะจะเป็นการปลดล็อกหลายๆ ประเด็นปัญหาของเมืองเชียงใหม่ไม่ว่าประเด็นการศึกษา การจัดการภาษี การออกแบบเมือง การขนส่งสาธารณะ ทรัพยากร ฯลฯ

การพูดคุยในวันนี้เป็นไปแบบไม่เคร่งเครียดและเป็นบรรยากาศแห่งมิตรภาพ ยิ้มแย้ม หยอกแซวกันบ้าง โดยเฉพาะเมื่อช่วงเวลาท้ายๆ ของการพูดคุยมาถึง โดยที่ผู้ดำเนินรายการ (คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา) ไม่ต้องเกริ่นนำ ตัวแทนของทุกพรรคก็เอ่ยกันออกมาเองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ว่าใครจะได้รับเลือกตั้งเป็นตัวแทนเข้าไป แต่ประเด็นปัญหาต่างๆ ของเชียงใหม่ที่มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุยกันวันนี้ ทุกคนก็จะยังทำงานและดำเนินการกันต่อไป หากมีโอกาสก็จะมาแลกเปลี่ยนกันเรื่อยๆ เพราะไม่ว่าอย่างไร ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ของความเป็นพลเมืองเชียงใหม่ ที่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้เกิดขึ้นกับ “บ้าน” หลังเดียวกันหลังนี้ต่อไป

และต่อไปนี้คือรายละเอียดที่ตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ ได้คุยกับประชาชนชาวเชียงใหม่ ที่ขอบันทึกไว้เป็นสัญญาประชาคมที่นี่

สุรีรัตน์  –   เรารู้ว่าหน้าที่หลักนิติบัญญัติ ทำงานที่รัฐสภาดูแลกฏหมาย พัฒนาชีวิต สังคมคน  หรือกำกับติดตามการบริหารงานของรัฐบาล แต่คำถามน่าคิดว่าส.ส.จะทำหน้าที่ช่วยพัฒนาเชียงใหม่ได้อย่างไรด้วย  ในฐานะเป็น ส.ส.จะใช้หน้าที่ของตัวเองจัดการให้เชียงใหม่ก้าวหน้าเรื่องต่างๆได้อย่างไร. มีขั้นตอนอย่างไร

มหวรรณ พรรคเสรีรวมไทย : ผมเข้าร่วมพรรคกับท่านเสรีพิสุทธ์เพราต้องการหยุดความยากจน หยุดคอรัปชั่น  บทบาทหน้าที่ ส.ส.ออกกฏหมายนิติบัญญัติ. แต่สำหรับเชียงใหม่ตนเองอยากส่งเสริมการท่องเที่ยว อยากฟื้นน้ำตกห้วยแก้ว   พัฒนาแหล่งธรรมชาติ. ประสานงานแก้ปัญหาด้านการจราจรที่ติดมาก. อยากให้เกิดการพัฒนามีความพร้อมขนส่งสาธารณะ

ดร.จอห์นนพดล พรรคพลังท้องถิ่นไทย  เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมาก่อน พรรคพลังท้องถิ่นไทยเกิดจากข้าราชการท้องถิ่นมารวมกัน  เมื่อรัฐประหารเกิด อำนาจบริหารจัดการท้องถิ่นไม่มี เพราะทั้งหมดเกิดจากรวมศูนย์ ถ้ากระจายอำนาจให้มีส่วนร่วม  สำหรับเชียงใหม่ มี 3 มิติ. 1.สิ่งแวดล้อมป่าไม้ ต้นน้ำลำคลอง ต้องมีนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก 2.ชุมชน พลเมืองที่ย้ายมาหรืออยู่นาน ระบบความเป็นอยู่ ระบบการศึกษา คนในพื้นที่ที่ขับเคลื่อน ผลักดันความรู้ การศึกษา เชื่อมชุมชน 3.การท่องเที่ยว บทบาทของ ส.ส. ต้องทำได้ 2 อย่าง นอกสภาพคือผลักดันบทบาทชุมชน และต้องมีความรู้ด้านกฏหมายผลักดันในสภา.

ศราวุฒิ  พรรคสามัญชน  – ผมเป็นทีมทำงาน ไม่ใช่ผู้สมัคร ในพื้นที่เชียงใหม่ สามัญชนไม่มี ส.ส.ลง ตรงนี้เราคิดว่าเป็นความเหลื่อมล้ำ ที่การออกแบบโครงสร้างยังไม่เอื้อให้พรรคเล็กเติบโต. เราเสนอผู้สมัครใน ลำปางและเชียงราย 2 เขต เสนอนโยบายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การเมือง เศรษฐกิจแรงงาน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ยึดประชาธิปไตยฐานราก ให้ประชาชนตัดสินอนาคต สิทธิมนุษย์ชน ชุมชน ความหลากหลาย หลักการความเท่าเทียมเป็นธรรม ออกมาเป็นนโยบาย มีการทำคาราวานสามัญชนคุยกับพื้นที่ต่างๆ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการเมืองแบบใหม่ให้คนธรรมดามาเปลี่ยนแปลง  สิ่งสำคัญสำหรับเชียงใหม่คือต้องให้ประชาชนออกแบบชีวิตเองได้ ให้เชียงใหม่จัดการตนเองได้แท้จริง เรื่องแรกคือขจัดความเหลื่อมล้ำทางการเมือง โดย 3 อย่าง 1.กระจายอำนาจ 2. สร้างพื้นที่ให้ประชาชน 3. ตัดสินอนาคตตนเอง. ด้านการกระจานอำนาจโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองทางตรง นิติบัญญัติ บริหารและตุลากรในมิติ. ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นแทนส่วนภูมิภาคที่รวมศูนย์ ยกเลิกผู้ว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คงไว้อปท. ลดราชการส่วนกลาง  ผลักดันกฏหมายให้มีส่วนร่วมทางการเมือง ผลักดันรัฐธรรมนูญ ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ส่งเสริมให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร  มีเสรีภาพแสดงความคิดเห็น.  ลดขนาดกองทัพ ยกเลิก กอ.รมน. ปรับโครงสร้างความมั่นคงให้สอดคล้องกับสิทธิชุมชน. ยกเลิกคำสั่งคสช 35 ฉบับ แก้กฏหมาย ผลักดันสร้างกระบวนการยุติธรรม

พรชัย พรรคประชาธิปัตย์ – ผมผ่านสนามเลือกตั้งท้องถิ่นและประเทศ การเลือกสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์เพราะพิจารณาแผนนโยบายของพรรคที่มีพื้นฐานประชาชนเป็นใหญ่ ประชาธิปไตยสุจริต นโยบายหลัก คือการแก้จน สร้างคน สร้างชาติแรกเกิดจนตาย เป้าหมายคือต้องการให้ประชาชนมีเงินใช้ พัฒนาบัตรผู้ยากไร้โดยให้ตรง 800 บาท การที่ผ่านระบบบัตรประชารัฐทำให้ซื้อขายได้เฉพาะร้านค้าประชารัฐ  ตัดยี่ปั้ว. ทำให้ระบบรวน  แต่ถ้าให้ตรงจะเกิดการหมุนเวียนในพื้นที่ต่อยอดได้ ส่วนงบผู้สูงอายุ เพิ่มเป็น 1,000  บาทที่จะช่วยแก้จนและหมุนเวียนในระบบ

จำรูญและอานนท์  พรรคภูมิใจไทย – เคยทำงานสหกรณ์ เป็นคณะกรรมการหอการค้าสนใจร่วมพรรคภูมิใจไทย เพราะสโลแกนลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชนเพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน เครื่องมือแก้ไขคือระบบสหกรณ์ ที่ดูแลคนทุกภาคส่วน เป็นระบบสอนประชาธิปไตย ส่วนการพัฒนาพื้นที่เรา มีบุรีรัมย์เป็นต้นแบบ คือหาจุดเด่นของเมือง ทำให้ปากท้องดีขึ้น. จัดงานระดับโลก เอามาต่อยอดชูให้เห็น. นักท่องเที่ยวจะมากขึ้นเศรษฐกิจดีขึ้น. ยกตัวอย่าง ในตัวเมืองสนับสนุนระบบ grab. แม้ภาพรวมยังไม่ถูกกฏหมาย แต่บุรีรัมย์ให้ใช้ เป็นการกระจายรายได้ได้ด้วย

ศุกรี พรรคอนาคตใหม่  -ร่วมพรรคอนาคตใหม่เพราะอยากทำการเมืองสร้างสรรค์ มีความสุขในสังคมสร้างสรรค์ คนเท่าเทียมกัน   สิ่งที่เป็นวิสัยทัศน์ ต้องการนำประเทศกลับสู่ประชาธิปไตย ปากท้องต้องคู่กับประชาธิปไตย  เชื่อว่าปัญหาในอดีตแก้ไขด้วยการกระจายอำนาจ ท้องถิ่นต้องเข้มแข็ง แก้ปัญหาที่ต้นตอไม่ใช่แต่ละประเด็น   พรรคอนาคตใหม่ สนใจวัฒนธรรมและศิลปะ มีนโยบายด้านศิลปะวัฒนธรรมบนพื้นฐานเคารพในสิทธิ ความหลากหลายไม่เลือกปฏิบัติ   ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ชีวิต. ตามสิทธิมนุษยชน. ฟังความเห็นคนในพื้นที่. สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดถ้าไม่กระจายอำนาจ. และสิ่งที่ตามมาคือ การศึกษา และสวัสดิการต่างๆ เกิดจนตาย

วิริยะ  พรรคชาติไทยพัฒา อดีตข้าราชการ เข้าร่วมพรรคชาติไทยพัฒนาเพราะเป็นพรรคที่ก้าวข้ามความขัดแย้ง ร่วมแรงปฏิรูปประเทศไทย สิ่งที่ควรแก้คือความขัดแย้ง     5 หัวข้อที่ตั้งไว้คิดว่า ภาพรวมของทุกหัวข้อคือเรื่องการกระจายอำนาจ ดังนั้นหากได้รับเลือกจะเสนอพรรคและสภา กระจายอำนาจ บทบาทของผู้ว่าฯ เป็นข้าหลวง สัญลักษณ์ส่วนกลางส่งมา แต่การบริหารพื้นที่ เราต้องดูสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่ ให้เขาอยู่ เลือกตั้งผู้ว่าเอง สอดคล้องบริบทสังคม.

ถาม — อะไรคือสิ่งแรกที่ทำได้เลย ถ้าได้เป็น

รูญวิทย์   พรรคภูมิใจไทย  –  ลดอำนาจรัฐโดยทำกฏหมายให้สอดคล้อง เช่น ปัญหาหมู่บ้านป่าแหว่ง ถามคนเชียงใหม่ว่าต้องการไหม เริ่มต้นทำก็ไม่บอก ตอนนี้ต้องใช้หลักนิติศาสตร์ หรือหลักนิติ  วิธีแก้ด้วยการออกกฏหมาย และทำให้เรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์เลย

ดร.จอห์นนพดล พรรคพลังท้องถิ่นไทย  ถ้าได้เข้าสภาก็ต้องเลือกนายก. แต่จุดยืนผมคือ “ไม่เอาคนขี้ตู่ ขอฟื้นฟูท้องถิ่น”  เพราะเราเห็นว่าอำนาจรัฐอยู่ส่วนกลาง ไม่กล้าหาญทางจริยธรรม ไม่ตอบโจทย์ประชาชน.เกิดปัญหา เลยไม่ไว้ใจใครก็ตามที่บอกว่ามีอำนาจแล้วจะทำนั่นนี่ การมาเป็น ส.ส.เพราะต้องการทำได้จริง  คุณเป็น ส.ส.เขต ต้องทำเพื่อคนเชียงใหม่ ปัญหาของเชียงใหม่ต้องผลักดัน. นอกสภาคือค้องส่งเสริมให้ต้องผลักดันให้คนในชุมชนเข้มแข็ง ในฐานะส.ส.ทำนิติบัญญัติทำกฏหมาย แต่นอกสภา ประชาชนท้องถิ่นก็ต้องให้เสนอข้อกฏหมายมาช่วยด้วย   แม้กรณีป่าแหว่ง เป็นเรื่องกฏหมาย เราต้องการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นมีตัวตนเป็นตัวแทนประชาชน แก้ปัญหาอาจไม่ได้ทันที  แต่ต้องทำ

มหวรรณ พรรเสรีรวมไทย –ถ้าพูดกรณีปัญหาหมู่บ้านป่าแหว่ง ผมไม่เห็นด้วยแต่แรก เป็นพลังน้อยๆ แต่เมื่อแกนนำไปรวบรวม  ผู้นำรัฐบาลรับปาก แต่ไม่ปฏิบัติ นี่เป็นอุปสรรค เพราะรัฐบาลไม่ได้มาจากการเลืกตั้งไม่เห็นหัวประชาชน  หากพรรคเข้าสู่สภาพ ท่านเสรีขอคุมกลาโหม เพราะอยากจัดการปฏิรูปกองทัพ   ถ้าไม่ได้เป็นรัฐบาล  – แต่ผมได้เป็น ส.ส.การแก้ปัญหาในพื้นที่มองไว้ 3 ระยะ ระยะสั้น แก้ปัญหาจราจร หน้าที่ของสส.ไม่ใช่โดยตรง แต่โดยอ้อม นำเสนอสะท้อนให้มาแก้ไข เช่นให้ผู้ว่ามาจัดการเพราะได้รับอำนาจสูงสุด แต่ผู้ว่าที่ย้านบ่อยมาถึงก็เวียนถามแต่ละอำเภอกว่าจะครบก็ย้ายไปอีกแล้ว เป็นต้น

ศราวุฒิ  พรรคสามัญชน  เราไม่แน่ใจว่าจะได้เป็นส.ส.หรือไม่ แต่เราไม่ต้องการที่นั่ง เราต้องการที่ยืนในสังคม สิ่งแรกที่คิดว่าควรทำคือ ผลักดันพ.ร.บ. เชียงใหม่มหานคร  จัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจก่อน โดยส.ส.ต้องตั้งกระทู้ถามในรัฐสภาต่อปัญหาของเมืองเชียงใหม่และแปรญัติปัญหาเหล่านี้

ศุกรี พรรคอนาคตใหม่. เราควรแก้ที่ต้นตอ ไม่แก้รายประเด็น. ถ้าเป็น สส ถ้าเป็นรัฐบาล. หมู่บ้านป่าแหว่งตอบได้เลยว่า จะทุบ แต่ถ้าไม่ได้เป็นอย่างน้อย ส.ส. 20 คน มีสิทธิ์ เสนอกฏหมาย  ต้องขอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญสืบหาข้อเท็จจริง หาแนวทางแก้ไขปัญหา   เราจะไม่ให้การทำงานของคนเชียงใหม่สูญเปล่า ขอบคุณองค์กรพัฒนาเอกชนและต้องขอทำงานร่วมกับอนาคตใหม่เมื่อเสนอกรรมาธิการวิสามัญ  ด้านการกระจายอำนาจจะไม่เกิดขึ้นง่าย เพราะการกระจายอำนาจคือจะทำอย่างไรให้คนท้องถิ่นเลือกคนท้องถิ่น  มีอิสระด้านงบประมาณด้วย ถ้ามีคนแต่ไม่มีอิสระทางงบประมาณ ก็จะไม่งอกเงย   ความคล่องตัวในการบริหารท้องถิ่น คือภาษี  และที่สุดต้องแก้ต้นตอ คือแก้รัฐธรรมนูญ เปลี่ยนแปลงข้อกฏหมายที่ไม่สอดคล้องกับการกระจายอำนาจ

วิริยะ พรรคชาติไทยพัฒนา   – ยังไม่แน่ใจว่าจะประกาศการเป็น สสได้ไวหรือไม่เพราะอาจไม่สามารถทำหน้าที่ไม่ได้เร็ว. แต่สำหรับกรณีปัญหาป่าแหว่ง  ถือว่เป็นตำนาน พื้นที่ 22,787  ไร่ เรียกว่าเป็นป่าเตรียมการเพราะยุคนั้น ยังไม่มีอุทยานแห่งชาติ จำแนกโดยกรมพัฒนาที่ดิน. ยกให้ทหาร  ปัจจุบันพื้นที่นี่ อะไรอยู่ตรงไหนบ้าง  ตลอดแนวยาวนั้นควรจะตรวจสอบ

พรชัย  พรรคประชาธิปัตย์ – ภาคประชาชนมีความสำเร็จอยู่แล้ว ถ้าที่ผ่านมาไม่ทำอะไร สวนข้างโรงเรียนเรยีนาจะไม่เกิน ป่าแหว่งก็ต้องมีคนอยู่  คูคลองแม่ข่าไม่พัฒนา  ส่วนการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยบทบาทในและนอกสภา  ประชาธิปัตย์มีนโยบายจังหวัดจัดการตนเอง  ที่ยกเว้นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ การค้าระหว่างประเทศ เงินตรา กิจการทางศาล  เท่านั้น  และกลไกต้องมีสภาพลเมืองที่ต้องดำเนินการยกระดับให้เป็นคณะกรรมการที่ถูกต้องตามกฏหมาย  และจะผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางกฏหมายเกี่ยวกับพื้นที่ป่า  กระบวนการบังคับใช้กฏหมายต้องพิสูจน์และแก้ไข  กิจกรรมอีไอเอ นำมาบังคับใช้ในโครงการใหญ่บนภูเขาหรือไม่ต้องตรวจสอบ

คำถามเรื่องการจัดการที่ดินและที่อยู่อาศัย จากคุณศราวุฒิ กลุ่มใจบ้านเรื่องการจัดการที่ดิน

 คุณศราวุฒิ กลุ่มใจบ้าน“ อยากสอบถามเรื่องที่ดินในเมืองเชียงใหม่  ที่ดินมี 2 ส่วน 1.ที่ดินรัฐ เช่นที่ธนารักษ์ กรมศิลป์ เทศบาลที่กระจัดกระจาย  จะทำอย่างไร 2. ที่ดินเอกชนมีการเปลี่ยนสิทธิ์เยอะมาก  คนั้งเดิมจะเริ่มตั้งต้นชีวิตอยู่ไม่ได้ ต้องออกไปด้านนอก ทำให้เมืองไม่มีชีวิต จะมีนโยบายจัดการอย่างไรให้เมืองไม่เป็นของคนอื่น”

ตัวแทนคนไร้บ้าน – “ปัญหาปากท้อง-ที่ดินที่อยู่ไม่ชัดเจน และคนอยู่ในป่าไล่ออกมาเป็นคนไร้บ้านล้วนแต่โยงด้านสังคมจะจัดการอย่าง”

 พรชัย พรรคประชาธิปัตย์ –  พรรคมีนโยบายฉโนดสีฟ้าสามารถนำนโยบายมาปฏิบัติในพื้นที่ ในชุมชนแออัดเข้าสู่กระบวนการได้ ที่ผ่านมาที่หลวงถูกนำมาใช้โดยมิชอบ ต่กคนที่เข้าถึงคือธนารักษ์  แต่ปชช.กลับไม่รู้ เห็นว่าท้องถิ่นควรได้เข้าถึงก่อนเอกชน การจราจร เชียงใหม่มี 4 เส้นทางจะเริ่มดำเนินการ แต่ระบบฟีดเดอร์จะจัดต่ออย่างไร ในเส้นทางแต่ละชุดอย่างไร นำผู้คนเข้าถึงได้  ส่วนปัญหาหมอกควันเริ่มปี 50 เติบโตพร้อมโรงงานอาหารสัตว์ แต่การทำข้าวโพดและมันสัมหลังสัมพันธ์กันด้วย ระบบการคุมราคา ขึ้นสูงและลงต่ำเสมอ ควบคู่กับการนำเข้า/ส่งออก. เชียงใหม่เป็นฐานอาหารสัตว์มานาน  เมื่อใดข้าวโพดแพงก็นำเข้ามันสัมปหลัง

รูญวิทย์   พรรคภูมิใจไทย  ตอนนี้ได้มีการร่าง พรบ.ลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจประชาชน  ต่อไปจะรวบรวมเสียงขอแก้กฏหมาย.เชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยว. คนทั่วโลกมา แต่เชียงใหม่มีภูเขา ต้องมีระบบการจัดการบนภูเขา รอบนอกเป็นชนบทและในเมือง ดูสิ่งแวดล้อม มีกฏหมายอยู่แต่เอาจริงบังคับใช้   ใช้ระบบสหกรณ์มาใช้ เป็นสกรณ์นิคมแม่แจ่มไม่มีสิทธิขาย  มีกฏหมายอยู่แล้ว ในเมืองต้องจับเอามาไว้บนโต๊ะ และใช้ประโยชน์ จัดสรร โซนนิ่งได้

วิริยะ. พรรคชาติไทยพัฒนา.  ข้อเสนอเลือกผู้ว่าเองผ่านสภาประชาชนจะแก้ปัญหาได้หลายเรื่อง เรื่องการตีความคำว่าป่าคือที่ดินที่ที่ไม่มีเจ้าของ. ทำให้มีปัญหามากมาย. ถ้าไม่แก้ไขในระดับพื้นที่ ป่าคือที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลได้มาตามกฏหมายที่ดิน  ปัจจุบันที่ริมน้ำจะสร้างอะไรก็ต้องขอกรมป่าไม้ ซึ่งมีปัญหากับเทศบาล/กรมเจ้าท่า  ที่บอกว่าต้องผ่านป่าไม้ก่อน เรื่องลักษณะนี้ต้องแก้ไขระดับพื้นที่ ผ่านสภาประชาชนของเชียงใหม่

มหวรรณ พรรคเสรีรวมไทย – เรื่องหมอกควันอำนาจตรงจาะรัฐบาลกลางมอบให้ ผู้ว่าฯ ว่าจะแก้อย่างไร  การเผาเล็กน้อยเมื่อก่อนไม่มีปัญหา ยุคหลังมีนายทุนไปให้ชาวไร่ปลูกข้าวโพด  เทือกเขาทั้งเทือกเป็นซังข้าวโพด เป็นควันจากรอบนอกจากนายทุนเห็นแก่ตัว

ศุกรี พรรอนาคตใหม่-  ถ้าประชาชนในท้องถิ่นรวมตัวกัน ให้เกิดกระจายอำนาจที่แท้จริง  ทั้งหมดที่เราพูดเป็นเรื่องที่เกิดอดีต เช่นหมอกควันไม่สามารถจะเปลี่ยนวิถีชีวิตได้ทันที เมื่อปี 60 ลดการเผาแต่หมอกควันก็ยังมีอยู่ วิถีคนเมือง ให้ลดการใช้รถยนต์ ปิดแอร์ เราก็ทำไม่ได้ แต่ต้องผสมผสานร่วมมือกันและยังมีหมอควันข้ามแดนไม่อยากให้โทษกัน  ต้องแก้ต้นเหตุ  เช่นถ้าปัญหาโยงการจรจาด้วย  การหาทางออกด้วยการขนส่งระบบรางและระบบเชื่อมโยง  ผู้ที่จะแก้ไขปัญหานั้นคือเรา ข้อมูลตอนนิ้คนที่เจอกับปัญหาหมอกควัน 40 คนใน 1 แสน จะเป็นโรคปอด และการเติบโตของต้นข้าวลดลง 50 เปอร์เซนต์

ศราวุฒิ  พรรคสามัญชน   ด้านที่ดิน มีนโยบายกระจายการถือครองที่ดินของเอกชนรายใหญ่ เพื่อเพิ่มสัดส่วนที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้  15 ไร่ต่อครอบครัว ผลักดันใช้ประโยชน์ที่ดินจากรัฐแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้คนรายได้น้อย   วางแผนที่ดินเกษตร เข้าสินเชื่อไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ต่อปี  คำถามว่าจะเริ่มต้นที่ไหน   การเมืองที่สามัญชนนำเสนอคือออกมาพูดปัญหาของเราและผู้แทนนำปัญหาของประชาชนเข้าไปพูด  เพราะที่ผ่านมาแค่คนเก่งและมีโปรไฟล์ดี ไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหา ยังมีนโยบาลที่เกิดผลกระทบกับประชาชน

มานพ พรรคอนาคตใหม่  -ผมทำงานภาคประชาสังคมด้านป่าไม้ที่ดินมาโดยตลอด พบว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่เข้าไปสู่โครงสร้าง ปัญหาคนในเมืองกับป่าเมื่อก่อนไม่มีความห่างในแง่ความสัมพันธ์ และความเท่าเทียม  และคุยกับพี่น้องนักพัฒนาจะผลักดัน สภาชนเผ่าพื้นเมืองเป็นกฏหมาย ให้เกิดการยอมรับความหลากหลายวัฒนธรรม และชาติพันธ์ มีเขตวัฒนธรรมพิเศษ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็น ส่วนปัญหาสิ่งแวดล้อม ไฟป่า หมอกควัน  ผมคิดว่า เรื่องที่ดินในเมือง ที่ดินในป่าป่า หมอกควัน  เป็นเรื่องเดียวกัน  ที่ดินในเมืองกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มทุน ที่เก็งกำไร ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น  ส่วนที่อยู่ในเขตป่าคน 14 ล้านคน อยู่แบบผิดกฏหมาย ขาดโอกาสการเข้าถึงการพัฒนา  ปลูกข้าวโพด เพราะทำวนเกษตรไม่ได้ แต่ถ้าปลูกข้าวโพดพื้นที่ใช้ไม่ต่อเนื่อง ไม่มีตอไม้ ทำได้ จะให้ทำอย่างไร ที่ดินบนพื้นที่สูงขาดการรับรองสิทธิในทางกฏหมาย  เมื่อเป็นเช่นนั้น บางส่วน ต้องหนีไปอยู่ในเมือง  ทำอย่างไรจะให้คนที่อยู่ในเขตป่า 14 ล้านคนชอบด้วยกฏหมาย  รูปแบบอย่างไร บางที่เปราะบางทางสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ให้ฉโนดไปเลยก็ต้องไปอยู่กับนายทุนจะทำอย่างไร  แนวคิดเรื่องระบบสิทธิ์ร่วมกันเลยเป็นข้อเสนอ     อย่างไรก็ต้องต่อสู้เรื่องนี้  หาพื้นที่รูปธรรมให้เป็นฐานข้อมูล ให้รับรู้ว่ารูปธรรมที่ยั่งยืนเป็นอย่างไร และออกเป็นข้อกฏหมาย ทำให้ชอบด้วยกฏหมาย

มหวรรณ พรรคเสรีรวมไทย – อยากจะพูดเรื่อบบ้านป่าแหว่ง ตนยืนเคียงข้างไม่เห็นด้วยเพราะสร้างบ้านบนหัวใจของคนเชียงใหม่ และจะฟื้นฟูป่าได้อย่างไรถ้าไม่รื้อ

พรชัย พรรคประชาธิปัตย์ – แนวทางของประชาธิปัตย์บ้านราคาสูง ต้องเสียภาษีตามราคาบ้าน ที่ดินรกร้างจะเสียภาษีสูงมาอันนี้จะเริ่ม   ฉโนดสีฟ้าจัดการพื้นที่ป่า สปก.4-01 ค้ำประกันได้เอาเงินกู้ลงทุนการเกษตร ผ่านธนาคารที่ดิน  ประเด็นสำคัญคือ ปัญหาในเมือง  แต่ว่าได้มีการริเริ่มกิจกรรมถนนคนเดิน ท่าแพ วัวลาย ราชดำเนิน นำอาชีพไปสู่บ้าน ทำให้มีรายได้ ขายทุกคน เป็นหน้าตาสู่คนภายนอก อัตราการขายที่อยู่ให้เป็นโรงแรมในเขตเมืองถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับที่อื่น  เมื่อคนในเมืองมีรายได้ ย้ายถิ่นลดลง ขายที่เนื่องจากไม่มีเงินจะน้อยลง ต่อยอดธุรกิจจากอารยธรรมล้านนา ยอกตัวอย่าง ถ้าให้ใส่ผ้าพื้นเมือง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผ้าพื้นเมืองจะเกิดขึ้น  การจ้างงานมากขึ้นเป็นต้น

ศุกรี พรรคอนาคตใหม่ –  คิดว่าควรต้องออกนโยบายข้อกฏหมายเฉพาะเรื่อง ต้องทำนโยบายเฉพาะพื้นที่ลงไปอีก ที่ดิน มีการอภิปรายมากมาย ที่ดินเอกชน มีข้อปลีกย่อย  ควรมีโซนนิ่งทีดินที่เชื่อมกับการวางผังเมือง ซึ่งทั้งหมดก็ไม่หนีการกระจายอำนาจ  ที่ควรเลือกผู้บริหารได้เอง จัดสรรงบประมาณ และแก้โครงสร้าง

คำถามจากชาวเชียงใหม่

“แก้ปัญหาการเก็บเห็ดถอบจนเกิดหมอกควัน /ระบบขนส่งมวลชนในเมืองซึ่งล้วนเป็นสาเหตุ pm2.5

ศุกรี พรรคอนาคตใหม่ – สนับสนุน Advance Argiculture  ที่ใช้เทคโนโลยีช่วยพัฒนาด้านการเกษตรกรก้าวหน้า  โดยการต่อยอดเทคโนโลยีให้เห็ดถอบสามารถเพาะและเติบโตในเมืองได้โดยไม่ต้องเผาป่า เห็ดถอบโตในเมืองได้  ไม่ต้องไปเผาป่า

วิริยะ พรรคชาติไทยพัฒนา –  กรณีที่ดิน คิดว่าในส่วนของเอกชนอาจนำมาซึ่งความขัดแย้ง  ปัจจุบันมีข้อพิพากระหว่างประชาชนกับรัฐเรื่องที่ดินมาก และที่ดินอยู่ในมือนายทุนเยอะมาก จำเป็นจะต้องรีเซ็ทเรื่องที่ดิน กรณีที่ดิน สปก.ก็ไปอยู่มือนายทุน ใช้สิทธิกฏหมายลักษณะมอบสิทธ์ครอบครองก็มี กรณีระบบขนส่งมวลชน ปัจจุบันเชียงใหม่เจริญมากต้องแก้ไขพร้อมกัน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ต้องคุมการจราจรในเขตคูเมือง ที่มีวิถีสังคมวัฒนรรม วัดวาอาราม ที่คนมาท่องเที่ยว ถ่ายรูป มากมาย สามารถทำให้เกิดการท่องเที่ยวได้  เราจะต้องคุมภายในและออกระเบียบเทศบาลเฉพาะกิจได้หรือไม่   ส่วนพื้นที่บริเวณถนนวงแหวน จุดนิคมอุตสาหกรรมลำพูนมาก็สร้างทางและไม่ให้รถใหญ่เข้า มีระบบส่งต่อซึ่งควรลงทุนตรงนี้  ส่วนเรื่องเห็นถอบ   สปอร์เห็นถอบจะอยู่ในป่าเต็งรัง แต่เห็ดโคนจะอยู่ในป่าเบญจพรรณ  มีไผ่ มีต้นไม้ขึ้น ราคาแพงกว่าเห็นถอบ ต้องแก้ระยะยาวเปลี่ยนแปลงสภาพป่า ที่ห้วยห้องไคร้ไม่ให้เกิดไปป่า จัดการให้ป่าแบญจพรรณมาแทนป่าเต็งรัง มีเห็นโคน ผักหวานขึ้นทดแทนได้โดยธรรมชาติ

มหวรรณ  พรรคเสรีรวมไทย – อยากให้ความสำคัญแก้ไขเรื่องปัญหาน้ำท่วม  ย่านกาดก้อม หลังเลือกตั้งใหญ่ ก็จะเลือกผู้นำท้องถิ่น อบจ. เทศบาล ปัญหาน้ำท่วมต้องแก้ไข. เช่นที่คลองแม่ข่าหลายองค์กรไปร่วมแก้ไข และอยากส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกมิติ

 พรชัย พรรคประชาธิปัตย์ – นโยบายการขยายพื้นที่ป่า 160 ล้านไร่ นั่นคือเพิ่มอีก 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นปัญหาหมู่บ้านป่าแหว่ง จัดการโดยขยายพื้นที่ป่าครอบคลุมพื้นที่ป่าแหว่ง  ส่วนการขยายพื้นที่การปลูกป่า 30 เปอร์เซ็นต์เป็นป่าอนุรักษ์ อีก 10 เปอร์เซ็นต์เป็นป่าชุมชน  ซึ่งต้องเป็นป่าเศรษฐกิจ มีรายได้ได้    การสร้างระบบ feeder ในเขตเมืองมีความจำเป็น พื้นที่บางที่ต้องห้ามรถบางชนิดเข้า  เรื่องฝุ่นควัน มลพิษเติบโต ต้องมาตรการฐานโลกผู้ก่อมลพิษต้องร่วมรับผิดชอบ  อย่างไรก็ตามสามารถทำได้ในระดับท้องถิ่น  เช่นสามารถใช้การจ่ายภาษีน้ำเสียควบคู่กับน้ำดีได้

ศราวุฒิ  พรรคสามัญชน  ข้อเสนอของสามัญชนคือผลักดัน พ.ร.บ.อากาศบริสุทธิ์ กำหนดมาตราฐานการปล่อยมลพิษออกสู่แวดล้อม ซึ่งสมารถฟ้องรัฐได้ถ้าไม่บังคับใช้กฏหมาย ด้านสวัสดิการกรณีคนไร้บ้านไร้รัฐ  ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิต่างๆ การศึกษา การพยาบาล  ส่วนกรณีเห็ดถอบคิดว่าต้องมองหลายปัญหามาเชื่อม ปัญหาป่าแหว่งเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจุดเดียวไม่ได้ ทุกปัญหาเชื่อมโยงกับกฏหมายและการบังคับใช้ในพื้นที่ แต่แค่พรรคสามัญชนหรือพรรคใดพรรคหนึ่งอาจเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องร่วมมือกันผลักดันแก้ไขร่วมกัน  สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลทหารคือตอนนี้กฏหมายออกมาเรื่อยๆ แม้แต่ตอนนี้ สนช ก็ยังออก เห็นว่าควรหยุดบทบาท

ศุกรี พรรคอนาคต – เห็นว่าคนรุ่นเก่ารุ่นใหม่สามารถเดินหน้าไปด้วยกันได้ มีนโยบายผู้สูงอายุเพิ่มเบี้ย 600 เป็น 1,800บาทเพื่อ ลดภาระลูกหลาน. นศ.มีการกำหนดอายุ 18-22 ปี มีเงินเดือน 2,000 บาท  ด้วยเป็นต้น

สุดท้ายก่อนจบเวทีไป  วงคุยให้นักการเมืองเปิดใจกันอีกคนละสักนิด  แต่ละพรรคได้แสดงความเห็นต่อการทำงานต่อไปเพื่อเมืองเชียงใหม่  คุณมหวรรณ จากพรรคเสรีรวมใจ ยืนยันสนับสนุนการคัดค้านหมู่บ้านป่าแหว่ง   คุณศราวุฒิ  พรรคสามัญชน  บอกว่ามองการทำงานระยะยาว เนื่องจากพรรคเกิดจากลุ่มนักกิจกรรมทางสังคม ที่เห็นว่าจะต้องออกไปพูดปัญหาตัวเองผ่านพื้นที่รัฐสภา ต้องสนับสนุนต่อเนื่อง ยังคงช่วยขับเคลื่อนกรณีป่าแหว่ง  คุณจำรูญ   พรรคภูมิใจไทย  บอกว่ายังคงประสานงานกับประชาชนต่อไป  คุณชำนาญ พรรคอนาคตใหม่ –ชื่นชมเวทีนี้ที่ไม่ใช่ดีเบท เพราะไม่เหน็บ ไม่แขวะและสนใจปัญหาเชียงใหม่   คุณวิระยะ พรรคชาติไทยพัฒนา เสนอว่าถ้าแม้จะสอบตกมารวมกลุ่มเพื่อเมืองเชียงใหม่ว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร ส่วนปัญหาใหญ่เรื่องป่าแหว่ง สุดท้ายเห็นว่าต้องรื้อ ให้เทคนิคธรรมชาติพื้นป่าขึ้นมา   คุณศุกรี พรรคอนาคต – จะไม่ทำงานเฉพาะเลือกตั้ง จะทำงานต่อไปเรื่อยๆ และอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย  คุณพรชัย พรรคประชาธิปัตย์ก็บอกว่า แม้จะสอบตกมาแล้ว 4 ครั้ง แต่ก็ยังคงทำงานต่อไป   คุณจอห์นพดล จากพรรคพลังท้องถิ่นไทย บอกว่า ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวเฉพาะด้าน  แต่วันนี้ได้พาครอบครัวมาเรียนรู้ทำบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่แบบนี้ แม้ในบรรยากาศเลือกตั้ง เชื่อว่าบทบาทนี้อยู่และเข้มแข็งมากขึ้น ใครก็ตามเป็นผู้แทนต้องมาส่งเสริมบาทที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมโปร่งใสตรวจสอบได้

อย่างน้อย เวทีนี้ทำให้คนเชียงใหม่ได้มองเห็นตัวตน วิสัยทัศน์ และมุมมองของตัวแทนผู้สมัครของแต่ละพรรคว่ามีความมุ่งมั่นคือการเลือกตั้ง 62  ที่จะถึงนี้อย่างไร

.

ทีม The Nort องศาเหนือ – รายงาน

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ