เลือกตั้ง 62 : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองเพื่อแก้โจทย์ที่ดิน

เลือกตั้ง 62 : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองเพื่อแก้โจทย์ที่ดิน

เลือกตั้ง 62 แก้โจทย์ที่ดินให้ตอบโจทย์ประชาชน ออกข้อสอบวัดใจพรรคการเมือง 

     เรื่องที่ดินเป็นโจทย์ใหญ่ของประเทศ   คนที่ผู้อาสามาบริหารประเทศต้องมีแนวทางที่ชัดเจนและตอบสนองคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ประชาชนผู้อยู่กับสถานการณ์ปัญหาที่ดินหลายรูปแบบ ทั้งเขตเมือง ชนบท ป่า รวมทั้งกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงสิทธิใช้ที่ดินหลายรูปแบบ พัฒนาข้อเสนอต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ที่จะมีการเลือกตั้งเร็ววันนี้ต่อพรรคการเมืองทุกพรรค  ดังนี้

หลักการที่ควรยึด

–  การปฏิรูปที่ดินต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย  เพื่อสร้างความเป็นธรรม  ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
-กำรเข้ำถึงที่ดินและที่อยู่อาศัยเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน  การบริหารจัดการที่ดินต้องดำเนินไป บนพื้นฐานการเคารพสิทธิมนุษยชน  และเคารพวิถีวัฒนธรรม
-นโยบายที่ดิน  ต้องไม่นำมาบังคับใช้ย้อนหลังกับประชาชน
-การดำเนินการทางกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม  ควรให้ความสำคัญและการนำข้อเท็จจริงทางประวัติศำสตร์ชุมชน  รวมทั้งเปิดโอกาสให้ ผู้ถูกดำเนินคดีได้มีโอกาสโต้แย้ง  หรือหักล้างข้อกล่าวหาอย่ำงเท่ำเทียม  มิใช่พิจารณาเพียงเอกสารทางราชการ

ด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

-รัฐจะต้องกำหนดมาตรการในเชิงกฎหมายเพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างแท้จริง และสนับสนุนให้คนจนสามารถเข้ำถึงที่ดินได้อย่างเป็นธรรม ดำเนินการรับรองสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรร่วมกัน ได้แก่ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า  พระราชบัญญัติกองทุนธนาคารที่ดิน  พระราชบัญญัติสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรใน รูปแบบโฉนดชุมชน

 

กรณีนโยบายที่ดิน คทช. (คณะกรรมกำรนโยบำยที่ดินแห่งชำติ/มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน)

-ยกระดับการดำเนินโครงการจัดที่ดินแปลงรวม คทช.  ให้รับรองสิทธิชุมชนและสถาบันเกษตรกรในการ บริหารจัดการที่ดิน

-ทบทวนการจัดที่ดินแปลงรวมตามนโยบาย คทช.  และเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อย  คนยากจน  ไร้ที่ดิน  ให้สามารถเข้าถึงที่ดินและปัจจัยการผลิตอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม  ไม่จำกัดโอกาสการ เข้ำถึงที่ดินของเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้สามารถพัฒนาและขยายกำลังการผลิต และแข่งขันได้

-ยุติการนำนโยบาย  มติ  และระเบียบของ คทช.มาใช้กับชุมชนที่มีรูปแบบการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน  แต่รัฐบาลควร สนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่

-ทบทวนมติ คทช. วันที่ 18 มิถุนายน 2561 เกี่ยวกับพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่ำ ไม้ (ทุกประเภท)  เนื่องจากแนวทางการแก้ไขปัญหาตามมติดังกล่าว  อำจสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงกับ ชุมชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1, 2   ชุมชนชาวเล และชุมชนชำยฝั่ง

กรณีทวงคืนผืนป่า

-ยุตินโยบายทวงคืนผืนป่ำ และยกเลิกแผนแม่บทแก้ไขปัญหา  การทำลาย ทรัพยากรป่่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ  และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  เพราะการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวส่งผลให้มีการละเมิด  คุกคามชีวิต  ทรัพย์สินและส่งผลกระทบกับชุมชนทั่วประเทศ  รวมทั้งกระบวนการในการจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย

-ชะลอการดำเนินการประกาศอุทยานแห่งชำติไว้ก่อน  และจัดตั้งกลไกให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดสำรวจแนวเขตเพื่อกันพื้นที่ท ำกิน  ที่อยู่อาศัย  และพื้นที่ป่ำชุมชนออกจากเขตอุทยำนฯ และการประกาศแนวเขต  โดยการกำหนดแนวเขตเตรียมกำรประกาศอุทยานฯ ต้องผ่านความเห็นชอบจาก สภาท้องถิ่นก่อน จึงจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้

-นำยกรัฐมนตรีลงนามรับรองร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฉบับประชาชน (เนื่องจากเป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการเงิน) เพื่อให้ สามารถเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ควบคู่กับร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ำฉบับของรัฐบาล  และเนื้อหากฎหมายทั้งสองฉบับต้องสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน  และกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

การสนับสนุนโฉนดชุมชน

-ปรับปรุงกลไก  มาตรการและกระบวนการอนุญาต  และลดข้อจำกัด การจัดการจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน  (อาทิ ตามมาตรา 9 , มาตรา 12 ประมวลกฎหมายที่ดิน)

-ผลักดันให้คณะรัฐมนตรีมีมติคุ้มครองพื้นที่โฉนดชุมชน 486 แห่งให้เป็นไปตามมติการประชุมคณะกรรมการ ประสานงานให้มีโฉนดชุมชน  ครั้งที่  1/2561  วันที่ 8 สิงหาคม 2561 และประสานงานให้มีการจัดที่ดินให้แก่ ประชาชน

-ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541  รวมทั้งมติอื่นที่เป็นอุปสรรคในการบริหาร จัดการที่ดินโดยชุมชน  อาทิ  มติคณะรัฐมนตรีในการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ กรณีที่ดินสาธารณประโยชน์  ปรับปรุงกลไกและกระบวนการการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน สาธารณประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบกฎหมายทั้งกรณีโฉนดที่ดิน  และการประกาศที่สาธารณะซ้อนทับที่ดิน ของประชาชน กรณีที่ดินเอกชนทิ้งร้าง

กรณีที่ดินที่ปล่อยทิ้งร้าง

ตามมาตรา 6 ประมวลกฎหมายที่ดิน จัดให้มี กลไก หน่วยงานเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบ  และเพิกถอนเอกสารสิทธิ์    กรณีพื้นที่ชนเผ่า ชาติพันธุ์ และชนพื้นเมือง

-คุ้มครองสิทธิชนเผ่่า  กลุ่มชาติพันธุ์  และชนพื้นเมือง  ตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน  ข้อตกลง  และปฏิญญาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน  สิทธิ ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม  สิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในการถือครองและใช้ทรัพยากรธรรมชำติ

– สั่งการให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล  วันที่ 2 มิถุนายน 2553  และการฟื้นฟู ชีวิตชาวกระเหรี่ยง  วันที่ 3 สิงหำคม 2553  โดยเฉพาะการประกาศเขตคุ้มครองวัฒนธรรมพิเศษ

– การกันเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัยของชุมชน พื้นที่ทำกิน  และพื้นที่ทางจิตวิญญำณ ก่อนการประกาศเขตอนุรักษ์  โดยชุมชน มีส่วนร่วมในการกันเขตพื้นที่ต่างๆ  4) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยให้สังคมเกิดความเข้ำใจ  และ ยอมรับวิถีชีวิตของกลุ่มชนเผ่ำ  ชาติพันธุ์  และชนพื้นเมือง

กรณีที่ดินในเมือง เพื่อสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย

-ที่ดินรัฐที่หน่วยงานต่าง ๆ ครอบครองไว้ จำนวนมาก และไม่ได้ใช้ประโยชน์  เช่น  ที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย  ที่ดินราชพัสดุ  ที่ดินสาธารณะ  รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ในการนำที่ดินเหล่านั้นมาพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย รองรับคนจนเมืองใน รูปแบบกรรมสิทธิ์ร่วมกันของชุมชน จึงจะสอดคล้องกับสถานะทางเศรษฐกิจของกลุ่มคนเหล่านั้น  เนื่องจากไม่ ต้องแบกรับต้นทุนด้านที่ดิน และที่ดินรัฐจำนวนมากอยู่ในเขตเมือง หรือใกล้เมือง เป็นการลดผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และอาชีพ  นอกจากนั้นยังลดต้นทุนในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค  การใช้ที่ดินรัฐ เพื่อจัดทำโครงการที่อยู่อาศัย จึงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

-ในการจัดทำผังเมือง  ควรให้คนจน เมืองได้มีส่วนในการกำหนดทิศทางของการพัฒนาเมืองในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนหนึ่งที่สร้างการเติบโตและหล่อเลี้ยงคนในเมืองให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ยากล ำบาก  ต้องรับฟังความเห็นของคนจนเมืองที่จะได้รับผลกระทบ โดยตรง  โดยกำหนดผังเมืองแบบผสมผสานระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจและที่อยู่อาศัยไว้ในพื้นที่เดียวกันไว้อย่างชัดเจน  ทั้งนี้เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองกับที่อยู่อาศัยเป็นไปในลักษณะคู่ขนาน  โดยมิให้ที่ดิน บริเวณที่อยู่อาศัยมีราคาสูง  เพื่อให้คนจนสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้ในเมือง

– กำรพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่  โดยเฉพาะคนจนที่ต้องเสียสละที่อยู่อาศัยเดิมให้กับโครงกำรพัฒนาต่างๆ  รัฐบาลควรมีนโยบายให้ หน่วยงานรัฐที่ดำเนินโครงการคิดงบประมาณในการอุดหนุนด้านการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและการพัฒนา สาธารณูปโภคเป็นต้นทุนในโครงการ  เพื่อให้ประชาชนที่เสียสละให้กับการพัฒนาและต้องโยกย้ายหรือต้องขยับปรับปรุงที่อยู่อาศัยใหม่  สามารถนำงบประมาณที่ได้รับไปจัดสร้ำงโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ได้  และที่ สำคัญเป็นการลดภาวะความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐที่ดำเนินโครงการกับประชาชนในพื้นที่

กรณีภัยพิบัติ

-ปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550  ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการเตรียมความพร้อมการป้องกันภัยพิบัติโดย ชุมชน  มากว่ำการเยียวยาหลังการเกิดภัยพิบัติ   และจัดให้มีเวทีประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นสาธารณะ ก่อนการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติ

-เพิ่มคำนิยามคำว่า ‘สาธารณภัย’  ให้ครอบคลุมภัยที่กระทบต่อ สังคม  การกัดเซาะชายฝั่ง  ภัยที่เกิดจากการดำเนินนโยบายและโครงการของรัฐ  เช่น  การสร้างอ่างเก็บน้ำ   รวมถึงการให้ความช่วยเหลือทุกคนที่เป็นผู้ประสบภัยโดยเท่าเทียม  โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติอันเนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ

-กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต้องให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยง  ทั้งในมิติของการจัดการระดับท้องถิ่น  เช่น  การอพยพ  สิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับภัยนั้นๆ  และส่งเสริมการ กระจายอำนำจให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดการลดความเสี่ยงภัยเป็นหลัก

-ไม่เปิดโอกาส ให้การประกาศสาธารณภัยเป็นสาเหตุของการแย่งชิงที่ดิน  เช่น  การประกาศสาธารณภัยแล้วให้ประชาชน ออกไปจากพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย

กรณีเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

-ในการพัฒนำเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  ต้องคำนึงถึงการวางผังเมือง  การปกป้องพื้นที่ เกษตรกรรมชั้นดี  ไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม

-การเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและร่วมออกแบบในกระบวนการพัฒนาของรัฐ  บนหลักการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

– รัฐ จะต้องจัดการผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่าง  ชุมชน  รัฐ  และนักลงทุน  หากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ พิเศษและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งให้กับนักธุรกิจ  ชาวบ้นนก็ไม่ควรต้องเป็นผู้เสียสละด้วยการถูกพรากสิทธิที่ดิน

พัฒนาข้อเสนอโดย

เครือข่ายขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

มูลนิธิชุมชนไท

มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย

เครือข่ายสลัม 4   ภาค

ร่วมกับสภาองค์กรชุมชน โดยคณะกรรมการประสานงานองค์การเอกชน (กป.อพช.)นำเสนอต่อพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2562  ที่นิด้า

 

ขอบคุณภาพประกอบส่วนหนึ่ง จากมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ