ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก ยิ่งเล็ก ยิ่งร้าย

ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก ยิ่งเล็ก ยิ่งร้าย

“PM2.5 ฝุ่นละอองพิษขนาดเล็ก ยิ่งเล็ก ยิ่งร้าย”

.นพ. ชายชาญ โพธิรัตน์

คนกรุงเทพฯ คงคุ้นชินกับข่าวหมอกควันพิษปกคลุมเหนือท้องฟ้าของเมืองเชียงใหม่ และจังหวัดอื่นๆโดยรอบในภาคเหนือตอนบนในทุกๆช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนมานานกว่า10ปี   แต่ปีนี้ปัญหาหมอกควันหรือฝุ่นละอองพิษกลับมาก่อปัญหาร้ายแรงในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตั้งแต่ปลายธันวาคมจนถึงปัจจุบัน ท่านทราบหรือไม่ว่า หมอกควันเหล่านี้ยิ่งเล็ก ยิ่งไม่ธรรมดาสำหรับร่างกายของมนุษย์อย่างเราๆ หลายๆคนอาจได้รับผลกระทบรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ศ.นพ. ชายชาญ โพธิรัตน์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้หนึ่งที่ได้เริ่มชี้ประเด็นให้สาธารณะทราบและตระหนักถึงพิษภัยฝุ่นควันขนาดจิ๋วนี้ และได้ศึกษาผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่มาอย่างต่อเนื่อง  ได้กล่าวถึงปัญหา ฝุ่นควันพิษขนาดจิ๋วหรือหรือ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาคุกคามชีวิตและสุขภาพของคนกรุงเทพมหานครในขณะนี้ ไว้หลายประเด็น

ถาม : ผลกระทบของฝุ่นละอองพิษ PM2.5 ต่อสุขภาพ ?

ยิ่งเล็ก ยิ่งร้าย เพราะขนาดของฝุ่นละอองเล็กๆสามมารถไชชอนเข้าสู่ส่วนลึกของระบบการหายใจได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว นอกจากนี้ ฝุ่นละอองเหล่านี้ยังสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่สูดดมเข้าไปได้โดยตรงอีกด้วย ดังนั้น ผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วเหล่านี้จึงมีมากมาย พอสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้

1.ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นควันในระยะสั้น  เพิ่มอัตราการเสียชีวิตรายวัน จากโรคปอดอักเสบ โรคหัวใจและ​หลอดเลือดสมอง จากข้อมูลในประเทศที่พัฒนาแล้ว​ อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ได้รับฝุ่นเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น 0.4-0.6% ต่อปริมาณฝุ่นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.มม.ของค่าเฉลี่ยรายวันของ PM2.5​  แต่​ในประเทศที่กำลังพัฒนา ​อัตราการเสียชีวิตของผู้คนจะสูงกว่านี้อีกเกือบ 2 เท่า  ในจังหวัดเชียงใหม่การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า PM2.5 เพิ่มอัตราการเสียชีวิตรายวัน 1.6% ต่อปริมาณฝุ่นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.มม.ของค่าเฉลี่ย PM2.5​ ที่วัดได้รายวัน และที่อำเภอเชียงดาวอัตราการเสียชีวิตรายวันดังกล่าวสูงถึง 3.5% .ผลการศึกษาในกทมเอง พบว่าอัตราการเสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้น0.4% ต่อปริมาณฝุ่นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.มม.ของค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นควันพิษขนาดเล็ก(PM10) เช่นกัในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นควันในระยะสั้น อัตราการป่วยของคนที่มาห้องฉุกเฉินหรือต้องนอนรพ.จะสูงขึ้นมาก​โดยเฉพาะจากโรคระบบการหายใจ  โรคหัวใจ และ​หลอดเลือดสมอง

1.ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นควันในระยะสั้น เพิ่มอัตราการเสียชีวิตรายวัน จากโรคปอดอักเสบ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง จากข้อมูลในประเทศที่พัฒนาแล้ว อัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ได้รับฝุ่นเหล่านี้จะเพิ่มขึ้น 0.4-0.6% ต่อปริมาณฝุ่นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.มม.ของค่าเฉลี่ยรายวันของ PM2.5 แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนา อัตราการเสียชีวิตของผู้คนจะสูงกว่านี้อีกเกือบ 2 เท่า ในจังหวัดเชียงใหม่การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า PM2.5 เพิ่มอัตราการเสียชีวิตรายวัน 1.6% ต่อปริมาณฝุ่นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.มม.ของค่าเฉลี่ย PM2.5 ที่วัดได้รายวัน และที่อำเภอเชียงดาวอัตราการเสียชีวิตรายวันดังกล่าวสูงถึง 3.5% .ผลการศึกษาในกทมเอง พบว่าอัตราการเสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้น0.4% ต่อปริมาณฝุ่นทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.มม.ของค่าเฉลี่ยรายวันของฝุ่นควันพิษขนาดเล็ก(PM10) เช่นกัน

2. ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นควันในระยะสั้น อัตราการป่วยของคนที่มาห้องฉุกเฉินหรือต้องนอนรพ.จะสูงขึ้นมากโดยเฉพาะจากโรคระบบการหายใจ โรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง

3. ในรายที่มีการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ไม่ถึงกับต้องมา รพ.ก็อาจ ขาดงาน ขาดเรียน หรือด้อยประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน เพิ่มขึ้นมาก

4. คุณภาพชีวิตแย่ลง

5. ในระยะยาว ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งโรคมะเร็งปอดได้อีกด้วย เพราะฝุ่นเหล่านี้นอกจากมีส่วนผสมของสารพิษต่างๆมากมาย เช่น โลหะหนัก (ปรอท ตะกั่ว ฯลฯ) สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ยังมีสารก่อมะเร็งเป็นส่วนประกอบหลักอีกด้วย

6. ในระยะยาว ชีวิตของประชากรไทยทั้งประเทศจะยืนยาวขึ้นเกือบ 2 ปี คนกรุงเทพฯจะยืนยาวขึ้นอีก 2.4ปี คนพะเยาจะอายุยืนเพิ่มขึ้นอีก 5.6 ปี หากสามารถควบคุมระดับมลพิษรายปีให้อยู่ตามเกณฑ์ที่ WHO กำหนด

ถาม:  แล้วจะป้องกันอย่างไรดี?

1. ใช้หน้ากาก N95 และใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองHEPA โดย…

1.ใส่หน้ากากให้ถูกวิธีกระชับ บีบลวดส่วนบนของหน้ากากให้ฟิตกับรูปจมูก ร่องแก้ม และคาง แล้วทดลองสูดลมหายใจเข้าแรงๆ โดยยังไม่ต้องใช้สายคล้องศีรษะหรือหู โดยหน้ากากยังคงไม่หลุดออกจากใบหน้า

2.ใส่หน้ากากแล้วต้องอดทน อาจจะใส่ได้สบายๆเฉพาะในช่วงแรกๆ (นาน30นาที-1ชม.) แต่ถ้านานกว่านั้นอาจจะอึดอัดบ้าง ควรลดกิจกรรมต่างๆลง เดินช้าๆ ทำงานเบาๆ หน้ากากบางรุ่นมีรูระบายอากาศ (exhaust valve) อาจช่วยให้ใส่ทนได้นานขึ้น


3. หากอยู่ในบ้านหรือในห้องทำงานที่ปิดประตูหน้าต่างเพื่อลดอากาศภายนอกไหลเข้ามามากไป ควรใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีแผ่นกรอง HEPA Filter จะช่วยลดปริมาณฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ลงได้มาก คล้ายกับตอนที่เกิดปัญหานี้ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ก็มีการรณรงค์ “NO HEPA = NO SAFTY” สำหรับคนกรุงเทพฯก็คงไม่ต่างกัน การใช้แผ่นกรอง HEPA filter หรือเครื่องกรองอากาศที่มีแผ่นกรองชนิดนี้ ช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ดี เช่น การศึกษาทดลองที่ผมได้ทำเอง โดยใช้เครื่องตรวจวัดระดับฝุ่นละออง PM 2.5 ขนาดเล็กพกพาได้ วัดค่าตามจุดต่างๆ ในเชียงใหม่ กรุงเทพ และอินเดีย พบว่า

3.1 ขณะที่เรานั่งอยู่ในรถยนต์บีทีเอส แอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟฟ้ามหานคร วัดปริมาณฝุ่นจิ๋วนี้ได้ราว 50% ของปริมาณฝุ่นที่วัดได้จริงในที่โล่ง แต่ในรถแท้กซี่ รถเมล์ปรับอากาศ เรือข้ามเจ้าพระยา ปริมาณฝุ่นควันพิษขนาดจิ๋วไม่แตกต่างกับอากาศข้างนอก

3.2 ขณะที่เรานั่งอยู่ในห้องโถงติดแอร์ทั่วไป เช่น ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ลอบบี้ของโรงแรม หรือห้องทำงานติดแอร์ ยังคงพบปริมาณฝุ่นควันพิษจิ๋วนี้ได้ราว 80-85% ของ ค่าที่วัดได้ในที่โล่งนอกอาคาร จะเห็นว่า ฝุ่นยิ่งเล็ก ยิ่งร้าย หลีกหนียาก แก้ไขยาก

3.3 ในห้องที่เปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรอง HEPA filter ปริมาณฝุ่นจิ๋วจะลดลงเหลือเพียง 20% ของระดับที่วัดได้จริงในที่โล่งจึงเป็นสิ่งจำเป็น

อย่างไรก็ตาม การป้องกันปัญหานี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในระยะยาว ย่อมดีกว่าการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแบบที่กล่าวข้างต้นนี้ หวังว่าปรากฏการณ์ฝุ่นละอองพิษในกรุงเทพฯในปีนึ้จะช่วยให้เกิดการตื่นตัวของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมาร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาของฝุ่นเล็กๆจิ๋วๆ แต่ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงมหาศาลเช่นนี้ ให้ทุเลาเบาบางลงในเวลาอันรวดเร็วต่อไป​. เราควรตระหนักแต่ไม่ตระหนก ภาครัฐ ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงและทางอ้อม ควรจริงจังกับปัญหามลพิษอากาศให้มากขึ้น  ใส่ใจประเด็นชีวิตและสุขภาพประชาชนให้มากขึ้น มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นเฉกเช่นอารยประเทศ

 

บทความเรียบเรียงโดย

อาจารย์ ดร.ว่าน วิริยา

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ