“เกษตรอินทรีย์โดยหลักที่แท้จริงแล้วคือการรักษาสิ่งแวดล้อม ในระบบเกษตรกรรมที่ดูแลดิน ดูแลน้ำ ดูแลระบบนิเวศโดยภาพรวม และเป็นมิตรต่อผู้คนและสังคม”
คุณวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล เลขาธิการมูลนิธิสายใยแผ่นดิน (กรีนเนต) ขึ้นเวทีบอกเล่าเรื่องราวของระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคมไทย เพื่อให้คนในสังคมมีความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้องมากขึ้น
-ชวนทุกท่านมามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าระบบเกษตรอินทรีย์ที่แท้จริงคืออะไร
เกษตรอินทรีย์โดยหลักที่แท้จริงแล้วคือการรักษาสิ่งแวดล้อม ในระบบเกษตรกรรมที่ดูแลดิน ดูแลน้ำ ดูแลระบบนิเวศโดยภาพรวมและเป็นมิตรต่อผู้คนและสังคม
หลายคนมักจะเข้าใจว่าเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องของเกษตรปลอดสาร เป็นเรื่องของผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่มีเคมีปนเปื้อน หรือว่ามีการปนเปื้อนแต่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยถือเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่จริงแล้วในเกษตรอินทรีย์ก็อาจจะมีสารเคมีปนเปื้อนได้ เพราะระบบนิเวศของเราถูกปนเปื้อนค่อนข้างเยอะมาก นอกจากเราจะไปปลูกที่นอกโลก หากนำผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ไปตรวจก็อาจจะพบสารเคมีปนเปื้อนเหมือนกัน แต่การตกค้างไม่ได้เกิดจากเกษตรกรเป็นคนใช้ แต่เกิดจากปนเปื้อน ตกค้างจากระบบนิเวศ ฉะนั้นการที่เจอสารเคมีตกค้างไม่ได้หมายความว่าเกษตรกรไม่ได้ทำอินทรีย์ เกษ๖รกรทำอินทรีย์ เกษตรกรเป็นเหยื่อเพราะว่าถูกระบบนิเวศที่มีสารเคมีมาปนเปื้อนผลผลิตของเขาฟาร์มของเขา
-เกษตรอินทรีย์กับการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจก
ปฎิเสธไม่ได้ว่าการทำเกษตรเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่งผลทำให้อากาศร้อนขึ้น ฝนทิ้งช่วง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบในหลายพื้นที่แตกต่างกัน เป็นผลกระทบเล็กๆที่ต่อเนื่อง มาจากปัจจัยสำคัญคือ หนึ่งการเปิดพื้นที่เพื่อทำการเกษตร อาทิเช่นปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ขนาดใหญ่ สองการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เกิดการตกค้างของไนเตรสในดิน และปล่อยมีเทนด้วยเช่นกัน
แต่เกษตรอินทรีย์ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกได้ และสามารถสร้างระบบการผลิตที่ตรึงไนโตรเจนกลับไปสู่ดินได้ แม้ว่าต้องมีการเตรียมดิน หรือย่อยสลายวัตถุในนา แต่อัตตราการเกิดก๊าซที่ส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจกจะต่ำกว่าเกษตรเคมี
-กับดักของกรอบรับองมาตรฐาน กับการไม่ไปสู่อินทรีย์ที่แท้จริง
การทำเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบันนั้นติดกรอบการตรวจรับรองมาตรฐานเกินไป เป็นความเชื่อของคนส่วนมากที่ไม่ได้ถูกต้องทีเดียว ถ้าเรา “ปลูกกินเองก็ไม่จำเป็นต้องรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” เพราะหากเราไม่เชื่อมั่นในผลผลิตที่เราปลูกเอง ดูแลเองกับมือ แล้วจะไปเชื่อกับการตรวจของบุคคลที่สามได้อย่างไร
การตรวจรับรองมาตรฐานเป็นเครื่องมือกลไกทางการตลาด หากจะขายต้องตรวจ เมื่อมุ่งเน้นไปที่การตรวจมาตรฐาน ส่งผลให้เกิดการทำเป็นแบบง่ายๆ คือ เปลี่ยนแค่ปัจจัยการผลิต เปลี่ยนมาเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงมาเป็นมาเป็นผลิตภัณฑ์จากอินทรีย์ ยาอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์แทน พวกนี้จะผ่านการตรวจรับรอง เพราะระบบเน้นที่เปลี่ยนปัจจัยการผลิต สามารถทำได้ง่าย แค่เปลี่ยนปัจจัยการผลิต เข้ารับการตรวจรับรองก็เสร็จกระบวนการ แต่ไม่นำไปสู่ความยั่งยืน
เกษตรอินทรีย์คือการเปลี่ยนระบบการผลิต การออกแบบกิจกรรมในฟาร์ม ขั้นตอนการทำงาน ที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ดินน้ำ ระบบนิเวศ และความหลากหลายในฟาร์ม
ต้องทำความเข้าใจว่าไม่มีระบบเกษตรใดที่ปลอดสารเคมี เพราะระบบนิเวศปนเปื้อนมาโดยตลอด จากน้ำ อากาศ ละอองสารเคมี ละอองการเผาไหม้สามารถล่องลอยไปไกลมาก จึงมีข้อตกลงร่วมกันว่าเกษตรอินทรีย์ห้ามโฆษณาว่าเราปลอดสาร ปลอดการปนเปื้อนมีอยู่ แต่เป็นการลดการปนเปื้อนในระดับที่เหมาะสม เพราะหากเราจะให้ปลอดการปนเปื้อนจะอาจจะทำให้เราหลุดจากการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะมัวแต่มุ่งเน้นควบคุมระบบเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน
-หัวใจสำคัญของเกษตรอินทรีย์อย่างหนึ่งจัดการดิน ให้อาหารดิน เพื่อดินไปให้อาหารพืช
เกษตรอินทรีย์ต้องสนใจว่ากิจกรรมในฟาร์มจะต้องทำให้ดินดี ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ อย่างเช่น จะเลือกใช้ปุ๋ยพืชสด หรือฟางเพื่อมาใช้ตรึงคาร์บอนกลับไปในดิน แทนการเลือกใช้ปุ๋ยที่มีอินทรียวัตถุต่ำ อย่างพวกขี้ไก่ ที่ไปเน้นให้ธาตุอาหารพืชโดยตรงไม่ให้อาหารแก่ดิน แม้ว่าอาจผ่านการรับรองมาตรฐาน แต่ในระยะยาวจะทำให้ดินจะเสื่อม
“คำถามสำคัญคือจะทำเกษตรอินทรีย์เพื่อรับรองมาตรฐาน หรือเพื่อความยังยืนของระบบสิ่งแวดล้อม”
ทำเกษตรอินทรีย์แล้วผลผลิตลด อาหารจะไม่พอสำหรับประชากรในประเทศ?
เริ่มมีคำถามถึงความยั่งยืนของการทำเกษตรอินทรีย์ มองความมีประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ในเรื่องการลดต้นทุน ราคาผลผลิต อาจจะมีคำถามว่าหากเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์แล้วผลผลิตจะลดลง จนอาหารไม่พอกิน มีงานวิจัยถึงผลผลิตไม่ลดลง หากให้ปัจจัยการผลิตที่ดี ความรู้ที่ดี เปลี่ยนระบบการผลิตได้จริง แต่มีเงื่อนไข คือ ฟาร์มที่เริ่มต้นปรับเปลี่ยนนั้นต้องเป็นฟาร์มที่พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกน้อย กรณีนาข้าวน้ำฝนในอีสาน มีพึ่งปุ๋ยและสารเคมีต่ำ ผลผลิตไม่จำเป็นต้องลด แห่หากเป็นนาในภาคกลาง ที่ใช้ยาฆ่าหญ้า ยาคุมหญ้า ปลูกปีละสามรอบ มีโรคและแมลงเยอะ ผลผลิตย่อมลดเป็นธรรมดา
หากมองภาพรวมของประเทศนาชลประทานมีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ทีเหลือเป็นแบบพึ่งพาการผลิตจากภายนอกต่ำ เมื่อเปลี่ยนผลผลิตจะไม่ลด ถึงแม้ผลผลิตของภาคกลางลด แต่ราคาที่จะเพิ่ม หรือต้นทุนที่ลดลง
-ก้าวสำคัญของสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน
หากมองเชิงนโยบาย ทุกหน่วยงานเห็นด้วยกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ แต่จะสนับสนุนแบบไหน รับรองมาตรฐานฐาน เปลี่ยนระบบ เราจะไปทิศทางไหน แต่สิ่งที่พวกเราอยากเห็น คือเกษตรอินทรีย์ที่เปลี่ยนระบบการผลิต เชื่อมโยง เกื้อกูลในการเปลี่ยนระบบของคนทุกภาคส่วน
เปลี่ยนคน เปลี่ยนเกษตรกร ต้องเปลี่ยนคนที่ไปทำงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ สร้างกองทัพนักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ที่ต้องมองเรื่องเงื่อนไขของพื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน ที่ผ่านมาเป็นโครงการแบบเดียวกันหมด อาจจะสำเร็จในระยะสั้น แต่ไม่ยั่งยืน นักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ต้องรู้จักชาวบ้าน บริบทของพื้นที่ ร่วมกันออกแบบระบบให้ชาวบ้านแต่ละพื้นที่ เริ่มจากวางรากฐานอันนี้ จะช่วยสร้างการปฎิรูปประเทศ
ก้าวสำคัญของผู้บริโภค จะเห็นได้ว่าผู้บริโภค หรือตลาดในต่างประเทศ ไม่ได้สนใจว่าผลผลิตจะได้รับการรับรองมาตรฐานไหน เขาสนใจว่าการผลิตมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างไร จึงเป็นการขาย(story) หรือเรื่องราวในการดูแลระบบนิเวศของฟาร์มมากกว่า
-เกษตรอินทรีย์ 3.0
IFOAM ได้มีงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่ชื่อว่า Organic 3.0. โดยแบ่งยุคของพัฒนาการเป็นสามช่วงสำคัญ คือ 30 ปีก่อน เป็นช่วงเริ่มต้น เกิดนักคิดนักอุดมการณ์ด้านเกษตรอินทรีย์ ยุคที่สอง คือ ยุคแห่งการตรวจรับรองมาตรฐาน และสามคือถัดจากนี้ไปเป็นยุคที่ตอบคำถามเรื่องความยั่งยืนให้เกษตรอินทรีย์มีผลกระบทเชิงบวกต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม
-ภัยคุกคามกับการสร้างมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เข้มงวดขึ้น
ในต่างประเทศมีกรณีการฉ้อโกงเรื่องผลผลิต ไม่ใช่อินทรีย์มาติดป้ายอินทรีย์ ในลักษณะเป็นเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ มีการตรวจพบมากขึ้น จึงทำให้มีการปรับปรุงระบบการตรวจมาตรฐานทั่งในยุโรปและอเมริกาโดยรัฐและนักกฎหมายออกระเบียนมาควบคุมเกษตรอินทรีย์ส่งออกที่เข้มงวดขึ้น โดยประเมินจากดูจากเคสที่เลวร้ายที่สุด แต่กลับส่งผลกระทบต่อคนทำเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่ไม่เคยทำผิดด้วย
ระบบตรวจสอบใหม่จึงมามุ่งเน้นให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่สำคัญ คือ ระบบบันทึก ระบบเอกสาร และสองคือการสุ่มตรวจสารเคมี เนื่องจากแนวคิดที่ว่าต้องไม่สารปนเปื้อน ต้องส่งผลผลิตเข้าห้องแลป แต่ต้องทำความเข้าใจว่าการเจอสารปนเปื้อนไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ทำอินทรีย์ อาจจะเกิดสิ่งแวดล้อม หรือแนวกันชนไม่ดีพอ เกษตรกรอาจเป็นเหยื่อมาจากเพื่อบ้านไม่ใช้สารเคมี หรือสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่แล้วในสิ่งแวดล้อม แต่เรากลับไปจัดการกับเหยื่อ โดยการยกเลิกการรับรองของเขามันอาจไม่ถูกต้องนัก
แต่ในต่างประเทศมีเกษตรกรที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตัวเอง อย่างฟาร์มอินทรีย์องุ่นในเยอรมัน ได้รับสารเคมีจากฟาร์มรอบข้างที่พ่นฆ่าแมลง จึงตรวจสอบพบการปนเปื้อน และยกเลิกการรับรอง จึงไปฟ้องศาล และศาลตัดสินศาลตัดสินให้ไม่สามารถยกเลิก เพราะเขาเป็นเหยื่อ แต่เรากลับพบว่าหากเกิดสถานการณ์แบบนี้ผู้ปริโภคเองมากกว่าที่จะ ไม่ซื้อจากฟาร์มที่ตรวจเจอแบบนี้
แม้ว่าในความเป็นจริงอาจมีการแอบใช่เกิดขึ้นได้ แต่ต่อไปอาจจะต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ต่อผู้บริโภค หากตรวจสอบแล้วปนเปื้อนที่ไม่ได้มาจากเจตนาการใช้ของเจ้าของฟาร์มเอง กระบวนการแบบนี้จะทำให้เราเราเติบโตทางปัญญามากขึ้น
เปลี่ยนมาตรฐานระบบอินทรีย์ของสหภาพยุโรป ที่เกิดขึ้น หนึ่งในจุดอ่อนคืออาหารสัตว์ เพราะ การปลูกพืชอาหารสัตว์ส่งผลกระทบอย่างมากกับระบบนิเวศทั่วโลกในการเปิดพื้นที่ปลูกพืช หรือการทำประมงแบบทำลายล้าง จับปลาขนาดเล็กมาทำปลาป่น แต่สิ่งที่น่าสนใจคือในอียูมีการพัฒนาเรื่องเลี้ยงแมลงแบบออแกนนิค เพื่อเป็นอาหารสัตว์มากขึ้น และเป็นอาหารคนได้ด้วย ซึ่งไทยสามารถเลี้ยงได้ดี คนไทยเชี่ยวชาญในการเลี้ยงแมลงอยู่แล้วน่าจะสามารถพัฒนาไปได้
ภาพรวมของสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ในไทย
เกษตรอินทรีย์ในไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงปีหรือสองปีนี้อาจมีการก้าวกระโดดเนื่องจากเรามีนโยบายและมาตรการของรัฐเข้าไปอุดหนุนการทำเกษตรอินทรีย์โดยตรง ถ้าทำแล้วรัฐจะมีเงินอุดหนุน ซึ่งต้องไปดูอีกว่าจะมีความยั่งยืนขนาดไหน หากโครงการจบแล้วจะทำต่อเนื่องขนาดไหน
ในส่วนของเอกชนที่มีการสนับสนุนมีการขยายตัว ในส่วนการรับรองแบบมีส่วนร่วมที่ทำเกษตรอินทรีย์ (PGS)ก็มีการขยายตัวค่อนข้างมาก เพียงแต่ข้อมูลทางสถิติอาจจะไม่ได้มีการรวบรวมเป็นระบบเพียงพอ ที่ที่น่าสนใจ คือ คนที่มาทำเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจประเด็นเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และอยากจะทำเกษตรอินทรีย์เพราะเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือชุมชน เข้ามาทำธุรกิจหรือกิจกรรมที่สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เป็นธุรกิจกระแสทางเลือกเพื่อสังคม
…………………………………..
ข้อมูลจากเวทีในงานสังคมสุขใจครั้งที่5 ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์สู่ชีวิตที่สมดุล วันที่7-9 ธ.ค.61 ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม