บทเรียนคนตัวเล็ก กับภารกิจใหญ่ช่วยเหลือทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง

บทเรียนคนตัวเล็ก กับภารกิจใหญ่ช่วยเหลือทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง

เช้าวันนี้(27ส.ค.61) เหล่าจิตอาสาซึ่งมีบทบาทในการร่วมภารกิจช่วยเหลือทีมหมูป่าติดถ้ำหลวงมาร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนการทำงานของอาสามสมัครคนตัวเล็กในแง่มุมต่างๆเพื่อนำบทเรียนไปปรับใช้ในการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ณ ม.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

รศ.ดร.ศิริพร วัชชวัชคุ: คณบดีสำนักวิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  กล่าวว่า สถานการณ์ทีมหมูป่าติดถ้ำหลวงนั้นประเด็นหลัก คือ การมีผู้สูญหาย และการให้ความช่วยเหลือ จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นรัฐมีบทบาทในการจัดการและรับผิดชอบ หากไม่สามารถจัดการได้ภายในรัฐจะมีการร้องขอความช่วยเหลือ และประสานผู้ช่วยเชี่ยวชาญ ภายใต้กลไกที่ทุกคนอยากช่วย แต่มีเงื่อนไข คือ ชีวิตต้องรักษา และสองการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

พบว่าประเทศที่เราของความช่วยเหลือ และมีประเทศที่เสนอให้ความช่วยเหลือ มีอยู่ 22 ประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้พิจารณารับระดับความช่วยเหลือ และมีปฏิบัติการในพื้นที่ 6 ประเทศ และมีองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ 19 หน่วย ทั้งเอกชน องค์การพัฒนา และบุคคล นั่นแสดงให้เห็นว่ามีองค์กรหลากหลาย ต้องมีกลไกในการจัดการ หรือกระบวนการในการประสานงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยชีวิต และใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพที่สุด

Mr.Shigeki Miyake: Senior Representative JICA Thailand Office กล่าวว่ารัฐบาลไทยไม่ได้ขอความช่วยเหลือไปโดยตรง แต่ทางไจก้า ประเทศญี่ปุ่นเห็นว่มีความเชี่ยวชาญที่สามารถช่วยเหลือได้ จึงประสานท่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น เพื่อติดต่อรัฐบาลไทยมาก่อน ซึ่งใช้เวลาพอสมควร

ญี่ปุ่นเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีนักดำน้ำ โดยเฉพาะการดำน้ำในถ้ำที่ต่างกับการดำน้ำทั่ว ในถ้ำมีเพดานจึงเป็นเรื่องยากและเสี่ยงกว่า นอกจากนี้ยังให้ความช่วยเหลือเรื่องการระบายน้ำ การปั้มน้ำที่ได้ประสานไปยังฝ่ายชลประทานญี่ปุ่นในการส่งผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร และเครื่องสูบน้ำมาทำงานร่วมกับทีมช่วยเหลือไทย รวมถึงยังส่งหุ่นยนต์กู้ชีพจากม.โตเกียว แต่พบว่าไม่มีสมรรถนะในการใช้ช่วยเหลือได้ นอกจากนี้ยังให้การช่วยเหลือในการใช้ระบบดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพสูงผ่านการประสานงานกับ Japan Aerospace เพื่อการดูการไหลของน้ำ แก่ง ความแบของถ้ำที่จะให้ภาพที่ชัดเจนว่าในการดูภาพรวมของถ้ำ ซึ่งไจก้าได้ให้ความช่วยเหลือหลายรูปแบบและทางรัฐบาลไทยก็ยินดีที่จะรับความช่วยเหลือในเบื้องต้น

คุณไพฑูรย์ นาคแท้: ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย กล่าวว่า

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เห็นการมีจิตอาสาเข้ามาทำงานของทุกภาคส่วน มาทำงานร่วมกัน สรุปภาพรวมของสถานการณ์ คือ เที่ยงคืนวันที่23  มิ.ย.ได้รับโทรศัพท์จากพื้นที่ จากท้องถิ่น ในระดับจังหวัดและร้องมาที่ศูนย์บรรเทาสาธารณะภัย โดยส่งเครื่องจักรไปสูบน้ำที่หนองน้ำพุในวันรุ่งเช้า และคาดการณ์ว่าวันที่26  มิ.ย.ช่วงเที่ยงน่าจะจบ ไม่น่าจะเกินความสามารถของทีมกู้ภัยที่มีประสบการณ์  สถานการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะยุติแค่ในระดับจังหวัด จาการที่เราไม่รู้ข้อมูลในถ้ำมาก่อน

เมื่อการดำเนินการยังไม่สัมฤทธิ์ผล จึงนัดรวมกันหน้าถ้ำ พบว่าช่วงวันที่ 27มิ.ย.โถงหน้าถ้ำน้ำแห้ง สามารถเขาไปได้ถึงโถงสาม ซึ่งเป็นเนินทรายฐานที่ตั้งฐานของหน่วยซีล จึงไปตั้งเครื่องสูบน้ำได้ตามปกติ ต่อท่อ 1500เมตรจำนวน 3 ตัว ไม่สามารถเพิ่มได้เนื่องจากไฟไม่พอ หลังจากที่ทราบระดับน้ำ และได้ยินเสียงน้ำไหลจึงตัดสินใจเคลื่อนมาที่ปากทางถ้ำที่สูงกว่า และเริ่มกลับมาใหม่วันที่ 28  มิ.ย.เริ่มกลับมาสู้กับน้ำใหม่ จากการสนับสนุนทั้งภาคเอกชน รัฐ คนที่มีจิตจะมาช่วยเหลือ  จะหาหน้าที่ที่เหมาะสมให้เขาได้ทำ เพราะ เขามาด้วยใจ โดยจะเป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการทำงาน ด้วยเกียรติเสมอกัน

ดร.ฟองจันทร์ จิราสิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่าที่ผ่านมาทำงานวิจัยเรื่องซีเมนต์มาก่อน ตอนเกิดเหตุการณ์ก็ไม่รู้ว่าจะช่วยอะไรได้ แต่ได้รับประสานจากวิศวะกรรมสถานแห่งประเทศไทยในวันที่26 มิ.ย.ให้ดูแลทีมดร.ธเนศ วีระศิริที่มาลงพื้นที่  หลังจากนั้นก็ได้ช่วยเรื่องการวางแผนการสูบน้ำ หาแนวทางจัดการเรื่องน้ำ จัดเก็บข้อมูลน้ำ ระดับน้ำ ความเร็วน้ำ ที่คาดว่าน้ำไหลเข้าถ้ำ แม้ว่าเครื่องมือที่จำกัด ไม่มีข้อมูลเรื่องถ้ำที่ละเอียด จึงต้องประสานนักธรณีวิทยาที่ต้องสำรวจอย่างละเอียด ทางธรณีฟิสิกส์

วันที่ 29 มิ.ย. ได้สำรวจถ้ำเบื้องต้นร่วมกับมทบ.30 และกลุ่มกู้ภัยเชียงใหม่ เจอโพรงมีความเป็นไปได้ที่เป็นแนวเดียวกับถ้ำ ที่มีจุดไปต่อได้ แต่มีปัญหาเจอจุดหินถล่ม จึงประสานขออุปกรณ์สแกน ในโพรงถ้ำ จากส่วนต่างๆทั้งทาง สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ขอความอนุเคราะห์เครื่องมือ และประสานเข้าไปช่วยเหลือกัน จนทีมค้นหาหน้าถ้ำพบเด็กในวันที่ 2 ก.ค. จึงมาช่วยกันวางแผนต่อถึงปัญหาเรื่องน้ำในถ้ำ โดยประสานเครื่องเจาะอุโมงค์ทางลาดจากภาคเอกชนเพื่อเป็นแผนสำรองต่อไป

อาจารย์เพ็ชรสวัสดิ์ กันคำ: สาขาวิชาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่าได้ร่วมในการช่วยเหลือทีมหมูป่าติดถ้ำในฐานะนักภูมิศาสตร์ ตอนแรกที่ได้ทราบข่าวคิดว่าเป็นการกู้ภัยกู้ชีพ แต่เมื่อล่วงเลยไปจึงเข้ามามีส่วนร่วมโดยนำเอาความรู้ที่เรียนมาไปหาโพรงถ้ำ หาตำแหน่งน้ำออก ตำแหน่งของน้ำที่เข้าทางตะวันตก สาเหตุที่ได้เข้ามาร่วมเห็นจากการโพสต์ออนไลน์ของ คุณอนุกูล สอนเอกที่ได้แชร์ข้อมูลต้นร่างของถ้ำที่มาร์ตินทำไว้  จึงนำไปสร้างเป็นโมเดล แผนที่ เพื่อหาจุดแนวถ้ำ หรือตำแหน่งที่คาดว่าน้องทั้ง13คนจะอยู่  มีการแชร์ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหาช่องทางที่จะไปช่วยเหลือ และช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลได้

วันที่26มิ.ย.มีการโพสต์ข้อความว่าจะมีการลงพื้นที่และขออาสาสมัครจึงอยากเข้าไปมีส่วนร่วมกับทีมม.ราชภัฎเชียงราย และทีมมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปภัมป์ พบว่าหน้าถ้ำมีหน่วยงานหลายภาคส่วนทำงานอยู่แล้ว ไม่เหมาะสมกับการใช้วิเคราะห์ข้อมูล จึงมาตั้งหน่วยที่ท้ายถ้ำที่บ้านสันป่าสัก และได้รับการอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดี

ปฎิบัติการท้ายถ้ำเริ่มจาการสำรวจทางน้ำร่วมกับผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นำชุมชน ในพื้น พร้อมข้อมูลว่าแต่ละจุดจากชุมชน ทำให้องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์หลั่งไหลเข้ามา เกิดการแลกเปลี่ยน ทั้งจากนักวิชาการทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงใช้ข้อมูลตรงมาเพื่อตรวจสอบในภาคสนามอีกครั้ง แต่มีอุปสรรค์จากสภาพพื้นที่เอง อากาศและเครื่องมือที่ไม่เพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจับ GPS และการวัดการไหลของน้ำโดยเครื่องมือแมนนวล

สิ่งที่ประทับใจ คือการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนแม้เป็นส่วนเล็กแต่มีความสำคัญ จากจุดที่เราตั้งฐานไปยังท้ายถ้ำหลายกิโลเมตร ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก ทั้งพาไปสำรวจจุดน้ำผุด สำรวจพื้นที่ ซึ่งหลายคนต้องทิ้งหน้าที่ ดำนา การงาน มาท้ายถ้ำหลายวัน และกลุ่มออฟโรดที่ช่วยรับส่งห่างจากจุดตั้งฐานและท้ายถ้ำกว่า2เมตร และพาไปสำรวจแนวฝั่งตะวันออกที่เราคิดว่าเป็นจุดน้ำผุด ที่มีการแบ่งทีมกันทำงาน รวมถึงกลุ่มจิตอาสาแม่บ้านที่คอยสนับสนุนเรื่องของอาหารการกิน เวรยามคอยดูแลความปลอดภัย เครื่องนอน   เครื่องใช้และยาต่างๆมาให้  ทำให้เราทำงานสะดวก และจัดการเพียงงานของตัวเองอย่างเดียว

 คุณณัฐพล สิงห์เถื่อน: มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่าปรากการณ์ถ้ำหลวงทำให้เห็นจิตอาสามากมาย ซึ่งเห็นมาตั้งแต่ช่วงสึนามิแล้ว จะทำหน้าที่ค้นหาผู้เสียชีวิต และช่วยเหลือในการเก็บอัตลักษณ์บุคคล   รวมถึงอาสาสมัครต่างชาติที่อยากช่วย จึงจำเป็นต้องจัดการอาสาสมัคร เพราะพื้นที่ประสบเหตุเป็นวงกว้าง

หลังจากนั้นก็มีเหตุการณ์ดินถล่มที่อุตรดิตถ์ พบว่ามีนศ.จำนวนมากที่อยากช่วย ซึ่งมีบทเรียนจากสึนามิ จึงจัดการอาสาสมัคร มีทั้งทีมการฟื้นฟู การเยียวยา จัดการดูแลด้านจิตใจ เป็นต้น ต่อมาก็เกิดน้ำท่วมกรุงเทพ จะเห็นว่าสเกลไม่เหมือนถ้ำหลวง จะหวังให้รัฐจัดการอย่างเดียวไม่ได้ กระจกเงาตั้งที่ฐานที่ดอนเมืองต้องรับเคสจาก133 ที่รัฐจัดการได้ไม่ครอบคลุม ในสเกลใหญ่ต้องมีอาสาสมัคร ต้องประสานงานและเชื่อมโยงกัน เช่น กลุ่มเรือกับกลุ่มปท.ที่มีบัตรน้ำมัน ต้องเชื่อมกัน  เป็นต้น

ปีพ.ศ.2557 เกิดแผ่นดินไหวเชียงราย เราได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาในเชียงรายในการซ่อมสร้าง ฟื้นฟูชุมชนที่ได้รับความเสียหาย พบว่าโครงสร้างบ้านที่ไม่แข็งแรงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิต โดยใช้สื่อในการเผยแพร่ข้อมูล และทำโมเดลชุมชนในการจัดการตัวเอง

กรณีถ้ำหลวงตนเป็นเพียงจุดเล็กๆเท่านั้น ความสำเร็จเกิดจากทุกคน ทั้งหน่วยซีล หน่วยงานต่างๆ กลุ่มออฟโรด กลุ่มเครืองบินเล็กเป็นต้น ผมเป็นเพียงส่วนเล็กๆที่ทำเรื่องแผนที่เท่านั้น  ประเด็นที่น่าสนใจจากปรากฏการณ์ถ้ำหลวง คือ การจัดการภัยพิบัติของบ้านเรา เพราะหลังจากนั้นที่ จ.น่านเกิดดินถล่ม มีผู้เสียชีวิตทั้งที่มีข้อมูลว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง เลยเกิดคำถามว่าเราเตรียมความพร้อมอย่างไร คนที่เสียชีวิตทราบข้อมูลตรงนี้หรือไม่

ทั้งนี้ยังมองว่า จ.เชียงราย อย่างอ.แม่สายอยู่ใกล้รอยเลื่อนแม่จัน ที่นักวิชาการศึกษาว่าไม่ขยับตัวมากว่า 1พันปี มีโอกาสที่จะเกิดแผนดินไหวระดับ7ได้ เราจะรับมือหรือเตรียมการอย่างไร เพราะมีหมู่บ้านจำนวนมากอยู่บนพื้นที่เสี่ยงภัย หรือที่ อ.แม่สรวยอยู่บนพื้นที่เสี่ยงภัยดินสไลด์ ยังมีการสร้างบ้านเรือนอยู่ เพราะ ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่ หรือย้ายได้ ประเทศไทยยังไม่ได้เตรียมความพร้อมรับมืออย่างเต็มรูปแบบ กรณีเช่น ประเทศญี่ปุ่นมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับภัยพิบัติ มีการซ้อมจริง และพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เรื่องนี้โดยตรง จึงของฝากคำถามว่า การเตรียมความพร้อมรับมือ เผชิญสถานการณ์  และฟื้นฟู คนไทยจะอยู่ตรงไหนในเหตุการณ์ภัยพิบัติ

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ