จัดการถ้ำอย่างไร ไม่ทำลายถ้ำ

จัดการถ้ำอย่างไร ไม่ทำลายถ้ำ

“จัดการถ้ำอย่างไร ไม่ทำลายถ้ำ”

คุยกับกื๋อ อนุกูล สอนเอก  นักภูมิศาสตร์ และนักสำรวจถ้ำ

อนุกูล สอนเอก ชื่อนี้รู้จักกันดีในช่วงหมูป่าติดถ้ำ  หนึ่งในนักภูมิศาสตร์ที่เคยเข้าสำรวจถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน และมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าให้ออกจากถ้ำด้วยการใช้ทักษะของนักภูมิศาสตร์เข้าค้นหาพิกัดที่จะควบคุมปริมาณน้ำที่เข้าถ้ำและหาทางเลือกเข้าสู่ถ้ำในช่วงของการค้นหาน้องๆ   ประสบการณ์การกู้ภัย  การสำรวจถ้ำ – อนุกูลย้อนมองเหตุการณ์และมีข้อเสนออย่างไรกับการจัดการกู้ภัยและการจัดการถ้ำในเมืองไทย โดยเฉพาะถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่กำลังได้รับความสนใจในฐานะแหล่งท่องเที่ยวใหม่ในขณะนี้

นักข่าวพลเมือง: ย้อนความหลังไปนิด ภารกิจของคุณกื๋อในเหตุการณ์หมูป่าติดถ้ำคืออะไร

อนุกูล:  ช่วงนั้นผมเข้าไปทำงานจะเป็นทีมนักภูมิศาสตร์ซึ่งเข้าไปทำคือโฟกัสแรกสุดที่เราวางไว้ก็คือการควบคุมน้ำในถ้ำ  การควบคุมน้ำจากบนภูเขาที่จะไหลเข้ามาในระบบถ้ำเพื่อทำให้ภารกิจการช่วยเหลือง่ายขึ้น  เมื่อไรที่ควบคุมน้ำได้แล้วการทำงานในถ้ำมันจะง่ายขึ้น  ภารกิจที่สองคือสร้างทางเลือกในการช่วยเหลือ  ตอนนั้นทีมช่วยเหลือไม่สามารถเข้าไปในถ้ำจากหน้าถ้ำได้ เพราะน้ำในถ้ำมีเยอะมาก  สิ่งสำคัญอันดับที่สองก็คือการเข้าจากด้านท้ายถ้ำ  ซึ่งโฟกัสที่เราสนใจตอนนั้นคือพิกัดของ Martin Pointจุดที่มาร์ตินส่งมาให้   ซึ่งเป็นจุดที่มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปในส่วนของท้ายถ้ำได้และก็อาจจะเข้าไปถึงตัวที่เด็กอยู่นะครับ

นักข่าวพลเมือง: การทำงานเป็นอย่างไร ?

อนุกูล: หลังจากที่เราทำงานมาประมาณ 5-6 วัน  ตอนนั้นเจอเด็กแล้วภารกิจของการค้นหาถือว่าจบไปแล้วนะครับ  เสร็จแล้วภารกิจคือจะเข้าช่วยเหลือ ซึ่งตอนนั้นที่เราไปทำงานคือเราต้องการเจอเด็กเป็นหลัก เป็นภารกิจSearch  พอหลังจากจบภารกิจSearch ทีมทั้งหมดก็จะถอนตัวกลับ  ปล่อยภารกิจให้ทีม Rescue ทำงานต่อ  แต่พอผมกลับถึงโคราชไม่ทันไร มีโทรศัพท์ตามตัวด่วนให้กลับขึ้นไปทำงานในส่วนของการสนับสนุนข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้กับหน่วยซีลซึ่งทำภารกิจ Rescue อยู่   ผมก็เลยต้องเดินทางกลับขึ้นไปสนับสนุนข้อมูลทุกอย่างที่เป็นไปได้  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลฝน ตำแหน่งของที่เด็กอยู่  ความลึกของชั้นหินที่ คือภารกิจจะมีอยู่หลายแผนในการทำงาน  แผนแรกก็คือการนำเด็กออกในเส้นทางเดิมในทางปากถ้ำซึ่งทีมซีล รับผิดชอบหลัก ส่วนที่สองก็คือในช่วงที่เราทำงานช่วยเหลืออยู่มันเป็นหน้าฝนเราไม่แน่ใจว่าเราจะสามารถควบคุมน้ำได้ไหม ถ้าเราควบคุมน้ำไม่ได้มันจะมีออปชั่น 2 เกิดขึ้นมาทันทีก็คือจะต้องมีช่องทางการเจาะที่จะเข้าไปและสามารถเอาเด็กออกมาให้ได้ ส่วนออปชั่น 3 ก็คือเราต้องเลี้ยงเด็กในถ้ำเป็นเวลา 4 เดือนเราต้องทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะรักษาชีวิตเด็กให้ได้  ตอนนั้นจะมีอยู่ 3 Options  ส่วนภารกิจที่ขึ้นไปอย่างแรกก็คือSupport Options1 เรื่องของปริมาณฝน  ปริมาณน้ำที่ไหลลงถ้ำในเรื่องการควบคุมน้ำในตัวถ้ำเอง

นักข่าวพลเมือง: ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น ทำไมถึงตัดสินใจไปครั้งแรก ?

อนุกูล: คือตอนแรกหลังจากที่เด็กติดวันที่ 23 มิ.ย.ตอนนั้นผมติดภารกิจอยู่ แต่ผมติดตามข่าวตลอดก็มีน้องที่กู้ภัยหลายคนทำงานในภารกิจนี้ เขาแจ้งมาว่ มีการเอาเครื่องสูบน้ำไปติดตั้งในถ้ำซึ่งมันเป็นเครื่องที่ใช้น้ำมันซึ่งมันจะให้เกิดคาร์บอนมอนอกไซด์ในถ้ำ  ซึ่งในตัวถ้ำการไหลเวียนอากาศมันน้อยมาก  ผมก็เลยโพสต์ Facebook แนะนำหลักการทำงานในถ้ำต้องมีอะไรบ้าง  เช่นต้องเปลี่ยนปั้มเป็นระบบไฟฟ้าคือต้องไม่เพิ่มคาร์บอนมอนอกไซด์ในถ้ำเพราะมันเป็นอันตรายของตัวคนทำงานเอง  และก็เรื่องของการไหลเวียนอากาศที่มันจำเป็นต้องควบคุมให้ได้   ตอนนั้นผมติดภารกิจอยู่ที่อิสานจบภารกิจวันที่27 มิ.ย. พอดีอาจารย์พรรณีอาจารย์เก่าที่เคยสอนที่ภูมิศาสตร์บอกว่ากื๋อคุณขึ้นไปด่วน  ที่นั่นต้องการคุณในการทำงาน   ผมยกเลิกงานขับรถตรงขึ้นไปที่เชียงราย  ตอนนั้นผมประกาศรับอาสาสมัครประมาณ 5 คนที่เป็นนักภูมิศาสตร์เพราะเขาจะต้องจัดการข้อมูลทั้งหมด  ข้อมูลในพื้นที่มันจะเยอะมากและก็เราต้องการคนในการทำข้อมูลอื่นๆ จากของนักสำรวจทางภูมิศาสตร์จากทั่วประเทศเขาส่งข้อมูลกลับมาและเราจะต้องคัดเลือกข้อมูล ที่มีประโยชน์ที่สุดในการทำงาน

ภารกิจแรกก็คือบล็อกอินเล็ทน้ำควบคุมมันให้ได้ เราได้ข้อมูลจากหลายแห่ง มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์หลายอย่างทั้งจากแหล่งข้อมูลในประเทศและต่างประเทศ เพื่อหาพื้นที่หรือพิกัดที่เป็นไปได้มากที่สุดที่น้ำลงไปในถ้ำ แต่ว่าตอนนั้นเราทำงานอาสาสมัครคือเราไม่มีแรงงาน เรามีแต่คนที่อยู่ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทาด้านแผนที่กับการวิเคราะห์เชิงพื้นที่  ข้อมูลจากเราผมพยายามเอาไปเสนอที่ทีมทำงานกอ.ตอนกลางคืนที่มีการประชุม  ผมพยายามเสนอไอเดียนี้ แต่ตอนนั้นมองว่ามันเป็นภารกิจที่เป็นไปไม่ได้ที่จะควบคุมน้ำ หรือจะย้ายลำน้ำทั้งสายให้ออกจากถ้ำมันทำไม่ได้  อีกวันหนึ่งเจอกับพี่โอ๋ซึ่งเป็นผอ.ส่วนปฏิบัติงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ผมคุยไอเดียนี้ พี่โอ๋บอกว่ามีโอกาสเป็นไปได้เพราะว่า  1.คือชาวบ้านเขารู้ว่าน้ำมุดอยู่ตรงไหนเพราะเขาทำงานในพื้นที่นั้นมาเยอะ 2.คือเขาจะรู้ตำแหน่งที่แน่นอนและตำแหน่งที่เขารู้ปรากฏว่าตรงกับตำแหน่งที่เราgenerateได้ พอมันซ้อนตำแหน่งปุ๊ป  ทำให้เราเชื่อมั่นว่ามีจุดที่น้ำมุดอยู่หลายจุดบนภูเขาซึ่งเราจะต้องทำการปิดก็เลยระดมชาวบ้านกับหน่วยงานสนับสนุน อีกวันเขาโทรมาหาผมว่ากื๋อขอข้อมูลพิกัดหน่อยเขาจะเอาชาวบ้านไปลงบล็อกทางน้ำเข้าก็คือทางด้านฝั่งผาหมี ผาฮี้ ชาวบ้านลงไปทำในวันแรกและหลังจากนั้นมาผมไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลตรงนี้เลย ช่วงหลังได้ข่าวว่าทางทีมทหารกับทีมกอ.จัดคนขึ้นไปจัดการและขยายพื้นที่ไปที่ผาหมีครับ  และก็มีทีมผู้เชี่ยวชาญไปวัดปริมาณน้ำและยืนยันข้อมูลมาตรงกันว่ามันมีน้ำlostจากน้ำผิวดินหายไปประมาณ70% หลังจากนั้นเราก็เลยโอเคก็ปล่อยให้งานทางนู้นเขาทำ  เราก็มาโฟกัสในส่วนของ Martin’s Pointเป็นหลัก  ก็คือหลังจากที่เราโอเวอร์เลย์แผนที่ที่เราได้เป็นข้อมูลชั้นหนึ่งว่าพิกัดของโพรงถ้ำจริงๆแล้วเป็นอย่างไรตัดตรงไหนบ้าง  เราคุยกับทางทหารอเมริกันที่อยู่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเขาสนใจข้อมูล ผมพาเขาไปดูตำแหน่งที่ถ้ำหลวงนางนอนตัดกับลำห้วย คำถามแรกที่เขาถามคือเขามาเพื่อภารกิจการเจาะ  เราสามารถคอนเฟิร์มข้อมูลได้ไหมว่าพิกัดมันอยู่ตรงไหน ตอนนั้นผมยืนยันข้อมูลไม่ได้คือเรารู้แนวทางแต่มันมีความคลาดเคลื่อน  เราต้องการmake sureว่าจุดตำแหน่งพิกัดตรงนี้มันคือโพรงถ้ำที่อยู่ด้านล่าง    ตอนนั้นมีน้องอาย เขาจบมาทางด้านของ Geosciences โดยเฉพาะและเขารู้ว่าในทางด้านธรณีฟิสิกข์มันสามารถให้คำตอบตรงนี้ได้  เลยเป็นที่มาของการดึงความร่วมมือทางด้านทีมธรณีฟิสิกข์ที่อยู่ในพื้นที่มาสร้างแนวสำรวจ  และ test ค่าต่างๆเพื่อให้ได้ output ออกมา  ปรากฏว่าตัว output ที่ออกมามันอยู่เราเจอโพรงถ้ำใต้ดินสองโพรงอยู่ที่เซ็กชั่น88 พอเราคอนเฟิร์มข้อมูลเสร็จปุ๊ปทีนี้เป็นเรื่องของการเจาะแล้ว  โดยที่ก่อนที่จะเจาะเรารีเช็คข้อมูลจากทางทีมธรณีฟิสิกข์ อาจารย์พิษณุ จากธรณีม.ช.มาทำแนวซ้ำให้อีกรอบหนึ่งแล้วเขายืนยันแต่ไม่ฟันธงว่ามันเป็นโถงอากาศหรือเป็นโถงน้ำด้านล่างเพราะว่าข้อมูลมันสามารถตีความได้หลากหลาย  ทีนี้พอทีมที่เจาะไปเทสประมาณ 17 เมตร เขาเจอโพรงถ้ำอากาศอยู่ด้านล่าง ซึ่งถ้าเราสามารถ Coring มันได้เราจะเปิดทางเข้าเซ็กชั่นส่วนปลายสุดที่กม.ที่10ได้  และสามารถเข้าไปช่วยเด็กมันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการทำงานตอนนั้น

นักข่าวพลเมือง: การทำงานที่ผ่านมามีข้อติดขัดอะไรบ้างไหม

อนุกูล: การช่วยเหลือครั้งนี้เป็นครั้งแรกของเมืองไทย ซึ่งการทำงานจะมีทีมของต่างประเทศมา  ซึ่งระบบการทำงานหรือแม้แต่ทีมของไทยเองไม่ใช่ระบบเดียวกัน  อุปกรณ์ก็ต่างแตกกัน  สองคือขีดความสามารถของทีมกู้ภัยไทยกับทีมกู้ภัยต่างประเทศก็ไม่เหมือนกัน  ทั้งความรวดเร็วในการทำงาน การสื่อสารในการปฏิบัติงานในการแชร์ข้อมูลกันอาจจะไม่เข้ากันพอดี แต่ว่าเป็นอะไรที่เราสามารถพัฒนาได้

 นักข่าวพลเมือง: แนวทางมันควรจะเป็นแบบไหน?

อนุกูล: ในขั้นตอนของการกู้ภัย  Rescue  ต่างประเทศจะมีอยู่ 4 ขั้นคือระบบ  L- A- S- T มาจาก LคือLocate การระบุตำแหน่งของคนที่ประสบเหตุว่าอยู่ตรงไหน   A คือAccessคือการเข้าไปถึงตัวของผู้บาดเจ็บหรือผู้ต้องการความช่วยเหลือ   S คือStabilizeคือให้การดูแลต่างๆ เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม และ T คือ Trasport การผู้ประสบเหตุออกมา

จากเหตุการณ์นี้เมื่อเริ่มเกิดเหตุ  เราสามารถLocate ผู้ประสบเหตุได้ไหมว่าอยู่ตรงไหนซึ่งช่วงแรกไม่ได้  พอไม่ได้มันจะนำไปสู่ตัวที่สองไม่ได้นะครับ  ทีนี้พอทีมเจอเด็กแล้วสามารถ Locateตำแหน่งได้แล้ว ก็เริ่มตัวA แต่การAccessเข้าไปมีอุปสรรค  เช่น  กระแสน้ำที่ดันออกมา  ข้อจำกัดของถังอากาศของซีลไม่เพียงต่อการเข้าไปถึงตัวผู้ประสบเกตุ  เรื่องการเอาออกคงไม่ต้องพูดถึง  เพราะฉะนั้นการ Locate มันก็จะมี 2 ทางเลือก ทางเลือกแรกคือการเข้าสวนน้ำเข้าไปในทิศทางที่เด็กๆเข้า  สองคือการหาทางเข้าจากอีกด้านหนึ่งเพื่อให้เข้าไปถึงตัวผู้ประสบเหตุเพื่อที่จะขนย้ายออกมาน แต่ตอนนั้นระดับน้ำมันเริ่มวิกฤติแล้ว ก็ต้องมาประเมิน   ตัว S หรือ Stabilize เช่น  การควบคุมปริมาณน้ำไหลเข้าถ้ำเราควบคุมได้ไหมถ้าควบคุมไม่ได้เรื่องของการTransportเอาคนเจ็บออกมาไม่ต้องพูดถึง  สองก็คือสถานะของเด็กเขาไม่ได้กินข้าวมา7-10วันเราจะ Stabilize เขาอย่างไร  ต้องเอาอาหารเข้าไปหรือว่าเราต้องเลี้ยงเด็กอยู่ในถ้ำ 4 เดือนก่อนไหม  ในช่วงที่ปริมาณน้ำเยอะๆเราควบคุมน้ำไม่ได้แล้ว  อาหารเข้าถึงไม่ได้ หน่วยซีลไม่สามารถดำน้ำได้เราก็ไม่ได้ Stabilize เหตุการณ์  หรืออากาศที่เด็กอยู่ในโถงมันถูกปิดไปด้วยน้ำบล็อกหัวท้ายอากาศมีอยู่จำกัด  เพราะฉะนั้นCo2ในถ้ำตรงที่เด็กอยู่เพิ่มขึ้นแน่นอน  และระดับออกซิเจนลดลงแน่นอนตามชั่วโมงของการใช้งาน  ซึ่งข้อมูลพวกนี้มันเป็นข้อจำกัดในการทำงาน    ในระบบ LAST ที่เราทำงานกัน พอเจอเด็กแล้วทุกคนดีใจเจอเด็กแล้วมีบางส่วนมีการเคลื่อนย้ายออก ทีมช่วยเหลือเคลื่อนย้ายออกไป  ซึ่งมันยังไม่ได้ครบขั้นตอนระบบLASTมันยังได้แค่ครึ่งทาง  ผมถึงย้ำตลอดว่าการเจอเด็กแค่ครึ่งทางเท่านั้นส่วนอีกครึ่งหนึ่งนั่นคือจะเอาเด็กออกอย่างไรนั่นคือปัญหาที่ต้องตอบในระบบLAST  ระบบการทำงานของกู้ภัยในเมืองไทยจำเป็นจะต้องรันตามระบบนี้  อันนี้เป็นสิ่งที่เมืองไทยต้องพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินอะไรก็ตาม

อีกอย่างที่ผมคิดว่าสำคัญคือฐานข้อมูล  1.ระบบการแชร์ข้อมูลของนักสำรวจถ้ำต่างประเทศ  เวลาผมสำรวจถ้ำ  บางถ้ำผมทำข้อมูลแล้วส่งไปที่ต่างประเทศ  เรามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแต่ว่าสต็อกข้อมูลการเก็บข้อมูลในเมืองไทยยังไม่มีระบบนี้  2.เมื่อมีระบบแล้วต้องมีคนส่งข้อมูลให้หมายความว่ารัฐหรือองค์กรใดก็ตาม  ถ้าตั้งระบบฐานข้อมูลแล้วคุณจะต้องมีคนที่ส่งข้อมูลกลับมา  เมื่อไรที่คุณตั้งระบบฐานข้อมูลแล้วคุณไม่มีข้อมูลที่จะส่งกลับมาหรือนักสำรวจถ้ำที่ทำงานเป็นมาตรฐานในระดับเดียวกันระบบนี้ก็จะไม่เวิร์ค  เพราะฉะนั้นมันต้องเริ่มระบบประกอบกันไปกับคนที่ชอบการสำรวจถ้ำ ชอบการทำแผนที่ส่งกลับมาที่เซ็นเตอร์   และเซ็นเตอร์สามารถแจกข้อมูลออกไปสามารถสื่อสารให้ความรู้กับคนที่สนใจได้ว่าคนเหล่านี้จะมาเป็นกำลังในการที่จะแชร์ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในเครือข่ายของต่างประเทศ อันนี้สำคัญมาก  ตราบใดที่เราตั้งศูนย์ข้อมูลแต่เราไม่มีคนส่งข้อมูลกลับมามันจะไม่มีประสิทธิภาพทันที

นักข่าวพลเมือง:ในฐานะนักสำรวจถ้ำ การจัดการถ้ำต้องมีหลักคิดอย่างไร

อนุกูล : การจัดการถ้ำของต่างประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท  1.ถ้ำเพื่อการแสดงหรือถ้ำเพื่อการท่องเที่ยว  Show cave หรือ Tourism cave ถ้ำที่เปิดให้เที่ยว เป็นถ้ำที่จะเป็นเปิดให้คนทั่วไปแค่สนใจไปดูถ้ำสวยงามมีการติดตั้งไฟแบบนี้โอเค  ถ้ำอีกประเภทหนึ่งของในกลุ่มแรกคือถ้ำ Adventure ถ้ำที่ไม่ได้มีการดัดแปลงสภาพมันยังคงกลิ่นอายของการผจญภัยให้คนที่เริ่มสำรวจเข้าไปสัมผัสมัน    2.เป็นถ้ำเพื่อศึกษาวิจัย  ถ้ำที่เก็บไว้ที่มีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์มีสำหรับงานวิจัยทางด้านชีววิทยาสำหรับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ในถ้ำ สิ่งที่มีคุณค่าทางธรณีซึ่งไม่ปรากฏขึ้นง่ายๆ  3.Wild caveถ้ำที่อยู่ในป่าหมายความว่าเวลาอยู่ในป่าแล้ว การจะรักษาให้ดีที่สุดก็คือไม่รู้ว่ามีมันอยู่ อาจจะมีคุณค่าหรือไม่มีคุณค่าไม่รู้แต่เราเก็บไว้ในฐานะอย่างแรกคือจะเป็นสต็อกข้อมูลในอนาคต  สองถ้าคุณมีแนวคิดใหม่ๆในการจัดการถ้ำ ถ้ำกลุ่มนี้จะถูกนำมาใช้ในการทดลองในการจัดการแนวทางใหม่ๆในอนาคต

ปกติเวลาเราพูดถึงถ้ำที่เป็นท่องเที่ยว  เรามักจะพูดถึงค่า CC ค่าCarrying Capacity ขีดจำกัดการรองรับพื้นที่ว่าถ้ำนี้สามารถรับคนต่อวันได้เท่าไร ซึ่งแนวทางนี้มันใช้กับการจัดการถ้ำไม่ได้ ก็คือค่าCCจากปริมาณความต้องการของคุณ  แต่ในถ้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เฉพาะมาก  หมายความว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในถ้ำหรือการทำลายในถ้ำจะไม่มีการฟื้นตัว มันก็เลยเกิดแนวความคิดอีกอันหนึ่งเราเรียกว่าVIM- Visitor Impact Management ปรัชญาของหลักการVIMก็คือทุกกรณีที่คุณเข้าไปใช้ถ้ำมันย่อมเกิดผลกระทบเสมอเพราะฉะนั้นก่อนที่จะเข้าไป  คุณต้องมองเรื่องผลกระทบimpactเป็นหลักแล้วหาวิธีการจัดการให้อยู่ในสภาพการเคลื่อนไหวระบบนิเวศของถ้ำไม่เกินนั้นถ้ำนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในรอบวัน เวลาคนเข้าไปอยู่เยอะๆพื้นที่นี้คุณจะต้องควบคุมอุณหภูมิคนเข้าไปไม่เกินการเคลื่อนไหวของระบบนิเวศของถ้ำ แนวความคิดหนึ่งซึ่งมันค่อนข้างโมเดิร์นมากสำหรับการจัดการถ้ำในต่างประเทศ


ศักยภาพของขุนน้ำนางนอนมีความหลากหลาย ภายในถ้ำหลวงเองอาจจะมีศักยภาพที่รองรับนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการเที่ยวในเชิงการผจญภัยได้ อันนี้คือกลุ่มเป้าเเรก กลุ่มเป้าหมายที่สองคือ คนที่ไม่ชอบHard Adventures มาก ชอบอะไรซอฟๆก็ อาจจะเป็นพวกSoft Adventures ก็ได้ หรือนักท่องเที่ยวทั่วๆไปที่อยากสัมผัสกลิ่นอายของประวัติศาสตร์การกู้ภัย ก็สามารถมาเที่ยวได้ ก็จะมีนักท่องเที่ยวสามกลุ่ม ที่มีความเป็นไปได้ในระบบการจัดการ ถ้ำหลวงเป็นภารกิจระดับโลก ซึ่งผมมองมาว่าเป็นภารกิจที่ยาก มาก ซึ่งทุกคนนักสำรวจทั่วโลกมองว่าเป็นไปไม่ได้ที่สามารถช่วยคนให้รอดออกมาได้ครบทุกคน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของผู้เชียาวชาญทั่วโลก สื่อมีการเผยเเพร่ไปทั่วโลกในอนาคตเขาจะวิ่งเข้ามาหาเรา วิ่งมาหาเมืองไทยว่า เราทำภารกิจนี้ได้อย่างไร

เพราะฉะนั้นในการพัฒนา อย่างแรกคือการรองรับนักท่องเที่ยวทั่วไป เช่นคนที่อาจจะมีเวลาน้อย แค่เข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่ มาดูมาสัมผัสกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ภารกิจช่วยเหลือระดับโลก เราอาจจะเข้าไปในเซ็คชั้นแรก ปากถ้ำ พื้นที่ที่เกี่ยวข้องที่ทีมทำงานได้ปฏิบัติงาน เช่นการปิดกั้นลำน้ำสำหรับย้ายน้ำออกจากถ้ำ ทั้งทางด้านเหนือและทางด้านใต้ หรือพื้นที่หลุมขุดเจาะที่เราเตรียมจะช่วยเหลือเด็กออกมา

จุดที่สองอาจจะสำหรับคนที่มีความพร้อมที่จะไปได้ไกลขึ้น ลึกขึ้น กลุ่มนี้ก็อาจจะเข้าไปได้สัก2-3 กิโล ในช่วงฤดูแล้ว ซึ่งเส้นทางอาจะไม่ยากมาก
คนที่มีทักษะไม่ได้สูงมากจะสามารถไปได้ ไปถึงส่วนที่สามเรียกว่าเป็นการผจญภัยที่เป็นHard Adventures คือต้องการสำรวจถ้ำจริงๆ อยากสัมผัสว่านักสำรวจถ้ำ ทำงานอย่างไร การช่วยเหลือเขาทำอย่างไร ซึ่งกลุม่นี้ จะต้องมีการเตรียมบุคลากรสำหรับลองหรับ ไกด์นำทางที่ อาจจะต้องมีการจอง บุ๊คกิ้ง ก่อนที่จะเข้าไป
การเตรียมเรื่องอุปกรณ์ช่วยกู้ภัย เช่นการเอาคนเข้าไปแล้วอากาศน้อยจะทำอย่างไรแผนการจัดการข้างในถ้ำ เช่นพื้นที่ปลอดภัยที่จะพาคนเหล่านี้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและรอการช่วยเหลือ แผนการจัดการทำงาน การจัดการ มันต้องมีMasterplan และAction plan 3 ปี 5 ปีข้างหน้า กรอบเเนวคิดในการจัดการ ให้เอื้อกับทรัพยากร และคนรอบข้างอย่างไร อันนี้สำคัญมาก

ในส่วนอื่นๆ ภารกิจเร่งด่วน สิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ ก็คือต้องเริ่มจากการสำรวจถ้ำ โดยละเอียดเพราะว่า จุดด่อยข้อหนึ่ง คือ เรายังไม่มีเเผนที่ที่มีความละเอียดเพียงพอในการสำรวจ เพราะฉะนั้นต้องมีการวางกรอบการทำงาน สองก็คือกรอบของเเผนงาน แล้วเราค่อนมาออกแบบการสำรวจว่าจะเอาความละเอียดขนาดไหน ใช้เทคนิคเเบบไหนในการทำงานในอนาคตผมคิดว่าเคสแบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกเเน่นอน ควรจะต้องมีการเตรียมแผนการลองรับ หรือว่าเตรียมแผนการรับมือแบบนี้ในอนาคต แต่ว่าอันที่จริงเรื่องระดับการท่องเที่ยวมันพัฒนาได้นะ อยู่ที่ว่า เราต้องมีเงื่อนไขการพัฒนา เช่นว่าครั้งนี้คุณไม่พร้อม คุณอยากไปเที่ยวอยากเข้าไปลึก แต่ว่าคุณอาจจะยังไม่พร้อม คุณอาจจะเข้าไปอยู่ในกลุ่มของนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มSoft Adventuresก่อน อาจจะลองเข้าไปก่อนว่ามันโอเครไหม ถ้าคุณคิดว่า อย่างจะสัมผัสในความเป็นนักสำรวจ ที่อยู่ในถ้ำ อาจจะต้องเตีรยมตัว ทั้งร่างกาย สติ เตรียมพร้อมเพื่อไม่ให้อันตรายกับตัวคุณเอง

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ