30ปี ขับเคลื่อนป่าชุมชนสู่ ‘ป่าไม้ภาคพลเมือง’

30ปี ขับเคลื่อนป่าชุมชนสู่ ‘ป่าไม้ภาคพลเมือง’

วันนี้(2ส.ค.61) เครือข่ายป่าชุมชน  31 จังหวัดทั่วประเทศ ภาครัฐและเอกชน กว่า 100 คนมาร่วมงานรวมพลังหนุนสร้างเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง: Citizens’ Forest Network (CF-Net) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม. เพื่อหารือเพื่อยกระดับเครือข่ายป่าชุมชนสู่ความเป็นเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง เปิดตัวและแนะนำโครงการและเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมืองต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะ และทบทวนเส้นทาง 30 ปีป่าชุมชน รวมถึงวางแนวทางการขับเคลื่อนงานเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมืองร่วมกัน ในการนี้มีร่วมแลกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อ 30ปี ในการขับเคลื่อนจากป่าชุมชนสู่การเป็นป่าไม้ภาคพลเมือง

รวมพลังหนุนสร้างเครือข่ายป่าไม้ภาคพลเมือง: Citizens’ Forest Network (CF-Net) ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์

ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดการป่าโดยชุมชนช่วยเปลี่ยนมุมมองสำคัญ 2 ด้าน คือ หนึ่งเปลี่ยนความคิดมองเป็นคู่ตรงข้าม ที่มองป่าเป็นป่า มองการเกษตรกรรมเป็นคู่ตรงข้าม อยู่ร่วมกันไม่ได้ ผ่านแนวคิดวนเกษตร อันเป็นเกษตรที่อยู่ร่วมกับป่า อย่างกรณีป่าเมี่ยงในภาคเหนือชุมชนดูแลระบบนิเวศน์ให้มั่นคง เช่น บ้านแม่กำปอง เริ่มจากป่าเมี่ยง มาสู่ป่าชุมชน จนกลายเป็นการท่องเที่ยงเชิงนิเวศ พลังงาน งานวิชาการและด้านอื่นๆ สองคู่ตรงข้ามที่ว่าการอนุรักษ์กับการพัฒนาเข้ากันไม่ได้  สามเปลี่ยนความคิดที่ว่าการจัดการป่าเดิมเชิงเดี่ยว สู่ป่าชุมชนอันเป็นการจัดการเชิงซ้อน หรือ การจัดการร่วม co-management โดยมอบความรับผิดชอบสิทธิการจัดการให้ชุมชน โดยมีกรมป่าไม้เป็นฝ่ายองค์ความรู้ เทคนิคต่างๆ และสามภาคประชาสังคมในการตรวจสอบถ่วงดุล

ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.เชียงใหม่

ทั้งนี้ศ.ดร.อานันท์ ยังกล่าวอีกว่าการไม่ผ่านร่างพ.ร.บ.ป่าชุมชนที่ผ่านมาทำให้เกิดการขับเคลื่อนของเครือข่ายป่าชุมชนหลายรูปแบบ หลายวิธีการมากขึ้น อย่างเช่น กรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนดูแลป่ากับคนพื้นราบแบบ Pay for Eco Service ที่คลองท่าดี จ.นครศรีธรรมราช ชาวบ้าน 8 ตำบล ร่วมกันดูแลฟื้นป่าให้ระบบนิเวศกลับคืนมา ร่วมกันจัดทำฝายมีชีวิต พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว  ช่วงหลังมีขยะจากท่องเที่ยว จึงมาคุยกับเทศบาลในเมือง ขอให้เทศบาลให้ช่วยดูแลกำจัดขยะ ส่วนพวกเขาจะดูแลป่าให้เพื่อป้องกันน้ำท่วมในเมือง เป็นการแลกเปลี่ยนตอบแทนกัน(Irresistible Exchange)

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล กล่าวว่า การจัดการป่าคำ ตอบอยู่ที่ชุมชนจำเป็นต้องถอดบทเรียนออกมา เพราะความคิดเรื่องป่าชุมชนเกิดขึ้นมาตั้งแต่ในปี พ.ศ.2530-31 ตอนนั้นตนได้ทำงานในกรมป่าไม้จัดการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งในชุมชนและระหว่างประเทศ พบว่าไทยมีความก้าวหน้าในการดูแลป่ามาก เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของหลายประเทศ  แต่ตอนนี้กลับพบว่าแม้ว่าเราเป็นผู้นำทางความคิด แต่ก้าวไม่พ้นทัศนคติ ที่ยังมองว่าชาวบ้านทำลายป่า  มีเรื่องที่ยังไม่ก้าวไปถึงไหน ทั้งเรื่อง สิทธิในกาครอบครอง เข้าถึง การจัดการป่าชุมชน ไปจนถึงการยกระดับจากการจัดการป่าไปเป็นการจัดการชุมชน เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว

ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี ม.มหิดล

นอกจากนี้ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ยังกล่าวอีกว่า ฐานรากของเศรษฐกิจไทยแคบ ไม่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะประชาชนไม่มีความรู้ ความสามารถ แต่มีเงื่อนไขบางอย่างให้ประชากรไม่สามรถใช้ฐานทรัพยากรในการพัฒนาชีวิตได้ การจัดการทรัพยากรยังไม่เป็นธรรม ไม่ทั่วถึง และไม่สามารถต่อยอดในระดับท้องถิ่นได้ จึงไม่สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์บทเรียนไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ที่การจัดการป่าไม้ภาคพลเมืองควรจะเป็นคำตอบที่มาจากชุมชน 

คุณนันทนา บุญญานันต์  ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้

คุณนันทนา บุญญานันต์  ผู้อำนวยการสำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กล่าวถึงพัฒนาการของป่าชุมชน ป่าชุมชนเริ่มตั้งแต่มีพ.ร.บ.ป่าไม้ การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ จนมาในยุค 2530จะมีโครงการพัฒนาป่าชุมชน และเข้ามาสู่ยุคพัฒนาป่าชุมชนให้เป็นที่ยอมรับในปีพ.ศ. 2542-43  ที่เปิดให้ป่าชุมชนสามารถมาจดทะเบียน ภายใต้กฎหมาย ถือเป็นเครื่องมือที่ทำให้ป่าชุมชนมีตัวตนมากขึ้น นอกจานั้นยังมีการเชื่อมโยงการทำงานทั้งจากเครือข่ายป่าชุมชนเอง ภาคเอกชน และองค์กรอื่นๆ รวมถึงสร้างการเชื่อมโยงในระดับประเทศด้วย ทั้งนี้ยังมองว่าพ.ร.บ.ป่าชุมชน เป็นการสร้างความมีส่วนร่วม โดยให้อำนาจ สิทธิ หน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับกับประชาชน มีส่วนร่วมสามฝ่าย มีการถ่วงดุล แต่ยังมีกรอบ ข้อจำกัด  เนื่องจากต้องให้ครอบคลุมในป่าทุกแบบทั่วประเทศ และการไม่มีกฎหมายรอบรับหน้าที่สิทธิของเจ้าหน้าที่ดูแลป่านั้น ตอนนี้กำลังปรับให้สามารถออกกฎข้อบังคับโดยท้องถิ่น รวมถึงจะเอื้อการใช้ประโยชน์ เรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์พื้นที่ รวมถึงการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกได้

คุณคมวิทย์ บุญธำรงกิจ บริษัทเอส บี พี ทิมเบอร์กรุ๊ป ตัวแทนจากสมาคมธุรกิจไม้ กล่าวว่า 23ปีที่อยู่ในธุรกิจไม้ นำเข้าไม้ทั่วโลก ทั้งจากแคนนาดา อเมริกา บราซิล พบว่าปริมาณไม้ลดลง และมีราคาแพงขึ้น รวมถึงคนส่วนใหญ่ยังคงเลือกไม้เป็นวัสดุหลักอยู่  ทั้งยังมองว่าธุรกิจไม้เป็นเศรษฐกิจสีเขียว  สามารถช่วยลดการปลอดปล่อยคาร์บอน เก็บคาร์บอนในบ้าน หลังจากหมดอายุการใช้งานสามารถเผาทำลายได้ง่าย ตอนนี้ได้เริ่ม Farm forestry  ปลูกต้นไม้และจะตั้งเป็นกองทุนปลูกป่าในอนาคต หากถ้าพ.ร.บ.ป่าไม้มีการปรับปรุงให้สามารถจัดการใช้ประโยชน์จากป่าปลูกได้  จะช่วยสร้างเศรษฐกิจให้ประเทศ เป็นเหมือนเหมืองทองที่จะสร้างรายได้ รวมถึงอยากเห็นทุกภาคส่วนมาร่วมมือกัน ให้มีป่าชุมชนขับเศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ เป็น Truly Green ที่แท้จริง

คุณกนกศักดิ ดวงแก้วเรือน นายกอบต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่

คุณกนกศักดิ ดวงแก้วเรือน นายกอบต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เห็นพัฒนาการเรื่องของป่าชุมชน ตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อที่เคลื่อนเรื่องประเด็นทรัพยากรในพื้นที่แม่ทา ตอนนั้นรู้สึกว่าการร่วมประชุมในวงต่างๆเป็นเรื่องที่ห่างไกลความเป็นประชาชน หลังจากนั้นพอได้เป็นป่าชุมชนก็เจอปัญหาการการไม่มีข้อมูลทางวิชาการ องค์ความรู้ที่มีเป็นภูมิปัญญา เป็นความรู้แบบชาวบ้าน และยังไม่มีเอกสาร หนังสือทางราชการรองรับ จนได้มาทำเรื่องโครงการนำร่องนำร่องเกษตรกรรมยั่งยืน ตอนนั้นยังเห็นว่าเป็นคนละด้านกับเรื่องป่า กระทั่งมาเป็นนายกอบต.แม่ทาถึงทำงานและเข้าใจเรื่องทรัพยากรมากขึ้น และมาเติมสิ่งที่รุ่นพ่อขาด คือ ข้อมูล รวมถึงการใช้อปท.เป็นเครื่องมือออกเอกสารราชการ ทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนระดับตำบล  เป็นต้น

กนกศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า แม่ทาได้ผลักดันเรื่องป่าชุมชนมามาตลอด และเชื่อว่าคำตอบอยู่ที่ชุมชน หากชุมชนสามารถบริหารจัดการได้ โดดตั้งเป้าว่ายากเห็นการเปลี่ยนแปลง อยากเห็นนโยบายให้มาที่แม่ทา ต้องขยับรูปธรรม แล้วนำไปสู่พื้นที่ทางสังคม เป็นศูนย์ท่องเที่ยว เป็นแหล่งเรียนรู้ ร่วมกัน โดยยึดพื้นที่ ชุมชนเป็นตัวตั้ง ซึ่งการจัดการป่าชุมชนไม่ได้จัดการแค่ป่า ต้องจัดการอาชีพใช้ชาวบ้านมีความสุข มีรายได้ แต่ตอนนี้ยังมีปัญหาหลังส่งเสริมปลูกไม้สัก ไม่สามารถตัดได้ ผิดกฎหมายทำให้ชาวบ้านโดนจับ

ทั้งนี้กนกศักดิ์หวังว่าทำงานกับหลายองค์กร ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนเพื่อเปิดเป็นพื้นที่สื่อสาร หากสามารถหาจุดแข็งและการทำงานร่วมกัน สร้างการยอมรับเชื่อว่านโยบายที่เปลี่ยนเกิดจากากรเรียนรู้ร่วม เกิดจากข้างล่างที่เริ่มเปลี่ยน ทั้งนโยบาย รัฐ เอกชน จะนำไปสู่การเป็นป่าชุมชนของพลเมือง ที่ทุกคนต้องมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดการป่าชุมชนร่วมกัน ดูแล ป้องป้อง รักษา ร่วมกัน

คุณสันติ  โอภาสปกรณ์กิจ ผู้ประสานงานกลุ่มบิ๊กซี

คุณสันติ  โอภาสปกรณ์กิจ ผู้ประสานงานกลุ่มบิ๊กซี กล่าวว่าเราทำเรื่องรุกขกร  เพื่ออยากสื่อสารว่าการจะมีต้นไม้ที่ดี ก็ต้องมีคนดูแล ตัดแต่ง รณรงค์มา 30 ปี ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ จนมาในปีนี้ที่กำลังจะมีสมาคมรุกขกร  และข้อกำหนดให้ หน่วยงานที่มีต้นไม้อยู่ในครอบครองต้องมีรุกขกรภายใน  3 เดือน โดยใช้เพจเป็นตัวขับเคลื่อนการสื่อสาร ลูกเพจเราแสนกว่าคนที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางในเมือง ซึ่งเมื่อคนชั้นกลางเห็นด้วยคนอื่นก็เห็นตาม เกิดเป็นกระแส เราเลยสื่อสารกับคนที่ช่วยสร้างกระแสในเมือง ตอนนี้การสื่อสารsocial กับสื่อกระแสหลัก มันผสมๆกัน อย่างอะไรที่เป็นกระแสในsocial media สื่อกระแสหลักก็จะตามเช่น อย่างเดินประท้วงเขื่อนแม่วงศ์ 12 วัน วันแรกคนเดินร่วมไม่เกิน 10คน เราเลยช่วยกันปั่นกระแสออนไลน์ เพื่อให้คนมาร่วมเดิน จนคนมาเดินร่วมเข้ากทม.เป็นหมื่น  ถ้าเราทำให้เรื่องน่าสนใจจะช่วยให้พัฒนาไปได้

สันติกล่าวอีกว่า การจะทำให้น่าสนใจบนโลกออนไลน์ อย่างแรกรูปต้องสวย  สองไดอะแกรมต้องน่าสนใจ เช่น  ร้านคนจับปลา ขายทางเฟสบุ๊ค มีการโพสต์รูปปลาสวยๆ เรื่องราวทุกวัน เครือข่ายป่าชุมชนสามารถขายได้ เราเชื่อว่าคนจะซื้อถ้าเรื่องราวน่าสนใจ

คุณสมเกียรติ จันทรสีมา  ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส

คุณสมเกียรติ จันทรสีมา  ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือเราจะทำอย่างไรให้คนในอนาคต คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ตอนนี้  เพราะแม้ว่าตอนนี้เราตระหนักเรื่องทรัพยากรมากยิ่งขึ้น แต่พบว่าความรู้เรื่องป่าชุมชนหายไป  เรื่องสิทธิชุมชนถูกพูดถึงน้อยลง  รวมถึงเราต้องเชื่อมโยงคนในสังคมให้ได้ หากเรื่องป่ากลายเป็นเรื่องของเฉพาะชุมชน  คนจะรู้สึกว่าตนเองไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อเป็นตัวเชื่อม

ทั้งนี้สมเกียรติ ยังมองว่า 30 ปีในการขับเคลื่อนเรื่องป่าชุมชนมีองค์ความรู้เกิดขึ้นมามากมายหลายมิติ จำเป็นจะต้องนำมาจัดลำดับและสื่อสารออกไป แต่ต้องเชื่อมโยงให้คนในสังคมในสังคมรู้สึกร่วมว่าการจัดการป่าชุมชนเป็นทางหลักที่ทำให้ป่าไม้มีอยู่ คนเมืองก็สัมผัสได้ สังคมเห็นองค์รวมตรงนั้น แล้วมีปฏิบัติการในการปกป้อง จนกลายเป็น มิติที่เรียกว่าเป็นป่าชุมชนภาคพลเมือง

คุณชลธิศ สุรัสวดี  อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

คุณชลธิศ สุรัสวดี  อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนจะไม่เกิดขึ้นหากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตอนนี้ตนเห็นประชาชน ภาคเอกชน ภาควิชาการ สื่อและคนรุ่นใหม่มาสานต่อ แต่เราจะไม่สามารถก้าวข้าวความหวาดระแวงถ้าไม่ร่วมมือกัน เพราะตอนนี้ถ้าดูนโยบายแผนปฎิรูปประเทศ หรือแผนนโยบายต่างๆ มีเรื่องทรัพยากร เรื่องสิ่งแวดล้อมบรรจุอยู่ ซึ่งหากสามารถผลักกฎหมายในหลายระดับ ภายใต้ธรรมาภิบาล ทุกคนสามารถสร้างกติกาของตัวเองได้ การยกระดับกฎหมายจากข้างล่างโดยให้ข้างบนรับรอง เป็นเรื่องสำคัญ เห็นได้จากหลายชุมชน เช่น อบต.แม่ทา ธรรมนูญกว๊านพะเยา ซึ่งก็ต้องติดตาม และพัฒนาเพื่อเสริมศักยภาพชุมชนต่อไป

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ