รับสมัครผู้ผลิตภาคพลเมือง อบรมปฏิบัติการผลิตรายการ “อยู่ดีมีแฮง” รุ่น 2

รับสมัครผู้ผลิตภาคพลเมือง อบรมปฏิบัติการผลิตรายการ “อยู่ดีมีแฮง” รุ่น 2

“เบิ่งอีสานให้ซอด ฮู้อีสานให้ลึก”

คุณอยากจะบันทึกและบอกต่อเรื่องราวเหล่านั้นหรือไม่

ร่วมเป็นผู้ผลิตภาคพลเมืองเพื่อบอกเล่าเรื่องราวจากอีสาน “เชื่อมเรื่องราวท้องถิ่นสู่โลก” กับรายการ “อยู่ดีมีแฮง” ได้ …

สมัครด่วน วันนี้ – 20 กรกฎาคม 2561

อยู่ ดี มี แฮง : สำรวจสิ่งรอบตัว มองให้รอบด้าน เห็นอีสานให้ซอด (รอบด้าน) ทั้งทางลึกและทางกว้าง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมคุณค่าในอีสานบ้านเฮา

อยู่ ดี มี แฮง : รายการที่ผลิตโดยคนอีสาน เล่าเรื่องอีสาน เพื่อคนอีสาน และขยายมุมมองของอีสานสู่สากล

 

อยู่ ดี มี แฮง : ทำงานโดยให้ชุมชนค้นหาคุณค่าของตนเองผ่าน 4 ประเด็นหลัก และร่วมกับสื่อท้องถิ่นเพื่อเล่าเรื่อง 4 ประเด็นนั้นสู่สังคมวงกว้าง   นี่คือรายการที่ทำงานร่วมกับท้องถิ่น ให้ชุมชนร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมสื่อสาร

อยู่ : ไปดูว่าที่นี่อยู่ไหน อยู่อย่างไร และใครอยู่ที่นี่

ดี : คุณค่าของท้องถิ่นผ่านทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม นวัตกรรม ฯลฯ

มี : ที่นี่มีอะไรให้พูดถึง ขยายมิติความดีงาม ทั้งประเด็นคุณค่า รวมทั้งสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น

แฮง : แรงขับเคลื่อน ความฝัน จังหวะก้าว การทำงาน กิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตรายการ อยู่ดีมีแฮง รุ่น 2  

ที่มาของโครงการ

ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ไทยพีบีเอส รับสมัครผู้ผลิตหน้าใหม่ที่สนใจพัฒนาการผลิตรายการที่มีแง่มุมของประเด็นทางสังคม เพื่อร่วมเรียนรู้ทักษะการผลิตสื่อที่หลากหลายลักษณะ( Multi-Platform) พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตภาคพลเมือง ภายใต้แนวคิดและการทำงานในพื้นที่ภูมิภาคผ่านรายการภูมิภาค 3.0 ช่วง “อยู่ดีมีแฮง”

การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการผลิตสื่อโทรทัศน์ในลักษณะต่างๆ ให้แก่ภาคพลเมือง คือ ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเครื่องมือทำงานด้านการสื่อสารร่วมกับภาคพลเมืองในหลายลักษณะ เช่น นักข่าวพลเมือง สารคดีเชิงข่าว (Citizen Backpack Journalist) และรายการสารประโยชน์

นับแต่ปี 2554  ส.ส.ท. มีนโยบายขยายพื้นที่หน้าจอในเชิงรายการให้ภาคพลเมืองได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอประเด็นและการผลิตผลงาน ทำให้รูปแบบของการนำเสนอประเด็นจากสาธารณะพัฒนาได้หลายลักษณะ   ทั้ง รายการเด็กมีเรื่อง  สองกำลังสื่อ  บ้านเธอก็บ้านฉัน  ก(ล)างเมือง  พลเมืองข่าว  ที่นี่บ้านเรา Backpack Journalist ชุดรายการสารคดี และรายการภูมิภาค 3.0

ปัจจุบันแม้จะเกิดพื้นที่สื่อสารสาธารณะหลายรูปแบบ ทั้งหน้าจอโทรทัศน์ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก เว็บไซด์  และสื่อสังคมออนไลน์ แต่พื้นที่สื่อสารที่มีเนื้อหาระดับภูมิภาคซึ่งคนในพื้นที่สามารถกำหนดวาระ และลงมือผลิตสื่อด้วยตนเองเพื่อเผยแพร่สู่ระดับชาติยังมีสัดส่วนที่น้อย แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามผลักดันและพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่องก็ตาม การเกิดพื้นที่สื่อสารสาธารณะระดับภูมิภาค (เหนือ อีสาน ใต้) จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือและพื้นที่ในการสื่อสาร ที่จะทำให้เสียงของคนในพื้นที่ปรากฏสู่วงกว้าง  โดยที่ผ่านมาในพื้นที่ภาคอีสาน  มีความพยายามพัฒนาการทำงานร่วมกับเครือข่ายเชิงประเด็นที่สนใจการสื่อสารสาธารณะ ผู้ผลิตภาคพลเมืองจากสถาบันการศึกษา และระดับชุมชนอย่างต่อเนื่อง และมีการประชุมหารือวางแผนการทำงานเรื่อยมาตามลำดับ

เมื่อ มกราคม 2559 “รายการอยู่ดีมีแฮง” ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์ที่ผลิตขึ้นภายใต้การทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อพลเมือง และกลไกการทำงานของเครือข่ายกองบรรณาธิการร่วมระดับภูมิภาค เพื่อเป็นอีกพื้นที่สื่อสารรายการต้นแบบสื่อสาธารณะ และเครื่องมือพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตภาคพลเมืองในพื้นที่ภูมิภาค รวมถึงนักข่าวพลเมืองในพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านรายการความยาว 25 นาที เพื่ออธิบายประเด็นทางสังคมเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของประเด็นสาธารณะ  ผ่านมุมมองของผู้ผลิตภาคพลเมืองในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งกำลังเผชิญความท้าทายทั้งจากการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และกระบวนการประชาธิปไตย

จนกระทั่ง กรกฎาคม 2559 ได้มีการปรับรูปแบบการสื่อสาร เข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับเรื่องราวจากภูมิภาค เหนือ อีสาน ใต้ ของ 3 ช่วงรายการ The North องศาเหนือ แลต๊ะแลใต้ และ อยู่ดีมีแฮง ภายใต้รายการ ภูมิภาค 3.0   เพื่อสื่อสารเรื่องราวจากท้องถิ่นอย่างมีพลัง

ทั้งนี้ หน้าที่อีกด้านหนึ่งของช่วงรายการอยู่ดีมีแฮง คือ การส่งเสริมให้เรื่องราวของแต่ละพื้นที่ในภาคอีสาน ถูกถ่ายทอดโดยผู้ผลิตภาคพลเมือง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อในระดับชุมชนไปพร้อมกัน  ดังนั้น ส.ส.ท. โดย ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ จึงเห็นความสำคัญในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิต  “รายการอยู่ดีมีแฮง”ภายใต้แผนพัฒนาผู้ผลิตภาคพลเมือง  ดำเนินการระหว่างเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2561

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

  1. เป็นผู้ผลิตสื่อที่ผ่านการอบรมทักษะร่วมกับฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง สำนักเครือข่ายสาธารณะ หรือเป็น ผู้ผลิตสื่อที่สนใจพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตรายการในประเด็นทางสังคม
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีบุคลากรที่มีทักษะด้านการถ่ายภาพ เขียนบท และตัดต่อ เพื่อผลิตรายการ ไม่เกิน อย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน โดยมีตัวอย่างผลงานที่เคยผลิตมาแสดง
  3. มีรายละเอียดข้อมูลประเด็น “อยู่ดีมีแฮง” ที่อยากจะบอกเล่า โดยเขียนรายละเอียดเนื้อหามานำเสนอ
  4. มีอุปกรณ์การผลิตรายการ
  • กล้องบันทึกภาพระบบ HD และอุปกรณ์บันทึกเสียง ระดับมาตรฐานออกอากา
  • คอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมตัดต่อที่ใช้สามารถรองรับการจัดการด้านภาพ Effect CG รวมถึงการ mixed เสียง
  1. มีเจตจำนงที่จะเรียนรู้ประเด็นสังคมและเปิดใจพัฒนาศักยภาพร่วมกับผู้อื่นโดยจะต้องเข้าร่วมในกระบวนการอย่างครบขั้นตอน
  2. สามารถลงพื้นที่เพื่อผลิตงานและดำเนินการตามกำหนดเวลาที่วางไว้ร่วมกันครบทุกขั้นตอน เพื่อให้ชิ้นงานเสร็จสิ้นสามารถเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะจริง

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

  1. ส่งใบสมัครและตัวอย่างผลงานเข้าร่วมโครงการ ภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ได้ตามช่องทางต่อไปนี้
    • อีเมล์ youdeemeehang@gmail.com , pear.lekkla@gmail.com
    • หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook.com/youdeemeehang
    • หรือ โทร 097-237-7756 คุณพงษ์ศธร พรมโกวาด และ 084-486-8654 คุณธันวา ศรีสุภาพ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ แสดงถึงความพร้อมด้านข้อมูลและอุปกรณ์ในการร่วมพัฒนาศักยภาพผลิตช่วงรายการ “อยู่ดีมีแฮง”จนเสร็จสิ้นกระบวนการ
  3. กลุ่มที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเรียนรู้กระบวนการผลิตจากวิทยากร และร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาชิ้นงานตลอดช่วงการผลิต รวมถึงการถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาแนวทางในการทำงานร่วมกัน
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการตามกำหนดเวลาที่วางไว้ครบทุกขั้นตอน เนื่องจากการเข้าร่วมเป็นโครงการพัฒนาผู้ผลิตฯ ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย ที่จะมีขั้นตอนของการร่วมปรึกษาหารือในเรื่องของการปรับงาน แต่ละขั้นตอนมีเป้าหมายของการพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ และเพื่อให้ชิ้นงานเสร็จสิ้นและเป็นไปตามการเผยแพร่สู่สื่อสาธารณะจริง
  5. การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ถือเป็นที่สิ้นสุด

ความร่วมมือจากสำนักฯ ต่อผู้ร่วมโครงการ

  1. สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ จะจัดกระบวนการฝึกอบรมจากวิทยากร และวางแผนเพื่อการผลิตงานจริงตามเวลาที่กำหนดและถอดบทเรียนจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
  2. สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการร่วมอบรมเชิงปฏิบัติในหมวดที่กำหนดตามข้อบังคับของ ส.ส.ท.
  3. เนื้อหารายการที่เสร็จสมบูรณ์แล้วตามขั้นตอนของการอบรมเชิงปฏิบัติการ จะได้รับการพิจารณาเพื่อเผยแพร่ทางช่องทางของ Thai PBS ตามสมควร
  4. ผู้ร่วมโครงการที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนารายการออกอากาศได้ตามมาตรฐาน ของ ส.ส.ท. หรือสามารถร่วมเป็นผู้ผลิตภาคพลเมืองของสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ


อุปกรณ์และเทคนิคที่ของผู้เข้าร่วมโครงการต้องนำมาร่วมในการอบรมด้วย

  1. มีทักษะพื้นฐานด้านการถ่ายภาพ เขียนบท และตัดต่อเพื่อผลิตรายการ
  2. มีอุปกรณ์สำหรับการผลิตรายการ บันทึกภาพ เสียงและตัดต่อ เพื่อให้ได้มาตรฐานสำหรับออกอากาศ

 

แผนปฏิบัติงาน

วันที่                                             แผนการทำงาน
1 – 20 ก.ค. 2561 ประกาศรับสมัครเครือข่ายผู้ผลิตสื่อพลเมืองเพื่อร่วมฝึกอบรม
(ส่งใบสมัคร / สมาชิกทีม / ความพร้อมของอุปกรณ์ / ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ / แหล่งข่าว / รูปแบบที่ต้องการนำเสนอ)
26 ก.ค. 2561 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
8-10 ส.ค. 2561 Pre-Production ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตรายการ “อยู่ดีมีแฮง” รุ่น 2 ครั้งที่ 1
11 – 31 ส.ค. 2561 Production ผู้ฝึกอบรมลงพื้นที่ผลิตรายการ

·       ส่งโครงการเล่าเรื่องให้วิทยากร

·       วิทยากรให้ความเห็นกลับยังผู้ผลิต/พัฒนาบทสู่กระบวนการตัดต่อ

·        ส่งงานดราฟต์ที่ 1

5-7 ก.ย.2561 Post Production ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตรายการ  “อยู่ดีมีแฮง” รุ่น 2  ครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนาคุณภาพงานสู่มาตรฐานการออกอากาศของไทยพีบีเอส

 

 

กำหนดการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อผลิตรายการ “อยู่ดีมีแฮง” (Pre-Production)
สถานที่ ภายใน จ.ขอนแก่น *** อยู่ระหว่างการประสานงาน

 

วันที่ 1ของการอบรม

09.00 – 09.30 น.        ลงทะเบียน

09.30 – 10.30 น.        ทำความรู้จักกัน ทำความเข้าใจโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตรายการ

10.30 – 10.45 น.        พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.30 น.        รู้จักแนวคิดรายการอยู่ดีมีแฮง (พลังของความจริง ข้อมูลความรู้และการเล่าเรื่อง)

12.30 – 13.30 น.        รับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 15.30 น.        รูปแบบการเล่าเรื่องที่หลากหลาย

15.30 – 15.45 น.        รับประทานอาหารว่าง

15.45 – 18.30 น.        นำเสนอคลิป “อยู่ดีมีแฮง” ของผู้ร่วมอบรม  วิทยากรเติมประเด็น/การเล่าเรื่อง

18.30– 19.30 น.         รับประทานอาหารเย็น

19.30 น.  เป็นต้นไป      พักผ่อน / เรียนรู้ตามอัธยาศัย

วันที่ 2 ของการอบรม

08.00 – 09.00 น.        รับประทานอาหารเช้า

09.00 – 10.30 น.        ทบทวนวันวาน /เทคนิคการถ่ายภาพ การออกแบบภาพ และจัดการเสียง

10.30 – 10.45 น.        รับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.        พัฒนาประเด็น / โครงเรื่อง / แผนการลงพื้นที่

12.00 – 13.00 น.        รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 18.00 น.        นำเสนอโครงเรื่อง และแผนการลงพื้นที่โดยละเอียด

18.00 – 19.00 น.        รับประทานอาหารเย็น

19.00 – 20.00 น.        นำเสนอโครงเรื่อง และแผนการลงพื้นที่โดยละเอียด

20.00 น. เป็นต้นไป       แลกเปลี่ยนตามอัธยาศัย

วันที่ 3 ของการอบรม

08.00 – 09.00 น.        รับประทานอาหารเช้า

09.00 – 10.30 น.        ทบทวนแผนการทำงาน

10.30 – 12.00 น.        ทำความเข้าใจเรื่องเวลาทำงาน / กระบวนการหนุนเสริมเพื่อการผลิต

ในพื้นที่ประเด็น / ฝึกอบรม ครั้งที่ 2 Post-Production)

12.00 – 13.00 น.        รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 เป็นต้นไป          เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ดาวน์โหลดใบสมัครและรายละเอียดโครงการ : https://goo.gl/66XhPS 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ