จุดไฟในสายลม รวมแถลงการณ์ ‘เทใจให้เทพา’ ร้องรัฐหยุดปิดกั้นเสรีภาพประชาชน – จี้ปล่อยผู้ถูกควบคุมตัว

จุดไฟในสายลม รวมแถลงการณ์ ‘เทใจให้เทพา’ ร้องรัฐหยุดปิดกั้นเสรีภาพประชาชน – จี้ปล่อยผู้ถูกควบคุมตัว

หลังจากเหตุสลายการชุมนุม “เดิน….#เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เมื่อช่วงเย็นวันที่ 27 พ.ย. 2560 ของกลุ่มผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาซึ่งต้องการเดินทางไปยื่นหนังสือข้อเรียกร้องให้ถึงมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม.นอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2560 ที่ จ.สงขลา ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและมีผู้ถูกควบคุมตัว 16 คน หลังจากเหตุสลายการชุมนุม “เดิน….#เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เมื่อช่วงเย็นวันที่ 27 พ.ย. 2560 ของกลุ่มผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาซึ่งต้องการเดินทางไปยื่นหนังสือข้อเรียกร้องให้ถึงมือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม.นอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2560 ที่ จ.สงขลา ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและมีผู้ถูกควบคุมตัว 16 คน

เครือข่ายภาคประชาชน กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานทางสังคมในทั่วประเทศ ได้ทยอยกันออกแถลงการณ์แสดงท่าทีและข้อเรียกร้องต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้

 

00000

 

4 องค์กรสิทธิมนุษยชน 

แถลงการณ์ให้ปล่อยตัวประชาชนจากการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของประชาชน

ตามที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมและผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 โดยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มเดิน เครือข่ายฯได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพา และวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 น. ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาเนื่องจากพึงทราบว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ต้องแจ้งการชุมนุม อย่างไรก็ดีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ให้เลิกการชุมนุมสาธารณะภายในเวลา 18.00 น.ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในวันนี้ (27 พฤศจิกายน 2560) เวลาประมาณบ่ายโมง เมื่อเครือข่ายฯเดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีตำรวจประมาณ 1 กองร้อยตั้งจุดสกัดขบวนเดินเท้าของเครือข่าย และเวลาประมาณ 16.20 น เจ้าหน้าที่ได้สลายการชุมนุม มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บและชาวบ้านจำนวนหนึ่งถูกควบคุมตัวไป

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และขอยืนยันหลักการสิทธิเสรีภาพที่รัฐต้องให้การเคารพและคุ้มครอง ดังต่อไปนี้

1. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะต้อเป็นไปตามกฎหมายและจำเป็นแก่สังคมประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย สาธารณะ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น แต่จากข้อเท็จจริงการเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เห็นได้ชัดว่าเป็นการเคลื่อนไหวโดยสันติ เดินตามริมขอบถนน และมีวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมเพื่อบอกกล่าวถึงความกังวลต่อโครงการการพัฒนาที่อาจจะก่อผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้ง เครือข่ายได้มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณธและขอผ่อนผันตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2560 แล้ว การที่เจ้าหน้าที่ปิดกั้น สลายการชุมนุมและจับกุมชาวบ้านจึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรม และเป็นการกระทำที่ไม่ขอบด้วยกฎหมาย

2. สิทธิชุมชนและการเสนอเรื่องร้องทุกข์ เป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยในมาตรา 41 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว” และมาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” ซึ่งการเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ก็อยู่ภายใต้หลักการสิทธิดังกล่าว เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อยื่นเรื่องร้องทุกข์ การให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นและความกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจ ดังนั้น การกีดกันหรือไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างชัดเจน

3. สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (Rights to Fair Trial) เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 โดยสิทธิประการดังกล่าวกำหนดห้ามมิให้มีการจับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจ เว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้การจับโดยทั่วไปต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาลและมีเหตุแห่งการออกหมายจับ หรือเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้กรณีนี้เจ้าหน้าที่จะกล่าวอ้างว่าการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่สามารถจะจับกุมบุคคลได้ เพราะหากพิจารณาตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แล้ว จะเห็นได้ว่าความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ยังไม่ถือเป็นความผิดซึ่งหน้าที่เจ้าหน้าที่จะจับกุมตัวได้ จนกว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและต้องมีคำสั่งจากศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะนั้น รวมทั้งได้มีการประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการสลายการชุมนุม และได้จับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วมและการชุมนุมโดยสงบไป โดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาลและประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน จึงถือเป็นการจับกุมควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ไม่มีเหตุผลอันสมควร และเป็นไปโดยอำเภอใจ

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้โดยทันที

1. ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณี “เดิน….เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน….หานายก หยุดทำลายชุมชน” โดยทันที

2. รัฐต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนดังที่ได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะได้เต็มที่

3. ยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชนพร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น

ด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (HRLA)

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)

สมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (UCL)

มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)

00000

 

ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

แถลงการณ์ประณามการกระทำอันป่าเถื่อนของเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำต่อพี่น้องประชาชนชาวเทพา

จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐในเวลาบ่าย วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 พี่น้องประชาชนชาวเทพาที่เดินเท้าเพื่อมายื่นหนังสื่อให้นายกรัฐมนตรี ซึ่งการเดินของพี่น้องเทพานั้นเป็นไปตามหลักสันติอหิงสา แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่รัฐสลายการเดินชุมนุมโดยการใช้กำลังประทุษร้าย จนพี่น้องประชาชนชาวเทพาได้รับบาทเจ็บถึงขั้นต้องส่งตัวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และมีการจับกุมชาวบ้านที่มาร่วมเดินรณรงค์โดยไม่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษย์ชน

ทางชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขอประณามการกระทำอันป่าเถื่อนที่ไร้ซึ่งมนุษย์ธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐในครั้งนี้ และเราขอยืนหยัดเคียงข้างพี่น้องประชาชนชาวเทพาในครั้งนี้อย่างสุดหัวใจ และขอยืนยันว่าการลุกขึ้นมาปกป้องฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภัยคุกคามที่มาในรูปแบบโครงการพัฒนาของรัฐที่มีฐานคิดแบบอุตสาหกรรมนั้น ไม่ใช้อาชญากร และเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของประชาชนที่จะปกป้องมาตุภูมิของตนในฐานะพลเมืองของรัฐไทยคนหนึ่ง

สุดท้ายทางชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐนั้นปล่อยตัวพี่น้องประชาชนชาวเทพาที่ถูกจับไปโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และเรานักศึกษาขอยืนยันถึงความชอบธรรมของพี่น้องประชาชนอีกครั้งว่าการลุกขึ้นมาปกป้องฐานทรัพยากรนั้นไม่ใช้อาชญากรด้วยจิตรักสันติ

“ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

#เทใจไห้เทพา

#ปล่อยตัวพี่น้องเรา

#NoCoal

00000

 

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ

แถลงการณ์กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการกรณีการใช้ความรุนแรง จับกุม ควบคุมตัว ปิดกั้น ขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพของเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน และขอให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข

จากการกระทำของรัฐบาล ที่ส่งทหารตำรวจมาสกัดกั้นประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในนาม “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” ทำให้เกิดเหตุการณ์ปะทะจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ และมีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกควบคุมตัว ในขณะเดียวกันกลับเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อ้างว่าเห็นด้วยกับการสร้างโรงไฟฟ้าเข้าไปยื่นจดหมายได้

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ได้ติดตามการเดินเท้าของประชาชนในนามเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมาอย่างต่อเนื่อง เราเห็นว่าการเดินเท้าของประชาชนครั้งนี้เป็นไปด้วยความสุจริตใจ ถือเป็นสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนสามารถทำได้ และรัฐพึงต้องตระหนักถึงเสรีภาพนี้ด้วยเช่นกัน แต่การสกัดกั้นและควบคุมประชาชนไว้ท่ามกลางความตึงเครียด ในขณะที่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มอื่นที่มีความเห็นอีกด้านได้เข้าไปใช้สิทธิของตนเองได้ ถือเป็นการจงใจสร้างความตึงเครียดให้กับประชาชนที่ถูกสกัดกั้นนำไปสู่การปะทะจนมีผู้บาดเจ็บและถูกควบคุมตัว

การกระทำของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลครั้งนี้ขัดต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติหลายประการ อาทิ ข้อ 3 การพัฒนาต้องนำไปสู่การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ได้ว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเขา อีกทั้งมีรายงานการศึกษาผลกระทบของประชาชนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ บริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีในอดีตอย่างชัดเจน และในข้อ 17 การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่รัฐบาลกลับเลือกที่จะรับฟังเฉพาะฝ่ายสนับสนุนเท่านั้น

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ และเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของภาคประชาชนทั้งที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มบุคคลและเครือข่ายที่ติดตาม และผลักดันให้มีการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและการจัดรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า มีความเห็นต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนี้

1. การเดินเท้าของประชาชนที่มุ่งหน้าไปยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ถือเป็นสิทธิและเสรีภาพที่ประชาชนกระทำได้ รัฐบาลต้องหยุดการละเมิดและคุกคามสิทธิของประชาชนในการออกมาชุมนุมอย่างสงบ

2. รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 27 พ.ย. 2560 ที่มีการตัดสินใจสลายขบวนเดินของประชาชน ส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ และมีบางส่วนถูกควบคุมตัว

3. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่ถูกควบคุมตัวทั้งหมดทุกข้อกล่าวหาโดยไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากการปะทะและความรุนแรงที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากประชาชน แต่เกิดจากการที่รัฐสั่งให้ทหาร ตำรวจ สกัดกั้นและกดดันจนนำไปสู่เหตุการณ์ดังกล่าว

00000

 

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ภาคอีสาน

แถลงการณ์ของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน ภาคอีสาน
หยุด ! ใช้อำนาจเถื่อนจับกุมพี่น้องค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

ต้องขอคาระวะพี่น้องชาวบ้านที่รวมตัวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ของ กฟผ. ด้วยความจริงใจ แม้ว่าการเคลื่อนไหวต่อสู้ในครั้งนี้จะมีความยากลำบากเพราะ ผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเราปิดหู ปิดตาที่จะรับฟังความจริงจากประชาชนในพื้นที่ ซ้ำร้ายผู้นำในยุคนี้ยังมีอคติกับกลุ่มที่คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ในข้อกล่าวหาเดิม ๆ คือ ขัดขวางการพัฒนาประเทศและถ่วงความเจริญ

หลายปีที่ผ่านมาพี่น้องชาวเทพา จังหวัดสงขลา ได้เดินทางเพื่อยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ให้รับทราบถึงความทุกข์ยากและปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตจากการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา แต่ไม่เคยมีเสียงตอบรับแต่อย่างใดจากผู้นำรัฐบาล

การเดินเท้าจำนวน 75 กิโลเมตร ของพี่น้อง ให้หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินเนื่องจากนายกรัฐมนตรี จะมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ในวันที่27 พฤศจิกายน 2560 และประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ดังนั้นเจตนาการเดินเท้าเพื่อไปหานายกรัฐมนตรีจึงเป็นความหวังของการบอกกล่าวปัญหาความเดือดร้อนให้ผู้นำรัฐบาลรับทราบ

แต่ในวันนี้ (27 พ.ย.2560) มีการใช้กองกำลังเข้าสลายพี่น้องคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลาอย่างป่าเถื่อนโดยไม่ยึดกับหลักกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ผิดกับที่รัฐบาลได้ประกาศเรื่อง “สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ” เราขอประนามรัฐบาล ว่าการใช้กองกำลังเข้าสลายพี่น้องเทพา โดยไม่ยึดหลัก “สิทธิมนุษยชน” เป็นความเลวร้ายอย่างยิ่ง และการประกาศดังกล่าวเป็นเพียงลมปากเพื่อสร้างภาพเท่านั้น ดังนั้นเราจึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล ดังนี้

1. ให้ปล่อยตัวพี่น้องที่ถูกจับกุมโดยด่วนอย่างไม่มีเงื่อนไข

2. ให้มีการสอบสวนในการใช้กองกำลังสลายการรวมตัวของประชาชนที่ชุมนุมโดยสันติ

3. ให้รัฐบาลยุติการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา

ด้วยจิตคาระวะ

  • คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.อีสาน)
  • เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอีสาน
  • เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคอีสาน
  • เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
  • เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ภาคอีสาน
  • สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น
  • สมาคมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเทือกเขาเพชรบูรณ์
  • สมาคมเครือข่ายชาวนาชาวไร่อีสาน
  • สมาคมป่าชุมชนอีสาน
  • สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ
  • ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน (ศสส.)
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแม่น้ำโขง
  • ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม
  • ศูนย์พิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง
  • ศูนย์ศึกษาชุมชนท้องถิ่นอีศาน
  • โครงการทามมูล
  • กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
  • คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 kv. จ.อุดรธานี
  • เครือข่ายคนรุ่นใหม่กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
  • กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลำพะเนียง
  • กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำโขง อ.ปากชม จ.เลย
  • เครือข่ายชุมชนฮักน้ำโขง
  • ขบวนการอีสานใหม่ (New Esaan Movements)
  • กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์แก่งละหว้า จ.ขอนแก่น
  • โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศห้วยเสนง จ.สุรินทร์
  • กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำชีตอนล่าง จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร
  • สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา จ.ศรีสะเกษ
  • กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย จ.ยโสธร
  • เครือข่ายอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย จ.อำนาจเจริญ
  • กลุ่มรักษ์อำเภอวานรนิวาสภาคีเครือข่ายฯ จังหวัดสกลนคร
  • กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมห้วยเสือเต้นและโคกหินขาว จ.ขอนแก่น
  • กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน)
  • ชมรมชาวบ้านอนุรักษ์ลำน้ำพอง จ.ขอนแก่น
  • กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนามูนดูนสาด จ.กาฬสินธุ์
  • ขบวนองค์กรชุมชน จ.สุรินทร์
  • กลุ่มสมุนไพรเพื่อสันติภาพ

00000

 

เครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออก

แถลงการณ์ เครือข่ายประชาชนและประชาสังคมภาคตะวันออกให้ปล่อยตัวประชาชนจากการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมายและยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของประชาชน

๏ ปล่อยตัวบุคคลทุก ๆ คน ที่ถูกควบคุมตัวจากกรณี “เดิน….เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน….หานายก หยุดทำลายชุมชน” โดยทันที

๏ รัฐต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนดังที่ได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะได้เต็มที่

๏ ยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชน พร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น

ด้วยความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของชุมชนในการปกป้องบ้านของตนเอง

00000

 

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่าง (กป.อพช.นล.)

แถลงการณ์คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่าง (กป.อพช.นล.)

ให้รัฐยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน ปล่อยตัวประชาชนที่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พร้อมทั้งแสดงความจริงใจในการปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมด้วยการหยุดโรงไฟฟ้าตามที่เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินด้วยเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560

โดยเครือข่ายประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนผ่านแถลงการณ์ฉบับที่1ของเครือข่ายว่า “ เราจะเดินอย่างสันติ ไปพบนายกรัฐมนตรี เพื่อบอกถึงความทุกข์ร้อนของคนเทพา” ซึ่งชัดเจนในแนวทางการวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมในเดินเท้าอย่างสันติทั้งหมด 5 วัน

เพื่อบอกกล่าวถึงความห่วงกังวลต่อโครงการพัฒนาที่อาจจะก่อผลกระทบต่อชุมชนในระยะยาว โดยชุมชนมีข้อสะท้อนถึงการกระบวนปิดกั้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าแนวโน้มทิศทางการพัฒนาของทั้งโลกกำลังทยอยยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เป็นพลังงานสกปรก ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

พร้อมทั้งเดินหน้าพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างแท้จริง ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งตั้งเป้าหมายร่วมกันขั้นพื้นฐานที่จะรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส

โดยประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ไปลงนามความร่วมมือร่วมกับประชาคมโลก ทั้งนี้การเดินเท้าเพื่อพบนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ทางเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณะและขอผ่อนผันตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2560 แล้ว

โดยมีเป้าประสงค์เพื่อนำข้อเสนอไปยื่นต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เพื่อเป็นการแสดงออกตามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ ถือเป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันนี้ 27 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่ 4 ของการเดินอย่างสันติเพื่อไปพบนายกรัฐมนตรี ขณะที่เครือข่ายฯ เดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 1 กองร้อยโดยประมาณ ตั้งจุดสกัดขบวนเดินเท้าของเครือข่าย หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ทำการสลายขบวนเดินเท้าของเครือข่ายด้วยความรุนแรง ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ส่งผลให้มีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ และอีกจำนวนหนึ่งถูกควบคุมตัวไปสถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา และขณะนี้ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวแต่อย่างใด

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่างเห็นว่าการเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เป็นการเคลื่อนไหวโดยสันติ แต่จากเหตุการณ์ที่มีการปะทะและจับกุมตัวที่เกิดขึ้นดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ

ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อาจก่อเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ในภายหลัง ทั้งนี้การลงพื้นที่สัญจรของคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลควรสร้างบรรทัดฐานใหม่ สร้างการยอมรับของสังคม ในการที่ลงพื้นที่สัญจรสัญจรนั้นให้ถือเป็นการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้สะท้อนปัญหาเพื่อการรับฟังอย่างปราศจากอคติ เป็นธรรมและรอบด้านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

จึงขอเรียกร้องถึงทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้โดยทันที

1. ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณี “เดินอย่างสันติ ไปพบนายกรัฐมนตรี เพื่อบอกถึงความทุกข์ร้อนของคนเทพา” โดยทันที

2. เคารพต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

3. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นจริงบนพื้นฐานการเคารพสิทธิชุมชนและการปกป้องทรัพยากรของชาติและยุติการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือปิดกั้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชน

4. ทบทวนและยกเลิกโครงการพัฒนาที่ใช้ถ่านหินในกระบวนการผลิตทั้งหมด และเดินหน้าสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

เชื่อมั่นศรัทธาในพลังประชาชนคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือตอนล่าง

27 พฤศจิกายน 2560

00000

 

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส. หรือ P-Move)

แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมเรื่อง

“ประณามการใช้ความรุนแรงกับชาวบ้าน รัฐบาลต้องปล่อยตัว หยุดการดำเนินคดี แก้ปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาด้วยสันติ”

จากปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มีการให้สัตยาบันในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Cop 21) ว่า จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ลดสัดส่วนการใช้พลังงานฟอสซิล โดยเฉพาะถ่านหิน และใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น โดยประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการแถลงว่าจะใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลยังคงเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ที่มีกำลังผลิตถึง 2,200 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่กว่าโรงไฟฟ้าปกติถึง 3 เท่าตัว จะมีการอพยพชุมชนกว่า 250 ครัวเรือน บ้าน มัสยิด กุโบร์ วัด โรงเรียน จะหายไปจากแผ่นดิน นอกจากนั้น การขนถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และอาชีพประมง การเผาไหม้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าจะก่อให้เกิดสารพิษร้ายแรงจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และอาชีพเกษตรกรรม

ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านสงขลาปัตตานี และภาคประชาชนหลายองค์กรได้ยื่นหนังสือให้รัฐบาลยุติโครงการ โดยชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากโครงการ และกระบวนการศึกษาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ไม่มีความชอบธรรม ไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมาตั้งแต่ต้น แต่ไม่มีเสียงตอบรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด

ชาวบ้านจึงได้เดินเท้าระยะทาง 75 กิโลเมตร จากบ้านเพื่อมายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีกำหนดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เป็นการแสดงออกโดยสงบ ภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 43 (3) “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำเนินการใดอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือ ชุมชน หรืองดเว้นการดำเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน” และ มาตรา 44 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ” รวมถึง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ซึ่งได้มีการแจ้งจัดกิจกรรมไว้แล้ว

แต่ในวันนี้ (27 พฤศจิกายน 2560) มีการใช้กองกำลังเข้ามาสลาย ทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ พร้อมทั้งจับกุมชาวบ้านหลายราย ในขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส. หรือ P-Move) เป็นเครือข่ายประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐ และมีการขับเคลื่อนให้รัฐบาลรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากร ตลอดจนการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องมาหลายรัฐบาล ขอประณามการใช้กำลังทำร้ายร่างกายข่มขู่คุกคามสะกัดกั้นการแสดงออกโดยสงบของชาวบ้าน พร้อมทั้ง ขอเรียกร้องให้รัฐบาล

1. ต้องปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม ไม่มีการดำเนินคดี และยุติการใช้ความรุนแรงกับชาวบ้าน การเดินเท้าของชาวบ้านเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิชุมชนอย่างสันติ ตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

2. ต้องทบทวนกระบวนการของรัฐที่ผ่านมา ทั้งเวทีรับฟังความคิดเห็น การทำ EHIA ปิดกั้นการแสดงออกสิทธิชุมชน

3. ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างสันติ ด้วยการเปิดเวทีสาธารณะอย่างรอบด้าน โดยให้ชุมชนเข้าร่วมอย่างทั่วถึง โดยยึดหลักการคุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิชุมชน และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นฐาน

การเร่งรัดดำเนินโครงการโดยไม่ยอมรับสิทธิชุมชน การมีส่วนร่วมประชาชน ไม่เพียงจะทำลายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นเป้าหมายสากล แต่ยังขยายความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ทำให้ประชาชนไม่ไว้วางใจการปฏิรูปของรัฐบาลอีกต่อไป

ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

27 พฤศจิกายน 2560

00000

 

เครือข่ายสลัม 4 ภาค

แถลงการณ์ ให้ปล่อยตัวประชาชนจากการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของประชาชน

ตามที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมและผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560

โดยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มเดิน เครือข่ายฯได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพา และวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 น. ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา เนื่องจากเพิ่งทราบว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ต้องแจ้งการชุมนุม อย่างไรก็ดีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ให้เลิกการชุมนุมสาธารณะภายในเวลา 18.00 น.ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณบ่ายโมง เมื่อเครือข่ายฯเดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีตำรวจประมาณ 1 กองร้อยตั้งจุดสกัดขบวนเดินเท้าของเครือข่าย และเวลาประมาณ 16.20 น เจ้าหน้าที่ได้สลายการชุมนุม มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บและชาวบ้านจำนวนหนึ่งถูกควบคุมตัวไป

เครือข่ายสลัม 4 ภาค มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และขอยืนยันหลักการสิทธิเสรีภาพที่รัฐต้องให้การเคารพและคุ้มครอง ดังต่อไปนี้

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบ เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะต้อเป็นไปตามกฎหมายและจำเป็นแก่สังคมประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย สาธารณะ ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรม หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น แต่จากข้อเท็จจริงการเคลื่อนไหวของ “เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เห็นได้ชัดว่าเป็นการเคลื่อนไหวโดยสันติ เดินตามริมขอบถนน และมีวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมเพื่อบอกกล่าวถึงความกังวลต่อโครงการการพัฒนาที่อาจจะก่อผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้ง เครือข่ายได้มีการแจ้งการชุมนุมสาธารณธและขอผ่อนผันตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2560 แล้ว การที่เจ้าหน้าที่ปิดกั้น สลายการชุมนุมและจับกุมชาวบ้านจึงเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรม และเป็นการกระทำที่ไม่ขอบด้วยกฎหมาย

สิทธิชุมชนและการเสนอเรื่องร้องทุกข์ เป็นสิทธิที่ถูกรับรองไว้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยในมาตรา 41 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว” และมาตรา 43 บัญญัติไว้ว่า “บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” ซึ่งการเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ก็อยู่ภายใต้หลักการสิทธิดังกล่าว เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อยื่นเรื่องร้องทุกข์ การให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นและความกังวลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจ ดังนั้น การกีดกันหรือไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้อย่างชัดเจน

สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (Rights to Fair Trial) เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 โดยสิทธิประการดังกล่าวกำหนดห้ามมิให้มีการจับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจ เว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้การจับโดยทั่วไปต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาลและมีเหตุแห่งการออกหมายจับ หรือเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้กรณีนี้เจ้าหน้าที่จะกล่าวอ้างว่าการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่สามารถจะจับกุมบุคคลได้ เพราะหากพิจารณาตามมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 แล้ว จะเห็นได้ว่าความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ยังไม่ถือเป็นความผิดซึ่งหน้าที่เจ้าหน้าที่จะจับกุมตัวได้ จนกว่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและต้องมีคำสั่งจากศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะนั้น รวมทั้งได้มีการประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการสลายการชุมนุม และได้จับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วมและการชุมนุมโดยสงบไป โดยที่ยังไม่มีคำสั่งศาลและประกาศพื้นที่ควบคุมเสียก่อน จึงถือเป็นการจับกุมควบคุมตัวบุคคลโดยไม่เป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ไม่มีเหตุผลอันสมควร และเป็นไปโดยอำเภอใจ

เครือข่ายสลัม 4 ภาค จึงขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้โดยทันทีการเดินเท้าของชาวบ้านเป็นไปเพื่อปกป้องสิทธิชุมชนอย่างสันติ ตามรัฐธรรมนูญทุกประการ ดังนั้นรัฐต้องปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณี “เดิน….เทใจให้เทพา หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน….หานายก หยุดทำลายชุมชน” ทุกคนโดยทันทีรัฐต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนดังที่ได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติไปเมื่อไม่นานมานี้ และเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับเรื่องนโยบายสาธารณะได้เต็มที่ กระบวนการของรัฐที่ผ่านมาทั้งเวทีรับฟังความคิดเห็น การทำ EIA ปิดกั้นการแสดงออกสิทธิชุมชน ซึ่งรัฐต้องทบทวนยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชนพร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น โดยยึดหลักการคุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิชุมชน และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นฐาน

การเร่งรัดดำเนินโครงการโดยไม่ยอมรับสิทธิชุมชน การมีส่วนร่วมประชาชน ไม่เพียงจะทำลายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นเป้าหมายสากล แต่ยังขยายความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ทำให้ประชาชนไม่ไว้วางใจการปฏิรูปของรัฐบาลอีกต่อไป…

ด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

00000

 

นักศึกษากลุ่มสายลุย ม.รังสิต ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)

แถลงการณ์ ขอประณามในการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มพี่น้องผู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา จ.สงขลา

“ไทยประกาศลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20-25 พร้อมลดใช้พลังงานจากฟอสซิล และใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ถ้อยแถลงจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (COP21) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

แต่ในปัจจุบันรัฐบาลซึ่งนำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต มีความพยายามที่จะผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่งในประเทศ ถือว่าเป็นการผิดคำพูดอย่างรุนแรง สร้างความอับอาย เสื่อมเสียแก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก

โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมากลุ่มเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้เดินเท้าในกิจกรรม “เดิน…เทใจให้เทพาหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เดิน…หานายกฯ หยุดทำลายชุมชน” เพื่อยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีทราบถึงเหตุผลในการคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ซึ่งถือเป็นการแสดงออกอย่างสงบตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ในมาตรา 44 รวมถึง พ.ร.บ. การชุมชนสาธารณะ พ.ศ. 2558

แต่เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมาได้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำการสลายการชุมนุมและทำร้ายร่างกายผู้ชุมนุมที่มีทั้งเด็ก ผู้หญิง และคนชรารวมอยู่ด้วย รวมถึงจับกุมผู้ชุมนุมไปถึง 16 คน
เราขอประณามเจ้าหน้าที่รัฐผู้ที่มีส่วนรวมในการสลายการชุมนุม โดยใช้วิธีอันป่าเถื่อน รุนแรง ไร้อารยธรรม และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้สร้างความอับอาย ลดความน่าเชื่อถือให้แก่ประเทศไทยและกองทัพไทย ในการโกหกต่อคนทั้งโลกในเรื่องการใช้พลังงานทดแทนของประเทศไทย

โดยทางกลุ่มมีข้อเรียกร้องทั้งหมด 3 ข้อดังนี้

1. ขอให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข และถอนการดำเนินคดีทั้งหมดโดยทันที

2. ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ใช้กำลังสลายการชุมนุมที่เป็นไปอย่างไม่ชอบและให้มีการขอโทษผู้ชุมนุมทั้งต่อหน้าและเป็นลายลักษณ์อักษรจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสลายการชุมนุมทั้งหมด

3. ขอให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทุกพื้นที่ในประเทศไทยและพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องมีส่วนรับผิดชอบในลดความเชื่อถือของประเทศไทยต่อเวทีโลก

ทั้งนี้หากยังไม่มีการปล่อยตัวชาวบ้านผู้ถูกจับกุมทั้ง 16 คน ภายในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เราทางนักศึกษากลุ่มสายลุย ม.รังสิต และ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD) จะยกระดับจัดกิจกรรมเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวบ้านผู้ถูกจับกุมทั้งหมดต่อไป แล้วพบกัน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.

แถลงการณ์โดย นักศึกษากลุ่มสายลุย ม.รังสิต ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2560

 

00000

 

เครือข่ายนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แถลงการณ์ร่วมเครือข่ายนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กรณีสลายการชุมนุมของประชาชน เรือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เนื่องด้วยวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ประชาชน เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ออกเดินเท้าจาก ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นจุดที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีวัตถุประสงค์ในการยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงเจตจำจงของประชาชน ให้ยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในอ่าวปาตานี

ในการสลายการชุมนุมดังกล่าว มีการใช้ความรุนแรงนำไปสู่การได้รับบาดเจ็บผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล ว่าด้วยการชุมชุนออย่างสันติ

ทางเครือข่ายนักศึกษา ม.อ. จึงได้มีข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดังต่อไปนี้

ข้อ.๑ ทางเครือข่ายนักศึกษา ม.อ.ไม่เห็นด้วยกับการสลายการชุมนุม และทางเราขอประณามการกระทำดังกล่าวที่มาจากอำนาจรัฐและเป็นไปโดยไม่ชอบธรรม ซึ่งขัดกับหลักการในสิทธิมนุษยชน ที่รัฐบาลได้ชูให้เป็นวาระแห่งชาติ

ข้อ.๒ ทางเครือข่ายนักศึกษา ม.อ. ขอเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจาการใช้ความรุนแรงต่อชาวบ้านที่ใช้สิทธิของตนในการยื่นหนังสือร้องทุกข์ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดังที่กล่าวว่า “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

00000

 

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
กรณีการสลายการชุมนุมและจับกุมเครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

ตามที่เครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้ทำกิจกรรมเดินรณรงค์ “เดินไปหานายก หยุดโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทใจให้เทพา หยุดการพัฒนาที่ทำลายชุมชน” ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อยื่นจดหมาย ถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เพราะมีความไม่ชอบธรรมนานัปการ อันเนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้ลงมาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2560 และประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลาในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 นั้น โดยเครือข่ายฯ ได้เริ่มเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ เพื่ออธิบายต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการฯ ความฉ้อฉล และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเครือข่ายฯ ต้องการให้นายกรัฐมนตรีรับฟังเสียงประชาชนและให้พิจารณายกเลิกโครงการฯ ร่วมกันสร้างสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ดังที่รับทราบแล้วนั้น

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและรับทราบว่า ชาวบ้านได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดสงขลาได้มีประกาศให้เลิกการชุมนุมสาธารณะดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งต่อมาในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณบ่ายโมง เมื่อเครือข่ายฯ ได้เดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตั้งจุดสกัดการเดินเท้าของเครือข่าย และในเวลาต่อมาประมาณ 16.20 น เจ้าหน้าที่ของรัฐก็เข้าได้สลายการชุมนุมของเครือข่ายฯ ทำให้ชาวบ้านบางส่วนได้รับความบาดเจ็บและชาวบ้านอีก 16 คนถูกควบคุมตัวไป

สถานการณ์ดังกล่าว สะเทือนขวัญและกำลังใจของประชาชนในสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง และลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาลลงอย่างรุนแรง เนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศและพยายามจะสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในประเทศและจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้เท่าเทียมสากล โดยประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาตินั้น

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอแสดงท่าทีและข้อเรียกร้อง ดังต่อไปนี้

1. เราขอประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรง และขอให้ปล่อยตัวชาวบ้านทั้งหมดที่ถูกควบคุมตัวหรือดำเนินคดีทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้เพราะการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนไม่อาจใช้ท่าทีที่แข็งกร้าวได้ อีกทั้งรัฐควรดำเนินนโยบายการพัฒนายั่งยืนตามที่ประกาศต่อสังคมโลก

2. เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรง การใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือที่ใช้ทำลายความชอบธรรมของประชาชนในการแสดงออก ถึงสิทธิเสรี เสรีภาพ ที่จะเรียกร้องให้รัฐได้เข้ามาแก้ไขปัญหา และต้องสร้างการมีส่วนร่วม รวมถึงยอมรับกระบวนการตรวจสอบของประชาชน อย่างจริงจัง

3. เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลชุดนี้ยุติการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อำเภอเทพา เอาไว้ก่อน เพื่อรอรัฐบาลใหม่ ที่ได้มาจากหลังจากการเลือกตั้งได้ดำเนินการจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความเห็นและเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่เป็นประชาธิปไตย ภายใต้กฎกติกาที่เป็นธรรม

ด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นในพลังประชาชน
แถลงโดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
28 พฤศจิกายน 2560

00000

 

เครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

แถลงการณ์เครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
28 พฤศจิกายน 2560

“แค่ไปยื่นจดหมายให้กับรัฐบาลถึงกับถูกจับขังคุก” คงเป็นอะไรที่แปลกประหลาดสำหรับประเทศที่เรียกตัวเองว่าปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และแปลกประหลาดต่อเนื่องเมื่อรัฐบาลประกาศว่าประเทศไทยของเรานั้นจะเป็นปีแห่งสิทธิมนุษยชน แต่ภาพจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นกับชาวบ้านอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

เมื่อตำรวจใช้กำลังเข้าสลายกิจกรรมเดินเท้าของเครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินในการไปยื่นหนังสือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ที่นำคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อการประชุม ครม. สัญจร ต่อประเด็นความไม่เป็นธรรมที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รัฐสกัดการเดินทำกิจกรรมและจับกุมชาวบ้านไปอย่างน้อย 16 คน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 หลังเดินขบวนจาก อ.เทพาตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อเตรียมเข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี

หากรัฐบาลมีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับพลเมืองของรัฐนั้นๆแล้ว การรักษาทรัพยากรของชาติก็เป็นหนึ่งในหน้าที่ที่รัฐบาลทุกรัฐบาลควรกระทำ และการฟังเสียงของประชาชนก็เป็นหนึ่งในวิถีที่จะทำให้รัฐบาลนั้นๆได้มองเห็นปัญหาอย่างรอบด้าน เพื่อที่จะได้ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน

และเสียงสะท้อนจากประชาชนต่อส่ิงที่รัฐบาลกำลังดำเนินการในการจัดให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ อ.เทพา จ.สงขลา นั้น ก็เป็นเสียงสะท้อนให้หยุดก่อสร้าง เพราะมีปัญหาทั้งในแง่เป้าหมายและกระบวนการ และผลกระทบต่อคนในพื้นที่

ในแง่เป้าหมายนั้น เป็นที่แน่ชัดของสังคมโลกแล้วว่า พลังงานถ่านหินนั้น ได้สร้างผลกระทบทั้งกับโลกและกับมนุษย์ เป็นพลังงานไม่สะอาดมีผลกระทบในแง่ลบมากกว่า ทั้งจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสิ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีผลกระทบด้านสุขภาพและอนามัย ดังนั้นเราจะเห็นประเทศต่างๆในโลกที่ศิวิไลซ์นั้นพยายามลดหรือเลิกใช้ในที่สุด โดยแก้ไขโดยการหาพลังงานสะอาดมาทดแทน เช่น พลังงานน้ำ ลม แสงอาทิตย์

ในแง่กระบวนการนั้น ตลอด 4 ปีของ การดำเนินการจัดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.เทพา นั้นมีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 ครั้ง,กระบวนการศึกษา EHIA มีความบกพร่อง ไม่ครอบคลุม เพราะชาวบ้านไม่เห็นมีการเก็บข้อมูลเลยแต่กลับมีข้อมูลรายงานต่อภาครัฐ และการศึกษามีข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงจำนวนมาก หรือแม้กระทั่งกระบวนการอนุมัติโครงการมีการแยกส่วนการศึกษา EHIA เช่น มีการชงให้ ครม.อนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาไปก่อน โดยไม่รอ EHIA ท่าเรือขนถ่านหินซึ่งไม่ผ่านและยังต้องปรับแก้อีกมาก

ในแง่ผลกระทบต่อคนในพื้นที่นั้น ในแง่พื้นที่ทำโครงการเกือบ 3,000 ไร่ หากมีการสร้างจริง ต้องมีการบังคับโยกย้ายคนกว่า 180 หลังคาเรือน ร่วม 1,000 คน นับเป็นการบังคับโยกย้ายครั้งใหญ่ และคนที่จำเป็นต้องอยู่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าถ่านหินในรัศมี 1 กิโลเมตร มีมากถึง 4,000 คน และรัศมี 5 กิโลเมตรมีร่วม 20,000 คน นั้นแสดงถึงการเลือกที่ตั้งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

จากปัญหาทั้ง 3 ทาง ทั้งในแง่เป้าหมาย กระบวนการ และผลกระทบนั้น สรุปได้แน่ชัดว่า “โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาไม่มีความชอบธรรมใดๆ ที่จะสร้าง” และหนักเข้าไปใหญ่ เมื่อรัฐเลือกที่จะใช้ความรุนแรงทั้งในแง่กำลังและกฎหมายเข้าจัดการกับประชาชนที่ออกมาคัดค้าน ดังนั้น ทางเครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอประณามการกระทำของรัฐว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงและรับไม่ได้ โดยมีข้อเรียกร้อง ดังนี้

1.ขอให้เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยตัวและไม่ดำเนินคดีต่อชาวบ้านที่เดินเท้ามายื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีเงื่อนไข เพราะไม่มีเหตุผลใดๆในการจับกุมคุมขัง เป็นการทำกิจกรรมที่ปราศจากอาวุธและสันติวิธีเป็นไปตามหลักวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งมีแต่รัฐที่เป็นเผด็จการเท่านั้นที่ใช้ความรุนแรงทั้งทางกฎหมายและกำลังเพื่อให้ชาวบ้านปราศจากอิสรภาพ

2.ขอให้ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน และพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะไม่นำไปสู่การสร้างสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน และรัฐบาลไม่ควรมาตัดสินใจแทนประชาชนในพื้นที่

3.การที่รัฐบาลประกาศว่าสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาตินั้น รัฐบาลควรทำได้จริงไม่ใช้การกล่าวอ้างเพื่อให้ตัวเองดูดีในเวทีโลก และการปกป้องทรัพยากรของประเทศให้กับประชาชนก็เป็นหนึ่งในหน้าที่ที่รัฐควรกระทำมิใช่ปกป้องเพียงผลประโยชน์ของนายกทุน

ด้วยเชื่อในพลังประชาชน
เครือข่ายนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

00000

 

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ต.)

แถลงการณ์คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
จากกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพานายกไม่รับหนังสือไม่ฟังประชาชน

๒ ประการที่รัฐบาล คสช.ต้องปฏิบัติต่อกรณีการสลายประชาชนเพื่อการปกป้องแผ่นดินจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา
๑)ปล่อยตัวประชาชนผู้ปกป้องแผ่นดินเป็นอิสระโดยไร้เงื่อนไข
๒)อย่าได้ใช้เหตุการณ์นี้รวมหัวกัน ระหว่าง ทหาร- ตำรวจ – กฟผ. เพื่อกระทำการบางอย่าง ที่จะนำไปสู่การฉ้อฉลเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหิน

๒ ประการที่จะบอกกับประชาชนทั้งประเทศเพื่อให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากทาสพ่อค้าฟอสซิล
๑)ขบวนการ no coal เป็นขบวนการที่ปกป้องโลก เป็นสัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของโลก เราจะต้องแสดงให้เห็นว่า ประชาชนคนไทยไม่ได้มีพฤติกรรมเหมือนรัฐบาลที่สนับสุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำลายโลกอย่างบ้าคลั่ง
๒)โลกไปไกลแล้วซึ่งการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ประชาชนนั้นมีคำตอบสำหรับการผลิตไฟฟ้า แต่รัฐบาลเมินเฉยเพราะคำตอบของประชาชนไม่ใช่คำตอบของกลุ่มทุนถ่านหิน

๒ ประการที่ คสช.ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำครั้งนี้
๑) หมดเวลาของความชอบธรรมที่อ้างว่าทำเพื่อความสงบของประชาชน การเข้ามา๓ปีของ คสช.ก่อวิบากกรรมมหาศาลต่อประเทศ ผ่านการกระทำต่อประชาชนและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมหลายฉบับ
๒)ขอให้ประชาชนทั้งประเทศจงจับตา คสช. จากการใช้อำนาจและการออกกฎหมายหลายแบับในดค้งสุดท้ายของอำนาจ มันจะนำไปสู่วิบากกรรมอันมหาศาลต่อประเทศ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

00000

 

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้

แถลงการณ์
เรื่อง ขอประณามการใช้ความรุนแรงและให้ปล่อยตัวผู้บริสุทธิ์โดยไม่มีเงื่อนไขในทันที

ตามที่ได้มีการสลายการชุมนุม ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เพื่อยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ทำให้มีผู้รับบาดเจ็บและมีการถูกจับกุมดำเนินคดี จำนวน 16 คน ดังที่ปรากฏทราบต่อสาธารณชนนั้น

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เริ่มต้นกิจกรรมเดินเท้าเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นมา เห็นว่าชาวบ้านได้จัดกิจกรรมด้วยท่าทีที่อ่อนน้อมถ่อมตน สงบ สันติ และปราศจากอาวุธ ภายใต้การใช้สิทธิ เสรีภาพตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

การสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว จึงไม่เพียงเป็นการละเมิดสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ กระบวนการทางกฎหมายเท่านั้น หากยังสะท้อนวิธีคิดแบบ “อำนาจนิยม” ที่เห็นประชาชน-ชาวบ้านเป็นศัตรู ไม่มีมนุษยธรรมและความชอบธรรมใด ทำให้สังคมไทยอยู่ในบรรยากาศและการกระทำที่พร้อมใช้ความรุนแรงโดยรัฐต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ จึงขอประณามการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเรียกร้อง ดังนี้
1. ให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 16 คน โดยไม่มีเงื่อนไข ในทันที
2. รัฐบาลต้องเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน สมดังเจตนาที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินนโยบาย การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาและนโยบายสาธารณะต่างๆ

อนึ่ง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้จะร่วมกับประชาชนและภาคประชาสังคมต่างๆ ในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และพร้อมเคลื่อนไหวเพื่อให้บรรลุข้อเรียกร้องข้างต้นโดยเร็วที่สุด

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้
28 พฤศจิกายน 2560

รายชื่อนักวิชาการ

1.รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ ม.ทักษิณ
2.รศ.ดร.พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ม.ทักษิณ
3.อ.นิจนิรันดร์ อวะภาค ม.ทักษิณ
4.อ.ปิยปาน อุปถัมภ์ ม.ทักษิณ
5.อ.เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ ม.ทักษิณ
6.ดร.จันทราทิพย์ สุขุม ม.ทักษิณ
7.อ.นฤมล ฐานิสโร ม.ทักษิณ
8.ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ ม.ทักษิณ
9.ผศ.พรชัย นาคสีทอง ม.ทักษิณ
10.ผศ.มูหำหมัด สาแลบิง ม.ทักษิณ
11.ผศ.ดร.ศุภการ สิริไพศาล ม.ทักษิณ
12.ดร.ฐากร สิทธิโชค ม.ทักษิณ
13.รศ.ดร.อดิศร ศักดิ์สูง ม.ทักษิณ
14.ดร.อุทัย เอกสะพัง ม.ทักษิณ
15.ผศ.ดร.ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ ม.ทักษิณ
16.ดร.อนินทร์ พุฒิโชติ ม.ทักษิณ
17.นายปรเมศวร์ กาแก้ว ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
18.นายบัณฑิต ทองสงฆ์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
19.นายชนะ จันทร์ฉ่ำ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
20.อ.เทพรัตน์ จันทพันธ์ ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
21.รศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
22.ผศ.อภิชาติ จันทร์แดง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
23.อ.โชคชัย วงษ์ตานี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
24. อ.ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
25.ผศ.ดร.เก็ตถวา บุญปราการ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
26.นายเจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
27.รศ.ดร.ปัญญา เทพสิงห์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
28.รศ.ดร.วรรณะ หนูหมื่น ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
29.ผศ.เอมอร เจียรมาศ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
30.ดร.นันทรัฐ สุริโยม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
31.ดร.วีระศักดิ์ คงฤทธิ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
32.ดร.อภิวัฒน์ อายุสุข ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
33.ดร.รพี พงษ์พานิช ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
34.ดร.ณัฐยา ยวงใย ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี
35.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
36.ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
37.อ.สุภาพร ฝั่งชลจิตต์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
38.อ.สายฝน สิทธิมงคล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
39.อ.ศุภกาญจน์ บัวทิพย์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
40.ดร.สุไรนี สายนุ้ย ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
41.ดร.อรชา รักดี ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
42.ดร.สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
43.ดร.ถาวรินทร รักษ์บำรุง ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
44.ผศ.นุกูล รัตนดากุล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
45.ผศ.ดร.สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
46.ผศ.ดร.วลัยลักษณ์ จ่างกมล ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
47.ผศ.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
48.ดร.กรวิทย์ เกาะกลาง ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
49.ดร.ชุมพล แก้วสม ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
50.ดร.อนิรุต หนูปลอด ม.แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร
51.ดร.เกียรติขจร ไชยรัตน์ ม.ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
52.อ.สนธยา ปานแก้ว ม.ราชภัฏภูเก็ต
53.อ.เนานิรันดร์ อวะภาค ม.ราชภัฏภูเก็ต
54.อ.อับดุลรอซะ วรรณอาลี ม.ราชภัฏยะลา
55.ผศ.วัชระ ศิลปเสวตร์ ม.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชุมพร
56.ดร.กฤษณะ ทองแก้ว ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
57.อ.ณัฐกานต์ แน่พิมาย ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
58.อ.ธวัช บุญนวล ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
59.ดร.พลกฤต แสงอาวุธ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
60.อ.กิตติพิชญ์ โสภา ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
61.ดร.สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
62.ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ ม.ราชภัฎสงขลา
63.อ.ชาญวิทย์ จันทร์อินทร์ ม.ราชภัฎสงขลา
64.ดร.ไชยา เกษารัตน์ ม.ราชภัฎสงขลา
65.อ.กรีฑา แก้วคงธรรม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
66.ผศ.จัตุรัส กีรติวุฒิพงศ์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
67.ผศ.ปริทรรศ หุตางกูร ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
68.อ.บุญยิ่ง ประทุม ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
69.ผศ.ดร.สืบพล จินดาพล ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
70.ผศ.นฤมล ขุนวีช่วย ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
71.อ.มานะ ขุนวีช่วย ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
72.อ.เชษฐา มุหะหมัด ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
73.อ.วิชิต จรุงสุจริตกุล ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
74.อ.ส.ศิริชัย นาคอุดม ราชภัฎนครศรีธรรมราช
75.อ.ทยา เตชะเสน์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
76.อ.มลิมาศ จริยพงศ์ ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช
77.ผศ.ดร.ฐิรวุฒิ เสนาคำ ม.วลัยลักษณ์
78.อ.ฟารีดา หมัดเหล็ม ม.วลัยลักษณ์
79.อ.วิทยา อาภรณ์ ม.วลัยลักษณ์
80.อ.ปิยชาติ สึงตี ม.วลัยลักษณ์
81.อ.จิตประพัฒน์ สายโสภา ม.วลัยลักษณ์
82.อ.ธนิต สมพงศ์ ม.วลัยลักษณ์
83.อ.พรเพ็ญ ประกอบกิจ ม.วิทยาลัยชุมชนสงขลา
84.อ.ภาวดี ฉัตรจินดา ม.วิทยาลัยชุมชนสงขลา
85.อ.อทิมาพร ทองอ่อน วิทยาลัยชุมชนสงขลา
86.นายบุญเลิศ จันทระ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
87.นายธีระ จันทิปะ สถาบันทักษิณคดีศึกษา
88.อ.กามารุดดีน อิสายะ ม.ทักษิณ
89.ดร.ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ ม.ทักษิณ
90.ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง นักวิชาการอิสระ
91.อ.เพ็ญประไพ ภู่ทอง นักวิชาการอิสระ
92.อ.กอแก้ว วงษ์พันธุ์ นักวิชาการอิสระ
93.อ.ณัฐวุฒิ โชติการ นักวิชาการอิสระ
94.อ.จิราภรณ์ เรืองยิ่ง นักวิชาการอิสระ
95.อ.จรูญ หยูทอง นักวิชาการอิสระ
96.อ.ปารพ์พิรัชย์ จันเทศ ม.ราชภัฏสงขลา
97.อ.เดโช แขน้ำแก้ว ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
98.อ.สิริรัตนา ชูวัจนะ ม.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชุมพร
99.อ.สุดาภรณ์ ปัจฉิมเพชร ม.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชุมพร
100.อ.เพชรไพลิน ทองนิล ม.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชุมพร
101.อ.ธีรยุทธ ปักษา ม.ทักษิณ
102.นายบุญรัตน์ บุญรัศมี นักวิชาการอิสระ

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ