ยื่นหนังสือ “เปิดเขื่อนหัวนาถาวร” ชาวบ้านทวงสัญญาแก้ปัญหาผลกระทบ

ยื่นหนังสือ “เปิดเขื่อนหัวนาถาวร” ชาวบ้านทวงสัญญาแก้ปัญหาผลกระทบ

“เปิดเขื่อนหัวนาถาวร” ข้อเสนอสุดท้ายของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนา เอาทรัพยากรธรรมชาติ ป่าทาม แม่น้ำมูลคืนมา เอาวิถีการดำรงชีวิตที่สงบสุขและมั่นคงคืนมา ขออยู่อย่างไม่เสี่ยงภัยผลกระทบจากเขื่อนหัวนา

รายงานโดย : กลุ่มสื่อเสียงคนอีสาน 

 

วันที่ 2 ต.ค. 2560 ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนาจำนวนกว่า 100 คน ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และ ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบจังหวัดศรีสะเกษ สืบเนื่องจากผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการเขื่อนหัวนาวันที่ 27 ก.ย.2560 ณ ทำเนียบรัฐบาลไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องขอบเขตการแก้ไขปัญหาได้โดย ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง (กรมชลประทาน) และรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายเมธี สุพรรณฝ่าย ไม่นำเอามติที่ประชุมอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบโครงการเขื่อนหัวนาจังหวัดศรีสะเกษที่นำเสนอผลการตรวจสอบพบผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงที่เกินกว่าระดับ+114 ม.รทก. พร้อมเอกสารประกอบสู่การพิจารณาต่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่มีรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นประธาน

นายแดง คาวี แกนนำชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนา กล่าวว่า เนื้อหาของหนังสือได้กล่าวถึงกรมชลประทานและรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษที่ไม่จริงใจต่อการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากการทดน้ำของเขื่อนมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 2555 และผลการรับรองการตรวจสอบข้อเท็จจริงวันที่ 23 พ.ย. 2556 ที่คณะทำงานระดับอำเภอ 5 อำเภอที่ได้รับรองความถูกต้องร่วมกันไว้แล้ว ทั้งฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่น อบต. ภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่โครงการมูลล่าง (กรมชลประทาน)

การประชุมกรณีเขื่อนหัวนา ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ไม่มีข้อยุติเรื่องขอบเขตผลกระทบและจ่ายค่าชดเชย แต่ได้มีมติเห็นชอบให้ท่านที่ผู้ช่วย รมต.เกษตรฯ นายอำนวย ปะติเส เข้ามาเป็นหัวหน้าคณะทำงานในการดำเนินหาข้อยุติในเรื่องขอบเขตผลกระทบจริงที่เกินกว่า มติ.ครม. เดิม โดยใช้สูตรคำนวนหาค่า ระดับ 114 ม.รทก. + ค่า X คือค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ โดยนายอำนวย ปะติเส จะลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเพื่อหาทางออกให้กับอนุกรรมการระดับจังหวัดศรีสะเกษ อีกครั้งภาย ในอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน ต.ค. 2560

ดังนั้นวันนี้ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจึงรวมตัวกันมายื่นหนังสือเพื่อใช้สิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของตนเองโดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อดังนี้

  1. ให้ชดเชยตามผลกระทบจริง ที่อนุกรรการได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรับรองความถูกต้องแล้ว เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2556 เพราะประชาชนได้รับผลกระทบช่วงเดือน พ.ย.-ม.ค.ของทุกปี หากไม่สามารถหากไม่สามารถดำเนินการชดเชยได้ เสนอให้ออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินให้กับประชาชนโดยยึกเอกสาร รว.43ก. และเอาทรัพยากรกลับคืนมาให้ประชาชนดังเดิม
  2. ให้ย้ายข้าราชการที่ไม่จริงใจในการแก้ไขปัญหาและไม่รับฟังปัญหาของประชาชนผู้เดือดร้อน ออกจากพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาภายใน 6 เดือนที่ท่านรองนายก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ได้สั่งการไว้ โดยเฉพาะ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง

ทั้งได้มีหนังสืออีกหนึ่งฉบับที่ได้เรียกร้องให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายเมธี สุพรรณฝ่าย ได้ออกมาชี้แจงต่อสาธารณะ กรณีการกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนหัวนา โดยมีข้อความว่า “เขื่อนหัวนาไม่มีผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่” ดังนั้นประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจึงได้เรียกร้องให้ชี้แจงประเด็นดังกล่าว

นายประเทือง โพธิ์งาม ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนหัวนา กล่าวว่า แท้จริงแล้วชาวบ้านไม่ต้องการเขื่อน ไม่ต้องการค่าชดเชย แต่ต้องการวิถีชีวิตที่มั่นคง ไม่ต้องเสี่ยงภัยต่อผลกระทบจากเขื่อน

ต่อมา นายสันติธร ยิ้มละมัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ มารับหนังสือและข้อเสนอของชาวบ้านในวันนี้ ชาวบ้านจะติดตามผลในการยื่นหนังสือในครั้งต่อไป จากนั้นชาวบ้านจึงได้แยกย้ายกันเดินทางกลับ เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น.

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ