ชนเผ่าพื้นเมืองแถลง “จะขอดำรงอยู่คู่สังคมไทย”

ชนเผ่าพื้นเมืองแถลง “จะขอดำรงอยู่คู่สังคมไทย”

เมื่อวานนี้ (9 ส.ค.60) เป็นอีกวันที่เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองทั่วประเทศกว่า 37 กลุ่มชาติพันธุ์ได้มารวมตัวกันในงานสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทยและวันชนเผ่าพื้นเมืองสากลทบทวนปฎิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนพื้นเมืองในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อค้นหาบทเรียนที่เกิดขึ้น และออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้เกิดการคุ้มครองในสิทธิ ในเรื่องที่ดินทำกิน การมีสัญชาติและบัตรประชาชน การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและสาธารณสุข ได้รับการคุ้มครองทางวัฒนธรรม ภาษา เข้าถึงและสามารถจัดการทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย

10 ปีแล้วที่ (13 กันยายน 2550) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples) ซึ่งต้องการที่จะให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และให้ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการกำหนดตนเอง โดยเหตุแห่งสิทธินั้น เพื่อให้มีอิสระที่จะกำหนดสถานภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของตนได้อย่างอิสระ

แต่ในปัจจุบันยังมีปัญหาที่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต้องเผชิญอยู่มากมาย จึงร่วมกันออกแถลงการณ์ของเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง โดยประกาศร่วมกันว่า  “พวกเราชนเผ่าพื้นที่เมืองจะดำรงอยู่คู่สังคมไทย

“กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง ล้วนเป็นคนไทย ผูกพันกับประเทศไทย มีสำนึกในความเป็นธรรม มีการดำรงชีวิตด้วยองค์ความรู้ วัฒนธรรมที่ดีงาม แต่ยังประสบปัญหาการดำรงชีวิตโดยข้อจำกัดของกฎหมาย แผนพัฒนาของรัฐบาล ซึ่งกระทบการใช้สิทธิขั้นพื้นฐาน ปัญหาเรื่องดังกล่าวมาจากเรื่องสถานะบุคคล การใช้ทรัพยากรที่ดิน การเข้ารับการบริการทางสุขภาพ การลดความสามารถในการผลิต/สร้างความมั่นคงทางอาหาร การลดทอนความหลากหลายทางชีวภาพ และการแพร่ระบาดของเคมีภัณฑ์ รวมถึงการขาดกฎหมายรับรองที่เกี่ยวข้อง”

สุพจน์ หลี่จา: ตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือเหนือตอนบน

 

“มีข้อเสนอ (๑) การขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสภาฯ (๒) การขับเคลื่อนความเสมอภาคจองสภา (๓) การส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (๔) การร่วมขยายพื้นที่ดูแลพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง”

วริชญา จันทะยวง : ตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือเหนือตอนล่าง

 

“สภาพปัญหาที่ผ่านมาเป็นเงื่อนไขที่บังคับให้เราต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่าย นำเสนอรูปแบบตัวตนที่หลากหลาย โดยจะเป็นองค์ประกอบที่เรียงร้อยเข้ามาช่วยเหลือกัน เราจะร่วมเผชิญปัญหา และก้าวไปด้วยกัน”

สมโภช ดาศรี : ตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคกลาง ตะวันตกและตะวันออก

 

 “กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้อาศัย และทำกินในพื้นที่มานานหลายร้อยปี เรายังไม่มีสิทธิในที่ดิน ที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน ที่จิตวิญญาณ และอื่นๆ ขาดความมั่นคงในการใช้ชีวิต ถูกคุกคามจากการพัฒนา หรือการประกาศนโยบายของรัฐ มีรากฐานของอคติทางชาติพันธุ์ และอื่นๆ จากสถานการณ์ดังกล่าว เสนอให้มีการขับเคลื่อน การสร้างความสัมพันธ์ของเครือข่ายภายใน และสร้างศักยภาพในการทำงานร่วมกัน การสร้างความมั่นคง การผลักดัน พรบ. ๒ ฉบับ (เขตวัฒนธรรม และสภาฯ) การแก้ไขปัญหาที่ดิน การถือครองทรัพยากร การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล การส่งเสริมการศึกษาตามวิถีชีวิต การแก้ไขปัญหาอคติทางชาติพันธุ์ การส่งเสริม/สนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

วิทวัส เทพสงค์ : ผู้แทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้

 

 มีจุดยืน ๓ เรื่องหลัก คือ การเป็นส่วนหนึ่งในการสานพลังเครือข่ายทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก การเฝ้าติดตามนโยบายให้เป็นธรรม การขับเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียม และยอมรับ การเป็นสวนหนึ่งในการสร้างพื้นที่รูปธรรมตัวอย่างที่สอดคล้องภาครัฐ

เกรียงไกร ชีช่วง : ผู้แทน AIPP

ขอบคุณลันทึกเรื่องราว : Ekachai Pinkaew  วันชนเผ่าพื้นเมืองสากล 8-9 ส.ค. 60 ณ คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่

……………………………………………………………………………………………………………………………………….

แถลงการณ์เจตนารมณ์เครือข่ายเผ่าพื้นเมืองภาคใต้

เรา..กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่ามอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย และ มันนิ เป็นกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัย ทำมาหากินในบริเวณเทือกเขาบรรทัดและชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยมานานหลายร้อยปี   มีภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา  ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง     แต่กลับไม่ได้รับการเชิดชูในฐานะชนเผ่าพื้นเมือง ที่ควรจะมีสิทธิด้านที่ดิน ที่อยู่อาศัย  ที่ทำกินบนบกและในทะเล  และพื้นที่ทางจิตวิญญาณ รวมถึงการมีอคติทางสังคม ที่นำไปสู่การขาดโอกาสเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆของ  4 ชนเผ่าในภาคใต้  ขาดความมั่นคงในที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขา   ซึ่งเป็นที่ที่อยู่อาศัยและทำมาหากินสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ภัยคุกคามต่อวัฒนธรรมชนเผ่าฯ  คือ การรุกคืบของธุรกิจพัฒนาที่ดิน ธุรกิจท่องเที่ยว  รวมทั้งกฎระเบียบของพื้นที่เขตอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากร   ซึ่งจะทำให้กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองถูกจำกัดการใช้ที่ดิน จนไม่เหลือสืบทอดถึงรุ่นลูกหลานอีกต่อไป    และที่สำคัญปัญหาอคติทางชาติพันธุ์ยังคงฝังรากลึก  เป็นผลสะท้อนให้กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ กลาย ”เป็นพลเมืองชั้นสอง ” ในสังคมอีกด้วย

จากสถานการณ์ข้างต้น  เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้และภาคีความร่วมมือ    มีความเห็นร่วมกันว่าควรจะมีการขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม  มีแผนงานและกิจกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อกระชับความสัมพันธ์เครือข่ายภายในกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็สร้างความเข้าใจในคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้สังคม รวมถึงนโยบายรัฐด้วย

เรา..เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ ขอประกาศว่า

1.สร้างความมั่นคงในชีวิตและที่ดิน โดยให้มีการรับสนับสนุนร่าง พรบ.เขตส่งเสริมและคุ้มครองทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าพื้นเมือง และ พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

2.ให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่อยู่อาศัย ของชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ด้วยวิธีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยึดเอกสารสิทธิ์แต่เพียงอย่างเดียว

3.ให้ชาวเลสามารถประกอบอาชีพประมง โดยใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิม ในการหาทรัพยากรตามเกาะต่างๆ ได้ และขอให้มีการดำเนินการในพื้นที่เขตผ่อนปรนเพื่อให้ชาวเลเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม

4.เร่งแก้ปัญหาสัญชาติ ในกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 4 เผ่าที่ไม่มีบัตรประชาชน

5.ให้ส่งเสริมด้านการศึกษาตามหลักสูตรวิถี ภูมิ ปัญญาแก่เด็กและเยาวชน รวมถึงสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

6.เร่งแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์และให้มองชนเผ่าพื้นเมืองอย่างมีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียม

7.ให้ส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชนเผ่าพื้นเมือง  สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมต่อเนื่อง

8.ให้รัฐบาลสนับสนุนและส่งเสริมชุมชนเครือข่ายที่เข้มแข็งอยู่แล้ว โดยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเกิดความยั่งยืน และให้มีงบประมาณส่งเสริม “วันรวมญาติชาวเล” และ”รวม ญาติ มันนิ เพื่อจัดกิจกรรมและการพบปะแลกเปลี่ยน ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

ศรัทธาในพลังชนเผ่าพื้นเมือง

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้

…………………………………………………………………………………………………………………………..

แถลงการณ์เจตนารมณ์เครือข่ายเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือ(พื้นที่ราบ)

เครือข่ายชนเผ่าภาคเหนือพื้นที่ราบ ประกอบด้วยชาติพันธุ์ไทใหญ่ บีซู ขมุ ไทหย่า ไทเขิน ไทยลื้อ ไทยอง ขอประกาศเจตนารมย์ร่วมกับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย ดังนี้

1.ขอร่วมขับเคลื่อนสภาชนเผ่าพื้นเมืองให้มีความเป็นบึกแผ่น สามมัคคี เป็นพลังแข็งแกร่งต่อไป

2.ร่วมผลักดัน พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อให้เกิดความเสมอภาค สิทธิ ความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ เคารพในศักดิ์สรีความเป็นมนุษย์ของชนเผ่าพื้นเมือง

3.รัฐต้องยอมรับความมีตัวตนของชนเผ่าพื้นเมือง ให้เรามีที่ยืนอย่างมีศักดิ์ศรี และส่งเสริมให้ชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ร่วมกับป่าและธรรมชาติด้วยวิถีชีวิต อย่างมีความสุข

4.เราจะร่วมขยาย พื้นที่เข้าถึงชนเผ่าพื้นเมืองให้ครอบคลุมถึงพี่น้องชนเผ่าทุกพื้นที่ในประเทศไทย

 

คำมั่นสัญญาในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปีของมูลนิธิเพื่อประสานความร่วมมือ
ของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (
AIPP) และโอกาสครบรอบ ๑๐ ปี
ของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง
“การยืนยันรากเหง้าตัวตน เพื่อก้าวสู่อนาคตที่ดี
(Reaffirming our roots, Embracing our future)” 

 

ตามที่มีการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP) ในปี ๒๕๓๕ ให้ทำหน้าที่ยกระดับ ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการใช้สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right to self-determination) ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง (indigenous peoples) โดยตอบสนองต่อสถานการณ์แนวโน้มทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ การกดขี่ข่มเหง และการแสวงประโยชน์ การกำหนดสร้างวัฒนธรรมและระบบกฎหมายที่สร้างการแบ่งแยก กีดกัน และความเป็นอื่น และกลายเป็นกรอบความร่วมมือการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ และความเป็นเอกภาพของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง การอำนวยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดต่อเป้าหมายหรือแรงบันดาลใจที่สร้างร่วมกัน และการสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลไก และกระบวนการสนับสนุนสำหรับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั้งในระดับปัจเจก และระดับกลุ่ม ตลอดจนชุมชนระหว่างประเทศที่อยู่ชายขอบ และถูกกดขี่ข่มเหง ให้สามารถเข้าถึงความเสมอภาค ความเป็นธรรม และสันติภาพ

ด้วยเจตนารมณ์ในการก่อตั้งข้างต้น ทำให้ในช่วง ๒๕ ปีผ่านมา มูลนิธิ AIPP และพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองได้ทำหน้าที่ร่วมกันในการจัดเตรียมความพร้อม การสร้างเสริมความเข้มแข็ง และศักยภาพของตนเองในการนำเสนอ อภิปราย การชักชวน สร้างความเข้าใจ และการยืนกรานแนวคิดและความมุ่งมั่นทั้งต่อ การใช้สิทธิในการกำหนดชะตากรรม (self-determination) และการปกครองของตนเอง (self-government) สิทธิมนุษยชน (human rights) และกฎหมายจารีตประเพณี (customary law) สิทธิของเราเหนือที่ดิน ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย อาณาบริเวณถิ่นฐานของบรรพบุรุษ และทรัพยากรต่างๆ (rights over lands, territories and resources) วัฒนธรรม องค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดจนการถือครองทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) สิทธิของผู้หญิง เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง

ด้วยตระหนักถึงการให้คำมั่นรับรองปฏิญญาองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples : UNDRIP) เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๐ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่สร้างโอกาส และพื้นที่ในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก โดยเป็นการขยายผลและการสร้างความก้าวหน้าในการยอมรับ และเคารพความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่ในระบบกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

ด้วยตระหนักถึงความอุตสาหพยายามที่พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกร่วมดำเนินการที่ผ่านมา และยังคงยืนกรานที่จะร่วมกันขับเคลื่อน การต่อสู้เพื่อสิทธิของพวกเราในโอกาสครบรอบ ๒๕ ปีของมูลนิธิ  AIPP และโอกาสครบรอบ ๑๐ ปี ของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP)
ณ วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นวันสากลเพื่อชนเผ่าพื้นเมืองโลก (International Day of the World’s Indigenous Peoples) องค์กรสมาชิกของมูลนิธิ AIPP จึงขอแถลงคำมั่นสัญญาร่วมกัน ดังนี้

 

๑.โดยที่ประเด็นหลักในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของพวกเรา ก็คือ การสร้างความตื่นตัว และตระหนักถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (right to self-determination) ผ่านการบริหารจัดการ และการปกครองตนเอง (self-government) โดยครอบคลุมทั้งการมีอิสระในการกำหนดเจตจำนงทางการเมือง และการดำเนินการใดๆ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พวกเราใคร่ขอเน้นย้ำว่า การต่อสู้ และขับเคลื่อนเพื่อการกำหนดเจตจำนงของตนเอง ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างประชาธิปไตย (democratization) จึงพึงนำหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และความเห็น ประสบการณ์ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก

พวกเราขอยืนยันและแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อน ต่อสู้ร่วมกันของพวกเรา ในการเสริมความเข้มแข็ง และสร้างกลไก/สถาบันที่หนุนช่วยการพัฒนาและการเติบโตของระบบวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย และการเมืองที่มีลักษณะจำเพาะของพวกเรา นอกจากนั้น พวกเรายังขอยืนยันที่จะสาน และเสริมสร้างความร่วมมือ ตลอดจนปฏิบัติงานใดๆ ร่วมกับรัฐ และหน่วยงานใดๆ ของรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มคนชายชอบอื่นๆ ในการสร้างสังคมประชาธิปไตย และความเสมอภาคเท่าเทียม ความยุติธรรม และสันติสุข

 

๑.โดยที่การดำเนินการใดๆ ต่อเนื่องผ่านลักษณะความสัมพันธ์ที่เนื้อแท้ และผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับการใช้ที่ดิน ที่ทำกิน อาณาบริเวณ และทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการธำรงรักษาอัตลักษณ์ตัวตนของพวกเราผ่านการใช้ภาษา การนับถือศาสนา และการปฏิบัติตามจารีตประเพณี ล้วนถูกข่มขู่ คุกคามผ่านวิธีการต่างๆ ทั้งการใช้กำลังอำนาจทางทหาร การพัฒนาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน การอพยพโยกย้าย และการโน้มนำ หรือครอบงำทางวัฒนธรรม

ดังนั้น พวกเราขอเน้นย้ำแนวทางในการแก้ไขปัญหาของเรา โดยการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของพวกเราเหนือสภาพการใช้ที่ดิน ที่ทำกิน อาณาบริเวณ และทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลสภาพการถือครองทรัพย์สินโดยมีกระบวนการและวิธีการที่พวกเราสามารถกำหนด หรือออกแบบได้เอง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ทั้งนี้ พวกเราเห็นพ้องร่วมกันที่จะกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่างๆ เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และดูแลมรดกทางวัฒนธรรม และการสืบทอดภาษา ศาสนาความเชื่อ และการปฏิบัติตามจารีตประเพณีของพวกเราให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนบุตรหลานของพวกเรา

 

๑.โดยที่กลไก/สถาบันและระบบการปกครองตามจารีตประเพณีของพวกเรา ซึ่งล้วนก่อตัวหรือมีรากฐานอันแข็งแรงจากวิธีคิด ความเชื่อ จิตวิญญาณ ที่สั่งสมมายาวนาน และสะท้อนคุณค่าของความยุติธรรม (justice) ความเป็นธรรม (fairness) และการผสาน หรืออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (inclusiveness) นั้นถูกทำให้อ่อนแอ หรือไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการนำระบบโครงการอำนาจรัฐ (state structure) ระบบกฎหมายที่แปลกแยก (alien legal system) และมีอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก

พวกเราขอแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจของพวกเราในการร่วมกันฟื้นฟูกลไก/สถาบันและระบบการปกครองตามจารีตประเพณีของพวกเรา และยืนกรานที่จะรักษาพื้นที่ (space) ดังกล่าวเอาไว้ เพื่อให้เกิดการรักษา ถ่ายทอด และคงอยู่ของกลไก/สถาบันเหล่านั้นเอาไว้ เว้นแต่มีการพัฒนาโครสร้างดังกล่าวร่วมกับภาครัฐอย่างมีความหมาย มีส่วนร่วม และมีความเกี่ยวข้องกับพวกเรา

 

๑.แม้ว่าสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน จะพบว่า มีการตระหนักรู้ และให้ความสำคัญกับสิทธิ และความจำเป็นของกลุ่มจำเพาะในชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง อาทิ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) มากขึ้น แต่พวกเราก็ยังยืนยันที่จะดำเนินการใดๆ เพื่อการดูแลให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองบุคคลกลุ่มดังกล่าวอย่างจริงจัง และแท้จริง

 

๒.แม้ว่าจะมีแผนงาน และการดำเนินการต่างๆ ที่เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และการสร้างความก้าวหน้าให้กับประเด็นสิทธิของผู้หญิงชนเผ่าอยู่บ้างแล้ว ยังพบว่า ผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง กลับยังไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร และยังมีข้อท้าทายหลักๆ คือ การดูแลให้เกิดความเท่าเทียมเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรึกษาหารือ และการตัดสินใจทางการเมือง

 

ดั้งนั้น พวกเราเห็นสถานการณ์จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในส่วนนี้ พวกเราจึงขอสนับสนุนการดำเนินการใดๆ ก็ตามที่จะช่วยสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมสำหรับสิทธิของผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง

 

๑.โดยที่พบข้อท้าทายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบวงกว้าง และการเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และขยายผลข้ามพรมแดน คุกคามชีวิต การกินดีอยู่ดี สวัสดิภาพ และสันติภาพในการใช้ชีวิตร่วมกันของมนุษย์ในโลก เนื่องจากพี่น้องกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองมีวิถีชีวิตผูกพันและต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงกลายเป็นความเสี่ยงอย่างมาก วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐและหน่วยงานของรัฐ ประชาคมโลก และพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองทั้งหมด ทั้งในเชิงการเมืองและจริยธรรม (moral and political responsibilities)

พวกเราจึงขอแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจในการร่วมมือกัน เสริมพลังกัน และปฏิบัติงานร่วมกันกับรัฐ และหน่วยงานของรัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มประชาชนชายขอบอื่นๆ ในการพัฒนาแนวทางการสร้างความร่วมมือ หรือการประสานพลังที่ปราณีตและละเอียดอ่อน พร้อมกับแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามลักษณะความเห็นร่วมกันของประชาคมโลก

 

๑.แม้ว่า จะเห็นถึงโอกาส และความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานร่วมกัน พร้อมๆ กับการรับรอง (adoption) ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) แต่พวกเราก็ยังมีความห่วงใยต่อการดำเนินการที่ยังไม่เห็นผลคืบหน้า ที่จะสร้างสัมฤทธิ์ผลตามปฏิญญาดังกล่าว ในขณะที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเอเชียก็ยังละเลย หรือไม่ให้ความสำคัญมากกับ UNDRIP มากนัก

พวกเราขอยืนยันที่จะดำเนินการในทุกวิถีทาง และทุกโอกาสในการส่งเสริมให้มีการนำหลักการและข้อกำหนดใน UNDRIP มาใช้ในกลไก/สถาบันต่างๆ โดยหมายรวมถึงทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐ รัฐบาลระหว่างประเทศ หน่วยงานระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสร้างสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหวังของ UNDRIP

 

โดยที่เห็นพร้อมร่วมกันในการให้คำมั่นสัญญาข้างต้น พวกเราพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง องค์กรสมาชิกของมูลนิธิ AIPP จึงขอเป็นพลังร่วมสร้าง แสดงความเป็นเอกภาพและความสมัครสมานสามัคคีในกลุ่มชุมชนพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง เครือข่ายภาคประชาสังคม กลไกและองค์กรสิทธิมนุษยชน สื่อ และกลไก/โครงสร้างอื่นๆ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการอยู่ร่วมกันกัน และการสร้างแรงบันดาลใจของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมือง เราทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน

 

***************************

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ