ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดประชุม “โหมโรงไทยศึกษา: เหลียวหลังแลหน้า ล้านนาวันนี้” ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบน ได้นำเสนอผลงานและทำความเข้าใจ ตำนาน ประวัติศาสตร์ล้านนา ผ่านหลักฐานประวัติศาสตร์ ที่มีการค้นพบใหม่หรือการตีความใหม่ ให้องค์ความรู้ เกี่ยวกับความเป็นมาของ “ล้านนา” ไม่จำกัดแค่เพียงในเขต 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
อาจารย์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการตื่นตัวในวงวิชาการด้านล้านนาศึกษา และมีความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าเกิดขึ้นอย่างมากมาย อาทิ ความพยายามจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นของจังหวัดต่างๆ ที่ยังไม่มีสถาบันการศึกษา การชำระประวัติศาสตร์ที่เป็นปมปริศนาด้านชื่อบ้านนามเมือง หรือการค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ด้านเอกสารคัมภีร์ใบลาน รวมไปถึงการตีความใหม่ต่อหลักฐานทางวิชาการเดิม ของนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวมานี้ เป็นที่รับรู้กันในกลุ่มบุคคลเฉพาะกิจ ยังไม่มีการขยายองค์ความรู้ไปสู่สังคมในวงกว้าง ทั้งๆ ที่ปัญหาหลายเรื่องไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะในท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดนั้นๆ เท่านั้น หากยังเป็นปัญหาร่วมที่สามารถยกระดับขึ้นสู่การเรียนรู้ การรับรู้ และนำไปสู่การแก้ไขในระดับภูมิภาค หรือระดับชาติได้ต่อไป
ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงจะได้จัดการจัดประชุม “โหมโรงไทยศึกษา: เหลียวหลังแลหน้า ล้านนาวันนี้” ขึ้น ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการท้องถิ่นนำเสนอผลงานและทำความเข้าใจ ตำนาน ประวัติศาสตร์ เครือข่ายความสัมพันธ์ข้ามแดน และองค์ความรู้ เกี่ยวกับความเป็นมาของ “ล้านนา” ที่ไม่จำกัดแค่เพียงในเขต 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย กระตุ้นและส่งเสริมความสนใจทางด้านล้านนาคดีศึกษาทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการด้านล้านนาคดีศึกษา และนักปราชญ์ นักวิชาการในท้องถิ่น ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป
การประชุม “โหมโรงไทยศึกษา: เหลียวหลังแลหน้า ล้านนาวันนี้” มีหัวข้อที่น่าสนใจในหลากหลายประเด็น ได้แก่ เรื่อง เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก (1) การจัดตั้งมหาวิทยาลัยลำพูนและแพร่ ศิลาจารึกวัดพระยืน โดย ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ร่วมอภิปรายโดยเจ้าป้าชวนคิด ณ ลำพูน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน เรื่อง คัมภีร์ใบลานวัดสูงเม่น ของครูบากัญจนะอรัญวาสีมหาเถร โดย พระครูวิบูลสรภัญ รองเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น ร่วมอภิปรายโดยนายธีรวุธ กล่อมแล้ว สถาปนิกล้านนา ผู้อภิปราย: ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ อดีตผู้อำนวยการ SPAFA เรื่อง เอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก (2) การค้นพบข้อมูลใหม่ คัมภีร์ใบลานล้านนา นันทบุรีศรีน่าน : กฎหมายอาณาจักรหลักคำ โดย อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองน่าน เรื่อง บันทึกจดหมายเหตุเมืองพะเยา พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา โดย อาจารย์วิมล ปิงเมืองเหล็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเมืองพะเยา ผู้อภิปราย: ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ อดีตผู้อำนวยการ SPAFA ผู้ดำเนินรายการ: ดร. เพ็ญสุภา สุขคตะ เรื่อง ล้านนาวันนี้ วิกฤติและโอกาส (1) นครลำปาง: 100 ปี อุโมงค์รถไฟขุนตาน – 100 ปีสะพานรัษฎาภิเศก โดย อาจารย์ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ร่วมอภิปรายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เรื่อง 755 ปีนครเชียงราย ข้อสังเกตทางประวัติศาสตร์ โดย อาจารย์อภิชิต ศิริชัย นักวิชาการอิสระ ผู้ดำเนินรายการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เรื่อง ล้านนาวันนี้ วิกฤติและโอกาส (2) คือแผ่นดินขุนยวม แม่ฮ่องสอนวันนี้ โดย อาจารย์ประเสริฐ ประดิษฐ์ วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน เรื่อง สืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดย อาจารย์รำพัด โกฏิแก้ว ผู้จัดการเฮือนม่อนฝ้าย ผู้อภิปราย: อาจารย์ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ผู้อำนวยการโฮงเฮียนสืบสานล้านนา ผู้ดำเนินรายการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว ในช่วงท้ายของการประชุมจะมีบทสรุปส่งท้าย โดยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง และ อาจารย์ ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. 0-5394-3595 ถึง 6