โครงการตลาดนัดการเมืองสร้างสรรค์

โครงการตลาดนัดการเมืองสร้างสรรค์

โครงการตลาดนัดการเมืองสร้างสรรค์ (Creative Political Space Project)

ผู้จัดการประชุม

  • ได้แก่หน่วยงานการศึกษาด้านสันติวิธีและความขัดแย้ง ประกอบด้วย
  • ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สถาบันพระปกเกล้า
  • คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี
  • สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • สถาบันสันติศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศูนย์ศึกษาสันติภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
  • สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ท่ามกลางความโกลาหลทางการเมืองที่มีความขัดแย้งยืดเยื้อมา 8 ปีนั้น มีการปล่อยข่าวลือ สื่อความเกลียด เหยียดความเป็นคน ผลักคนให้เลือกข้าง สร้างความสับสน และหนีไม่พ้นความรุนแรง หลายต่อหลายครั้ง สิ่งที่ขาดหายไปคือความไว้วางใจ ความห่วงใย การตั้งใจฟัง และการมีสัมมาวาจา เป็นต้น ที่สำคัญคือ เราขาดพื้นที่ที่จะสื่อความรู้สึกถึงกัน ให้ได้ยินและเห็นถึงความเป็นคนผู้มีสุขมีทุกข์ มีดีมีร้ายเหมือน ๆ กันทุกคน เราขาดพื้นที่ที่ทุกคนมีความสบายใจที่จะถกแถลงแจงเหตุผลแก่กันและกันอย่างสร้างสรรค์ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ศึกษาการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งด้วยสันติวิธีจึงได้ปรึกษาหารือกัน และเห็นควรจัดการประชุมที่เป็นพื้นที่สื่อความรู้สึกและความคิดอย่างเปิดกว้างและสร้างสรรค์

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556: วันสื่อความรู้สึก

8.30-9.00 น. ลงทะเบียน ประชุมรวม
9.00-9.20 น. พิธีเปิด
9.20-9.40 น. แนะนำตัวและบอกเล่าก่อนเข้าเรื่อง (check in)
9.40-10.00 น. วิทยากรนำเสนอแนวคิด ‘เปิดหน้าต่างใจให้ศิลปะ’ เตรียมการแบ่งกลุ่ม ประชุมกลุ่ม
10.00-12.00 น. แบ่งกลุ่มตามอัธยาศัยเป็น 10 กลุ่ม (อาจปรับเปลี่ยนได้)

1) ห้องร้อยกรอง 2) ห้องร้อยแก้ว 3) ห้องขับร้องประสานเสียง 4) ห้องดนตรีสากล 5) ห้องดนตรีพื้นบ้าน 6) ห้องจินตลีลา 7) ห้องละคร 8) ห้องวาดภาพ 1 9) ห้องวาดภาพ 2 10) ห้องวีดิทัศน์สั้น

กิจกรรมในห้องย่อยอาจเป็นไปในทำนองต่อไปนี้ หรือในทำนองอื่นใด หรือในลำดับอื่นใดก็ได้ เพียงแต่เน้นการสื่อความรู้สึกจากใจถึงใจ

  • ทำความรู้จักกันในกลุ่ม 
  • ทำความเข้าใจในเรื่อง การแบ่งปันพื้นที่นี้ให้เป็นสร้างสรรค์ การช่วยกันทำให้พื้นที่นี้ปลอดภัยด้วยการทนกันได้ ไม่ด่วนตัดสิน ไม่ขยายต่อในทางลบ 
  • ทุกคนช่วยกันเล่าเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองหรือสิ่งที่เราประสบ เพื่อสื่อความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ทั้งในด้าน: รัก/ชัง สุข/เศร้า ชอบ/โกรธ สมหวัง/สิ้นหวัง ฯลฯ
  • ใช้ความเงียบ สร้างแรงบันดาลใจ ดึงอารมณ์สร้างสรรค์
  • แยกกันทำ หรือปรึกษาหารือกันในกลุ่ม เล็ก ๆ และร่วมกันผลิตงานสร้างสรรค์
  • นำเสนอผลงานของบุคคลหรือของกลุ่มเล็ก ๆ 
  • ปรึกษาหารือ คัดเลือกผลงานที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมรวมในช่วงบ่าย

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารประชุมรวม
13.00-14.30 น. นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ของ 10 กลุ่ม ๆ ละไม่เกิน 8 นาที
14.30-15.25 น. สานเสวนา (dialogue): การเมืองเรื่องของเรา
15.25 – 15.40 น. ความรู้สึกต่อวันนี้ (check out)
15.40 -16.00 น. เดินไปห้อง auditorium ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
16.00-18.00 น. ฟัง Guitar Concerto โดย Thailand Philharmonic Orchestra โดยอภินันทนาการจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ 
18.00-19.00 น. รับประทานอาหารที่ music square โดยอภินันทนาการจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ 

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556: วันสื่อความคิด

8.30-9.00 น. ลงทะเบียน ประชุมรวม
9.00-9.20 น. ดนตรีโดยวงสามัญชน
9.20-10.40 น.

  • วิทยากรอธิบายการสานเสวนาแบบ ‘เปิดพื้นที่’ (open space) 
  • เปิดตลาดให้ผู้เข้าประชุมเสนอหัวข้อการสานเสวนา
  • จัดกลุ่มหัวข้อการสานเสวนาเพื่อรวมหัวข้อที่คล้ายหรือใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันให้เหลือ เพียง 16 หัวข้อ สำหรับการสานเสวนากลุ่มย่อย 2 รอบ แต่ละรอบจะแบ่งเป็น 16 กลุ่ม โดยมี 2 กลุ่มที่สานเวนาในหัวข้อเดียวกัน ดังนั้น รอบที่ 1 จะสานเสวนาใน 8 หัวข้อ และรอบที่ 2 ใน 8 หัวข้อที่เหลือ
  • เปิดโอกาสให้ผู้เสนอหัวข้อได้อธิบายความสำคัญของหัวข้อที่ตนเสนอ
  • ผู้เข้าร่วมเลือกเข้าประชุมกลุ่มใด หรือย้ายกลุ่มได้ตามอัธยาศัย
  • ประชุมกลุ่ม
     

10.40-11.20 น. สานเสวนาใน 16 กลุ่มย่อย ในรอบแรก โดย 2 กลุ่มสานเสวนาในหัวข้อเดียวกัน
11.20-12.00 น. สานเสวนาใน 16 กลุ่มย่อย ในรอบสอง โดย 2 กลุ่มสานเสวนาในหัวข้อเดียวกัน
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารประชุมรวม
13.00-13.20 น. ดนตรีวงประกายไฟ มหิดล
13.20-15.00 น. เสนอผลการสานเสวนากลุ่มย่อย ในทั้งสองรอบ (16+16 กลุ่มย่อย) กลุ่มย่อยละไม่เกิน 3 นาที
15.00-15.10 น. ผู้เข้าร่วมประชุมลงคะแนนโดยใช้สติกเกอร์วงกลม (dot democracy) เพื่อประโยชน์ในการจัดลำดับความสำคัญของหัวข้อ
15.10-15.20 น. วิทยากรอภิปรายเนื้อหาสาระของหัวข้อที่จัดอยู่ในลำดับความสำคัญสูง
15.20-15.35 น. อภิปรายทั่วไปในเนื้อหาสาระของหัวข้อที่จัดอยู่ในลำดับความสำคัญสูง
15.35-15.45 น. ปรึกษาหารือการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความคืบหน้าในหัวข้อที่จัดอยู่ในลำดับความสำคัญสูง 
15.45-16.00 น. สรุปและฝากความรู้สึกก่อนจากลา (check out)

วันเวลาและสถานที่

วันเสาร์ที่ 21 เวลา 8.30- 19.00 น. ที่อาคารเรียนรวมและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม 
และวันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556 เวลา 8.30 – 16.00 น. ที่อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ