เสียงจากประมงพื้นบ้าน

เสียงจากประมงพื้นบ้าน

มความพยายามฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งของสมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยหลังจากที่ประสบปัญหาเรือประมงพาณิชย์เข้ามาจับลูกปลาในเขตอนุรักษ์ของชุมชน   พวกเขารวมตัวกันในนามสมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันผลักดันเชิงนโยบายกระจายอำนาจให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่นอย่างแท้จริง ติดตามรายงานได้นักข่าวพลเมืองเครือข่ายประมงพื้นบ้าน
   
ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกระได ต.อ่าวน้ำ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ พยายามทำความเข้าใจกับเรือประมงพาณิชย์ ไม่ให้เข้ามาจับปลาในเขตการทำ “ซั้งกอ” หรือแนวเขตฟื้นฟู และอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่พวกเขาพยายามกันแนวไว้ และทุกๆ เช้าจะผลัดเปลี่ยนกันออกตรวจตราป้องกันการลากอวน หรือจับลูกปลาในเขตนี้ เพราะจะเป็นการตัดวงจรการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำในทะเล

 บรรจง นะแส นายกสมาคมรัก์ทะเลไทย   มองว่า อวนลุน อวนลาก เรือปั่นไฟ สามชนิดนี้เป็นเครื่องมือทำลายล้างที่ประเทศอารยะเขาเลิกไปหมดแล้ว เพราะมันพิสูจน์ทางวิชาการหมดแล้ว ว่าการใช้อวนลุนลากทำให้พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจกี่ร้อยชนิด ตัวเล็กขนาดนี้หมดเลย
 
แม้การควบคุมดูแลในเชิง นโยบายจะมีพระราชบัญญัติการประมงพ.ศ.2490 ควบคุมอยู่  แต่นอกจากจะเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว  ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน เช่นไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ  อำนาจหน้าที่รวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง   หรือแม้มีการกำหนดโทษผู้กระทำผิดแต่ก็ปรับในจำนวนที่น้อยมาก
กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน 24 จังหวัด จากภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกรวมตัวกันผลักดันแก้ไขกฎหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว  ยังไม่คืบหน้าแต่ปัญหากลับลุกลามหนัก  วันนี้เป็นอีกครั้งที่พวกเขามาร่วมเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างแก้ไขปรับปรุงกฏหมายประมงฉบับนี้ 

วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี  เลขานุการสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย   (10.22)บอกว่าข้อเสนอกฎหมายใหม่เราเสนอว่า  ต่อไปนี้ควรให้อำนาจชุมชนมีบทบาทกำหนดกติกาในการใช้ทรัพยากรด้วย ในระดับท้องถิ่น โดยไม่ต้องรอให้รมต.ตัดสินใจทุกเรื่อง

อาหลี ชาญน้ำ สมาคมคนรักเลกระบี่  บอกว่าทะเลเนี่ย จังหวัดไหนจังหวัดนั้นเป็นผู้บริหารเอง มีสิทธิที่จะบริหารทะเลของตัวเอง แล้วมันก็แก้ปัญหาได้

ความพยายามของชาวประมงชายฝั่ง คือเสนอให้มีโครงสร้างของคณะกรรมการประมงระดับพื้นที่โดยมีตัวแทนชุมชนชายฝั่งสามารถร่วมสร้างกฎกติกาในการดูแลรักษาทรัพยากรในท้องทะเลได้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหาอยู่หากินและร่วมกันรักษาแหล่งอาหารและทรัพยากรของชาติ ให้ยังคงอยู่ไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างแท้จริง
   นักข่าวพลเมือง สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยรายงาน

สำหรับข้อเสนอในการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการประมงฉบับประชาชนนั้น   กลุ่มประมงพื้นบ้านได้พัฒนาข้อเสนอจากผู้เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและระดับชุมชน ที่ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการ  รวมถึงการขยายพื้นที่เขตประมงชายฝั่ง และมาตรการในการลงโทษผู้กระทำ

ออกอากาศ : วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2555

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ