พระพุทธนวล้านตื้อ 4 แผ่นดิน เด่นตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำโขงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย สะท้อนให้เห็นว่าดินแดนแถบนี้คือเมืองเก่าแก่ที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมานับพันปี จนทางการไทยเสนอให้เป็นมรดกโลกสุวรรณโคมคำ แต่กลับพบว่าสามเหลี่ยมทองคำคึกคักไปด้วยบ่อนคาสิโนขนาดใหญ่และสถานเริงรมย์ ซึ่งละเมิดต่อหลักธรรมคำสั่งสอนที่ยึดถือกันมากว่า 2500 ปี
แม่น้ำโขงได้ทำหน้าที่เชื่อมร้อยวิถีชีวิตของผู้คน ทั้งจีน ลาว พม่าและไทยไว้ด้วยกัน โดยมีเชียงแสนเป็นเมืองท่า แต่แนวทางการพัฒนามีการเปลี่ยนรูปโฉมจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะมีทุนมหาศาลจากจีน กำลังเข้ามาทำให้วิถีชีวิตของคนย่านนี้ต้องเปลี่ยนแปลงจนรับมือไม่ทัน
ปัจจุบันแม่น้ำโขงได้แปรสภาพไปเป็นเส้นทางคมนาคม โดยการระเบิดเกาะแก่งต่างๆซึ่งเป็นส่วนสำคัญในระบบนิเวศ และมีการสร้างเขื่อนในมลฑลยูนนาน ทำให้ประชาชนท้ายน้ำได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง หลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านใน จ.เชียงราย ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายเพื่อพิทักษ์ดูแลสายน้ำแห่งนี้ โดยมีประเพณีความเชื่อเรื่องพญานาคและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งยึดโยง
พระครูสุวรรณ วิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าล้านทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย….ย้ำให้ฟังว่า เราก็ทำได้ตามประเพณีของเรา
ขณะที่อาจารย์มิติ ยาประสิทธิ์ จากกลุ่มรักษ์เชียงแสน บอกว่า จุดประสงค์ของการจัดพิธีสืบชะตาและธรรมยาตราแม่น้ำโขงในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ก็เพื่อกระตุ้นความเชื่อของประชาชนให้กลับมาอีกครั้ง เพื่อสู้กับกระแสพัฒนาที่สุดโต่ง
มิติ ยาประสิทธิ์ กลุ่มรักษ์เชียงแสน จ.เชียงราย….ก่อนหน้านี้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง จีนสร้างเขื่อนน้ำแห้ง
การจัดงานครั้งนี้จะมีกิจกรรมคาราวานเดินเท้าจากสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลเลาะชายแดนไทยไปสิ้นสุดที่ผ่าได อ.เวียงแก่น ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเข้าลาว กิจกรรมครั้งนี้จะสะท้อนให้สังคมเห็นว่า วิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนจะยั่งยืนต่อไปอย่างไร หากมีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่เข้ามาเบียดบัง….นักข่าวพลเมืองนักสื่อสารโครงการสุขภาวะคนชายขอบ รายงาน