งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 14 “โอบกอดชาวเล ด้วยกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์”

งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 14 “โอบกอดชาวเล ด้วยกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์”

งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 14

เกาะลันตา จ.กระบี่ / ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิชุมชนไท ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  และหน่วยงานภาคีความร่วมมือ  ร่วมกันจัด งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 14 “โอบกอดชาวเล ด้วยกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์” และ เปิดหมุดพื้นที่คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมี นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธี โดยมีตัวแทนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์โซนอันดามันกลุ่มมอแกน กลุ่มมอแกลน กลุ่ม อูรักลาโว้ย และ ชาวมานิ เข้าร่วมกว่า 300 คน ณ ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่

2
เยาวชนชาวเล กลุ่ม อูรักลาโวยจ จาก เกาะหลีเป๊ะ จ.กระบี่

ตามมติคณะรัฐมนตรี 2553 ในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามแนวทางจัดทำพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษชาวเล การสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย การให้ชาวเลสามารถประกอบอาชีพประมง หาทรัพยากรตามเกาะต่างๆ โดยผ่อนปรนพิเศษในการให้ใช้อุปกรณ์ดั้งเดิมที่ไม่ทำลายล้างการช่วยเหลือด้าน สาธารณสุขเพื่อฟื้นฟูผู้ที่เกิดอุบัติเหตุ จากการดำน้ำทำให้เกิดโรคน้ำหนีบ  การแก้ปัญหาสัญชาติในกลุ่มชาวเลที่ไม่มี บัตรประชาชน  ด้านการส่งเสริมศึกษาแก่เด็กและสนับสนุนทุนการศึกษาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับจัดตั้ง การศึกษา พิเศษหลักสูตรท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนชาวเล การแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์ การส่งเสริมด้านภาษา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเล การส่งเสริมชุมชนและเครือข่ายชาวเลให้เข้มแข็ง รวมทั้งให้มีงบประมาณส่งเสริม “วันนัดพบวัฒนธรรมชาวเล”

3

ในการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เกิดบนความตั้งใจของเครือข่ายชาวเลโซนอันดามัน (มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย ชาวมานิ) ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.กระบี่ จ.สตูล จ.พังงา จ.ระนอง จ.ภูเก็ต ซึ่งมารวมตัวกันเป็นประจำทุกปี เปรียบเสมือนการรวมญาติที่กระจายกันอยู่ให้กลับมาพบกันอีกครั้ง เพื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหา สุข-ทุกข์ ของแต่ละพื้นที่ รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะและนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน  ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก 18 หน่วยงานภาคี ได้แก่ มูลนิธิชุมชนไท  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  มหาวิทยาลัยทักษิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สสส.) ศูนย์นิติชาติพันธุ์,คณะนิติศาสตร์,มหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Partners Asia  สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และสำนักงานจังหวัดกระบี่

ปัจจุบันชาวเลได้ตั้งรากฐานอยู่เป็นหลักแหล่งในหลายพื้นที่บนเกาะลันตาแต่กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่บ้านสังกาอู้ หัวแหลมสุดของเกาะลันตา ที่ยังคงยึดถือวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ ประเพณีลอยเรือประเพณีลอยเรือ เป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดที่ทุกคนต้องมาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งเป็นความเชื่อตั้งแต่บรรพบุรุษที่ส่งผลต่อโชคชะตาและความสงบสุขภายในหมู่บ้าน นอกจากนั้นพิธีลอยเรือยังเป็นการขออำนาจคุ้มครองจากท้องทะเล และปล่อยเคราะห์ออกไปจากเกาะ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมการแสดงรองเง็ง เป็นการละเล่นผสมผสานกับวัฒนธรรมยุโรปและเอเชีย นิยมเล่นในวันที่พิเศษตามงานเทศกาลต่าง ๆ พร้อมทั้งการแสดงรำมะนา เป็นการละเล่นดั้งเดิม ในวันพิเศษต่างๆ เช่น ประเพณีลอยเรือ ขึ้นบ้านใหม่ แก้เหลย (แก้บน)

4
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.กระทรวงวัฒนธรรม

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานในพิธี ได้กล่าวว่า “กระทรวงวัฒนธรรมได้นำเสนอแนวคิดการกำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ไว้ในแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ตามมติคณะรัฐมนนตรี 2 มิถุนายน 2553 และแนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 โดยมุ่งหวังจะให้เป็นแนวทางคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมและส่งเสริมศักยภาพพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ในการใช้ทุนวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี วันนี้ดิฉันได้มาพบปะพี่น้องชาวชาวเลอูรักลาโวยจฺ บ้านสังกาอู้ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ และได้รับฟังว่าที่นี่เป็นชุมชนชาวเลแห่งสำคัญที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลชุมชนเพื่อเสนอเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมข้อมูลการจัดทำเขตพื้นที่คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ลำดับที่ 24 ที่จะประกาศขึ้นที่ชุมชนโต๊ะบาหลิว อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ในวันที่ 22 พฤศจิกายน2567 นี้ โดยที่ผ่านมาชุมชนได้มีการจัดการแบบมีส่วนร่วมและประสานประโยชน์กันระหว่างชุมชนและส่วนราชการต่าง ๆ มีการรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อทำประมง เนื่องจากในอ่าวที่ชุมชนอาศัยอยู่มีการยกร่องทะเลเพื่อทำเป็นท่าจอดเรือร่วมกัน จึงมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมกลางบริเวณริมหาดทำให้มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น ดิฉันรู้สึกได้ว่าพี่น้องที่นี่มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในความเป็นชาติพันธุ์อูรักลาโวยจฺ และนี่เป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อที่จะได้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป”

5
นายเดียว ทะเลลึก ประธานบ้านมั่นคงชุมชนเมืองโต๊ะบาหลิวชุมชนโต๊ะบาหลิว

นายเดียว ทะเลลึก ประธานบ้านมั่นคงชุมชนเมืองโต๊ะบาหลิวชุมชนโต๊ะบาหลิว กล่าวว่า ชุมชนโต๊ะบาหลิวอยู่ในพื้นที่เขตป่าชายเลน มีครัวเรือนประมาณ 100 ครัวเรือน ประชากร 265 คน ปัญหาที่นี่ก็คืออยู่ในเขตป่าชายเลน ซึ่งหลังจากสึนามิ ก็มีมูลนิธิชุมชนไท เข้ามาช่วยเหลือมาตลอดเพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย แต่มูลนิธิชุมชนไท ทําหลายเรื่องเช่นพื้นที่ทางจิตวิญญาณ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทํากิน พื้นที่สุสาน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ก็คือมาทําเรื่อง เรื่องของที่อยู่อาศัยเพื่อให้ชาวบ้านได้อยู่ดีมีสุข และก็มีความ อยู่อย่างสุขสบาย ก็คือ วันนี้ชุมชนไททําโครงการ คสช.เพื่อให้พี่น้องได้อยู่ที่นี่เพื่อได้ปรับปรุงบ้านและร่วมกับ พอช. เข้ามาเพื่อจัดสร้างบ้าน ซึ่งโครงการนี้เราได้มาเมื่อปี พ.ศ.2565 และก็เฟสแรก 75 หลังและก็มีเฟส 2 อีก 25 หลังแต่ ณปัจจุบันนี้เรายังทําอยู่ในเฟสแรกอยู่ ซึ่งมีการปรับปรุงบ้านเรือนให้ดีขึ้น ให้พี่น้องได้มีความสะดวกสบาย พอได้บ้านที่มั่นคงแล้วน้น้ำประปาไฟฟ้าก็จะมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถที่จะดึงไฟฟ้าเข้ามาใช้ พี่น้องที่นี่ก็เลยต้องใช้หม้อพิเศษซึ่งจ่ายค่าแพงค่าไฟแพงกว่าปกติ ซึ่งทําให้เดือดร้อน ไหนจะค่าเล่าเรียน ไหนค่าน้ำมันแพง ไหนค่าอะไรทุกอย่าง จึงทำให้พี่น้องมีฐานะที่ยากจนเพราะว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

6
รมว.กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมลงนามบนหมุดประกาศพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม
7

งานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเล ครั้งที่ 14 “โอบกอดชาวเล ด้วยกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์” มีเนื้อหาสำคัญ คือ การประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวเลที่ชุมชนโต๊ะบาหลิว และการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นสักขีพยานในการลงนาม พร้อมได้ร่วมกันการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตวัฒนธรรมชาวเลชุมชนโต๊ะบาหลิว และถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มที่ 24 ที่ได้มีการสถาปนาเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

โดยมีข้อตกลงร่วมกันดังนี้ คือ ประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนและยกระดับเขตพื้นที่ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ชาวเล และดำเนินการตามแผนและขั้นตอนในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ให้เกิดการปฏิบัติได้  จัดทำแผนส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิต ให้มีความมั่นคงในที่ดิน การเข้าถึงสิทธิและสถานะบุคคล สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภค พัฒนาการหลักสูตรการศึกษาตามวิถีชุมชน การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ และการฟื้นฟูประเพณี-วัฒนธรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีให้เป็นรูปธรรมด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภายใต้มติคณะรัฐมนตรี กรอบกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติของราชการ

8
บันทึกความร่วมมือ 18 หน่วยงาน

ด้านสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลชุมชนโต๊ะบาหลิวผ่าน โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและที่อยู่อาศัยบ้านมั่นคงเมืองชุมชนโต๊ะบาหลิว อนุมัติโครงการเมื่อปีงบประมาณ 2565 จำนวน 100 ครัวเรือน งบประมาณรวม  6,740,000 บาท ประกอบด้วย 1. งบอุดหนุนพัฒนาที่อยู่อาศัย จำนวน 100 ครัวเรือน งบประมาณ 3,000,000 บาท 2. งบพัฒนาระบบสาธารณูปโภค จำนวน 3,500,000 3. งบพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต จำนวน 65,000 บาท 4. งบบริหารจัดการปรับปรุงชุมชนและภาคี จำนวน 175,000 บาท โดยเฟสแรกจำนวน 75 หลังและ เฟส 2 อีก 25 หลังแต่ ณ ปัจจุบันนี้เรายังทําอยู่ในเฟสแรกอยู่ ซึ่งมีการปรับปรุงบ้านเรือนให้ดีขึ้น ให้พี่น้องได้มีความสะดวกสบาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

9
ภาพบ้านก่อนและหลังปรับปรุง

สำหรับการประกาศเป็นเขตคุ้มครองพื้นที่ทางวัฒนธรรม เริ่มจากความพร้อมของพี่น้องในการทําข้อมูลเพราะเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมจะต้องมีข้อมูลตามขั้นตอน ซึ่งถ้าเห็นว่ามันครบขั้นตอนนั้นก็สามารถที่จะประกาศเขตคุ้มครองในพื้นที่นั้นเพื่อจะให้คุ้มครองวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้อง ก็คือพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่ทํากิน พื้นที่ทางจิตวิญญาณ พื้นที่เขตอุทยาน ที่เราไม่สามารถเข้าได้เราก็จะขอผ่อนปรนเพื่อจะให้มันคล้องไปกับกฎหมาย พ.ร.บ. ชาติพันธุ์

10
11
13
14
16
468036791 122246413802015741 7214956138344432895 N



author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ