นักข่าวพลเมือง ตอน ลำห้วยเปลี่ยนสี

นักข่าวพลเมือง ตอน ลำห้วยเปลี่ยนสี

20141702173630.png

ออกอากาศ วันที่13กุมภาพันธ์ 2557

หลุมลึกกว้างที่เห็นตรงหน้า เปลี่ยนโฉม “ภูทับฟ้า” จากอดีตจนแทบจำไม่ได้ นี่คือผลที่เกิดขึ้นหลังการมาของเหมืองทอง ที่ไม่เพียงเปลี่ยนทัศนียภาพแห่งขุนเขาเท่านั้น แต่ยังสร้างความกังวลถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้กับคนที่นี่เป็นอย่างมาก และนี่เป็นสาเหตุให้ชาวบ้าน ร่วมกับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาติดตามตรวจสอบผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด

สุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์  เลขานุการกลุ่มรักษ์บ้านเกิด กล่าวถึงผลกระทบว่า

“ภูซำป่าบอนมีพื้นที่ประมาณ 295 ไร่…ผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย น้ำและดินที่นี่จะไหลลงสู่ที่นาชาวบ้านที่อยู่ด้านหลังภูเขา คือ บ้านนาหนองบง …มีการประชาคมซึ่งไม่ผ่าน ทำให้พื้นที่นี้ต้องหยุดทำเหมืองไป…ส่วนการฟื้นฟูพื้นที่ป่าตาม พรบ.ป่าไม้ เอาต้นไม้มาลงผ่านไป 3-4 ปี ก็ยังฟื้นสภาพความสมบูรณ์ไม่ได้”

20141702174817.png

ราวต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา “ลำห้วยเหล็ก” ที่ไหลผ่านใต้เขื่อนเก็บกากแร่บนภูทับฟ้า สายน้ำทั้งสายกลายเป็นสีสนิม แม้จะเป็นสายน้ำต้องห้ามที่ไม่มีการนำน้ำ สัตว์น้ำ และพืชน้ำมาบริโภคกว่า 4 ปีแล้ว แต่สิ่งที่ชาวบ้านเป็นห่วงคือสารปนเปื้อนในดิน น้ำ และนาข้าว

คำจันทร์ ดวงแก้วชาวบ้าน ต,เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวในสัมภาษณ์ว่า

“ห้วยภูเหล็ก เมื่อก่อนเราเคยกินผักหนามผักกูดกัน กบ เขียด หอย ปู ปลา เราก็หากินกันตรงนี้ มาตอนนี้กินไม่ได้…ก็รู้สึกอึดอัด หากินไม่ได้กิน ถ้าเราหากินได้ตามธรรมชาติสะดวก สบายใจ เราก็ไม่ต้องไปซื้อที่ตลาด”

20141702182521.png

20141702182623.png

“คริส บริค” จากเครือข่ายคลาร์ก โฟร์ก ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาที่ศึกษาการฟื้นฟูผลกระทบจากเหมืองทองแดงในแม่น้ำ คลาร์ก โฟร์ก ของสหรัฐอเมริกามายาวนาน เธอแสดงความเห็นว่า สีของลำห้วยเกิดจากการปนเปื้อนโลหะหนักที่เป็นเพื่อนแร่ เช่น สังกะสี เหล็ก แมงกานิส  “ดูเหมือนว่าบริษัทเหมืองใช้เงินมากมายในการทำเหมือง แต่ไม่ได้ใช้เงินมากนักในการเก็บกวาดความเลอะเทอะที่ทำไว้ สิ่งนี้ไม่ควรได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้น บริษัทเหมืองแร่ที่ดีจะไม่ทำแบบนี้ สำหรับฉันแล้ว พวกเขาไร้ความรับผิดชอบ สิ่งที่เขาทำไม่ควรเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้แล้ว”

20141702182817.png

20141702182818.png

        หลังการต่อสู้คัดค้านมายาวนาน วันนี้ในสายตาของชาวบ้าน ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย มีแต่การปิดเหมืองเพื่อฟื้นฟูเท่านั้น จึงจะเป็นการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ