การเมืองแห่งความอาทร: วิกฤตผู้ลี้ภัยในเอเชียและยุโรป

การเมืองแห่งความอาทร: วิกฤตผู้ลี้ภัยในเอเชียและยุโรป

12002119_10153568810244501_8520292942523188492_n

สถานการณ์ผู้อพยพชาวซีเรียในยุโรปช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา อยู่ในการจับจ้องของประชาคมโลก  สงครามกลางเมืองในซีเรียเริ่มจากการปฏิวัติอาหรับในปี 2011 เมื่อประชาชนในเมืองหลวงดามัสกัส รวมถึงเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ รวมตัวประท้วงรัฐบาล บารชาร์ อัล อัดซาด (Bashar al-Assad) เมื่อรัฐบาลตอบโต้ด้วยมาตรการรุนแรง ประชาชนเรือนหมื่นจึงรวมตัวกันประท้วงด้วยสันติวิธีอย่างกว้างขวาง

อย่างไรก็ดี แนวโน้มเช่นนี้เปลี่ยนไป เมื่ออดีตทหารที่เปลี่ยนข้างไปสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ปลุกระดมผู้คนให้จับอาวุธสู้ และก่อตั้งกองกำลังปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army-FSA) การต่อสู้ด้วยสันติวิธีเปลี่ยนเป็นสงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ

ในเวลาต่อมา ซีเรียกลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State – IS) ซึ่งใช้ความรุนแรงสังหารผู้คนอย่างไม่เลือกหน้า ตลอดจนทำลายสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของโลก จากรายงาน Global Peace Index ในปีนี้ ซีเรียติดอันดับประเทศที่อันตรายที่สุด เทียบกับ 7 ปีก่อนที่ซีเรียอยู่ในอันดับที่ 88 ของประเทศที่สงบสุขที่สุด (The Independent, July 23, 2015)

สงครามในซีเรียคร่าชีวิตผู้บริสุทธ์ไปแล้วกว่าสามแสนคน และมีผู้บาดเจ็บราวหนึ่งล้านห้าแสนคน ที่สำคัญคือ สงครามขับให้ผู้คนหนีตายด้วยการลี้ภัยออกไปนอกประเทศ หากไม่มีกำลังเพียงพอก็ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (Internally Displaced Persons – IDPs)

ประมาณการว่า ขณะนี้มีผู้อพยพชาวซีเรียถึงสามล้านคน จากจำนวนผู้อพยพทั่วโลก 50 ล้านคน ผู้อพยพชาวซีเรียส่วนใหญ่อยู่ในค่ายพักพิงที่ประเทศตุรกี เลบานอน จาร์แดน และอิรัก (Amnesty International, June 15, 2015)

สถานการณ์เช่นนี้สะท้อนวิกฤตผู้อพยพจากภัยสงครามกลางเมืองดังที่เกิดในหลายที่ทั่วโลก รวมถึงเมียนมาร์ประเทศเพื่อนบ้าน และมลรัฐซินเจียง ในประเทศจีน

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เเละ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ) เล็งเห็นว่าสังคมไทยยังมีความรู้ความเข้าใจประเด็นผู้อพยพจำกัด จึงเห็นควรให้มีเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น และกระตุ้นให้สังคมไทยเห็นปัญหาผู้อพยพเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในสังคมที่ต้องช่วยเหลือกัน

การเมืองแห่งความอาทร: วิกฤตผู้ลี้ภัยในเอเชียและยุโรป

วิทยากร

ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผศ.ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรยทราย วงศ์สุบรรณ อดีตเจ้าหน้าที่ International Rescue Committee (IRC)

ดำเนินรายการโดย

ดร. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วัน เวลา และสถานที่

14 กันยายน 2558 เวลา 13.30-16.30 ณ ห้อง ร103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ