การได้มาซึ่งการถือครองที่ดินทำกินก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างประชาชนและหน่วยงานรัฐในหลายพื้นที่ เช่นการบุกรุก การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน แต่ที่อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความพยายามหาทางออกร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐโดยใช้เวทีประชาคมในการพูดคุย ติดตามรายงานได้จากคุณอานนท์ มีศรี นักข่าวพลเมืองภาคใต้
ชาวบ้านจาก อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตป่าสาธารณะประโยชน์แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ถือครอง กว่า ๖๐๐ คน ทะยอยมาร่วมเวทีประชาคมอำเภอที่เครือข่ายแก้ปัญหาที่ดินทำกินจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดขึ้นเพื่อหาทางออกร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองท้องที่และผู้บริหารในท้องถิ่น
ธรรมรัตน์ นาคสันต์ คณะทำงานเครือข่ายแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน จ.นครศรีธรรมราช มองว่าเราควรเอาหลักประกันในเชิงรูปแบบก่อน ในเชิงรูปแบบเนี้ย เมื่อเรามีนักปกครองมานั่ง มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยที่ดินมานั่ง มีเจ้าภาพมานั่ง ชาวบ้านก็ถือว่าเป็นคนมั่นใจในเชิงรูปแบบ และภายใต้กฎหมาย โดยใช้ในเชิงเนื้อหา ใช้แก้ไขกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย โดยที่มี กปร.อำเภอ กปร.จังหวัด (คณะกรรมการจังหวัด)
ตำบลควนหนองฟ้า ตำบลสามตำบล และ ตำบลนาหมอบุญ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช บางส่วนมีพื้นที่ติดกับที่ทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติช่องกระโสม ชาวบ้านที่นั้นต่างทำสวนยางพารา ทำนา ในพื้นที่มาหลายชั่วอายุ แต่ไม่สามารถเป็นเจ้าของ มีกรรมสิทธิ์หรือออกโฉนดได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าสาธารณะซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานปฎิรูปที่ดิน
นายจวน ศักดิ์ศรี ชาวบ้านตำบลควนหนองฟ้า อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช มีความรู้สึกว่า ข้าพตั้งใจให้มีเอกสารสิทธิโดยมีลักษณะเป็นโฉนด ไม่หวังให้ขายหรือไปอยู่ในมือนายทุนหวังให้ใครทั้งหมด สิ่งที่ตั้งใจไว้เพื่อคนรุ่นหลังเพื่อลุกเพื่อหลานได้ทำมาหากินอยู่บนผืนแผ่นดินนี้
ธรรมรัตน์ นาคสันต์ คณะทำงานเครือข่ายแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน จ.นครศรีธรรมราช มองว่าการที่เราพยายามแก้ปัญหาระหว่างชาวบ้านกับรัฐ รัฐท้องถิ่นก็ดี ชาวบ้านจะได้ทำความเข้าใจในภาพรวมทั้งหมด ทุกครัวเรือนผู้คนทุกคนที่เดือดร้อน ได้คุยพร้อมกันระหว่างท้องถิ่นและปกครองที่ นักปกครองก็คือว่า นายอำเภอเป็นชาวเป้าหลักในการพัฒนาหน่วยงานให้เข้ามาช่วยนำความรู้จาก สปก.ก็ดี จากรัฐเองก็ดี
เมื่อได้พูดคุยก็นำมาซึ่งทางออก มติจากเวทีนี้ได้แนวทางว่า หลังจากนี้จะรวบรวมที่ดินและสำรวจรายแปลงทั้งหมด ส่งต่อให้ทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินจะออกเอกสารสิทธิ์ทำกินในรูปแบบของ สปก.ในพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ แต่กรณีชาวบ้านอยู่ในเขตป่าสงวนหรือพื้นที่ป่าอื่นๆที่กฏหมายต้องห้ามก็ต้องว่าไปตามข้อกฏหมาย
การประสานสร้างการพูดคุยจากผู้เกี่ยวข้องโดยเครือข่ายภาคประชนเป็นแกนกลาง นำไปสู่การแก้ปัญหาโดยที่ไม่มีการเผชิญหน้าและเป็นแบบอย่างในการทำงานที่หาทางออกแบบสันติวิธี อภิเชษฐ์ สุขแก้ว ถ่ายภาพ อานนท์ มีศรี นักข่าวพลเมืองภาคใต้รายงาน
ออกอากาศวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555