ข้าวเกษตรอินทรีย์

ข้าวเกษตรอินทรีย์

ออกอากศ 04/02/2557

ขณะนี้ชาวนาจากหลายพื้นที่อาจกำลังต้องเผชิญกับการขาดสภาพคล่อง เพราะยังไม่ได้รับเงินจากการจำนำข้าวตามนโยบายของรัฐบาล  ที่จังหวัดสุรินทร์ มีแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์  ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เกษตรกรที่นั่นเห็นว่าจะช่วยลดต้นทุนในการผลิต  ได้ราคาที่เป็นธรรมและมีตลาดรองรับที่แน่นอน

20140502143253.png

ไชโย วุฒิยา ชาวนาจังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกคนที่นำข้าวไปจำนำกับรัฐบาลตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้เขายังไม่ได้รับเงินและเริ่มมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้น

20140502143401.png

ไชโย  วุฒิยา  สมาชิกกลุ่มหอมดินศรีณรงค์   

ผลกระทบมีแน่นอนหลังจากเราเก็บเกี่ยว ค่าใช้จ่ายในการรถเกี่ยว ค่าใช้จ่ายการขนข้าวไปประทวน นี่คือค่าใช้จ่ายหมดเลย และเราก็ต้องการเงินเพื่อจะไปใช้จ่ายในส่วนนี้ เงินสำรองมาใช้จ่ายก็คงจะไม่พอไหนจะหนี้สินไหนจะหนี้ธกส. หนี้รถไถ ผลกระทบเหล่านี้ก็ต้องตกอยู่กับเราอย่างเดียวเลย

20140502143443.png

 ปีที่ผ่านมา ไชยา เพิ่งเป็นสมาชิกเกษตรอินทรีย์กลุ่มหอมดินศรีณรงค์ เขาทดลองแบ่งนาปลูกข้าวอินทรีย์และขายให้กับกองทุนข้าว จ.สุรินทร์  ซึ่งได้ราคาสูงกว่าการจำนำข้าวของรัฐบาล มีการตรวจดูทุกขั้นตอนในการผลิต และปลูกพันธุ์ข้าวที่หลากหลายโดยไม่ใช้สารเคมี   เมื่อไปถึงโรงสีมีระบบตวงชั่งที่มาตรฐาน สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ ทำให้ปีนี้ไชโยและเพื่อนสมาชิก ตัดสินใจจะขยายพื้นที่ทำนาอินทรีย์ทุกแปลงอย่างไม่ลังเล

20140502143512.png

ไชโย  วุฒิยา  สมาชิกกลุ่มหอมดินศรีณรงค์

สำหรับการผลิตในปีหน้าผมคิดว่าผมจะทำข้าวอินทรีย์ทั้งหมดเพราะว่าจะทำข้าวเคมีก็ไม่มั่นใจในนโยบายการจำนำข้าวของรัฐแล้ว เพราะว่ามันได้เงินช้าและอีกอย่างเราต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับการผลิต ถ้าเราทำข้าวอินทรีย์ก็จะได้เงินสดมาเลยราคาก็สูงพอสมควรแถมยังลดต้นทุนการผลิตเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมีและก็การใช้ยาฆ่าแมลงด้วย

20140502143651.png

ถึงแม้ปีนี้ไชโย และสมาชิก จะไม่ได้ร่ำรวยจากการทำข้าวอินทรีย์มากนัก  แต่สิ่งที่พวกเขาได้รับมากกว่า คือ เครือข่ายชาวนาอินทรีย์  ที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และดูแลกันได้  โดยมีราคาที่เป็นธรรม สร้างทางเลือกให้กับเกษตรกรรายย่อย ท่ามกลางนโยบายจำนำข้าวที่กำลังเผชิญกับปัญหา

20140502144238.png

20140502144314.png

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ