ออกอากาศ : 22/01/2557
กลุ่มลูกชาวบ้าน ปฏิรูปการศึกษา
การเรียนรู้เพื่อร่วมหาทางออกให้กับสังคม เป็นแนวคิดของกลุ่มลูกชาวบ้านจากรั้วมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี นิสิตกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับปัญหาในระบบการศึกษาและต้องการผลักดันให้ไปสู่วาระการปฏิรูปประเทศด้วยเช่นกัน
อักรพล ผลละออ นิสิตคณะรัฐศาสตร์
ถ้าจะลงทุนเรื่องการศึกษาและผลักดันพัฒนานโยบายการศึกษาเนี่ยะ ในสี่ปีมันยังไม่พอที่จะเห็นผลในนโยบายนั้นๆ อาจจะต้องกินเวลาเป็นสิบๆปี ทำให้รัฐจึงเลือกที่จะไปลงทุนกับการสร้างถนน สน้างซุปเปอร์ไฮเวย์หรือรถไฟฟ้า หรือว่าอะไรที่มันเป็นรูปธรรมมากกว่า
ชวิศ วรสันต์ นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ (กลุ่มลูกชาวบ้าน)
ตอนนี้ระบบราชการเป็นระบบเก่าอยู่ คือต้องไล่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้การพัฒนาหยุดชะงักได้ ตรงนี้ ทำให้การสื่อสารจากข้างล่างไม่สามารถขึ้นไปสู่ระดับบนได้ เป็นจุดนึงที่ต้องพัฒนาในเรื่องของกลไกการทำงานในระบบราชการไทย ซึ่งครูก็เป็นส่วนหนึ่งในระบบข้าราชการเหมือนกัน
กลุ่มลูกชาวบ้านมองว่า รัฐควรให้การสนับสนุนการเรียนการสอนแบบเน้นทักษะเฉพาะทาง มากกว่าการเน้นหนักเนื้อหาในกลุ่มวิชาพื้นฐาน และควรเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการออกแบบการเรียนการสอน
กันต์ แสงทอง อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์ ม.บูรพา (กลุ่มลูกชาวบ้าน)
“การที่เรามาหาคนเด็กที่เป็นอัจฉริยะภาพเฉพาะทาง อย่างถ่ายภาพ ศิลปะ เรื่องภาษาเรื่องสังคม เรื่องวิทยาศาสตร์เนี่ยะ ผมว่ามันจะหาง่ายกว่านะ
และการที่ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับโรงเรียน โดยไม่ให้ผูกขาดกับกระทรวงศึกษาธิการหรือโรงเรียนเท่านั้นในการจัดการการเรียน
การสอนเนี่ยะ ผมคิดว่ามันจะช่วยเป็นกาปฏิรูปการศึกษาให้ดีขึ้นได้ส่วนนึงครับ
ในช่วงท้ายของการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกลุ่มลูกชาวบ้าน พวกเค้ามีข้อเสนอที่ได้พูดคุยกับนักเรียนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่สรุปเห็นเป็นแนวทางออกร่วมกันในการปฏิรูปการศึกษาว่า น่าจะทำอย่างไรที่จะทำให้การปฏิรูปมีนโยบายที่ยั่งยืนกว่าวาระของรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ
จะมีตัวแทนจากการเลือกตั้งที่มาจาก องค์การนหรือสภานิสิตนักศึกษา หรือในภาคของโรงเรียนเอง ก็ส่งตัวแทนเข้ามา เข้ามาเพื่อเป็นตัวสภาแล้วมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา คอยโวตโยบายของกระทรวงศึกษาโดยเฉพาะเลย เช่นเมื่อมี รัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาแล้วคุณอยากออกนโยบายอะไร เอาเข้ามาคุยกันในสภาปฏิรูปการศึกษา
นี่เป็นข้อเสนอและความคิดเห็น ที่ทีมข่าวพลเมืองได้เข้าไปร่วมฟังการสนทนาแลกเปลี่ยนของกลุ่มนักศึกษาในรั้วหมาวิทยาลัยบูรพา ถึงเรื่องที่เขาอยากมีส่วนร่วมปฏิรูปที่เป็นไปตามวิถีแห่งประชาธิปไตย