“ดีดีบินไทย vs ปธ.สหภาพฯ”กับทิศทางลดหุ้น2% พลิกกระดานรัฐวิสาหกิจ ไปสู่เอกชน

“ดีดีบินไทย vs ปธ.สหภาพฯ”กับทิศทางลดหุ้น2% พลิกกระดานรัฐวิสาหกิจ ไปสู่เอกชน

“ดีดีบินไทย vs ปธ.สหภาพฯ” กับทิศทางลดหุ้น พลิกกระดานรัฐวิสาหกิจ ไปสู่เอกชน ปมลดหุ้น 2% เข้ากองทุนวายุภักดิ์ ช่วยลดหนี้สาธารณะ

เป็นการให้สัมภาษณ์ครั้งแรก ระหว่างผู้บริหารการบินไทย และประธานสหภาพฯ ในเรื่องเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 ม.ค.55 ซึ่งนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย ได้อธิบายว่า ..

“การลดสัดส่วนหุ้น จะทำให้การบินไทยเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจมาเป็นเอกชนเต็มตัว ซึ่งจะทำให้ความคล่องตัวเพิ่มขึ้นมากในการบริหารจัดการทั่วไปในหลายเรื่อง ซึ่งการบริหารจัดการที่คล่องตัวมากขึ้น หรือรวดเร็วมากขึ้น ผมว่ามันคือหัวใจของการบริหารงานธุรกิจการบินที่มีการแข่งขันสูง ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทำหนังสือ”สวัสดี” ซึ่งเป็นหนังสือที่การบินไทย มีให้ผู้โดยสารอ่านบนเครื่องบิน เราไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการทำ มีบริษัทมารับงาน และหาโฆษณา เราได้เงินจากบริษัทที่รับทำ เราได้รายได้ เราไม่มีรายจ่าย แต่ว่า ถ้าเผื่อมูลค่ามันเกิน  1 พันล้านบาทในการลงทุน และนิยามการลงทุนมันยุ่งยาก และต้องทำตามพรบ.ร่วมทุนฯ ซี่งมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนพอสมควร ซี่งร่วมทุนตรงบริษัทแบ่งรายได้ให้การบินไทย รวมถึงดิวตี้ฟรี บนเครื่องบิน สมมติว่าเกิน  1 พันล้านบาท ก็ต้องเข้าพรบ.ร่วมทุนฯ เหมือนกัน แทนที่จะทำสัญญาคัดเลือกกันได้ง่ายๆ ก็จะทำกระบวนการซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เต็มไปหมดในการบริหารจัดการ

แต่ถ้าการลดหุ้น แล้วทำให้การบินไทย ไม่ได้เป็นไปตามนิยามของความเป็นรัฐวิสาหกิจ กฎหมาย หรือกฎระเบียบต่างๆ เหล่านี้ก็จะหมดไปทันที การดำเนินการเมื่อเป็นเอกชน ก็จะทำในลักษณะที่เป็นประโยชน์สูงสุด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการเอาคนใดคนหนึ่งมาทำได้เลย แต่จะมีวิธีการคัดเลือกให้แข่งขัน หรือประมูลกัน เพียงแต่ขั้นตอนที่ต้องทำตามกฎหมาย หรือความยุ่งยากต่างๆ จะหายไปทันที

ส่วนข้อกังวลที่ว่า หากการบินไทยเป็นเอกชน ก็อาจไม่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังในเรื่องเงินกู้นั้น ที่ผ่านมากระทรวงการคลัง ไม่เคยค้ำประกันเงินกู้ให้การบินไทย ซึ่งสัญญาเงินกู้ช่วงหนึ่งเคยมีข้อกำหนดว่า กระทรวงการคลัง ต้องถือหุ้นเกินร้อยละ 50 แต่ตอนนี้ข้อกำหนดนั้นได้ถูกแก้ไขให้ไม่มีแล้ว สัญญาเงินกู้ของการบินไทยทั้งหมด ไม่มีเงื่อนไขว่ากระทรวงการคลังต้องถือหุ้นเกินร้อยละ 50

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผมตอนนี้ คือ เรื่องการลดสัดส่วนหุ้น มันเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับพนักงาน และผมคิดว่าเป็นเรื่องยากที่สุด สำหรับประเด็นนี้ แม้จริงๆ การจะทำอะไร อย่างไร จะเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก ที่เค้าอาจจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อช่วยลดภาระหนี้สาธารณะ ซึ่งมันเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ไอ้การขายหุ้นมันเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้น แต่สิ่งที่จะต้องทำคือการสร้างความเข้าใจ และทำให้พนักงานสบายใจ แต่เราไม่จำเป็นต้องมีคณะทำงานเพื่อศึกษาแล้ว และไม่เกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการ หรือค่าตอบแทน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายแรงงานอยู่แล้ว”

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ