‘สมพร ช่วยอารีย์’ ชี้ปัญหา ‘รฟฟ.เทพา’ หลัง กฟผ.แพร่รูปสร้างความชอบธรรม ‘คนปัตตานี’ ร่วมเวที ค.3

‘สมพร ช่วยอารีย์’ ชี้ปัญหา ‘รฟฟ.เทพา’ หลัง กฟผ.แพร่รูปสร้างความชอบธรรม ‘คนปัตตานี’ ร่วมเวที ค.3

นักวิชาการ มอ.ปัตตานี โพสต์แจงตั้งคำถามพร้อมชี้ปัญหา ‘โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา’ หลัง กฟผ.เผยแพร่รูปภาพร่วม เวที ค.3 สร้างความชอบธรรมมี  ‘คนปัตตานี’ ร่วม แต่ไม่มีข้อมูลที่ได้ชี้แจง ร้องส่งเอกสารผลงานวิจัยมาศึกษาเพิ่ม พร้อมชี้อย่าสรุปเองว่าคนเทพาเอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน

17 ก.พ. 2559 จากกรณีเว็บไซต์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย http://www.egat.co.th เผยแพร่รายงานข่าว เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา ชื่อ “โครงการโรงไฟฟ้าเทพา กฟผ. ศึกษาผลกระทบอย่างครบถ้วน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม สู่การเป็นโรงไฟฟ้าของชุมชน” (คลิกดูข่าว) ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ของ นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม ในฐานะโฆษก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการโรงไฟฟ้าเทพา จ.สงขลา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ให้ คชก.พิจารณา โดยเป็นการเดินหน้าตามแผนกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2015) 

นอกจากนั้นรายงานที่เผยแพร่ดังกล่าวยังระบุถึง การจัดทำ EHIA โครงการโรงไฟฟ้าเทพาซึ่งมีการรับฟังความเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครั้งที่ 3 (ค.3) เมื่อวันที่ 27-28 ก.ค. 2558 ว่า นอกจากมีประชาชนในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร เข้าร่วมแล้ว ยังมีประชาชนจาก จ.ปัตตานี เข้าร่วมจำนวน 31 คน และได้แสดงความคิดเห็นในเวทีรับฟังฯ จำนวน 2 คน คือ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และนายประยุทธ อาแว ประชาชน ในพื้นที่หมู่ 2 ต.ท่าเรือ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี โดยนำเสนอภาพถ่ายของทั้ง 2 คนประกอบ แต่ไม่ได้มีข้อมูลที่ได้นำเสนอในเวที

20161702210845.jpg

วันนี้ (17 ก.พ. 2559) ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ได้โพสต์ข้อมูลในเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีที่เกิดขึ้นโดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมและตั้งคำถามต่อเวที ค.3 และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ดังนี้

นับว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทาง กฟผ.ได้นำเรื่องนี้มาโพสต์และนำเสนอรูปผมในการเข้าร่วมเวที ค.3 มานำเสนอในเว็บไซต์เพื่อสร้างความชอบธรรมว่า คนปัตตานีได้มีส่วนร่วมแล้ว? แต่ผมขอให้ข้อมูลและตั้งคำถาม ดังต่อไปนี้ 

ในเวที ค.3 กำหนดขึ้น 2 วัน คือ 27-28 ก.ค. 2558 โดยแบ่งโครงการละวันครับ โดยที่

27 ก.ค. 2558 รับฟังความคิดเห็นในโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน

28 ก.ค. 2558 รับฟังความคิดเห็นในโครงการท่าเทียบเรือฯ

จากข่าวของทาง กฟผ. ทราบมาว่า มีคนเข้าร่วมทั้ง 2 วันราวๆ วันละ ประมาณ 10000 คน (บางข่าวก็บอกว่า 7000+6000 คน ทั้งสองวัน)

คน อ.เทพา มีประชากรราวๆ 7-8 หมื่นคน หากเทียบดูก็มีคนเข้าร่วมราวๆ 1 ใน 7-8 คน ซึ่งในนั้นมีข่าวว่า มีคนปัตตานีมาร่วมด้วย 31 คน และนำเสนอความเห็น 2 คน รวมถึงผมด้วย

ทำไมผมถึงเข้าร่วม เพราะผมเป็นห่วงวิถีชีวิตที่อาจจะเปลี่ยนไปของชาวเทพาและพื้นที่ใกล้เคียงรัศมี 100 กิโลเมตร 

คนปัตตานี มีกี่แสนคนครับ แล้วเข้าร่วม 31 คนเท่านั้น มันมากพอไหมครับที่จะบอกว่าคนปัตตานีมีส่วนร่วม? โดยส่วนตัวผมคิดว่ามันน้อยเกินไปไหมครับที่จะบอกว่า ชาวปัตตานีเข้าร่วมแล้ว มีส่วนร่วมแล้ว ผมไม่เห็นป้ายสักป้ายที่เขียนติดไว้ที่ข้างถนนในพื้นที่ปัตตานีเลย ว่าเชิญพี่น้องปัตตานีเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นในเวที ค.1-3 ที่ อบต.ปากบาง เลยครับ ผมไม่เคยเห็นครับ? หรือทาง ดร.อนุชาตฯ จะบอกว่าทำไว้แล้วก็หาข้อมูลมานำเสนอเลยครับ

คนหนองจิก แม้แต่พื้นที่ ต.บางราพา กระโดดข้ามคลองกันถึง ยังไม่ได้รับรู้เรื่องเหล่านี้ ผมเคยเข้าไปชวนชาวบ้านพูดคุย ชาวบ้านไม่ทราบข้อมูลในรายละเอียดเลย พอคนเข้าไปซักถาม หลังจากนั้น ทีมงาน กฟผ.ในวงจึงเข้าไปที่นั่น

ยอมรับกันดีไหมครับ ว่า ไม่เคยคิดเลยว่าเรื่องนี้จะขยายผลหรือพลาดแล้วหรือเปล่า พลาดแล้วจริงๆ ที่ไม่ได้คิดถึงกรณีผลกระทบถึงคนปัตตานี คนจะนะ คนสะบ้าย้อย คนนาทวี คนโคกโพธิ์ คนพื้นที่รัศมี 100 กิโลเมตร โครงการเน้นเอาแต่คนในพื้นที่ละแวกตำบลใกล้ๆ หรือเปล่า? และคนในพื้นที่อีกหลายคนก็ไม่ได้เข้าร่วมเลยครับ ลองไปหาคลิปเก่าๆ ที่ชาวบ้านให้สัมภาษณ์กับทางสื่อหลายช่องครับ

ส่วนเรื่องผลกระทบที่นำเสนอเรื่องซัลเฟอร์ไดออกไซด์นั้น ว่าครอบคลุม 30 กิโลเมตร ให้ตรวจสอบข้อมูลเสียใหม่ครับ แต่ถ้ายังยืนยันผมจะนำเสนอให้ดูครับ ว่าเป็นเช่นไรครับ ด้วยความเคารพทางวิชาการครับ ข้อมูลที่นำเสนอมานั้น ความเข้มข้นเหล่านั้น ช่วยอธิบายหรือส่งเอกสารผลงานวิจัยมาให้ผมสักเล่มนะครับ ผมอยากอ่านมากครับ เพราะผมไม่มั่นใจในผลการจำลองเหล่านั้นครับ และภาพแสดงผลเป็นเพียงภาพเดียว ทำมาเป็นแบบจำลอง 30 ปีเลยตลอดโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเลยครับ ว่าสิ่งเหล่านี้จะตกค้างและไหลไปไหนอย่างไรในพื้นที่ด้วยครับ อย่าเอาแค่ลอยอยู่ในอากาศแบบนี้ และค่าเหล่านั้นก็ต่ำเกินไป การที่ค่าต่ำมันก็ดีนะครับ แต่ผมไม่มั่นใจในแบบจำลอง จากประสบการณ์ของผมที่ทำงานทางด้านนี้มา

ลองเปิดแบบจำลองออกมาให้เห็นในรัศมี 300 กม. ดูซิครับ ว่าเป็นเช่นไร?

ผมถึงบอกว่า ให้เชิญท่านนักวิจัยทั้งหลายในโครงการลงมาเล่าให้ชาวบ้านและนักวิชาการในพื้นที่ฟังครับ เพราะเพียงลำพังเวที ค.3 นักวิจัยบนเวทียังบ่นกับผมเลยว่า ทาง กฟผ.ให้นำเสนอน้อย ทั้งๆ ที่เค้ามีเนื้อหาอีกเยอะที่จะนำเสนอผลการวิจัย ยังมีอีกหลายประเด็นครับ ที่ยังน่าห่วงกังวลและควรเปิดเผยทั้งหมด…แค่รายงานสรุปผล ค.3 ยังไม่กล้านำเสนอกับสาธารณะเลยครับ เล่มที่ส่งให้ สผ.นะครับ

ลองทบทวนและพิจารณาใหม่ครับ ถ้าทาง กฟผ.ที่รับผิดชอบในโครงการนี้จริงๆ จริงใจจริงๆ กับคนในพื้นที่นะครับ คิดและทำในสิ่งที่คนพื้นที่เค้าต้องการและห่วงใยนะครับ…

และอย่าสรุปเอาเองว่า คนเทพา เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน คนเทพาคนเอาถ่านครับ ในขณะที่ชาวบ้านตั้งแต่ ประจวบฯ ชุมพร ท่าศาลา หัวไทร กระบี่ ล้วนปฏิเสธมาครับ

ถ้าถ่านหินมันดีจริงๆ สำหรับยุคนี้ เวลานี้ คงไม่ยากเกินไปที่ กฟผ.จะสร้างองค์ความรู้เชิงประจักษ์ที่จะทำให้สังคมไทยเชื่อได้ครับ แต่ถ้านำเสนอไม่รอบด้านทุกมุมมอง อนาคตหากเป็นปัญหา องค์กรของท่านจะเสื่อมเสียและขาดความมั่นใจต่อภาคประชาชนครับ

ลองพิจารณากันดูครับ
ด้วยมิตรภาพครับ
นายสมพร ช่วยอารีย์

 

20161702213317.jpg

 

ดร.สมพร ช่วยอารีย์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การโพสต์ข้อความเป็นไปเพื่อตอบโต้เรื่องข้อมูล ไม่ได้อยากจะมีเรื่องอะไร และสุดท้ายผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์นี้คือความเชื่อมั่นของคนไทยต่อหน่วยงาน กฟผ.จะยิ่งมีปัญหา 

นอกจากนั้น ดร.สมพร ได้โพสต์ภาพ เพื่ออธิบายถึงการให้ข้อมูลของ กฟผ. ว่าได้จัดทำแบบจำลองครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีแล้ว ซึ่งอาจไม่ครบถ้วนในกรณีมลสารที่เคลื่อนที่ไปกับลมทางตรง 

 

คงมีนักวิชาการไม่มากนักหรอกครับที่จะมานั่งทำข้อมูลเหล่านี้ให้เชิงประจักษ์ให้ กฟผ.เคืองครับแต่เพื่อความกระจ่างแจ้ง สำหร…

Posted by Somporn Chuai-Aree on Tuesday, February 16, 2016

 

ด้าน ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเครือข่ายภาคตะวันออก โพสต์ลิงค์ข่าวและแสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า อาจทำให้ผู้คนโดยทั่วไปเข้าใจผิดในเจตนารมณ์ทางวิชาการของนักวิชาการท่านนี้ได้ อีกทั้งเรียกร้องฝ่ายวิชาการของ กฟผ.ตรวจสอบและรีบแก้ไข ตามวิถีขององค์กรที่มีธรรมาภิบาล มีจรรยาบรรณและคุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวควรทำ ก่อนที่อาจมีการดำเนินการตามกฎหมาย

ในข้อมูลเพื่อการอะไรสักอย่าง ของ กฟผ ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ .. ได้มีการนำรูปอาจารย์นักวิชาการท่านหนึ่ง ซึ่งผมรู้จักเป็นอย…

Posted by Somnuck Jongmeewasin on Tuesday, February 16, 2016

 

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ