แนะหนุ่มสาวออมเงิน/สุขภาพรับสังคมสูงวัย

แนะหนุ่มสาวออมเงิน/สุขภาพรับสังคมสูงวัย

ชี้ทัศนคติเชิงลบอุปสรรครับมือสังคนสูงวัย

แนะหนุ่มสาวออมเงินออมสุขภาพรับมือแต่เนิ่น

1 ตุลาคม ของทุกปี จะมีคนจำนวนหนึ่งในประเทศนี้ ที่ถูกประทับตราว่า “แก่” อย่างเป็นทางการจากการเกณียณอายุการเป็นคนทำงาน  และคนจำนวนนั้นก็มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากสังคมไทยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  หรือ “Aged Society”   

สัญญานที่ประเทศไทยมีคนสูงวัยเพิ่มขึ้น เริ่มปรากฏมาตั้งแต่ 11 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2547) ปัจจุบันเรามีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 7 ล้านคน และคาดว่า พ.ศ. 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของกลุ่มเด็ก หรือประมาณ 1 ใน 5 ของคนทั้งประเทศ

สังคมไทย รับมืออย่างไรกับสถานการณ์แบบนี้ ?

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 ไทยพีบีเอส โดยสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ ได้ชวนคนที่ติดตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมสูงวัยมาแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมพิจารณาว่า มีแง่มุมหรือประเด็นสำคัญอะไรที่ควรจะสร้างความเข้าใจและสื่อสารในสังคมบ้าง 

ชี้สูงวัยอยากอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และตายอย่างสงบ

คุณอุบล  หลิมสกุล อดีตรองปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์งานวิจัยว่าผู้สูงอายุต้องการอะไรพบว่า ต้องการสุขภาวะที่ดีตามอัตภาพ  ต้องการอยู่กับครอบครัวลูกหลาน ต้องการมีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งข้อนี้จะเป็นได้จะต้องมีรายได้มั่นคง ที่อยู่อาศัยมั่นคง สิ่งแวดล้อมมั่นคง และต้องการมีพื้นที่ หมายถึงอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมที่คุ้นเคยและอยากทำ และเมื่อถึงเวลาต้องไป ต้องการจากไปอย่างสงบและมีศักดิ์ศรีมีการจัดการศพตามประเพณีที่นับถือ 

ขณะที่ สังคมไทยมีกลไกระดับนโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุหลายอย่าง คือ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มีแผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุ  มีกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน  มีกองทุนผู้สูงอายุโดยรัฐบาลหนุนเป็นรายปี    ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุที่มีการประเมินทุก 5 ปี ที่ตัวชี้วัดที่จะตกเสมอ คือการเตรียมความพร้อมคนทำงานเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ     นอกจากนั้นแนวโน้มทัศนคติเชิงลบกับผู้สูงอายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ว่าเป็นกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพิง  เป็นภาระ ซึ่งนำมาสู่พฤติกรรมของคนรุ่นหนุ่มสาวด้วย   ถ้าไม่ตรียมตัวให้มีสุขภาพดี  เพราะวงจรชีวิตคนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องเตรียมตัวเองให้เจ็บสั้นที่สุด 

โดยการจำแนกผู้สูงวัยจะเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่เริ่มสูงวัยคืออายุ 60-69 ปี กลุ่มนี้มีจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่ต้องการพื้นที่ทางสังคม ยังอยากออกไปพบเพื่อน ทำกิจกรรมที่ชอบ  กลุ่มสูงวัย อายุ70-79 ปี กลุ่มนี้มีจำนวนเริ่มสูงขึ้น  จะอยู่ติดบ้าน หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง  และกลุ่มที่อายุ 80 ปี จำนวนยังไม่มากแต่เพิ่มสูงขึ้น เป็นกลุ่มติดเตียง ต้องมีผู้ดูแล 

ชี้คนรุ่นใหม่เสี่ยงสูงวัยไม่มีคุณภาพเพราะขาดวินัย

พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ จากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย กล่าวว่าขณะนี้แนวโน้มของการหวังพึ่งคนอื่นในยามชราเป็นไปได้ยากมาก  คนที่จะเป็นผู้สูงอายุยึดถือว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  ซึ่งการจะเมื่อเข้าภาวะสูงวัย การจะพึ่งพาคนอื่นสั้นที่สุดและจากไปอย่างสงบนั้น จะทำได้ จะต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี ยาวนานที่สุด  แต่กลับพบว่าคนไทยออกกำลังกายน้อย ทำให้การรักษาสมรรถนะของตนเองไม่เพียงพอ

ด้านความมั่นคงทางรายได้ ต้องเกิดจากการสั่งสมเก็บออม ซึ่งต้องทำตั้งแต่วันแรกที่ทำงาน  แต่จะทำได้ต้องปลูกฝังวินัยการเก็บออมและใช้จ่ายแต่เล็ก แต่กลับพบว่าคนไทยได้ใช้เงินในอนาคต สมการการออมผิดคือใช้จ่ายก่อนเมื่อเหลือถึงจะออม ไม่ได้กำหนดการออมไว้ก่อน เมื่อใช้ไม่พอก็กู้    

คุณอุษา เขียวรอด จากองค์กรช่วยเหลือผู้สูงอายุระหว่างประเทศ Help Age International กล่าวว่า แนวทางแก้ไขคือทำให้ ภาวะพึ่งพิงสั้นที่สุดหรือกระจายการพึ่งพาไปให้มากที่สุด  โดยทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงวัยเกิดขึ้นทั่วโลก ดังนั้นจะต้องสร้างทัศนคติใหม่ว่าการทำงานหรือการทำอะไรเพื่อผู้สูงวัยไม่ใช่ภาระ  แต่เป็นการลงทุนทางสังคมและเศรษฐกิจร่วม  ที่จะทำให้ผู้สูงวัยพึ่งพาผู้อื่นน้อยลง และนำไปสู่การเตรียมความพร้อมตนเอง(คนในสังคมวัยอื่นๆ)  โดยควรมองว่า “สูงอายุ” เป็นเรื่องของทุกคน แม้แต่กับเด็ก และไม่ใช่เรื่องล้าสมัย

หาแนวทางเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมต่อคนสูงวัย

มีข้อสังเกตุจากวงแลกเปลี่ยนว่า ยุคก่อน ผู้สูงวัยมีสังคมที่ชัดเจนคือวัด มีเส้นทางไปที่ชัดเจนคือตายอย่างสงบ ซึ่งแตกต่างจากยุคปัจจุบันที่อยู่ในสังคมอึกทึกแต่ต้องการตายอย่างสงบซึ่งเป็นเรื่องยาก และพบว่าผู้สูงวัยมีพฤติกรรมที่ทำให้สังคมมองผู้สูงวัยในเชิงลบด้วยเช่นกัน เช่น ไม่ฟังใคร เรียกร้องสูง  เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง  ซึ่งเห็นว่าเป็นพฤติกรรมต่อยอดจากยุคหนุ่มสาวที่เกิดขึ้นเพราะสังคมเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในมิติของการเตรียมคนเข้าสู่วัยชรา มีมากน้อยแค่ไหน เช่น ให้แก่อย่างสง่างาม อยู่อย่างสร้างสรรค์ ตายอย่างสงบ   เพื่อให้การมองผู้สูงอายุเป็นบวก ในลักษณะเป็นมิ่งขวัญมากกว่าเป็นผู้เรียกร้อง มีความแข็งแกร่งภายในที่จะเผชิญกับภาวะสูงวัยและความตาย   

คุณอุษา เขียวรอด กล่าวว่า พฤติกรรมผู้สูงวัยเป็นไปในทิศทางนั้น โดยบุคลิกของคนจะเป็นเหมือนเมื่ออายุยังน้อยและเมื่อสูงวัยก็จะไม่ค่อยเปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนมากขึ้นเมื่อเงื่อนไขแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น  การมีการโทรมาชวนคุยและพูดไม่หยุด เนื่องจากเหงาและเครียด  การจะเครียดน้อยลงคือได้ทำในสิ่งที่ชอบหรือได้ไปใช้ความรู้ประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น  แต่สภาพแวดล้อมก็ต้องพัฒนาให้มีมุมที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย  อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตุของการเลือกปฏิบัติในการทำงานของหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ที่มีการกีดกันการหางานของผู้สูงวัย โดยระบุในคุณสมบัติการรับสมัครงาน ทำให้ผู้สูงวัยมีโอกาสของการหารายได้และช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง

คุณเจนวิทย์  วิชัยสงครามมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ เชียงใหม่ เห็นว่าได้เกิดทัศนคติไม่เข้าใจกันต่อคนสูงวัย  เช่นคำเรียกผู้สูงวัยว่ามนุษย์ป้า มนุษย์ลุง  นอกจากนั้นบทบาทผู้สูงวัยไม่เคยถูกคิดว่าเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ  นอกจากนั้นเกิดสถานการณ์ผู้สูงอายุถูกโกง เพราะไม่เท่าทันโลก ภูมิต้านทานสังคมมีน้อย หลายคนฆ่าตัวตาย

ชี้ข้อจำกัดของการออม

ตัวแทนเยาวชน แสดงความเห็นต่อข้อจำกัดของการออมของคนวัยทำงานยุคนี้จำนวนหนึ่งคือ  มีงานทำ แต่รายการต้องนำมาดูแลพ่อและแม่ และการใช้ชีวิตก็ต้องใช้เงินอนาคต  ซึ่งการทีเป็นคนรุ่นใหม่ที่อยากออมแต่ออมไม่ได้ เพราะหลายเรื่องพันกันไปหมด ทั้งค่าแรงขั้นต่ำ  หนี้ที่ต้องจ่ายในตอนเรียนเช่น กยส ภาระครอบครัว ซึ่งเบี้ยยังชีพผู้สูงวัยเดือนละ 600 บาท ไม่พอ ต้องใช้เงินของลูก ซึ่งทางออกคือต้องทำให้คนรุ่นนี้มีศักยภาพในการออมด้วย

คุณอุษา กล่าวว่าในเชิงนโยบายขัดแย้งกัน มีทั้งให้ออมและกระตุ้นการใช้จ่าย สำหรับตนเองสนับสนุนเรื่องการออม แต่เราให้คำกำจัดความเรื่องการออมคลาดเคลื่อนในเชิงหลักการ    ถ้าออมระดับบุคคลคือต่างตนต่างออม ออมร่วมกันคือประกันสังคม  ออมร่วมกันและรัฐจ่ายด้วย ประกันสังคม และกองทุนเงินออมแห่งชาติ   ออมผ่านรัฐคือภาษี   มีข้อเสนอแนะว่า พยายาทให้การออมทั้งหลาย นำไปสู่บัญชีรายบุคคล เป็นสิ่งที่ต่างคนต่างออม  ถ้าออมไม่พอหมดแล้วเลิกจ่าย ทั้งที่สังคมควรช่วยกันดูแลเกื้อกูล

วงประชุมยังมองถึงสถานการณ์ที่สังคมไทยต้องเผชิญผู้สูงวัยจากประเทศอื่นที่มายึดหัวหาดพื้นที่ที่ดีที่สุดในแต่ละภาคของประเทศไทยไปแล้ว รวมถึงบทเรียนจากต่างประเทศเช่นฐานคนทำงานที่จ่ายภาษีให้กับสังคมญี่ปุ่นเริ่มมีปัญหา ที่เป็นข้อท้าทายว่าสังคมไทยจะรับมืออย่างไรกับสังคมสูงวัยที่กำลังเผชิญ   

หาทางออก

วงพูดคุยเห็นว่าขณะนี้ มีต้นทุนกฏหมาย แต่การดำเนินงานอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่กระจายอำนาจให้เกิดการมีส่วนร่วม คณะกรรมการปฏิรูปกฏหมายเคยเสนอแนวทางใหม่ไว้ ขณะที่ภาคประชาสังคมร่วมกันผลักดันแนวทางสำหรับสังคมสูงวัยในร่างรัฐธรรมนู  มีข้อเสนอคณะกรรมการปฏิรูปรองรับผู้สูงอายุ เช่น สวัสดิการบำนาญ  การเตรียมขยายระยะเวลาการทำงาน เป็นต้น

นอกจากนั้นภาคประชาชนกำลังผลักดัน ระบบบำนาญ ที่เปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญโดยมีกฏหมายรองรับ

แนะสื่อสารทางบวก

ในวงการพูดคุยยังมองถึงบทบาทสื่อว่า มีความสำคัญในการสื่อสารให้สังคมเข้าใจ  แต่ควรนำเสนอในเชิงบวก นอกจากนั้นการให้เวลาเผยแพร่ที่สอดคล้องที่จะให้คนในสังคมเข้าใจผู้สูงวัย มิใช่ทำรายการให้ผู้สูงวัยดู และกำหนดเผยแพร่ในเวลาที่ไม่สอดคล้อง เพราะพลังขับเคลื่อนในการเข้าใจสังคมสูงวัยมิใช่เพียงผู้สูงวัยเท่านั้น   

อ.ไตรรัตน์  จารุทัศน์  จากคณะสถาปัตยกรรม  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาพสะท้อนในสื่อมีผลต่อทัศนคติของคนในสังคม เมื่อพบสื่อที่นำเสนอเรื่องของผู้สูงวัยในลักษณะน่าเวทนา ทำให้เด็กกลัว นอกจากนั้นการสื่อสารเรื่องสังคมสูงวัยเน้นในเขตเมือง แต่ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุไทยอยู่ในเขตชนบท  ที่ควรสร้างชุมชนน่าอยู่ผู้สูงวัยให้มีสภาพแวดล้องที่เอื้ออำนวย มีส่วนร่วม มีงานทำและมีสุขภาพที่ดี  และจากการเก็บสถิติผู้สูงอายุเกินร้อยปี ประมาณ 30 คน พบว่าอยู่กับลูกหลาน สุขใจ แม้สภาพกายจะไม่ถูกต้อง  ดังนั้นการสื่อสาร ต้อง inclusive media 8nvทุกวัยดูรวมกันไม่แยกเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ วัยรุ่น  

คุณแสงศิริ ตรีมรรคา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวว่า การทำงานด้านผู้สูงวัยมีทั้งมิติความมั่นคงคือให้ดำรงอยู่ได้ และมิติอยู่อย่างมีคุณค่า  การสื่อสารต่อสาธารณะตนอยากสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ให้เตรียมตัว แม้จะเป็นเรื่องยากที่จะหาเหตุผลให้ออมเพื่ออนาคต  สำหรับคนรุ่นใหม่  เพราะเมื่อเรียนจบ ทำงาน การเก็บเงินเป็นเรื่องลำบาก เพราะฐานเงินเดือนต่างกัน การจะออกแบบให้ใช้เงินอย่างมีเหตุผลแต่ละระดับ เป็นการสื่อสารแบบชวนกันคิด ไม่ใช่เรื่องสื่อสารแบบขู่  แต่จะทำด้วยการสื่อสารอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเคลื่อนด้วยการทำกิจกรรมรวม และรัฐก็ต้องทำด้วย เช่นขณะนี้มี กองทุนการออมแห่งชาติ  ซึ่งเป็นการเตรียมคนรุ่นใหม่เพื่อให้ตนเองมั่นคงในอนาคต   

ที่ประชุมยังมองว่า สังคมควรมองสูงวัยว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นกลุ่มเฉพาะที่อยู่ในฐานะผู้ได้รับการดูแลในลักษณะหนึ่ง แต่ก็เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมจรรโลงและพัฒนาสังคมได้ด้วย  

 

author

ปฏิทินกิจกรรม EVENT CALENDAR

เข้าสู่ระบบ